การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีทาง dna ด้านนิติวิทยาศาสตร์

     แต่ในปัจจุบันบันเป็นที่ทราบกันแล้วว่า เซลล์ของคนแต่ละคนจะมีความแตกต่างกัน และเซลล์ของคนๆเดียวจะมี DNA เหมือนกันทุกชนิดของเซลล์ นอกจากนี้ยังรู้ว่าลูกจะได้สาร DNA หรือยีนจากพ่อแม่อย่างละครึ่ง จึงทำให้เราสามารถบอกความแตกต่างระหว่างบุคคลได้ และบอกเอกลักษณ์ของแต่ละคนได้ โดยอาศัยแถบของ DNA (DNA band) ที่เกิดจากการใช้เอมไซม์ตัดเฉพาะ และเทคนิคเจลอิเล็กโทรโฟริซิส ซึ่งแถบของ DNA ของแต่ละคนจะแตกต่างกันและเป็นเอกลักษณ์ของแต่ละคนนี้เรียกว่า ลายพิมพ์ DNA (DNA finger print) ซึ่งลายพิมพ์ DNA ของคนสองคนที่ไม่ใช่แฝดแท้ โอกาสที่จะเหมือนกันมีน้อยมากหรือไม่มีเลย การที่เป็นเช่นนี้ทำให้สามารถพิสูจน์ตัวบุคคล พิสูจน์ความสัมพันธ์ทางสายเลือด พิสูจน์การฆาตกรรม พิสูจน์คนเข้าเมือง พิสูจน์การให้สัญชาติ พิสูจน์ศพ เช่น ผู้เสียชีวิตจากคลื่นยักษ์สึนามิ พิสูจน์ชิ้นเนื้อจากคดีฆาตกรรมฆ่าหั่นศพ เป็นต้น

เขียนโดย biology เมื่อ May 15, 2017. หัวข้อ ครู, ชีววิทยา, นักเรียน, บทความ, บุคคลทั่วไป, วิทยาศาสตร์

การประยุกต์ใช้ความรู้ทางชีววิทยาในงานนิติวิทยาศาสตร์

ผศ.ดร.ฐิติกา กิจพิพิธ

ภาควิชาวิทยาศาสตร์ประยุกต์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

                     ปัจจุบันมีการนำความรู้ทางชีววิทยาหลากหลายแขนงมาประยุกต์ใช้เพื่อสืบสวนหาข้อเท็จจริง ประกอบการพิจารณาตัดสินคดีความในกระบวนการยุติธรรม  โดยความรู้ทางชีววิทยาดังกล่าว ได้แก่ ความรู้ทางพันธุศาสตร์และเทคโนโลยีชีวภาพ องค์ประกอบและสารเคมีในเซลล์ของสิ่งมีชีวิต สารคัดหลั่งจากร่างกาย ระบบโครงร่างของสิ่งมีชีวิต ชีววิทยาเส้นผมเส้นขน  ความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตทั้งพืช สัตว์และจุลินทรีย์ ชีววิทยาสัตว์ป่า ชีววิทยาแมลง เป็นต้น บทความนี้ขอกล่าวถึงเฉพาะความรู้ทางชีววิทยาที่นำมาใช้บ่อยในทางนิติวิทยาศาสตร์ ดังนี้

ความรู้ทางพันธุศาสตร์และเทคโนโลยีชีวภาพ

             สารพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิตเป็นพื้นฐานของการถ่ายทอดลักษณะจากรุ่นสู่รุ่นอย่างมีแบบแผนและมีความแตกต่างระหว่างบุคคล จึงสามารถนำมาใช้ตรวจ DNA เพื่อพิสูจน์เอกลักษณ์บุคคล (Individualization) จากวัตถุพยานทางชีวภาพที่เกี่ยวข้องในคดีได้ รวมทั้งสามารถใช้เชื่อมโยงวัตถุพยานที่พบในสถานที่เกิดเหตุไปสู่การระบุตัวผู้กระทำผิดหรือผู้ที่เกี่ยวข้องในคดีได้อีกด้วย ดังเช่น คดีข่มขืนกระทำชำเรา มักพบคราบอสุจิจากในช่องคลอดของเหยื่อหรือจากหลักฐานต่างๆ ผลลายพิมพ์ DNA ที่ได้รับจากคราบอสุจินี้ จะใช้เปรียบเทียบกับลายพิมพ์ DNA ของผู้ต้องสงสัยเพื่อระบุตัวผู้กระทำผิด และเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมขั้นถัดไป นอกจากนี้การตรวจ DNA ยังสามารถพิสูจน์ความสัมพันธ์ทางสายเลือดที่รวมถึงการตรวจพิสูจน์ความสัมพันธ์พ่อ-แม่-ลูกได้อีกด้วย โดยกระบวนการตรวจพิสูจน์ DNA (STR profiling) จะเริ่มต้นจากการสกัด DNA จากวัตถุพยานชีวภาพ  การวัดปริมาณ DNA ที่สกัดได้โดยเทคนิคเรียลไทม์พีซีอาร์ (Real Time Polymerase Chain Reaction, qPCR) การเพิ่มปริมาณ DNA เฉพาะตำแหน่งเป้าหมายที่มีความแตกต่างกันระหว่างบุคคลโดยเทคนิคพีซีอาร์ (PCR) และการตรวจสอบชิ้นส่วน DNA ที่เพิ่มปริมาณขึ้นโดยใช้เทคนิค  แคปิลลารีอิเล็กโทรโฟรีซิส (Capillary electrophoresis) 

การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีทาง dna ด้านนิติวิทยาศาสตร์

สารคัดหลั่งจากร่างกาย

           สารคัดหลั่งหรือของเหลวในร่างกาย ได้แก่ เลือด น้ำลาย น้ำอสุจิ เหงื่อ ปัสสาวะเป็นต้น ร่างกายสร้างสารคัดหลั่งเหล่านี้ขึ้นเพื่อส่งเสริมให้ระบบต่างๆทำงานได้ปกติหรืออาจเป็นของเสียที่ต้องการกำจัดทิ้ง  สารคัดหลั่งเหล่านี้สามารถตรวจพิสูจน์เพื่อใช้ประเมินรูปคดี  ข้อเท็จจริงและความเป็นไปได้ของคำให้การทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับคดี ซึ่งบางครั้งต้องใช้เป็นหลักฐานสำคัญเพื่อบ่งชี้การเกิดเหตุการณ์หรือคดีบางประเภท เช่น การตรวจพบคราบอสุจิใช้เป็นหลักฐานสำคัญในคดีข่มขืนกระทำชำเรา การตรวจพบคราบเลือดใช้เป็นหลักฐานสำคัญในคดีทำร้ายร่างกาย เป็นต้น นอกจากนี้การตรวจระบุสารคัดหลั่งประเภทเลือดหรือคราบเลือด อาจช่วยบ่งชี้ถึงสถานที่เกิดเหตุจริงในกรณีที่มีการอำพรางคดี และอาจช่วยระบุอาวุธที่ใช้ในการกระทำความผิดได้อีกด้วย  การตรวจพิสูจน์ระบุประเภทของคราบต้องสงสัยนี้จึงเป็นอีกขั้นตอนหนึ่งที่มีความสำคัญมากและมักกระทำเป็นขั้นตอนแรกก่อนนำคราบต้องสงสัยดังกล่าวไปวิเคราะห์ในขั้นตอนเชิงลึกอื่นๆ เช่น การตรวจพิสูจน์ DNA หรือการตรวจวิเคราะห์สารพิษ

การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีทาง dna ด้านนิติวิทยาศาสตร์

ความรู้เรื่องระบบโครงร่างของสิ่งมีชีวิต

           ความรู้เรื่องระบบโครงร่างของสิ่งมีชีวิตสามารถใช้ตรวจสอบว่ากระดูกที่พบเป็นของมนุษย์หรือไม่ สามารถใช้ระบุเพศ ประมาณอายุขณะเสียชีวิต คาดคะเนระยะเวลาหลังจากเสียชีวิต รูปพรรณสัณฐานของผู้ตาย เชื้อชาติของผู้ตาย หรือสามารถบ่งบอกชีวประวัติของผู้ตายได้บางส่วน เช่น ประวัติการเกิดกระดูกหักในช่วงหนึ่งของชีวิต เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ในการพิสูจน์เอกลักษณ์บุคคลและยืนยันการเสียชีวิตของบุคคลนั้นๆ นอกจากนี้ยังสามารถระบุจำนวนของมนุษย์ที่พบทั้งหมดในกรณีหลุมศพหมู่ (Mass grave) หรือกรณีภัยพิบัติทางธรรมชาติหรืออุบัติภัยที่มีผู้เสียชีวิตเป็นจำนวนมาก และผ่านมาเป็นระยะเวลานานจนไม่สามารถระบุบุคคลได้จากสภาพร่างกาย 

การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีทาง dna ด้านนิติวิทยาศาสตร์

การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีทาง dna ด้านนิติวิทยาศาสตร์

ชีววิทยาสัตว์ป่า

          ความรู้ด้านสัณฐานวิทยาและพันธุศาสตร์ในสัตว์ป่า นำมาใช้เพื่อตรวจระบุชนิดของสัตว์ป่า (Species identification) จากวัตถุพยานของกลางในงานอาชญากรรมสัตว์ป่า เช่น งาช้าง ชิ้นเนื้อ เส้นขน ผงกระดูก ฯ เพื่อตรวจสอบว่าวัตถุพยานเหล่านี้มีแหล่งที่มาจากสัตว์ป่าคุ้มครองด้วยกฎหมายหรืออนุสัญญาไซเตส (CITES) หรือไม่ นอกจากนี้ความรู้ทางพันธุศาสตร์ยังนำมาประยุกต์ใช้ตรวจระบุตัวสัตว์ป่าหรือตรวจสอบความสัมพันธ์ทางสายเลือดของสัตว์ป่า เพื่อบ่งชี้ได้ว่าสัตว์ป่าต้องสงสัยมีการครอบครองอย่างถูกกฎหมายหรือไม่ หรือมีการล่าสัตว์ป่ามาสวมทะเบียนแทนตัวอื่นหรือไม่ เช่น ในกรณีการตรวจ DNAเพื่อพิสูจน์การสวมทะเบียนช้าง 

การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีทาง dna ด้านนิติวิทยาศาสตร์

ชีววิทยาแมลง

               ความรู้ในเรื่องชีววิทยาแมลง วงจรชีวิต ลักษณะทางสัณฐานวิทยา ความหลากหลายและการกระจายตัวของแมลง สามารถใช้ประเมินระยะเวลาการเสียชีวิตของศพ (Postmortem interval estimation) จากระยะเวลาที่ใช้ในการเปลี่ยนแปลงวงจรชีวิตของแมลง หรือจากชนิดของแมลงที่ตรวจพบบนศพ เนื่องจากในแต่ละช่วงเวลาที่ศพเกิดการเน่าสลายจนเหลือกระดูกนั้น จะเกิดกลิ่นที่ต่างกันส่งผลให้เกิดการดึงดูดชนิดของแมลงที่แตกต่างกัน  การระบุชนิดของแมลงที่พบเฉพาะพื้นที่ยังสามารถใช้บ่งชี้การเคลื่อนย้ายศพจากสถานที่เกิดเหตุไปยังอีกบริเวณหนึ่ง (Corpse movement) หรือใช้เชื่อมโยงสถานที่เกิดเหตุกับผู้ต้องสงสัยหรือเหยื่อตำแหน่งที่พบแมลงบนศพช่วยในการระบุตำแหน่งของบาดแผลบนศพ นอกจากนี้การวิเคราะห์สารพิษรวมทั้งสารพันธุกรรมมนุษย์จากแมลงบนศพ อาจมีประโยชน์ในกรณีที่ศพเน่าหรือสลายจนเหลือเพียงกระดูก ความรู้ทางชีววิทยาแมลงอาจใช้ในการพิจารณาคดีความทางแพ่ง เช่น คดีฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายจากการปนเปื้อนของแมลงในอาหารหรือผลิตภัณฑ์สำหรับบริโภค หรือการปรากฏของแมลงจำพวกปลวกบริเวณอาคารสิ่งก่อสร้าง 

การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีทาง dna ด้านนิติวิทยาศาสตร์

            ในปัจจุบันประเทศไทยมีการนำความรู้ทางชีววิทยาดังที่อธิบายข้างต้นมาใช้เพื่อการสืบสวนทางนิติวิทยาศาสตร์มากขึ้น ทำให้ได้ข้อมูลที่อาจเป็นประโยชน์ต่อการพิจารณาคดีความเพิ่มมากขึ้น นำไปสู่การอำนวยความยุติธรรมในสังคมและสร้างสันติสุขในประเทศ

 

เอกสารอ้างอิง

1.Butler JM. Advanced Topics in Forensic DNA Typing: Methodologies: Elsevier; 2012.

2.Cox M, Mays S. Human Osteology in Archaeology and Forensic Science: Greenwich Medical Media Limited (UK); 2000.

3.Gennard, D. Forensic Entomology: An Introduction: John Wiley & Sons; 2013

4.Goodwin W, Linacre A, Hadi S. An Introduction to Forensic Genetics: Wiley-Blackwell; 2011.

5.Linacre A, Tobe S. Wildlife DNA Analysis: Applications in Forensic Science: Wiley-Blackwell; 2010.

6.Thompson T, Black S. Forensic human identification: An introduction: Taylor & Francis; 2010.

7.Virkler K, Lednev IK. Analysis of body fluids for forensic purposes: From laboratory testing to non-destructive rapid confirmatory identification at a crime scene. Forensic Sci Int. 2009;188:1-17.

8.White, P. Crime Scene to Court: The Essentials of Forensic Science: Royal Society of Chemistry; 2010.

การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีทางดีเอ็นเอด้านนิติวิทยาศาสตร์ มีอะไรบ้าง

1.การตรวจสถานที่เกิดเหตุและการถ่ายรูป 2.การตรวจลายนิ้วมือฝ่ามือฝ่าเท้า 3.การตรวจเอกสาร 4.การตรวจอาวุธปืน และกระสุนปืนของกลาง 5.การตรวจทางเคมี 7.การตรวจทางชีววิทยา 8.การตรวจทางนิติเวช

การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีทางดีเอ็นเอ มีอะไรบ้าง

การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีของ DNA.
การวินิจฉัยโรค ... .
การบำบัดด้วยยีน ... .
การสร้างผลิตภัณฑ์ทางเภสัชกรรม.

ประโยชน์ของเทคโนโลยีชีวภาพในข้อใดนำไปใช้ด้านนิติวิทยาศาสตร์

เทคนิคทางชีววิทยาโมเลกุลสามารถนำไประยุกต์ใช้เพื่อสนับสนุนการทำงานด้านนิติวิทยาศาสตร์ได้อย่างหลากหลาย เช่น เทคนิคการตรวจลายพิมพ์ดีเอ็นเอเพื่อช่วยในการตรวจสอบเอกลักษณ์บุคคลหรือความสัมพันธ์ทางสายเลือด การตรวจสอบหา SNPs เพื่อบ่งบอกรูปพรรคของบุคคลที่เป็นเจ้าของวัตถุพยาน ซึ่งทั้งสองเทคนิคที่กล่าวมาแล้วนั้น ได้พิสูจน์ว่า ...

การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีทาง DNA ด้านการเกษตร มีอะไรบ้าง

- พืชดัดแปลงพันธุกรรมที่สามารถต้านทานสารปราบวัชพืช เช่น นำยีนที่ต้านทางสารปราบวัชพืช ใส่เข้าไปในเข้าไปในพืช เช่น ถั่วเหลืองข้าวโพด ฝ้าย ทำให้สามารถต้านทานสารปราบวัชพืชทำให้สารเคมีที่ใช้ปราบ วัชพืช ไม่มีผลต่อพืชดังกล่าว และสามารถใช้ประโยชน์จากดินและปุ๋ย อย่างมีประสิทธิภาพ การปลูกพืชหมุนเวียนยังทำให้ง่ายขึ้นผลผลิตก็มีมาก ...