ใครเป็นผู้รับผิดชอบการอนุรักษ์ดูแลทรัพยากรธรรมชาติ

รู้จักหน่วยงาน

ต้นธารงานส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม

“สร้างการเรียนรู้ ปูพื้นฐาน”

ปี พ.ศ. 2520 – 2535
ในช่วง 10 ปีแรก “สิ่งแวดล้อม” เป็นเรื่องใกล้ตัว ที่ยังห่างไกลจากความคิดของคนไทย หน่วยงานเล็กๆ ภายใต้สำนักงานคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ จึงทำหน้าที่ในการให้ข้อมูล เพื่อสร้างการรับรู้ ปูพื้นฐาน   เรื่องสิ่งแวดล้อมไปทั่วประเทศ
ใครเป็นผู้รับผิดชอบการอนุรักษ์ดูแลทรัพยากรธรรมชาติ
ใครเป็นผู้รับผิดชอบการอนุรักษ์ดูแลทรัพยากรธรรมชาติ
ปี พ.ศ. 2531 – 2535
จุดเปลี่ยนสำคัญของงานส่งเสริมสิ่งแวดล้อม  เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2531 เกิดเหตุการณ์ดินถล่มที่บ้านกะทูนเหนือ อำเภอพิปูน จังหวัดนครศรีธรรมราช และวันที่ 4 พฤศจิกายน 2532 เกิดเหตุการณ์พายุใต้ฝุ่นเกย์ ถล่มภาคใต้ตอนบน ที่อำเภอท่าแซะ และอำเภอปะทิว จังหวัดชุมพร และบางส่วนของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เหตุการณ์ดังกล่าว กระตุ้นให้สังคมไทยเกิดความตื่นตัว รัฐบาลประกาศยกเลิกการทำสัมปทานป่าไม้ และประกาศให้ช่วงปีพ.ศ. 2532-2535 เป็น “ปีแห่งการพิทักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม” ที่สำคัญที่สุด คือ ในวันที่ 4 ธันวาคม 2532 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช มีพระราชดำรัสฯ ใจความเกี่ยวกับปัญหาภาวะโลกร้อน และสิ่งแวดล้อม โดยให้ถือเป็นหน้าที่และความรับผิดชอบของทุกคนในการร่วมมือกันเพื่อการแก้ปัญหา  และเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2534 คณะรัฐมนตรีมีมติให้ 4 ธันวาคม เป็นวันสิ่งแวดล้อมไทย นับเป็นจุดเริ่มต้นยุครุ่งเรืองของงานส่งเสริมเผยแพร่ และสร้างจิตสำนึกด้านสิ่งแวดล้อม โดยร่วมมือกับองค์กรนอกภาครัฐ และทำให้เกิดการพัฒนารูปแบบสื่อที่ใช้ในการรณรงค์ประชาสัมพันธ์จนถึงปัจจุบัน

กำเนิดกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม

“ก่อร่าง สร้างงาน”

ปี 2535 – 2545
ความตื่นตัวในประเด็นสิ่งแวดล้อมร่วมกันในสังคม ประกอบกับกระแสระดับโลก เรื่องการพัฒนาที่ยั่งยืน นำไปสู่การประกาศใช้พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ.2535 ทำให้เกิดการปรับโครงสร้างหน่วยงานด้านสิ่งแวดล้อม จากสำนักงานคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ เป็น กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กรมควบคุมมลพิษ และสำนักงานนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม สังกัดกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม

ใครเป็นผู้รับผิดชอบการอนุรักษ์ดูแลทรัพยากรธรรมชาติ

กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม เริ่มบทบาทสร้างการมีส่วนร่วมขององค์กรเอกชน ในการดูแลรักษา และส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมของประเทศไทย จึงเป็น ช่วงเวลาสร้างงาน ที่เป็นฐานการเติบโตของการมีส่วนร่วมจากภาคประชาชน และภาคส่วนอื่นๆ มีการเสริมศักยภาพการทำงานกับท้องถิ่น เช่น การสร้างอาสาสมัครพิทักษ์สิ่งแวดล้อม อบต.สีเขียว การร่วมมือกับชมรมนักข่าวสิ่งแวดล้อม การเข้าร่วมงานกับอาเซียน การแลกเปลี่ยนและสร้างความร่วมมือระหว่างประเทศ มีการผลิตและการให้บริการสื่อสำหรับเป้าหมายที่หลากหลาย รวมทั้งเริ่มต้นการใช้สื่อกระแสหลัก เช่น วิทยุ โทรทัศน์ เป็นช่องทางการเผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ ทำให้เกิดผู้ผลิต พิธีกร และรายการโทรทัศน์ที่นำเสนอข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อมที่สำคัญหลากหลายรายการ

สานเส้นทางงานส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม

“ราษฎร์ร่วมรัฐ”

ปี 2545 – ปัจจุบัน
การปฏิรูประบบราชการในปี พ.ศ.2545 นำไปสู่การปรับโครงสร้างหน่วยงานราชการ เกิดกระทรวงใหม่ คือ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หน่วยงานด้านสิ่งแวดล้อมย้ายโอนมาสังกัดกระทรวงใหม่นี้ เช่นเดียวกับ กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม
ใครเป็นผู้รับผิดชอบการอนุรักษ์ดูแลทรัพยากรธรรมชาติ
ใครเป็นผู้รับผิดชอบการอนุรักษ์ดูแลทรัพยากรธรรมชาติ
การสื่อสารผ่านเว็บไซต์และเครือข่ายทางสังคมออนไลน์ เป็นช่องทางใหม่ในการเผยแพร่ รณรงค์ และให้ความรู้กับกลุ่มเป้าหมายของกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม และทำให้ประชาชนเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้อย่างรวดเร็วถือเป็นช่วงเวลาที่ประชาชนตื่นตัว สนใจปัญหาสิ่งแวดล้อม และแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืน จึงเป็นโอกาสของกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม ในการเสริมพลังประชาชนจากการมีจิตสำนึก สู่การปฏิบัติที่เป็นรูปธรรม และเน้นการทำงานเชิงพื้นที่ มีอาสาสมัครพิทักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมหมู่บ้านเกิดขึ้นทั่วประเทศ
         บทบาทการทำงานของกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม เริ่มปรับเปลี่ยนจากผู้ปฏิบัติ เป็นการส่งเสริมให้เกิดงานในลักษณะของภาคีความร่วมมือ กับหน่วยงานระดับประเทศและท้องถิ่น รวมทั้งองค์กรนอกภาครัฐอื่นๆ เช่น ภาคธุรกิจเอกชน โดยเฉพาะในเรื่องของการผลิตและบริโภคที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยมีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้
  • ส่งเสริม เผยแพร่ และประชาสัมพันธ์ด้านสิ่งแวดล้อม
  • รวบรวม จัดทำ และให้บริการข้อมูล ข้อสนเทศด้านสิ่งแวดล้อมด้วยเทคโนโลยีต่างๆ ในฐานะศูนย์ข้อมูลข้อสนเทศด้านสิ่งแวดล้อม
  • ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการสงวน บำรุงรักษา และใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม และความหลากหลายทางชีวภาพอย่างสมดุลและยั่งยืน รวมทั้งเป็นศูนย์ป้องกันไกล่เกลี่ยกรณีพิพาทด้านสิ่งแวดล้อม
  • ประสานและเสนอแนะแผนและมาตรการในส่งเสริม เผยแพร่ และประชาสัมพันธ์ การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
  • ศึกษา วิจัย พัฒนา ถ่ายทอดและส่งเสริมเทคโนโลยีและการจัดการด้านสิ่งแวดล้อม รวมทั้งเป็นศูนย์เทคโนโลยีสะอาดและศูนย์ปฏิบัติการอ้างอิงด้านสิ่งแวดล้อม
  • ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกรม หรือตามที่กระทรวงหรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย

ข้อใดเป็นผู้รับผิดชอบการอนุรักษ์ดูแลทรัพยากรธรรมชาติ

ปัจจุบันองค์กรที่ดำเนินการโดยตรงคือ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการสงวนอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การจัดการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน และราชการอื่นตามที่มีกฎหมาย หรือส่วนราชการที่สังกัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้ ...

การดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติเป็นบทบาทและหน้าที่ของใคร

สำหรับประเทศไทย องคืกรที่มีบทบาทในการจัดการด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมีหลายองค์กรและหลายรูปแบบบ ในที่นี้กล่าวถึงองค์กร 2 กลุ่ม คือ องค์กรภาครัฐกับองค์กรประชาชนและองค์กรเอกชน 2.1.1 องค์กรภาครัฐ องค์กรภาครัฐที่ดำเนินในด้านดารทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมโดยตรงในปัจจุบัน คือ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

ใครมีหน้าที่รับผิดชอบจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (อังกฤษ: Ministry of Natural Resources and Environment) เป็นหน่วยงานราชการส่วนกลางประเภทกระทรวงของไทย มีหน้าที่เกี่ยวกับการสงวน อนุรักษ์ และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การจัดการการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน และราชการอื่นตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกระทรวง ...

องค์การใดดำเนินงานเกี่ยวกับเรื่องสิ่งแวดล้อม

WWF เป็นองค์กรเอกชนที่ดำเนินงานด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เริ่มเข้ามาสนับสนุนงานในประเทศไทย ตั้งแต่ปี พ.ศ.2519 โดยการสนับสนุนมูลนิธิคุ้มครองสัตว์ป่าและพรรณพืชแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชินูปถัมภ์ จนกระทั่งปี พ.ศ.2536.

ข้อใดเป็นผู้รับผิดชอบการอนุรักษ์ดูแลทรัพยากรธรรมชาติ การดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติเป็นบทบาทและหน้าที่ของใคร ใครมีหน้าที่รับผิดชอบจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม องค์การใดดำเนินงานเกี่ยวกับเรื่องสิ่งแวดล้อม องค์กรสิ่งแวดล้อมภาครัฐ มีอะไรบ้าง องค์กรเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมโลก องค์กรที่มีบทบาทในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 10 องค์กร ข้อใดไม่ใช่ลักษณะขององค์กรชุมชนชาวบ้านที่มีบทบาทในการจัดการด้านทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อม องค์กรเอกชนด้าน สิ่งแวดล้อม ผู้บริหาร กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โครงสร้าง กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม องค์กรอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ในไทย