การปฏิบัติตนตามหน้าที่ของประชาชนชาวไทยตามที่รัฐธรรมนูญ บัญญัติไว้ มีความ สำคัญ อย่างไร

ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 50 ได้บัญญัติหน้าที่ของประชาชนคนไทยไว้ 10 ข้อ ที่ชาวไทยพึงมีหน้าที่ปฏิบัติในสังคม เพราะรัฐธรรมนูญนั้นถือเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ เป็นการกำหนดโครงสร้างในระบบต่างๆ เพื่อประโยชน์ส่วนรวมของประเทศชาติและความผาสุกของประชาชนโดยรวม คนในประเทศมีสิทธิและเสรีภาพได้อย่างเสรี แต่อย่างไรก็ตามเมื่อมีสิทธิก็ต้องมีหน้าที่ตามมา โดยรัฐธรรมนูญไทยฉบับปัจจุบัน ปี 2560 ได้บัญญัติไว้ดังนี้

หน้าที่สำคัญของประชาขน

  1. พิทักษ์ดำรงรักษาไว้ทั้งเรื่องชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ รวมถึงการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ตรงนี้กล่าวได้ว่าประเทศไทยยกย่องและเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์มาแต่โบราณกาล การรักษาไว้ 3 อย่างจึงเป็นหัวใจสูงสุดของไทย ตามความหมายธงไตรรงค์ ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์
  2. ปกป้องประเทศ ช่วยรักษาความมีเกียรติ รวมถึงผลประโยชน์และสาธารณสมบัติต่างๆ ของแผ่นดิน ให้ความร่วมมือเพื่อช่วยเรื่องของการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยต่างๆ
  3. ต้องปฏิบัติตนให้เป็นไปตามกฎหมายบ้านเมืองอย่างเคร่งครัด
  4. เข้ารับการศึกษาตามหลักสูตรภาคบังคับที่ได้มีการจัดไว้ให้
  5. สำหรับผู้ชายต้องเข้ารับราชการทหารตามที่กฎหมายได้ทำการบัญญัติไว้
  6. มีความเคารพ ไม่ละเมิดสิทธิเสรีภาพผู้อื่น ไม่กระทำสิ่งใดก็ตามอันจะก่อให้เกิดความแตกแยกหรือความเกลียดชังขึ้นภายในสังคม
  7. เมื่อมีสิทธิต้องไปใช้สิทธิเลือกตั้งหรือลงประชามติโดอิสระ คำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวมเป็นสำคัญ หากพูดง่ายๆ ก็คือไม่ใช่แค่การเลือกตั้งระดับประเทศเพียงอย่างเดียว แต่หากตนเองมีสิทธิอันใดก็ตามเพื่อช่วยพัฒนาประเทศก็ควรต้องปฏิบัติอย่างเหมาะสม
  8. ให้ความร่วมมือ ให้การสนับสนุน คุ้มครองอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติความหลากหลายทางชีวภาพ รวมทั้งมรดกทางวัฒนธรรม
  9. เสียภาษีอากรตามที่กฎหมายได้ระบุ เป็นข้อบังคับของรัฐบาลที่ใช้เก็บจากประชาชน โดยเงินส่วนนี้นำไปใช้ประโยชน์ส่วนรวมในประเทศ เก็บแบบทางตรงและทางอ้อม
  10. ไม่ร่วมมือหรือสนับสนุนเรื่องความทุจริตและทุกๆ พฤติกรรมโดยมิชอบทุกประการ

เมื่อวิเคราะห์ความแตกต่างจากรัฐธรรมนูญในหลายๆ ฉบับที่ผ่านมา พบว่าฉบับปัจจุบันกำหนดเรื่องหน้าที่ชาวไทยไว้มากที่สุด เมื่อเทียบกับฉบับปี 2550 ที่กำหนดไว้เพียงแค่ 5 ข้อเท่านั้น หากจะมองในสถานการณ์ปัจจุบันนั้นคงทำให้จำเป็นต้องเพิ่มบทบัญญัติมากขึ้น โดยมีนัยยะแฝงในเรื่องการเคารพสิทธิเสรีภาพ และเน้นเรื่องการไม่กระทำการที่จะก่อให้เกิดความแตกแยกหรือเกลียดชังในสังคม ข้อนี้น่าจะมีผลมาจากการชุมนุมสร้างความแตกแยกของคนในชาติในช่วงหลายปีที่ผ่านมา

“หน้าที่” ของประชาชนในประเทศเป็นสิ่งสำคัญที่สุด แต่หากทุกคนเพิกเฉยไม่พึงปฏิบัติตามที่กฎหมายบังคับใช้ ความผาสุกและความเจริญงอกงามคงจะไม่เกิดขึ้นตามเป้าหมายสูงสุดที่รัฐธรรมนูญบัญญัติไว้ในทุกๆ ฉบับ

คุณอยู่ที่นี่

หมวด ๔ หน้าที่ของปวงชนชาวไทย (มาตรา ๕๐)

หมวด ๔
หน้าที่ของปวงชนชาวไทย

-------------------------

               มาตรา ๕๐  บุคคลมีหน้าที่ ดังต่อไปนี้
               (๑) พิทักษ์รักษาไว้ซึ่งชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
               (๒) ป้องกันประเทศ พิทักษ์รักษาเกียรติภูมิ ผลประโยชน์ของชาติ และสาธารณสมบัติของแผ่นดิน รวมทั้งให้ความร่วมมือในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
               (๓) ปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด
               (๔) เข้ารับการศึกษาอบรมในการศึกษาภาคบังคับ
               (๕) รับราชการทหารตามที่กฎหมายบัญญัติ
               (๖) เคารพและไม่ละเมิดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลอื่น และไม่กระทำการใดที่อาจก่อให้เกิดความแตกแยกหรือเกลียดชังในสังคม
               (๗) ไปใช้สิทธิเลือกตั้งหรือลงประชามติอย่างอิสระโดยคำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวมของประเทศเป็นสำคัญ
               (๘) ร่วมมือและสนับสนุนการอนุรักษ์และคุ้มครองสิ่งแวดล้อม ทรัพยากรธรรมชาติ ความหลากหลายทางชีวภาพ รวมทั้งมรดกทางวัฒนธรรม
               (๙) เสียภาษีอากรตามที่กฎหมายบัญญัติ
               (๑๐) ไม่ร่วมมือหรือสนับสนุนการทุจริตและประพฤติมิชอบทุกรูปแบบ

  • 30545 reads

การปฏิบัติตนตามหน้าที่ของประชาชนชาวไทยตามที่รัฐธรรมนูญ บัญญัติไว้ มีความ สำคัญ อย่างไร

 สิทธิและหน้าที่ของประชาชนตามรัฐธรรมนูญ

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับปัจจุบัน พ..๒๕๔๐ ถือว่าหัวใจสำคัญของการเมืองคือ ประชาชนจึงได้ปรับการเมืองให้ประชาชนได้มีส่วนร่วมในการปกครองประเทศมากขึ้น ด้วยการเพิ่มสิทธิเสรีภาพให้ประชาชนในด้านต่าง ๆ พร้อมทั้งทำให้สิทธิและเสรีภาพนั้นมีผลเป็นจริงในทางปฏิบัติ

คำว่า สิทธิพจนานุกรมไทยฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ..๒๕๒๕ ให้คำจำกัดความไว้ว่า หมายถึง อำนาจที่จะกระทำการใดๆ ได้อย่างอิสระ โดยได้รับการรับรองจากกฎหมาย ส่วนคำว่า เสรีภาพหมายความว่าการที่บุคคลสามารถจะเลือกคิด ทำ พูด อย่างไรก็ตามความพอใจของตน

และคำว่า หน้าที่หมายความว่า กิจที่ควรทำ กิจที่ต้องทำ ซึ่งแตกต่างกันไปตามบทบาทของแต่ละคน เช่น พ่อแม่มีหน้าที่อบรมเลี้ยงดูลูก ส่วนลูกมีหน้าที่แสดงความกตัญญูต่อพ่อแม่ นักเรียนมีหน้าที่เรียนหนังสือเหล่านี้เป็นต้น

ฉะนั้นการคำนึงถึงสิทธิ เสรีภาพ และหน้าที่ของคนเราจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ควรตระหนักรู้ และจะต้องไม่ล่วงล้ำสิทธิเสรีภาพของบุคคลอื่น ซึ่งถือเป็นปกติของสังคมที่จะกำหนดสิทธิ เสรีภาพ และหน้าที่ของบุคคลว่าจะใช้ทำอะไรก็ได้ ตราบเท่าที่ไม่สร้างความเดือดร้อนให้แก่ผู้อื่น โดยรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันได้ให้การรับรองสิทธิเสรีภาพ ความเสมอภาค ตลอดจนหน้าที่ของประชาชนคนไทยไว้ดังนี้

สิทธิและเสรีภาพของประชาชนไทยตามรัฐธรรมนูญ

. การรับรองศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ คือการห้ามปฏิบัติต่อมนุษย์เยี่ยงสัตว์หรือเยี่ยงทาส เช่น จะนำมนุษย์มาทดลองเหมือนสัตว์ไม่ได้ และจะใช้สิทธิที่ได้รับการรับรองนี้ทำสิ่งใดก็ได้ แต่ต้องไม่สร้างความเดือดร้อนให้แก่ผู้อื่น ประกอบด้วย

มาตรา ๔ ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ และเสรีภาพของบุคคลย่อมได้รับความคุ้มครอง

มาตรา ๒๖ การใช้อำนาจโดยองค์กรของรัฐทุกองค์กร ต้องคำนึงถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิและเสรีภาพตามบท บัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้

มาตรา ๒๗ สิทธิและเสรีภาพที่รัฐธรรมนูญฉบับนี้รับรองไว้โดยชัดแจ้ง โดยปริยาย หรือโดย คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ย่อมได้รับความคุ้มครองและผูกพันรัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาล และองค์กรอื่นของรัฐโดยตรงในการตรากฎหมาย การใช้บังคับกฎหมายและการตีความกฎหมายทั้งปวง

มาตรา ๒๘ บุคคลย่อมอ้างศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ หรือ ใช้สิทธิและเสรีภาพของตนได้เท่าที่ไม่ละเมิดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลอื่น ไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ขัดต่อศีลธรรมอันดีของ ประชาชน

บุคคลที่ถูกละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพที่รัฐธรรมนูญนี้รับรองไว้ สามารถยกบทบัญญัติแห่งกฎหมายเฉพาะเพื่อใช้สิทธิทางศาล หรือยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้คดีในศาลได้

มาตรา ๒๙ การจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลที่รัฐธรรมนูญนี้รับรองไว้จะกระทำมิได้ เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายเฉพาะเพื่อการที่รัฐธรรมนูญที่กำหนดวและเท่าที่จำเป็นเท่านั้นและจะกระทบกระเทือนสาระสำคัญแห่งสิทธิเสรีภาพนั้นมิได้

กฎหมายตามวรรคหนึ่งต้องมีผลใช้บังคับเป็นการทั่วไปและไม่มุ่งหมายให้ใช้บังคับแก่ กรณีใดกรณีหนึ่งหรือแก่บุคคลใดบุคคลหนึ่งเป็นการเจาะจง ทั้งต้องระบุบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญที่ให้อำนาจในการตรากฎหมายนั้นด้วย

บทบัญญัติวรรคหนึ่งและวรรคสอง ให้นำมาใช้บังคับกับกฎหรือข้อบังที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายด้วยอนุโลม

. การรับรองความเสมอภาคของบุคคล รัฐธรรมนูญฉบับนี้จะให้ความคุ้มครองประชาชนไทยทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน มีความเป็นธรรม และไม่เลือกปฏิบัติกับคนใดคนหนึ่งโดยเฉพาะ ประกอบด้วย

มาตรา ๕ ประชาชนชาวไทยไม่ว่าเหล่ากำเนิด เพศ หรือศาสนาใดย่อมอยู่ในความคุ้มครองแห่งรัฐธรรมนูญนี้เสมอนี้

มาตรา ๓๐ บุคคลย่อมเสมอกันในกฎหมายและได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายเท่าเทียมกันชายและหญิงมีสิทธิเท่าเทียมกัน

การเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคลเพราะเหตุแห่งความแตกต่างในเรื่องถิ่นกำเนิด เชื่อชาติ ภาษา เพศ อายุ สภาพทางกายหรือสุขภาพ สถานะของบุคคล ฐานะทางเศรษฐกิจหรือสังคม ความเชื่อทางศาสนา การศึกษาอบรม หรือความคิดเห็นทางการเมืองอันไม่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญจะกระทำมิได้

มาตรการที่รัฐกำหนดขึ้นเพื่อขจัดอุปสรรคหรือส่งเสริมให้บุคคลสามารถใช้ สิทธิและ เสรีภาพได้เช่นเดียวกับบุคคลอื่น ย่อมไม่ถือเป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมตามวรรคสาม

. สิทธิในชีวิตและร่างกาย ประชาชนจะได้รับความคุ้มครองในชีวิตและร่างกายตามกฎหมาย โดยห้ามการทรมาน ทารุณกรรม หรือลงโทษด้วยวิธีการที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม ประกอบด้วย

มาตรา ๓๑ บุคคลย่อมมีสิทธิและเสรีภาพในชีวิตและร่างกาย

การทรมาน ทารุณกรรม หรือการลงโทษด้วยวิธีการโหดร้าย หรือไร้มนุษยธรรม จะกระทำมิได้ แต่การลงโทษประหารชีวิตตามที่กฎหมายบัญญัติ ไม่ถือว่าเป็นการลงโทษด้วยวิธีการโหดร้าย หรือไร้มนุษยธรรมตามความในวรรคนี้

การจับ คุมขัง ตรวจค้นบุคคล หรือการกระทำใดอันกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพตามวรรคหนึ่ง จะกระทำมิได้ เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย

มาตรา ๒๓๗ ในคดีอาญา การจับและคุมขังบุคคลใด จะกระทำมิได้ เว้นแต่มีคำสั่งศาลหรือหมายศาล หรือผู้นั้นได้กระทำความผิดซึ่งหน้า หรือมีเหตุจำเป็นอย่างอื่นให้จับได้โดยไม่มีหมายตามที่กฎหมายบัญญัติโดยผู้ถูกจับจะต้องได้รับการแจ้งข้อกล่าวหาและรายละเอียดแห่งการจับ โดยไม่ชักช้า กับจะต้องได้

รับโอกาสแจ้งให้ญาติหรือผู้ถูกจับไว้วางใจทราบในโอกาสแรก และผู้ถูกจับซึ่งยังถูกควบคุมอยู่ ต้องถูกนำตัวไปศาลภายในสี่สิบแปดชั่วโมงนับแต่เวลาที่ผู้ถูกจับนำตัวไปถึงที่ทำการของพนักงานสอบสวน เพื่อศาลพิจารณาว่ามีเหตุที่จะขังผู้ถูกจับไว้ตามกฎหมายหรือไม่ เว้นแต่มีเหตุสุดวิสัยหรือมีเหตุจำเป็นอย่างอื่นตามที่กฎหมายบัญญัติ

หมายจับหรือหมายขังบุคคลจะออกได้ต่อเมื่อ

() มีหลักฐานตามสมควรว่าผู้นั้นน่าจะได้กระทำความผิดอาญาร้ายแรงที่มีอัตราโทษตามที่กฎหมายบัญญัติ หรือ

() มีหลักฐานตามสมควรว่าผู้นั้นน่าจะได้กระทำความผิดอาญาและมีเหตุอันควรเชื่อว่าผู้นั้นจะหลบหนี หรือจะไปยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐาน หรือก่อเหตุอันตรายประการอื่นด้วย

สิทธิเสรีภาพในครอบครัวและความเป็นอยู่ส่วนตัว ประชาชนจะได้รับความคุ้มครองในความเป็นอยู่ส่วนตัวมีเสรีภาพในการสื่อสารถึงกัน มีสิทธิที่จะเลือกเดินทางหรือเลือกอยู่อาศัยที่ใดก็ได้ในประเทศไทย ตลอดจนสิทธิของบุคคลอื่น ๆ ในครอบครัวได้รับความคุ้มครองด้วยเช่นกัน ประกอบด้วย

มาตรา ๓๔ สิทธิของบุคคลในครอบครัว เกียรติยศ ชื่อเสียง หรือความเป็นอยู่ส่วนตัวย่อมได้รับความคุ้มครอง

การกล่าวหรือไขข่าวแพร่หลาย ซึ่งข้อความหรือภาพไม่ว่าด้วยวิธีใดไปยังสาธารณชนอันเป็นการละเมิดหรือกระทบถึงสิทธิของบุคคลในครอบครัว เกียรติยศ ชื่อเสียง หรือความเป็นอยู่ส่วนตัว จะกระทำมิได้ เว้นแต่กรณีที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณชน

มาตรา ๓๕ บุคคลย่อมมีเสรีภาพในเคหสถาน

บุคคลย่อมได้รับความคุ้มครองในการที่จะอยู่อาศัยและครอบครองเคหสถานโดยปกติสุขการเข้าไปในเคหสถานโดยปราศจากความยินยอมของผู้ครอบครอง หรือการตรวจค้นเคหสถานจะกระทำ มิได้เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย

มาตรา ๓๖ บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการเดินทางและมีเสรีภาพในการเลือกถิ่นที่อยู่อาศัยภายใน ราชอาณาจักร

การจำกัดเสรีภาพตามวรรคหนึ่งจะกระทำมิได้ เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายเฉพาะเพื่อความมั่นคงของรัฐ ความสงบเรียบร้อยหรือสวัสดิภาพของประชาชน การผังเมือง หรือเพื่อสวัสดิภาพของผู้เยาว์

การเนรเทศบุคคลผู้มีสัญชาติไทยออกนอกราชอาณาจักร หรือห้ามมิให้บุคคล ผู้มีสัญชาติไทยเข้ามาในราชอาณาจักรจะกระทำมิได้

มาตรา ๓๗ บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการสื่อสารถึงกันโดยทางที่ชอบด้วยกฎหมาย การตรวจ การกัก หรือการเปิดเผยสิ่งสื่อสารที่บุคคลมีติดต่อกันถึงกัน รวมทั้งการกระทำด้วยประการอื่นใดเพื่อให้ล่วงรู้ถึงข้อความในสิ่งสื่อสารทั้งหลายที่บุคคลมีติดต่อกันถึงกัน รวมทั้งการกระทำด้วยประการอื่นใดเพื่อให้ล่วงรู้ถึงข้อความในสิ่งสื่อสารทั้งหลายที่บุคคลมีติดต่อถึงกัน จะกระทำมิได้ เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติ

แห่งกฎหมายเฉพาะเพื่อรักษาความมั่นคงของรัฐ หรือเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน

. สิทธิในทรัพย์สินส่วนบุคคล ประชาชนจะได้รับความคุ้มครองในทรัพย์สิน การสืบทอดมรดก และการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ต่างๆ จะทำโดยพลการไม่ได้ และจะต้องได้รับการชดใช้ค่าเสียหายจากการเวนคืนนั้นอย่างเป็นธรรม

มาตรา ๔๘ สิทธิของบุคคลในทรัพย์สินย่อมได้รับความคุ้มครอง ขอบเขตแห่งสิทธิและการจำกัดสิทธิเช่นว่านี้ ย่อมเป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติ

การสืบมรดกย่อมได้รับความคุ้มครอง สิทธิของบุคคลในการสืบมรดกย่อมเป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติ

มาตรา ๔๙ การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์จะกระทำมิได้ เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายเฉพาะเพื่อการอันเป็นสาธารณูปโภค การอันจำเป็นในการป้องกันประเทศ การได้มาซึ่งทรัพยากรธรรมชาติ การผังเมือง การส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม การพัฒนาการเกษตรหรือ การอุตสาหกรรม การปฏิรูปที่ดินหรือเพื่อประโยชน์สาธารณะอย่างอื่น และต้องชดใช้ค่าทดแทนที่เป็นธรรมภายในเวลาอันควรแก่เจ้าของตลอดจนผู้ทรงสิทธิบรรดาที่ได้รับความเสียหายในการเวนคืนนี้ ทั้งนี้ตามที่กฎหมายบัญญัติ

การกำหนดค่าตอบแทนตามวรรคหนึ่ง ต้องกำหนดให้อย่างเป็นธรรม โดยคำนึงถึงราคาที่ซื้อขายกันตามปกติ การได้มา สภาพและที่ตั้งของอสังหาริมทรัพย์และความเสียหายของผู้ถูกเวนคืน

กฎหมายเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ต้องระบุวัตถุประสงค์แห่งการเวนคืนและกำหนดระยะเวลาการเข้าใช้อสังหาริมทรัพย์ไว้ให้ชัดแจ้ง ถ้ามิได้ใช้เพื่อการนั้นภายในระยะเวลาที่กำหนดดังกล่าว ต้องคืนให้เจ้าของเดิมหรือทายาท

การคืนอสังหาริมทรัพย์ให้เจ้าของเดิมหรือทายาทตามวรรคสามและการเรียกคืนค่าทดแทนที่ชดใช้ไป ให้เป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติ

. สิทธิและเสรีภาพในการศึกษาหาความรู้ ประชาชนมีเสรีภาพในการเลือกศึกษาหาความรู้ และรัฐจะต้องมีหน้าที่จัดการศึกษาขั้นพื้นฐานให้เปล่าอย่างน้อย ๑๒ ปี

มาตรา ๔๒ บุคคลย่อมมีเสรีภาพในทางวิชาการ

การศึกษาอบรม การเรียนการสอน การวิจัย และการเผยแพร่งานวิจัยตามหลักวิชาการย่อมได้รับคุ้มครอง ทั้งนี้เท่าที่ไม่ขัดต่อหน้าที่ของพลเมืองหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน

มาตรา ๔๓ บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่าสิบสองปี ที่รัฐจะต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย

การจัดการศึกษาอบรมของรัฐต้องคำนึงถึงการมีส่วนร่วมขององค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่นและเอกชน ทั้งนี้ตามที่กฎหมายบัญญัติ

การจัดการศึกษาอบรมขององค์กรวิชาชีพและเอกชนภายใต้การกำกับดูแลของรัฐ ย่อมได้รับความคุ้มครอง ทั้งนี้ตามที่กฎหมายบัญญัติ

. สิทธิในการได้รับการรักษาพยาบาล ประชาชนทุกคนจะได้รับการบริการสาธารณสุข ที่ได้มาตรฐานอย่างเท่าเทียมกัน และผู้ยากไร้มีสิทธิได้รับการรักษาฟรีจากสถานบริการสาธารณสุขของรัฐ

มาตรา ๕๒ บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับบริการทางสาธารณสุขที่ได้มาตรฐาน และ ผู้ยากไร้มีสิทธิได้รับการรักษาพยาบาลจากสถานบริการสาธารณสุขของรัฐโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ทั้งนี้ตามที่กฎหมายบัญญัติ

การบริการทางสาธารณสุขของรัฐต้องเป็นไปอย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ โดยจะต้อง ส่งเสริมให้องค์กรปกครองท้องถิ่นและเอกชนมีส่วนร่วมด้วยเท่าที่จะกระทำได้

การป้องกันและขจัดโรคติดต่ออันตราย รัฐต้องจัดให้แก่ประชาชนโดยไม่คิดมูลค่าและทันต่อเหตุการณ์ ทั้งนี้ตามที่กฎหมายบัญญัติ

. สิทธิในการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ ประชาชนมีสิทธิที่จะจัดการดูแล ส่งเสริมคุ้มครองทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมร่วมกับรัฐและชุมชน และโครงการใด ๆ ก็ตามที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างรุนแรง จะต้องมีการศึกษาอย่างรอบคอบเสียก่อนจึงจะดำเนินการได้

มาตรา ๕๖ สิทธิของบุคคลที่จะมีส่วนร่วมกับรัฐและชุมชนในการบำรุงรักษา และการได้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพและในการคุ้มครองส่งเสริม และรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมเพื่อให้ดำรงชีพอยู่ได้อย่างปกติและต่อเนื่อง ในสิ่งแวดล้อมที่จะไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพอนามัยสวัสดิภาพหรือคุณภาพชีวิตของตนย่อมได้รับความคุ้มครอง ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ

การดำเนินโครงการหรือกิจกรรมที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบอย่างรุนแรงต่อคุณภาพ สิ่งแวดล้อมจะกระทำมิได้ เว้นแต่จะได้ศึกษาและประเมินผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อม รวมทั้งได้ให้องค์กรอิสระซึ่งประกอบด้วยผู้แทนองค์กรเอกชนด้านสิ่งแวดล้อมและผู้แทนสถาบันอุดมศึกษาที่จัดการศึกษาด้านสิ่งแวดล้อมให้ความเห็นประกอบก่อนมีการดำเนินการดังกล่าว ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ

สิทธิของบุคคลที่จะฟ้องหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ ราชการส่วนท้องถิ่นหรือองค์กรของรัฐ เพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่ตามที่บัญญัติไว้ในกฎหมายตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง ย่อมได้รับความคุ้มครอง

. สิทธิในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารสาธารณะและข้อมูลทางราชการ ประชาชนมีสิทธิรับรู้ข้อมูลข่าวสารที่เป็นสาธารณะของหน่วยงานรัฐ และหน่วยงานอื่น ๆ มีสิทธิขอข้อมูล คำชี้แจง และเหตุผลจากหน่วยงานของรัฐในการดำเนินโครงการที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและความเป็นอยู่ ตลอดจนมีสิทธิในการทำประชาพิจารณ์

มาตรา ๕๘ บุคคลย่อมมีสิทธิได้รับทราบข้อมูลหรือข่าวสารสาธารณะในครอบครองของหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น เว้นแต่การเปิดเผยข้อมูลนั้นจะกระทบต่อความมั่นคงของรัฐ ความปลอดภัยของประชาชน หรือส่วนได้เสียอันพึงได้รับความคุ้มครองของ บุคคลอื่น ทั้งนี้ตามที่กฎหมายบัญญัติ

มาตรา ๕๙ บุคคลย่อมมีสิทธิได้รับข้อมูล คำชี้แจง และเหตุผลจากหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น ก่อนการอนุญาตหรือการดำเนินโครงการหรือกิจกรรมใดที่อาจมีผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อม สุขภาพอนามัย คุณภาพชีวิต หรือส่วนได้เสียสำคัญอื่นใดที่เกี่ยวกับตนหรือชุมชนท้องถิ่นและมีสิทธิแสดงความคิดเห็นของตนในเรื่องดังกล่าว ทั้งนี้ตามกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนที่กฎหมายบัญญัติ

มาตรา ๖๐ บุคคลย่อมมีสิทธิส่วนร่วมในกระบวนการพิจารณาของเจ้าหน้าที่ของรัฐในการปฏิบัติราชการทางการปกครอง อันมีผลหรืออาจมีผลกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพของตน ทั้งนี้ตามที่กฎหมายบัญญัติ

. สิทธิในการแจ้งความร้องทุกข์ ประชาชนมีสิทธิร้องทุกข์ในเรื่องต่างๆ และมีสิทธิฟ้อง หน่วยงานของรัฐได้

มาตรา ๖๑ บุคคลย่อมมีสิทธิเสนอเรื่องราวร้องทุกข์และได้รับแจ้งผลการพิจารณาภายในเวลา อันสมควร ทั้งนี้ตามที่กฎหมายบัญญัติ

มาตรา ๖๒ สิทธิของบุคคลที่จะฟ้องหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ ราชการ ส่วนท้องถิ่น หรือองค์กรอื่นของรัฐที่เป็นนิติบุคคล ให้รับผิดเนื่องจากการกระทำหรือการละเว้นการกระทำของข้าราชการพนักงาน หรือลูกจ้าง ของหน่วยงานนั้น ย่อมได้รับความคุ้มครอง ทั้งนี้ตามที่กฎหมายบัญญัติ

๑๐. สิทธิของบุคคลวัยต่างๆ สิทธิของเด็ก คนชรา และคนพิการ จะได้รับความคุ้มครอง โดยเด็กจะได้รับการดูแลและคุ้มครองโดยรัฐจากความโหดร้ายทารุณ คนชราและคนพิการมีสิทธิได้รับความช่วยเหลือจากรัฐตามความเหมาะสม

มาตรา ๕๓ เด็ก เยาวชน และบุคคลในครอบครัว มีสิทธิได้รับความคุ้มครองโดยรัฐจากการใช้ความรุนแรงและการปฏิบัติอันไม่เป็นธรรม

เด็กและเยาวชนซึ่งไม่มีผู้ดูแล มีสิทธิได้รับการเลี้ยงดูและการศึกษาอบรมจากรัฐ ทั้งนี้ตามที่กฎหมายบัญญัติ

มาตรา ๕๔ บุคคลซึ่งมีอายุเกิน ๖๐ ปีบริบูรณ์ และไม่มีรายได้เพียงพอแก่การยังชีพมีสิทธิได้รับการช่วยเหลือจากรัฐ ทั้งนี้ตามที่กฎหมายบัญญัติ

มาตรา ๕๕ บุคคลซึ่งพิการหรือทุพพลภาพมีสิทธิได้รับสิ่งอำนวยความสะดวกอันเป็นสาธารณะและความช่วยเหลืออื่นจากรัฐ ทั้งนี้ตามที่กฎหมายบัญญัติ

๑๑. สิทธิของผู้บริโภค

มาตรา ๕๗ สิทธิของบุคคลซึ่งเป็นผู้บริโภคย่อมได้รับความคุ้มครอง ทั้งนี้ตามที่กฎหมายบัญญัติ

กฎหมายตามวรรคหนึ่งต้องบัญญัติให้มีองค์การอิสระซึ่งประกอบด้วยตัวแทนผู้บริโภคทำหน้าที่ให้ความเห็นในการตรากฎหมาย กฎ และข้อบังคับ และให้ความเห็นในการกำหนดมาตรการต่างๆ เพื่อคุ้มครองผู้บริโภค

๑๒. สิทธิของชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิม ในการอนุรักษ์และฟื้นฟูจารีตประเพณี ภูมิปัญญา ศิลปะ และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น และมีส่วนร่วมในการบำรุงรักษาและจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมร่วมกับองค์กรปกครองท้องถิ่น

มาตรา ๔๖ บุคคลซึ่งรวมกันเป็นชุมชนท้องถิ่นดั้งเดิมย่อมมีสิทธิอนุรักษ์หรือฟื้นฟูจารีตประเพณีภูมิปัญญาท้องถิ่น ศิลปะหรือวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่นและของชาติ และมีส่วนร่วมในการจัดการ การบำรุงรักษาและการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลและยั่งยืนทั้งนี้ตามที่กฎหมายบัญญัติ

มาตรา ๗๙ รัฐต้องส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการสงวน บำรุงรักษา และใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพอย่างสมดุล รวมทั้งมีส่วนร่วมในการส่งเสริม บำรุงรักษา และคุ้มครองสิ่งแวดล้อมตามหลักการพัฒนาที่ยั่งยืน ตลอดจนควบคุมและกำจัดภาวะมลพิษที่มีผลต่อสุขภาพอนามัย สวัสดิภาพ และคุณภาพชีวิตของประชาชน

มาตรา ๒๙๐ เพื่อส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นย่อมมีอำนาจหน้าที่ตามที่กฎหมายบัญญัติ

กฎหมายตามวรรคหนึ่งอย่างน้อยต้องมีสาระสำคัญดังต่อไปนี้

() การจัดการ การบำรุงรักษา และการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ และ สิ่งแวดล้อมที่อยู่ในเขตพื้นที่

() การเข้าไปมีส่วนร่วมในการบำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่อยู่นอกเขตพื้นที่ เฉพาะในกรณีที่อาจมีผลกระทบต่อการดำรงชีวิตของประชาชนในพื้นที่ของตน

() การมีส่วนร่วมในการพิจารณาเพื่อริเริ่มโครงการหรือกิจกรรมใดนอกเขตพื้นที่ซึ่งอาจมีผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อม หรือสุขภาพอนามัยของประชาชนในพื้นที่

๑๓. สิทธิของผู้ต้องหาในคดีอาญา ประชาชนจะต้องไม่รับโทษอาญายกเว้นถ้ามีการทำความผิดตามที่กฎหมายระบุไว้ และผู้ต้องหามีสิทธิจะให้ทนายความเข้าฟังการสอบสวนได้ ตลอดจนถ้าศาลตัดสินว่าจำเลยไม่มีความผิด ก็มีสิทธิจะเรียกร้องค่าชดใช้ต่าง ๆ จากรัฐได้

มาตรา ๓๒ บุคคลจะต้องไม่รับโทษอาญา เว้นแต่จะได้กระทำการอันกฎหมายที่ใช้อยู่ในเวลาที่กระทำนั้นบัญญัติเป็นความผิดและกำหนดโทษไว้ และโทษที่จะลงแก่บุคคลนั้นจะหนักกว่าโทษที่กำหนดไว้ในกฎหมายที่ใช้อยู่ในเวลาที่กระทำความผิดมิได้

มาตรา ๓๓ ในคดีอาญา ต้องสันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ต้องหาหรือจำเลยไม่มีความผิด

ก่อนมีคำพิพากษาอันถึงที่สุดแสดงว่าบุคคลใดได้กระทำความผิด จะปฏิบัติต่อบุคคลนั้นเสมอเป็นผู้กระทำความผิดมิได้

๑๔. สิทธิของบุคลากรรัฐ

มาตรา ๖๔ บุคคลผู้เป็นทหาร ตำรวจ ข้าราชการ เจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ พนักงานส่วนท้องถิ่น และพนักงานหรือลูกจ้างขององค์การของรัฐ ย่อมมีสิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญเช่นเดียวกับบุคคลทั่วไป เว้นแต่ที่จำกัดในกฎหมาย กฎหรือข้อบังคับที่ออกโดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย เฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับการเมือง สมรรถภาพ วินัย หรือจรรยาบรรณ

๑๕. เสรีภาพในการนับถือศาสนา ประชาชนจะเลือกนับถือศาสนาใดก็ได้ที่ไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง

มาตรา ๓๘ บุคคลย่อมมีเสรีภาพบริบูรณ์ในการนับถือศาสนา นิกายของศาสนา หรือลัทธินิยมในทางศาสนา และย่อมมีเสรีภาพในการปฏิบัติตามศาสนบัญญัติหรือปฏิบัติพิธีกรรมตามความเชื่อถือของตนเมื่อไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อหน้าที่ของพลเมืองและไม่เป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน

การใช้เสรีภาพดังกล่าวตามวรรคหนึ่งบุคคลย่อมได้รับความคุ้มครองมิให้รัฐกระทำการใดๆ อันเป็นการลิดรอนสิทธิหรือเสียประโยชน์อันควรมีควรได้เพราะเหตุที่ถือศาสนา นิกายของศาสนา ลัทธินิยม ในทางศาสนา หรือปฏิบัติตามศาสนบัญญัติ หรือปฏิบัติพิธีกรรมตามความเชื่อถือ แตกต่างจากบุคคลอื่น

๑๖. เสรีภาพในการประกอบอาชีพการงาน ประชาชนสามารถประกอบอาชีพใดก็ได้โดยสุจริตแต่ต้องอยู่ในขอบเขตของความสงบเรียบร้อยของสังคม

มาตรา ๕๐ บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการประกอบกิจการหรือประกอบอาชีพและการแข่งขันโดยเสรีอย่างเป็นธรรม

การจำกัดเสรีภาพตามวรรคหนึ่งจะกระทำมิได้ เว้นแต่โดยอาศัยตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายเฉพาะเพื่อประโยชน์ ในการรักษาความมั่นคงของรัฐหรือเศรษฐกิจของประเทศ การคุ้มครองประชาชนในด้านสาธารณูปโภค การรักษาความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน การจัดระเบียบการประกอบอาชีพการคุ้มครองผู้บริโภค การผังเมือง การรักษาทรัพยากรธรรมชาติหรือ สิ่งแวดล้อม สวัสดิภาพของประชาชน หรือเพื่อป้องกันการผูกขาดหรือขจัดความไม่เป็นธรรมในการแข่งขัน

มาตรา ๕๑ การเกณฑ์แรงงานจะกระทำมิได้ เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายเฉพาะเพื่อประโยชน์ในการป้องปัดภัยพิบัติสาธารณะ อันมีมาเป็นการฉุกเฉิน หรือโดยอาศัยอำนาจตามบท

บัญญัติแห่งกฎหมายซึ่งกระทำมิได้ ในระหว่างเวลาที่ประเทศอยู่ในภาวะสงครามหรือการรบ ในระหว่างเวลาที่มีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินหรือประกาศใช้กฎอัยการศึก

๑๗. เสรีภาพทางการเมือง ประชาชนมีเสรีภาพในการวมตัวกันตั้งพรรคการเมืองตามระบอบประชาธิปไตย

มาตรา ๔๗ บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการรวมตัวกันจัดตั้งเป็นพรรคการเมืองเพื่อสร้างเจตนารมณ์ทางการเมืองของประชาชน และเพื่อดำเนินกิจการในทางการเมืองให้เป็นไปตามเจตนารมณ์นั้น ตามวิถีทางการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญนี้

การจัดองค์กรภายใน การดำเนินกิจการ และข้อบังคับของพรรคการเมือง ต้องสอดคล้องกับหลักการพื้นฐานของการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ ทรงเป็นประมุข

การจัดองค์การภายในกิจการและข้อบังคับของพรรคการเมืองต้องสอดคล้องกับหลักการพื้นฐานของการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ ทรงเป็นประมุข

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรซึ่งเป็นสมาชิกของพรรคการเมือง กรรมการบริหารของพรรค การเมืองหรือสมาชิกพรรคการเมืองตามจำนวนที่กำหนดในกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรค การเมืองซึ่งเห็นว่ามติหรือข้อบังคับในเรื่องใดของพรรคการเมืองนี้ตนเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตาม รัฐธรรมนูญนี้ หรือขัดหรือแย้งกับหลักการพื้นฐานแห่งการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขมีสิทธิร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัย

ในกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่ามีมติหรือข้อบังคับดังกล่าวขัดหรือแย้งกับหลักการ พื้นฐานแห่งการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ให้มติหรือ ข้อบังคับนั้นเป็นอันเลิกไป

๑๘. เสรีภาพของสื่อมวลชน สื่อมวลชนมีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นเสนอข่าวสาร ได้อย่างอิสระแต่จะต้องอยู่ในขอบเขตของจรรยาบรรณในอาชีพ

มาตรา ๔๑ พนักงานหรือลูกจ้างของเอกชนที่ประกอบกิจการหนังสือพิมพ์ วิทยุกระจายเสียง หรือวิทยุโทรทัศน์ ย่อมมีเสรีภาพในการเสนอข่าวและความคิดเห็นภายใต้ข้อจำกัดตามรัฐธรรมนูญ โดย ไม่ตกอยู่ภายใต้อาญัติของหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือเจ้าของกิจการนั้น แต่ต้องไม่ขัดต่อจรรยาบรรณแห่งการประกอบอาชีพ

ข้าราชการ พนักงาน หรือลูกจ้างของหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ ในกิจการวิทยุกระจายเสียงหรือวิทยุโทรทัศน์ ย่อมมีเสรีภาพเช่นเดียวกับพนักงานหรือลูกจ้างของเอกชนตามวรรคหนึ่ง

๑๙. ขอบเขตของสิทธิและเสรีภาพ

มาตรา ๖๓ บุคคลที่จะใช้สิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญนี้ หรือเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการ ปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญนี้ มิได้

ในกรณีที่บุคคลหรือพรรคการเมืองใดกระทำการตามวรรคหนึ่ง ผู้รู้เห็นการกระทำดังกล่าวย่อมมีสิทธิเสนอเรื่องให้อัยการสูงสุดตรวจสอบข้อเท็จจริงและยื่นคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสั่ง

ในกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสั่งการให้พรรคการเมืองใดเลิกกระทำการตามวรรคสองศาลรัฐธรรมนูญอาจสั่งยุบพรรคการเมืองดังกล่าวได้

หน้าที่ของชนชาวไทย รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันได้กำหนดหน้าที่ของประชาชนไทยไว้ดังนี้

มาตรา ๖๖ บุคคลมีหน้าที่รักษาไว้ซึ่งชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญนี้

มาตรา ๖๗ บุคคลมีหน้าที่ปฏิบัติตามกฎหมาย

มาตรา ๖๘ บุคคลมีหน้าที่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง

บุคคลซึ่งไม่ไปเลือกตั้งโดยไม่แจ้งเหตุอันสมควรที่ทำให้ไม่อาจไปเลือกตั้งได้ย่อมเสียสิทธิตามที่กฎหมายบัญญัติ

การแจ้งเหตุที่ทำให้ไม่อาจไปเลือกตั้ง และการอำนวยความสะดวกในการไปเลือกตั้งให้เป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติ

มาตรา ๖๙ บุคคลมีหน้าที่ป้องกันประเทศรับราชการทหารเสียภาษีอากรช่วยเหลือราชการ รับการศึกษาอบรม พิทักษ์ ปกป้อง และสืบสานศิลปวัฒนธรรมของชาติและภูมิปัญญาท้องถิ่น และอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ตามที่กฎหมายบัญญัติ

มาตรา ๗๐ บุคคลผู้เป็นข้าราชการ พนักงาน หรือลูกจ้างของหน่วยงานราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ หรือของราชการส่วนท้องถิ่น และเจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ มีหน้าที่ดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายเพื่อรักษาประโยชน์ส่วนรวม อำนวยความสะดวกและให้บริการแก่ประชาชน

ในการปฏิบัติหน้าที่และในการปฏิบัติการอื่นที่เกี่ยวข้องกับประชาชนบุคคลตามวรรคหนึ่งต้องวางตนเป็นกลางทางการเมือง

ในกรณีที่บุคคลตามวรรคหนึ่งละเลย หรือไม่ปฏิบัติให้เป็นไปตามหน้าที่ตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสอง บุคคลผู้มีส่วนได้เสียย่อมมีสิทธิขอให้บุคคลตามวรรคหนึ่งหรือผู้บังคับบัญชาของบุคคล ดังกล่าวชี้แจงแสดงเหตุผลและขอให้ดำเนินการให้เป็นไปตามบทบัญญัติในวรรคหนึ่งหรือวรรคสองได้

 ภาพ:https://www.prachamati.org/polls/123

ข้อใดจัดเป็นหน้าที่ที่ประชาชนชาวไทยพึงปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญ

ตามร่างรัฐธรรมนูญ มาตรา 50 ได้บัญญัติโดยระบุว่า บุคคลมีหน้าที่ ดังต่อไปนี้ (1) พิทักษ์รักษาไว้ซึ่งชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และการปกครองระบอบ ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (2) ป้องกันประเทศ พิทักษ์รักษาเกียรติภูมิ ผลประโยชน์ของชาติและสาธารณสมบัติ

หน้าที่ของปวงชนชาวไทยตามรัฐธรรมนูญมีอะไรบ้าง

หน้าที่ของปวงชนชาวไทย 10 ประการ (1) พิทักษ์รักษาไว้ซึ่งชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (2) ป้องกันประเทศ พิทักษ์รักษาเกียรติภูมิ ผลประโยชน์ของชาติ และสาธารณสมบัติของแผ่นดิน รวมทั้งให้ความร่วมมือในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย

การกําหนดสิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทยไว้ในรัฐธรรมนูญมีความสําคัญอย่างไร

สิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับปัจจุบันถือว่าหัวใจสำคัญของการเมืองคือประชาชนจึงได้ปรับการเมืองให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการปกครองประเทศด้วยการเพิ่มสิทธิและเสรีภาพแก่ประชาชนในด้านต่างๆ คำว่าสิทธิหมายถึง อำนาจที่จะทำการใดๆอย่างอิสระ โดยได้รับการรับรองจากกฎหมาย

หน้าที่ของพลเมืองไทยตามรัฐธรรมนูญ2560มีอะไรบ้าง

มาตรา ๕๐ บุคคลมีหน้าที่ ดังต่อไปนี้ (๑) พิทักษ์รักษาไว้ซึ่งชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (๒) ป้องกันประเทศ พิทักษ์รักษาเกียรติภูมิ ผลประโยชน์ของชาติ และสาธารณสมบัติของแผ่นดิน รวมทั้งให้ความร่วมมือในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (๓) ปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด