ความสำคัญพัฒนาการด้านสติปัญญา ปฐมวัย

เด็กปฐมวัยเป็นช่วงวัยที่มีการเจริญเติบโตและพัฒนาการทุกด้านพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว เด็กช่วงวัยนี้มีความอยากรู้อยากเห็น ชอบสำรวจ ชอบทดลองเรียนรู้ สิ่งต่าง ๆ รอบ ๆ ตัว โดยพัฒนาการของเด็กปฐมวัยส่วนใหญ่จะขึ้นอยู่กับการปรับตัวให้คุ้นเคยกับสิ่งแวดล้อม เด็กต้องเรียนรู้การมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม และเรียนรู้พฤติกรรมที่เหมาะสม ดังนั้นการพัฒนาเด็กอย่างมีคุณภาพจึงต้องเริ่มต้นจากครอบครัว ซึ่งเป็นสังคมกลุ่มแรกของเด็กในการเรียนรู้และปรับตัว

โครงการวิจัย “สถานการณ์ปัญหาสภาวะสุขภาพ พัฒนาการ และพื้นฐานอารมณ์ของเด็กปฐมวัย” ได้ทำการวิจัยเชิงสำรวจ เพื่อศึกษาถึงสถานการณ์ภาวะสุขภาพ พัฒนาการ พื้นฐานทางอารมณ์ของเด็กปฐมวัย รวมถึงศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อพื้นฐานทางอารมณ์ โดยสอบถามเกี่ยวกับข้อมูลพื้นฐานของเด็กปฐมวัยและครอบครัว ภาวะสุขภาพเด็ก แบบบันทึกการเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย(Developmental surveillance and promotion manual: DSPM) และแบบประเมินพื้นฐานอารมณ์เด็กปฐมวัย

สถานการณ์ภาวะสุขภาพ พัฒนาการ พื้นฐานอารมณ์ของเด็กปฐมวัย

ในปัจจุบันสังคมมีการเปลี่ยนแปลงเป็นชุมชนอุตสาหกรรมมากขึ้น โดยเฉพาะเขตปริมณฑล พบการย้ายถิ่นเข้ามาทำงาน ซึ่งส่วนใหญ่มีลักษณะเป็นครอบครัวเดี่ยว ส่งผลให้ขาดเครือข่ายระบบสังคมช่วยเหลือดูแลเด็ก จากการสำรวจโดยสำนักงานสถิติแห่งชาติพบว่าเด็กอายุ 3-5 ปี ได้รับการดูแลจากสถานรับเลี้ยงเด็ก ศูนย์พัฒนาเด็ก และโรงเรียนกว่าร้อยละ 53.3 จำนวนเด็กปฐมวัยที่ต้องผละออกจากพ่อแม่ก่อนวัยอันควรถูกส่งไปเลี้ยงดูในโรงเรียนระดับก่อนประถมศึกษาเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และด้วยลักษณะการแข่งขันในสังคมที่ทั้งพ่อและแม่ต้องหารายได้ ส่งผลให้ครอบครัวมีความตึงเครียด มีเวลาให้กับบุตรน้อยลง การดูแลตอบสนองเด็กทั้งด้านร่างกายและจิตใจลดลง นอกจากนั้นสถานภาพสมรส ระดับการศึกษาของพ่อแม่ รายได้ของครอบครัว ความรู้เกี่ยวกับการอบรมเลี้ยงดูก็ส่งผลกระทบโดยตรงต่อสุขภาพและพัฒนาการองค์รวมของเด็กปฐมวัยเช่นกัน

ในขณะเดียวกันจากการศึกษาศูนย์พัฒนาเด็กปฐมวัยส่วนใหญ่ในเขตปริมณฑลพบว่า เน้นไปที่การควบคุมการแพร่กระจายเชื้อ การส่งเสริมภาวะโภชนาการ การเจริญเติบโต พัฒนาการ ทันตสุขภาพ และการป้องกันอุบัติเหตุ ส่วนฐานข้อมูลเกี่ยวกับการดูแลเด็กให้มีพฤติกรรมที่เหมาะสม และส่งเสริมให้เด็กมีพื้นฐานทางอารมณ์ที่เหมาะสมยังมีน้อย ไม่มีแนวทางการป้องกันแก้ไขเด็กที่มีปัญหาเกี่ยวกับพื้นฐานทางอารมณ์ ทั้งที่พื้นฐานทางอารมณ์ในเด็กปฐมวัยเป็นหัวใจสำคัญของบุคลิกภาพที่เป็นลักษณะสำคัญของบุคคลในวัยต่อมา

ปัจจุบันพบปัญหาสุขภาพจำนวนมากที่เป็นผลต่อเนื่องมาจากพฤติกรรมการอบรมเลี้ยงดูเด็กไม่เหมาะสม เด็กที่มีปัญหาการควบคุมอารมณ์เพิ่มขึ้น และหากไม่ได้รับการแก้ไข อาจก่อให้เกิดการทำผิดกฎหมาย เป็นผู้ใหญ่ที่มีปัญหาสุขภาพจิต มีพฤติกรรมความรุนแรง ทั้งนี้ การแก้ปัญหามีความยากลำบากกว่าการป้องกัน ดังนั้นจึงจำเป็นที่จะต้องศึกษาสถานการณ์ภาวะสุขภาพ พัฒนาการ พื้นฐานอารมณ์ของเด็กและปัจจัยที่มีผลต่อพื้นฐานทางอารมณ์ในเด็กปฐมวัย เพื่อให้สามารถนำข้อมูลมาใช้วางแผนพัฒนารูปแบบการดูแลเด็กปฐมวัยที่มีปัญหาด้านพื้นฐานทางอารมณ์ต่อไป

ความสำคัญพัฒนาการด้านสติปัญญา ปฐมวัย

พัฒนาการของเด็กปฐมวัย

เด็กปฐมวัย คือ เด็กอายุ 1-5 ปี เป็นช่วงวัยที่ต้องการเรียนรู้ แสดงความตื่นเต้นต่อสิ่งแปลกใหม่ตลอดเวลา เมื่ออายุได้ 2 ปีจะมีการเรียนรู้ทักษะพื้นฐานการเดินและการพูดมากขึ้น มีการพัฒนาความเข้าใจลักษณะเฉพาะของแต่ละคน และเข้าใจความต้องการของบุคคลอื่น การพัฒนาทักษะเหล่านี้ทำให้เด็กได้เรียนรู้ความปรารถนาของบุคคลอื่น และมีความสามารถในการควบคุมการตอบสนองของตนเองมากขึ้น ความสำคัญของเด็กวัยนี้ คือเป็นวัยที่มีการเจริญเติบโตและพัฒนาการหลาย ๆ ด้านจะผสมกลมกลืนกัน โดยพัฒนาการของเด็กแต่ละด้าน มีดังต่อไปนี้

  • พัฒนาการด้านร่างกาย พฤติกรรมและพัฒนาการมีความสัมพันธ์กับโครงสร้างการทำงานและความสามารถของร่างกาย การประเมินพัฒนาการทางกายประเมินจาก น้ำหนัก ส่วนสูง เส้นรอบอก อายุกระดูก โดยพิจารณาเปรียบเทียบตามเกณฑ์ ตามวัย การพัฒนาสมรรถภาพด้านร่างกายเป็นปัจจัยด้านชีววิทยา การเตรียมพร้อมให้เด็กช่วยเหลือตนเอง และการเรียนรู้ด้านต่าง ๆ มีผลต่อประสบการณ์และพัฒนาการด้านอื่น ๆ ของเด็ก
  • พัฒนาการด้านสติปัญญา เป็นความสามารถในการเรียนรู้ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งต่าง ๆ กับตนเอง การรู้คิด รู้เหตุผลและความสามารถในการแก้ปัญหา มีการแสดงออกโดยการใช้ภาษาสื่อความหมายและการกระทำ โดยเด็กเรียนรู้โลกภายนอกรอบตัว และพัฒนาความคิดไปตามลำดับขั้นตอน ความเฉลียวฉลาดทางปัญญา หรือเชาว์ปัญญา เกิดจาก 2 ส่วน คือ จากยีนหรือพันธุกรรม และอีกส่วนจากการเลี้ยงดูหรือสิ่งแวดล้อมที่เกิดภายหลัง ดังนั้นการสร้างสิ่งแวดล้อมและการเลี้ยงดูที่เหมาะสม จะช่วยกระตุ้นเซลล์สมองของเด็กให้มีเส้นใยประสาท จุดเชื่อมต่อ และไขมันล้อมรอบเส้นใยประสาทมากขึ้น อันจะช่วยในการคิดตัดสินใจ ความสามารถในการเรียนรู้ การคิดวิเคราะห์
  • พัฒนาการด้านอารมณ์ ตั้งแต่แรกเกิด เด็กแต่ละคนมีลักษณะพื้นฐานทางอารมณ์เป็นเอกลักษณ์ เฉพาะติดตัวมา ทำให้เด็กมีการแสดงออกทางอารมณ์และพฤติกรรมที่แตกต่างกัน ถึงแม้พื้นฐานอารมณ์จะเป็นปัจจัยพื้นฐานชีวภาพที่มีอิทธิพลแต่เด็ก แต่จากงานวิจัยแสดงให้เห็นว่าสิ่งแวดล้อมก็มีอิทธิพลต่อพื้นฐานทางอารมณ์ของเด็กไม่น้อยเช่นกัน ลักษณะพื้นฐานทางอารมณ์มีผลต่อลักษณะพฤติกรรมการแสดงออก การเข้าสังคม และการตอบสนองทางอารมณ์ ในช่วงแรกของชีวิตมักขึ้นอยู่กับประสบการณ์จากครอบครัว ผู้ใกล้ชิด ความสามารถในการเข้าใจความรู้สึกคนอื่นและเข้าใจอารมณ์ของตนเอง การแสดงออกทางอารมณ์ของเด็กพบว่ามี 5 ลักษณะเด่น ดังนี้ สนใจ ประหลาดใจ สนุกสนานพึงพอใจ โกรธ และกลัว เมื่อเด็กโตขึ้นในช่วงปฐมวัยจะมีการแสดงออกทางอารมณ์ชัดเจนมากขึ้น เด็กเรียนรู้ที่จะตอบสนองและเริ่มเรียนรู้การควบคุมอารมณ์ตัวเอง การใช้เหตุผลในการตัดสินใจของสมอง และอารมณ์ความรู้สึกมีส่วนเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน ปัจจุบันมีการศึกษายืนยันจำนวนมากว่าบุคคลจะประสบความสำเร็จได้นั้น ไม่ได้ขึ้นอยู่กับความเฉลียวฉลาดของสติปัญญาเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังขึ้นอยู่กับความสามารถทางอารมณ์ อันเป็นความสามารถของบุคคลที่จะตระหนักถึงความรู้สึก ความคิด และอารมณ์ของตนเองและผู้อื่น สามารถควบคุมอารมณ์และแรงกระตุ้นภายใน สามารถรอคอยและตอบสนองความต้องการของตนเองอย่างเหมาะสม ตลอดจนมีทักษะในการเข้าสังคมอันเป็นการสร้างสัมพันธภาพที่ดี การส่งเสริมพัฒนาการด้านอารมณ์ของเด็กวัยนี้มีความสำคัญ และจะมีผลต่อวัยต่อไป
  • พัฒนาการด้านสังคม เป็นความสามารถในการสร้างสัมพันธภาพกับผู้อื่น ความสามารถในการทำหน้าที่ตามบทบาทของตนร่วมกับผู้อื่น ความรับผิดชอบและมีความเป็นตัวของตัวเองในเด็ก หมายความรวมถึงความสามารถในการช่วยเหลือตนเองในชีวิตประจำวัน การเรียนรู้ประสบการณ์สังคม การรู้จักออมชอม การให้และรับ โดยเราสามารถส่งเสริมพัฒนาการด้านสังคมของเด็กวัยนี้ได้ ผ่านการเปิดโอกาสให้เด็กได้เป็นตัวของตัวเอง และเกิดความภาคภูมิใจในตนเองขึ้น
  • พัฒนาการด้านจิตวิญญาณ เป็นความสามารถในการรู้จักคุณค่าของชีวิต สิ่งแวดล้อม คุณธรรม ความรู้สึกผิดชอบชั่วดี สุนทรียภาพ วัฒนธรรม ความสามารถการเลือกดำรงชีวิตในทางสร้างสรรค์เป็นประโยชน์
ผลการศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างเด็กปฐมวัย

จากการศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างเด็กปฐมวัยที่เข้ารับบริการที่คลินิก โรงพยาบาล และศูนย์พัฒนาเด็กเล็กหรือโรงเรียนในเขตปริมณฑล ชี้ให้เห็นว่า

พัฒนาการด้านสติปัญญา ปฐมวัย มีอะไรบ้าง

ด้านสติปัญญา เป็นวัยที่อยากรู้อยากเห็น สนใจค้นคว้าสำรวจสิ่งต่างๆรอบตัว เรียนรู้สิ่งต่างๆโดยการเลียนแบบผู้ที่อยู่ใกล้ชิดหรือเด็กอื่น มีช่วงความสนใจกับบางอย่างได้นาน3-5 นาที ชอบดูหนังสือภาพ ฟังบทกลอน นิทาน คำคล้องจอง รู้จักซักถามสิ่งที่สงสัยโดยใช้ประโยคคำถาม ว่า “อะไร

พัฒนาการทางด้านสติปัญญามีอะไรบ้าง

พัฒนาการด้านสติปัญญานั้นประกอบไปด้วย ความสามารถในการจดจำ การเรียนรู้เพื่อเข้าใจสิ่งต่างๆ และการแก้ไขปัญหา ซึ่งพัฒนาการด้านสติปัญญานี้จะกลายเป็นตัวกำหนดว่าเด็กจะเติบโตมาเป็นคนที่หรือปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมได้ดี สามารถเข้าใจและรับมือกับปัญหาต่างๆ ได้หรือไม่

พัฒนาการด้านสติปัญญาหมายถึงอะไร

2. พัฒนาการด้านสติปัญญา (Cognitive Development) เป็นความสามารถในการเรียนรู้ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งต่างๆ กับตนเอง เป็นกระบวนการทางจิตใจ (mental processes) ที่เราใช้คิด เรียนรู้ หาเหตุผล แก้ไขปัญหา และสื่อสาร ซึ่งประกอบด้วย พัฒนาการด้านภาษา (Language Development) และพัฒนาการด้านกล้ามเนื้อมัดเล็ก (Fine Motor Development)

ทำไมผู้เลี้ยงดูถึงจำเป็นต้องเข้าใจพัฒนาการและทักษะ 4 ด้าน

เพราะพัฒนาการที่สมวัยจะช่วยส่งเสริมให้เด็กเติบโตอย่างมีคุณภาพ สามารถทำหน้าที่ต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และต่อยอดความรู้ได้ด้วยตัวเองในการทำสิ่งที่ยากและซับซ้อนยิ่งขึ้นได้ ตลอดจนยังมีความสามารถในการปรับตัวและเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ได้เสมอ