วิธีป้องกันอันตรายที่เกิดจากไฟฟ้า

อันตรายที่เกิดจากไฟฟ้าชอร์ท ไฟฟ้าดูด

    แม้ว่าอันตรายจากไฟฟ้าจะพบได้น้อยกว่าอันตรายจากน้ำร้อนลวก หรือ บาดเจ็บจากของร้อน แต่คงปฏิเสธไม่ได้ว่าความรุนแรง และอันตรายจากไฟฟ้านั้นเสี่ยงต่อชีวิตมากจริง ๆ วันนี้เราจึงมาแนะนำ ภัยอันตรายจากไฟฟ้า รวมถึงวิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้นอย่างไรให้ปลอดภัย เผื่อเกิดเหตุด่วนเหตุร้ายจากไฟฟ้า เราจะได้ช่วยเหลือคนอื่นได้ทัน

ไฟฟ้าชอร์ท(Short Circuit)

         เมื่อมีเหตุเกิดเพลิงไหม้เรามักจะได้ยินข้อสันนิษฐานว่ามีเหตุ มาจากไฟฟ้าลัดวงจร ภาวะหรือสาเหตุการลัดวงจรคือกระแสไฟฟ้าไหลครบวงจรโดยไม่ผ่านเครื่องใช้ ไฟฟ้า (LOAD) การลัดวงจรของไฟฟ้ามีมากมายหลายสาเหตุ สาเหตุหลักเกิดจากการใช้ไฟฟ้าที่ไม่ถูกต้อง หรือไม่ได้มีการตรวจสอบระบบไฟฟ้าให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน การติดตั้งอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ไม่ได้มาตรฐาน ปรากฏการณ์ที่พบได้บ่อย คือ

1.1 ฉนวนไฟฟ้าชำรุดและเสื่อมสภาพ อาจเนื่องมาจากอายุการใช้งานนาน สภาพแวดล้อมมีความร้อนสูง
ใช้พลังงานไฟฟ้าเกินพิกัดทำให้เกิดความร้อนภายในสายหรืออุปกรณ์ไฟฟ้า

1.2 มีสิ่งก่อสร้าง ต้นไม้ หรือสิ่งอื่น ๆ ไปพาดทับหรือสัมผัสสายไฟฟ้า เกิดการขัดสี จนฉนวนชำรุด ลวดตัวนำ ภายในสายสัมผัสกันเองจนเกิดการลุกไหม้

1.3 สายไฟฟ้าหลุด หรือขาดลงพื้น ทำให้กระแสไฟฟ้ากระจายอยู่ในบริเวณนั้น หากพื้นผิวบริเวณนั้นเปียกชื้น อันตรายต่อผู้สัญจรยิ่งสูงตามไปด้วย

ไฟฟ้าดูด(Electric Shock)

         เป็นภาวะที่กระแสไฟฟ้าไหลผ่านร่างกายมีผลทำให้กล้ามเนื้อเกิดการเกร็ง จนไม่สามารถสะบัดให้หลุดได้ ปริมาณของกระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านร่างกายทำให้เสียชีวิต หรือพิการไฟฟ้าดูดในบางกรณี เป็นการดูดที่ผู้ประสบเหตุไม่ได้สัมผัสกับไฟฟ้าโดยตรงก็ได้ เช่นจับตัว ผู้สัมผัสไฟฟ้า หรือใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าใต้แนวไฟฟ้า แรงสูงก็เคยมีกรณีให้เป็นตัวอย่างมาแล้ว ปกติพื้นดินเป็นส่วนหนึ่งของวงจรไฟฟ้า มีแรงดันทางไฟฟ้าเป็นศูนย์ ดังนั้น เมื่อเราสัมผัส ส่วนใดใดที่มีแรงดันไฟฟ้าขณะที่ร่างกายยืนอยู่บนพื้นดิน กระแสไฟฟ้าก็จะไหลผ่านร่างกายลงดินครบวงจร เราจึงถูกไฟฟ้าดูด การถูกไฟฟ้าดูดจากการสัมผัส สามารถแยกแยะตามลักษณะของการสัมผัสได้เป็น 2 แบบคือ

2.1 การสัมผัสโดยตรง(Direct Contact)คือการที่ส่วนร่างกายสัมผัสถูกส่วนที่มีไฟฟ้าโดยตรง เช่น สายไฟฟ้ารั่ว เพราะฉนวนชำรุดแล้วมีบุคคลเอามือไปจับหรือจากการที่เด็กเอาโลหะหรือตะปูแหย่ เข้าไปในปลั๊ก(เต้ารับไฟฟ้า)

2.2 การสัมผัสโดยอ้อม(Indirect Contact) ลักษณะนี้ บุคคลไม่ได้สัมผัสส่วนที่มีไฟฟ้าโดยตรง แต่เกิดจากการที่ บุคคลไปสัมผัสกับส่วนที่ปกติไม่มีไฟฟ้า เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้า แต่มีไฟฟ้าเนื่องจากเครื่องใช้ไฟฟ้านั้น ๆ รั่ว ไฟฟ้าจึงปรากฏ อยู่บนพื้นผิวของเครื่องใช้ไฟฟ้านั้น ๆ เมื่อบุคคลไปสัมผัสจึงถูกไฟฟ้าดูด

กระทรวงมหาดไทยโดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เตือนช่วงฤดูฝนเสี่ยงอุบัติภัยจากไฟฟ้า พร้อมแนะหมั่นตรวจสอบอุปกรณ์ไฟฟ้าและสายไฟฟ้าให้อยู่ในสภาพปลอดภัย ติดตั้งสายดินกับเครื่องใช้ไฟฟ้าที่เปลือกหุ้มเป็นโลหะ รวมทั้งห้ามใช้หรือสัมผัสเครื่องใช้ไฟฟ้า สวิตซ์ไฟฟ้าในขณะที่ร่างกายหรือมือเปียกชื้นอย่างเด็ดขาด เพื่อป้องกันการถูกไฟฟ้าดูดเสียชีวิต

วิธีป้องกันอันตรายที่เกิดจากไฟฟ้า

 

วิธีป้องกันอันตรายที่เกิดจากไฟฟ้า
 นายวิบูลย์ สงวนพงศ์ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เปิดเผยว่า ฤดูฝนเป็นช่วงที่มักเกิดอุบัติภัยจากไฟฟ้า โดยมีสาเหตุมาจากอุปกรณ์ไฟฟ้าชำรุด ความชื้นจากฝน และน้ำที่เป็นตัวนำกระแสไฟฟ้า หากผู้ใช้งานขาดความระมัดระวังจะยิ่งเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติภัยจากไฟฟ้า เพื่อความปลอดภัย

 

วิธีป้องกันอันตรายที่เกิดจากไฟฟ้า
 กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ขอแนะวิธีป้องกันอุบัติภัยจากไฟฟ้า ดังนี้

  • หมั่นตรวจสอบอุปกรณ์ไฟฟ้าและสายไฟฟ้าให้อยู่ในสภาพปลอดภัยและใช้งานได้ดี โดยเฉพาะอุปกรณ์ไฟฟ้าภายนอกบ้าน เช่น กระดิ่งไฟฟ้า โคมไฟฟ้า ประตูรีโมทไฟฟ้า เป็นต้น หากพบว่าชำรุดหรือกระแสไฟฟ้ารั่วไหล ไม่ควรซ่อมแซมด้วยตนเอง ให้เรียกช่างที่มีความเชี่ยวชาญมาดำเนินการแก้ไขหรือเปลี่ยนใหม่ทันที
  • ควรติดตั้งสายดินและระบบป้องกันอันตรายจากไฟฟ้ารั่วกับเครื่องใช้ไฟฟ้าประเภทที่มีเปลือกหุ้มภายนอกทำด้วยโลหะ เช่น เครื่องซักผ้า เครื่องทำน้ำอุ่น ตู้เย็น เตารีด หม้อหุงข้าว เตาไมโครเวฟ เป็นต้น
  • ห้ามนำเครื่องใช้ไฟฟ้าที่เปียกน้ำหรือได้รับความเสียหายจากน้ำท่วม และอยู่ในสภาพชำรุดมาใช้งานอย่างเด็ดขาด เพราะอาจมีกระแสไฟฟ้ารั่วไหล ทำให้ถูกไฟฟ้าดูดเสียชีวิตหรือเกิดไฟฟ้าลัดวงจรจนเป็นสาเหตุให้เกิดเพลิงไหม้
  • ห้ามใช้หรือสัมผัสเครื่องใช้ไฟฟ้า สวิตซ์ไฟฟ้าในขณะที่ร่างกายหรือมือเปียกชื้นอย่างเด็ดขาด กรณีเกิดภาวะน้ำท่วม ให้ย้ายปลั๊กไฟฟ้า เครื่องใช้ไฟฟ้าให้พ้นจากระดับน้ำท่วมถึงสับสวิตซ์ฟลง เพื่อป้องกันไฟฟ้ารั่ว ทำให้ถูกไฟฟ้าดูดเสียชีวิต
  • กรณีพบผู้ถูกไฟฟ้าดูด ให้รีบตัดกระแสไฟฟ้า โดยรีบสับสวิตซ์ไฟ ปลดคัทเอาท์ ยกสะพานไฟ และเบรกเกอร์ออก พร้อมนำวัสดุที่เป็นฉนวนป้องกันไฟฟ้า เช่น ผ้าแห้ง ไม้แห้ง เป็นต้น มากระชาก ผลัก หรือดันตัวผู้ถูกไฟฟ้าดูดออกจากบริเวณที่มีกระแสไฟฟ้ารั่วไหลโดยเร็วที่สุด โดยยืนอยู่บนพื้นที่แห้ง และสวมรองเท้าพื้นยาง เพื่อป้องกันการถูกไฟฟ้าดูด
  • หากร่างกายเปียกชื้นหรือยืนอยู่บนพื้นที่ชื้นแฉะ ห้ามเข้าไปช่วยเหลือผู้ถูกไฟฟ้าดูดอย่างเด็ดขาด ตลอดจนห้ามใช้ส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายสัมผัสถูกตัวผู้ถูกไฟฟ้าดูด และห้ามใช้วัสดุที่เปียกน้ำหรือโลหะเขี่ยสายไฟ เพราะอาจทำให้ถูกไฟฟ้าดูดเสียชีวิตได้ ทั้งนี้ เมื่อช่วยผู้ถูกไฟฟ้าดูดออกมาแล้ว ให้รีบทำการปฐมพยาบาล กรณีผู้ป่วยหยุดหายใจ ให้ทำการเป่าปาก ช่วยหายใจ หากชีพจรไม่เต้น ให้ทำการนวดหัวใจ หากอาการยังไม่ดีขึ้น ให้รีบนำส่งโรงพยาบาลในทันที

วิธีป้องกันอันตรายที่เกิดจากไฟฟ้า

เชียงใหม่แอร์แคร์เอ็นจิเนียริ่ง


จำหน่าย ติดตั้ง รับเหมา วางระบบ เครื่องปรับอากาศ เครื่องทำน้ำอุ่น จำหน่ายอะไหล่แอร์ราคาส่งทั่วประเทศ พร้อมบริการหลังการขายครบครัน

วิธีการป้องกันอันตรายที่เกิดจากไฟฟ้ามีอะไรบ้าง

แนวทางป้องกันความเสี่ยงที่มีต่อคน ใช้ฉนวนป้องกัน อุปกรณ์ไฟฟ้ามีฉนวนป้องกันการสัมผัสจากผู้ใช้งาน ใช้เครื่องตัดไฟรั่ว อุปกรณ์ที่ใช้กันไฟดูด-ไฟช็อตจะเรียกรวมๆว่า Residual-Current Device (RCD) ติดตั้งสายดิน ให้แก่เครื่องใช้ไฟฟ้าทุกชิ้นที่มีโครงสร้างโลหะ

เรามีวิธีการใดบ้างที่ป้องกันไฟฟ้าไม่ให้เกิดอันตรายกับผู้ใช้งาน

ห้ามนำสารไวไฟ หรือสารลุกติดไฟง่ายเข้าใกล้สวิทช์ไฟฟ้า หมั่นตรวจสอบฉนวนหุ้มอุปกรณ์อยู่เสมอ ในบริเวณที่อาจสัมผัส หรือทำงาน เมื่อมีผู้ได้รับอันตราย ควรสับสวิทช์ให้วงจรเปิด (ตัดกระแสไฟฟ้า) เมื่อไฟฟ้าดับ หรือเกิดไฟฟ้าช๊อต ควรสับสวิทช์วงจรไฟฟ้าให้เปิด

อุปกรณ์ป้องกันไฟฟ้าที่สามารถป้องกันอันตรายจากไฟฟ้าดูดได้คืออะไร

การป้องกันอุบัติภัยจากไฟฟ้า 2. ติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันไฟฟ้าดูด อาทิ เครื่องตัดกระแสไฟฟ้าอัตโนมัติ เบรกเกอร์ควบคุมไฟ โดยเฉพาะเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีโครงหรือวัสดุหุ้มเป็นโลหะ เช่น ตู้เย็น เครื่องทำน้ำอุ่น ไมโครเวฟ ตู้น้ำดื่ม เป็นต้น ควรติดตั้งสายดิน หากกระแสไฟฟ้ารั่ว ไฟฟ้าจะไหลลงสู่พื้นดิน จึงช่วยป้องกันอันตรายจากไฟฟ้าดูด