ข้อใดตรงกับสัญลักษณ์ต่อไปนี้ ครุ ครุ ลหุ ครุ ครุ ˘ ˘ ุ ˘ ˘

วิชชุมมาลาฉันท์ ๘

Posted on 04/10/2011 by krupiyarerk

วิชชุมมาลาฉันท์ ๘ 
แผนผังบังคับวิชชุมมาลาฉันท์ ๘

 วิชชุมมาลาฉันท์ หมายถึง


          วิชชุมมาลาฉันท์  (อ่านว่า  วิด-ชุม-มา-ลา-ฉัน)  วิชชุมมาลาฉันท์  มีความหมายว่า
“ฉันท์ที่มีท่วงทำนองลีลาดุจสายฟ้าแลบ”

คณะและพยางค์ 

วิชชุมมาลาฉันท์  ๑  บท ประกอบด้วยคณะและพยางค์  ดังนี้
มี ๔ บาท  บาทละ ๒ วรรค   วรรคละ ๔ คำ

๑  บาท  นับจำนวนคำได้  ๘  คำ/พยางค์   ดังนั้น  จึงเขียนเลข  ๘ หลังชื่อ   วิชชุมมาลาฉันท์นี่เอง

ทั้งบทมีจำนวนคำทั้งสิ้น  ๓๒  คำ

สัมผัส

พบว่า  สัมผัสวิชชุมมาลาฉันท์  มีสัมผัสนอก  (ที่เป็นสัมผัสภายในบท)  บท จำนวน  ๕  แห่ง ได้แก่

๑.  คำสุดท้ายของวรรคที่ ๑   ส่งสัมผัสกับคำที่ ๒  ของวรรคที่  ๒

๒.  คำสุดท้ายของวรรคที่ ๒   ส่งสัมผัสกับคำสุดท้าย ของวรรคที่  ๓

๓.  คำสุดท้ายของวรรคที่ ๔   ส่งสัมผัสกับคำสุดท้าย ของวรรคที่  ๖

๔.  คำสุดท้ายของวรรคที่ ๕   ส่งสัมผัสกับคำที่ ๒  ของวรรคที่  ๖

และ               ๕.  คำสุดท้ายของวรรคที่ ๖   ส่งสัมผัสกับคำสุดท้าย ของวรรคที่  ๗

สัมผัสระหว่างบท 

พบว่า  คำสุดท้ายของบท  ส่งสัมผัสกับคำสุดท้ายของวรรค วรรคที่ ๔  ในบทต่อไป

คำครุ  ลหุ  วิชชุมมาลาฉันท์  ๑  บท  มีคำครุทั้งหมด  ๓๒  คำ  ปราศจากการใช้คำลหุ   ให้นักเรียนสังเกตสัมผัสบังคับ  (สัมผัสนอก)  และบังคับครุ-ลหุ  (ดังที่ครูได้อธิบายความหมายไว้ก่อนหน้านี้แล้ว  ในเรื่อง  ครุ ลหุ คือ  อีกครั้ง นะครับ)  ตามผังภาพ

คำครุ   สัญลักษณ์แทนด้วย    ั

       คำลหุ   สัญลักษณ์แทนด้วย    ุ    (ซึ่งในฉันท์ประเภทนี้ไม่ใช้คำลหุ)  ให้นักเรียนดูตัวอย่างตามผังภาพ ครับ

ข้อใดตรงกับสัญลักษณ์ต่อไปนี้ ครุ ครุ ลหุ ครุ ครุ ˘ ˘ ุ ˘ ˘

ฉันทลักษณ์วิชชุมมาลาฉันท์ ๘

 

วิชชุมมาลาฉันท์ 8

 

ตัวอย่างคำประพันธ์วิชชุมมาลาฉันท์

Share this:

  • Twitter
  • Facebook
  • Email

Like this:

ถูกใจ กำลังโหลด...

Related

Filed under: การเขียนร้อยกรอง, ฉันท์, วิชชุมมาลาฉันท์ ๘ | Tagged: ฉันทลักษณ์วิชชุมมาลาฉันท์ ๘, ตัวอย่างคำประพันธ์วิชชุมมาลาฉันท์, วิชชุมมาลาฉันท์, วิชชุมมาลาฉันท์ 8, วิชชุมมาลาฉันท์ มีความหมายว่า, วิชชุมมาลาฉันท์ หมายถึง, วิชชุมมาลาฉันท์ ๘, สัมผัสระหว่างบท, แผนผังบังคับวิชชุมมาลาฉันท์ ๘ |

เคยสงสัยกันบ้างไหมค่ะ ว่าคำบางคำในภาษาไทยทำไมเวลาออกเสียงจะมีความหนักแน่นบ้าง แผ่วเบาบ้าง มีเสียงขึ้น ๆ ลง ๆ ทำให้ภาษาไทยเรามีเสียงที่ไพเราะและมีเสน่ห์มากเลย ครูสรเรียกเสียงนี้ว่าเป็นเสียงคลื่นค่ะ

วันนี้เราจะมารู้จักคำ ครุ คำลหุ กันค่ะ ชื่อแปลก ๆ ใช่ไหมค่ะ คำทั้งสองประเภทนี้เป็นคำที่ใช้ในภาษาไทยกันมานาน ในบทประพันธ์ประเภทฉันท์ ร่าย โคลง โดยเฉพาะในบทประพันธ์ประเภทฉันท์ ที่มีข้อบังคับให้เป็นคำครุ และคำลหุ ตามฉันทลักษณ์กันเลยทีเดียว

คำครุ อ่านว่า คะ-รุ เป็นภาษาบาลี แปลว่า หนัก ในความหมายนั้นจะหมายถึงการออกเสียงพยางค์ที่มีเสียงหนัก มีสัญลักษณ์ ั

คำลหุ อ่านว่า ละ-หุ เป็นภาษาบาลี แปลว่า เบา ในความหมายนั้นจะหมายถึงการออกเสียงพยางค์ที่มีเสียงเบา มีสัญลักษณ์ ุ

ครูสรคิดว่า คำครุและคำลหุ มีความแตกต่างกัน ซี่งดูได้ไม่ยากเลย และวันนี้ครูสรได้นำข้อแตกต่างของคำทั้งสองประเภทมาให้ดูกัน ดังนี้

เป็นคำที่ประสมด้วยสระเสียงยาวในแม่ ก.กา

มีเสียงหนัก

เป็นคำที่ประสมด้วยสระ อำ ไอ ใอ เอา เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “สระเกิน”

มีตัวสะกดเป็นพยางค์ปิดในมาตราทั้ง 8 แม่

มีตัวสะกด ม ย ว เป็นตัวสะกดแฝง

มีสัญลักษณ์ ั

เป็นคำบังคับที่นำไปแต่งคำประพันธ์ประเภทฉันท์ ตามฉันทลักษณ์

ประสมด้วยสระเสียงสั้นในแม่ ก.กา

มีเสียงเบา

ไม่มีตัวสะกด

พยางค์ที่มีพยัญชนะตัวโดด เช่น ณ บ ธ ก็ บ่ ฤ

มีสัญลักษณ์ ุ

เป็นคำบังคับที่นำไปแต่งคำประพันธ์ประเภทฉันท์ ตามฉันทลักษณ์

ใน นา มี ปู ตา ดำ วัว ลาก ไถ พุทธ สันดาน มูล หมองมัว ยั่ว เอว เจ็บ โสภา ศาลา วัด แม่ ข้าวสาร ดวงใจ ไฉไล เขลา เนื้อ เต้น ทั่ว ร่าง สั่น ไหว ช่อฟ้า หัว อีกา สาม ฤาษี คาวี วับวาบ ญาณ เรา ครอง แผ่นดิน โดย ธรรม พรรณ ช่อฟ้า เย้ยหยัน

มติ กะปิ กะทิ กะทะ ฐิติ อุระ อมตะ พระ มิ ก็ อุระ จะ เกะกะ ทะลุ คช รวิ วจนะ ศศิ เมรุ พิศ และ สุ จิ ปุ ลิ สติ ระยะ เยาะ บ่ ณ ธุระ สติ

มาณวกฉันท์ 8

ดูปฏิภาณ ญาณอุระเรา

ครองสติเอา เขลาฤมิมี

แผนภูมิ

ัุุั ัุุั

ัุุั ัุุั

บทประพันธ์มาณวกฉันท์ 8 ทั้ง 2 บาท ข้างต้นนี้ ครูสรคิดขึ้นมาเพียงต้องการยกตัวอย่างคำที่เป็นคำครุ ลหุ เท่านั้นนะคะ จึงไม่ได้แต่งให้ครบทั้งบท อยากให้ทุกคนช่วยกันคิดและนำคำครุ ลหุ มาต่อบทประพันธ์ของครูสรให้ครบทั้งบทกันหน่อยค่ะ

คําครุ ลหุ มีอะไรบ้าง

คำครุ คำลหุ คืออะไร?.
พยางค์ที่มีมาตราตัวสะกดในทุกมาตรา (ได้แก่ แม่ กก กด กบ กง กน กม เกย และเกอว) เช่นไม้บรรทัด ข้าวของ เล็กน้อย.
พยางค์ที่ประสมด้วยสระเสียงยาวเท่านั้น ไม่มีตัวสะกดก็ได้ เช่น เวลา วารี ศาลา.
พยางค์ที่ประสมด้วย อำ ไอ ใอ เอา จัดเป็นคำครุเพราะมีตัวสะกด เช่น ดำ ให้ เขา.

ครุหมายถึงอะไรมีสัญลักษณ์อย่างไร

คำครุ แปลว่า เสียงหนัก สัญลักษณ์ “ อั “ ประกอบด้วย พยางค์ที่มีสระเสียงยาวไม่มีตัวสะกด เช่น มาหา พารา พยางค์ที่มีตัวสะกดทั้ง 8 แม่ เช่น รัก ชิด ชอบ ฯลฯ พยางค์ที่มีสระ อำ ไอ ใอ เอา เช่น เรา จำ ใจ ไป

คําครุ ลหุ มีลักษณะอย่างไร

A : ครุและลหุคืออะไรคะ - ครุ( ั ) คือคำหรือพยางค์ที่ประสมด้วยสระเสียงยาวรวมทั้งสระ -ำ ไ- ใ- เ-าและมีตัวสะกดถึงแม้จะออกเป็นเสียงสั้นก็ตามนะคะ เช่น เก็บกด เมษายน ลหุ ( ุ )คือ คำหรือพยางค์ที่ประสมด้วยสระเสียงสั้น ไม่มีตัวสะกด เช่น เกาะ ศิระ ค่ะ

ลหุมีความหมายตรงกับข้อใด

ลหุ ( ) หมายถึง คาหรือพยางค์ในภาษาไทยที่มี"เสียงเบา" ซึ่งประสมด้วยสระเสียงสั้นในแม่ก กา เช่น สุจิปุลิ ส(งบ) สะ(อาด) ส(ว่าง) ฯลฯ