วรรณคดีขนบธรรมเนียมประเพณี มีอะไรบ้าง

ขนบ

          ขนบ หมายถึง แบบแผนที่กระทำกันมา มักใช้ว่า ขนบธรรมเนียมประเพณี ซึ่งหมายถึง ทั้งธรรมเนียมและประเพณีที่ถือปฏิบัติตาม ๆ กันมาโดยทั่ว ๆ ไป ไม่ได้เจาะจงว่าเป็นอะไรแน่. ปัจจุบัน คำว่า ขนบ มักจะหมายถึงแบบแผนในการประพันธ์ เช่น ขนบในการแต่งนิราศ จะต้องกล่าวถึงการเดินทางไปยังสถานที่ใดที่หนึ่ง มักตั้งชื่อนิราศตามสถานที่ที่เป็นจุดหมาย เช่น นิราศภูเขาทอง นิราศพระบาท นิราศลอนดอน ระหว่างเดินทางเมื่อพบสถานที่ พรรณไม้ สัตว์ หรือสิ่งที่น่าสนใจ ผู้แต่งจะโยงชื่อสถานที่หรือสิ่งที่พบเห็นนั้นกับหญิงที่รัก เช่น เห็นดอกนางแย้มก็นึกถึงการแย้มยิ้มของนาง. ขนบในวรรณคดีไทย ต้องเริ่มด้วย บทประณามพจน์ แปลว่า คำแสดงการน้อมไหว้ เป็นการสรรเสริญเทพยดา ครูผู้มีพระคุณ และพระมหากษัตริย์. ส่วน ขนบ ที่ใช้คู่กับคำว่า ธรรมเนียม และประเพณี เป็นขนบธรรมเนียม และขนบประเพณี นั้น ความหมายอยู่ที่คำว่า ธรรมเนียม และ ประเพณี เท่านั้น

ที่มา :  บทวิทยุรายการ “รู้ รัก ภาษาไทย”  ออกอากาศทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ ๑๐ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๔ เวลา ๗.๐๐-๗.๓๐ น.

พันธุ์ไม้เกี่ยวกับขนบธรรมเนียม ประเพณี และความเชื่อ

ชนชาติไทยมีวัฒนธรรมเป็นของตนเอง ขนบธรรมเนียมประเพณีต่างๆที่ปฏิบัติ และ สืบทอดกันต่อมา บางอย่างมีหลักเกณฑ์ และเหตุผลที่ชัดเจน บางอย่างเป็นเพียงความเชื่อ ที่ไม่สามารถพิสูจน์ได้ การยึดถือเอาพันธุ์ไม้ เป็นสื่อ เป็นสัญลักษณ์เชื่อมโยงกับความรัก ความสุข ความทุกข์ ความสูญเสีย และการ พลัดพราก เพราะชื่อของพันธุ์ไม้บ้าง เพราะลักษณะของพันธุ์ไม้บ้าง เป็นธรรมเนียมความเชื่อที่อยู่ในวิถีชีวิตของคนไทยมาโดยตลอด เรื่องของไม้มงคล และไม้ต้องห้ามนานาชนิด ยังสืบทอดมาถึงปัจจุบัน ตัวอย่างพันธุ์ไม้ที่เกี่ยวข้องกับความเชื่อดังกล่าวนี้ ได้แก่

รัก (Calotropis gigantea R. Br.)

ต้นรักเป็นพันธุ์ไม้ที่พบเห็นได้ทั่วไปตามที่รกร้างว่างเปล่าริมทาง แม้แต่ริมทะเล ก็สามารถพบได้ เพราะต้นรักขึ้นง่าย ทนทาน บางครั้งจะเห็นเมล็ดรัก ซึ่งมีขนสีขาวเป็นพู่ยาวๆ ปลิวตามลมไปในที่ต่างๆ เมื่อตกลงในที่ซึ่งมีความชื้นพอสมควร จะงอกขึ้นเป็นต้นใหม่ได้ มีชื่อที่ใช้เรียกหลายชื่อ ได้แก่ รัก รักดอก หรือรักร้อยมาลัย เพราะคนไทยรู้จักดอกไม้ชนิดนี้มากที่สุดจากการนำมาร้อยเป็นอุบะพวงมาลัย นั่นเอง

รักมีถิ่นกำเนิดในเอเชียกลาง และอินเดีย ไม่ปรากฏหลักฐานว่า เข้ามาสู่เมืองไทยเมื่อใด เป็นไม้พุ่ม สูง ๑-๒.๕ เมตร ใบใหญ่ ก้านสั้น มีขนนุ่ม และมีนวลขาวทั้งใบ ดอกมี ๒ สี คือ สีขาว และสีม่วง ออกดอกเป็น ช่อใหญ่ ค่อนข้างกลมที่ปลายกิ่ง และซอกใบ เมื่อดอกบาน กลีบดอก ๕ กลีบ จะแผ่ออกจากกันเป็นวง เห็นส่วนที่เป็นสัน ๕ สัน คล้ายมงกุฎอยู่ตรงกลาง ส่วนนี้เอง ที่นำมาใช้ร้อยมาลัย ผลรัก เป็นฝักรูปรี ปลายแหลมยาว ๕-๗ ซม. เมื่อแก่จะแตกและปล่อยเมล็ดเล็กๆ ที่มีขนเป็นพู่ ปลิวไปตามลม

ตามประเพณีไทย มักจะใช้ดอกรักร่วมกับดอกไม้อื่น ที่มีความหมายเป็นมงคล ในงานมงคลที่เกี่ยวเนื่องกับความรัก เช่น งานหมั้น และงานแต่งงาน โดยใช้ในขันหมากหมั้น ขันหมากแต่ง จัดพานรองรับน้ำสังข์ ร้อยเป็นมาลัยบ่าวสาว และโปรยบนที่นอนในพิธีปูที่นอน เป็นต้น

ในวรรณคดีมักกล่าวถึงต้นรัก ในความหมายถึง ความรัก ความพิศวาส ระหว่างชายหญิง

รักมีสรรพคุณทางสมุนไพร โดยใช้เปลือก ราก เป็นยารักษาโรคบิด ขับเหงื่อ และทำให้อาเจียน ยางมีฤทธิ์เป็นยาถ่ายอย่างแรง หรือขับพยาธิ ใช้ภายนอกเป็นยารักษากลากเกลื้อน แต่ต้องระมัดระวัง เพราะถ้ายางรักซึ่งเป็นสีขาว ขุ่นนั้นถูกผิวหนัง อาจทำให้เกิดอาการระคายเคือง คัน ปวดแสบปวดร้อน หรืออักเสบบวมแดง จึง ควรใช้ครีมทาผิวหรือกลีเซอรีนทาบางๆ ก่อนที่ จะสัมผัสดอกรัก

สวาด (Caesalpinia bonduc (L.) Roxb.)

ในวรรณคดีหลายเรื่องที่กล่าวถึงต้นสวาด ในเชิงเปรียบเทียบกับความรัก ความพิศวาสระหว่างชายหญิง เพราะมีความพ้องเสียงกันนั่นเอง นอกจากนั้น ตามธรรมเนียมไทย ในการจัดขันหมากงานแต่งงานบางแห่ง มีการใช้ใบรักและใบสวาดรองกันขันหมากโท ซึ่งใส่หมากพลู ส่วนขันหมาก เงินทุน และสินสอด ใส่ใบรัก และใบสวาด ลงไปรวมกับดอกไม้ และสิ่งมงคลอื่นๆ เช่น ใบเงิน ใบทอง ดอกบานไม่รู้โรย และถั่วงา เป็นต้น

สวาด หรือที่คนทางภาคใต้เรียกว่า หวาด นั้น เป็นไม้เลื้อยที่พบทั่วไปในเขตร้อน ในประเทศไทยพบมากตามป่าละเมาะใกล้ทะเล ลำต้น และกิ่งก้านของเถาสวาด มีหนามแหลมอยู่ทั่วไป ใบประกอบแบบขนนกสองชั้น ขนาดใหญ่ ยาว ๓๐-๕๐ ซม. ดอกสีเหลือง เป็นช่อยาว ๑๕-๒๕ ซม. ออกดอกตรงกิ่งเหนือซอกใบขึ้นไปเล็กน้อย ช่อเดี่ยวหรืออาจแตกแขนงบ้าง ก้านช่อยาวและมีหนาม ผลเป็นฝักรูปรี หรือขอบขนานแกมรูปรี มีขนยาวแหลมแข็งคล้ายหนามตามเปลือก แต่ละฝักมี ๒ เมล็ด เมล็ดกลมเปลือกแข็ง เส้นผ่านศูนย์กลาง ๑.๕-๒ ซม. สีเทาแกมเขียว เป็นสีที่เรียกกันว่า สีสวาดนั่นเอง ในสมัยก่อน เด็กๆ นำมาใช้เล่นหมาก เก็บเพราะมีขนาดและรูปร่างเหมาะสม ใบสวาดมีสรรพคุณเป็นยาขับลม แก้จุกเสียด ผลใช้แก้กระษัย

โศก (Saraca spp.)

โศกเป็นพันธุ์ไม้ที่มีการกล่าวถึงบ่อยครั้ง ในวรรณคดีไทย ส่วนใหญ่เป็นการกล่าวถึงความเศร้าโศก ในการพลัดพรากจากผู้เป็นที่รัก เนื่องจากต้องเดินทางไปปฏิบัติภารกิจต่างๆ จึงมักพบชื่อโศกใน วรรณคดีประเภทนิราศ ซึ่งบรรยายถึงความห่วงหาอาวรณ์ และเมื่อได้เห็นต้นโศกก็ยิ่งทำให้เศร้าหมอง ยิ่งขึ้น

ต้นโศกที่พบในประเทศไทยมีหลายชนิด เฉพาะที่เป็นไม้พื้นเมือง ได้แก่ โศกน้ำ โศกเขา และโศกเหลือง แต่ที่พบมากทั่วไปทุกภาค คือ โศกน้ำ ซึ่งมักขึ้นตามริมน้ำ การเดินทางในนิราศต่างๆ มักเป็นการเดิน ทางตามลำน้ำ ดังนั้นโศกที่กล่าวถึงในวรรณคดีจึงน่าจะเป็นโศกน้ำ (Saraca indica Linn.) มากกว่าโศก ชนิดอื่น

โศกน้ำ หรือโศก เป็นไม้ต้นสูง ๑๐-๒๐ เมตร แตกกิ่งก้านสาขามาก มีเรือนยอดกว้าง ใบดกทึบ ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก ยาว ๑๐-๑๘ ซม. มีใบย่อย ๒-๗ คู่ ใบอ่อนเป็นพวง หรือช่อห้อย ย้อยลงตรงปลายกิ่ง สีเขียวอ่อนแกมขาว หรือมีสีม่วงอ่อนแซมเล็กน้อย เมื่อแก่ เปลี่ยนเป็นสีเขียวเข้ม เป็นมัน ตัดกันกับใบอ่อนสวยงามมาก ดอกเป็นช่อคล้ายดอกเข็ม ค่อนข้างกลมขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง ๕-๑๕ ซม. ออกดอกที่ปลาย กิ่งมากกว่าตามลำต้น เริ่มแรกดอกมีสีเหลืองแล้วค่อยๆ เปลี่ยนเป็นสีส้มและสีแดงตามลำดับ ในแต่ละ ช่อจึงเห็นทั้งสามสีแซมสลับกันอย่างสวยงาม ดอกโศกมีกลิ่นหอมอ่อนๆ มีรสเปรี้ยว ใช้รับประทานได้ ฝักแบน ยาว ๑๐-๒๐ ซม. กว้าง ๒-๕ ซม. เมื่อแก่มีสีน้ำตาล และจะแตก ในแต่ละฝักมีเมล็ด ๒-๓ เมล็ด

พบโศกขึ้นอยู่ตามริมลำธารในป่าทุกภาค ออกดอกในช่วงเดือนมกราคมถึงกุมภาพันธ์ และออกฝักประมาณเดือนพฤษภาคม ขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ด มีการปลูกเป็นไม้ประดับตามวัดและ สวนสาธารณะต่างๆ แต่ไม่นิยมปลูกตามบ้าน เพราะชื่อ โศก หมายถึง ความเศร้า อาจเป็น เพราะเหตุผลข้อนี้ทำให้ในระยะหลังๆ มีผู้เรียก ชื่อโศกเป็น อโศก หรืออโศกน้ำ

เดิมคนไทยเรียกชื่อต้นไม้ชนิดนี้ว่า อโศก ตามชื่อภาษาสันสกฤตที่ใช้อยู่ในอินเดีย ซึ่งหมายถึง ความรัก และความสุข และเปลี่ยนเป็น โศก ตั้งแต่สมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง

ซ่อนกลิ่น (Polianthes tuberosa Linn.)

ซ่อนกลิ่นเป็นไม้ล้มลุกหลายฤดู ขึ้นเป็นกอเล็กๆ มีหัวใต้ดิน ใบสีเขียวนวลหนา และเรียวยาว รูปแถบปลายแหลม เมื่อออกดอก จะแทงช่อรวมเป็นก้านกลม ตั้งตรงขึ้นกลางกอ ยาว ๖๐-๙๐ ซม. ดอกเป็นช่อ ๒-๓ ดอก เรียงสลับตามแกนช่อรวมดอกตูม เป็นสีขาวอมชมพูเรื่อๆ ดอกบานสีขาว มีทั้งดอกชั้นเดียว และดอกซ้อน ทยอยบานจากโคนไปหาปลายช่อ ซึ่งกว่าจะบานหมดทั้งช่อจะใช้เวลา ๕-๗ วัน ดอกจะเริ่มบาน และมีกลิ่นหอมตั้งแต่ตอนเย็นเรื่อยไปตลอดทั้งคืน โดยเฉพาะกลางคืนยิ่งหอมมาก การที่ดอกมีกลิ่นหอม เฉพาะตอนกลางคืน ทำให้มีผู้สันนิษฐานว่าชื่อซ่อนกลิ่นนั้น มาจากการที่ซ่อนกลิ่นไม่มีกลิ่นหอมใน เวลากลางวันนั่นเอง

ชวลิต ดาบแก้ว เขียนไว้ในหนังสือ ดอกไม้ในวรรณคดีว่า ซ่อนกลิ่นชนิดดอกซ้อน เรียกว่า ซ่อนชู้ ส่วนชนิดดอกชั้นเดียวเรียกว่า ซ่อนกลิ่น แต่ในเอกสารอ้างอิงอื่นๆ ไม่มีเล่มใดระบุถึงเลย ในวรรณ คดีไทยกล่าวถึงซ่อนกลิ่นและซ่อนชู้ควบคู่กันไปเสมอ และมักใช้ในเนื้อความเกี่ยวกับความรักที่ไม่ เปิดเผย

ซ่อนกลิ่นเป็นไม้พื้นเมืองของเม็กซิโก มีปลูกในไทยมาตั้งแต่สมัยอยุธยา หรือก่อนหน้านั้น เชื่อกันว่า ชาวจีน หรือชายฝรั่งเศส เป็นผู้นำเข้ามา คนไทยสมัยก่อนใช้ดอกซ่อนกลิ่นทั้งช่อบูชาสิ่งศักดิ์ สิทธิ์ในโอกาสต่างๆ ตามแบบคนจีน ต่อมาอาจเป็นเพราะใช้กันเป็นประจำในงานศพ ทำให้เกิดธรรมเนียมความ เชื่อว่าเป็นดอกไม้ที่ไม่เป็นมงคล ไม่ควรนำมาใช้ในงานมงคลต่างๆ

กลิ่นของดอกซ่อนกลิ่นเป็นกลิ่นที่หอมแรง และหอมนาน จึงมีการสกัดน้ำมันหอมระเหยจากดอก ไปใช้ในอุตสาหกรรมน้ำหอม และเครื่องสำอาง เรียกว่า กลิ่นทิวเบอโรส (Tuberose) จัดเป็นน้ำหอมชั้นดีชนิดหนึ่ง

ตะเคียน (Shorea odorata Roxb.)

ตะเคียนเป็นไม้ต้นขนาดใหญ่ สูงประมาณ ๒๐-๓๐ เมตร พบตามที่ราบริมน้ำในป่าดิบทั่วไป เปลือกมีสีน้ำตาลเข้มเกือบดำ แตกเป็นสะเก็ด ใบเดี่ยวรูปไข่แกมรูปหอก ปลายใบแหลม ขนาดกว้าง ๓-๖ ซม. ยาว ๑๐-๑๕ ซม. ดอกมีขนาดเล็ก สีขาวนวล กลิ่นหอม ออกดอกเป็นช่อยาวๆ ตามซอกใบ และปลายกิ่ง ระหว่างช่วง เดือนกุมภาพันธ์ถึงเมษายน ผลมีลักษณะกลมผิวเกลี้ยงมีติ่งคล้ายหนามแหลมที่ปลายผลมีปีกยาว ๒ ปีก และปีกสั้น ๓ ปีก ใช้เมล็ดในการขยายพันธุ์ได้

ตามลำต้นของตะเคียนมักมียางซึมออกมา และแห้งแข็งติดอยู่ตามเปลือก เป็นก้อนใสๆ เรียกว่า ชัน ตะเคียน นำมาใช้ยาเรือได้ ตำรายาไทยใช้ชันตะเคียนผสมยา สำหรับรักษาแผลเรื้อรัง แก่นตะเคียนใช้แก้โรคคุดทะราด แก้เสมหะ และแก้ไข้ระยะเริ่มแรก เนื้อไม้แข็งทนทาน ใช้ขุดทำเรือมาด และเรือยาว มาตั้งแต่โบราณ แม้แต่เรือยาว ที่ใช้แข่งขันกันในปัจจุบัน ส่วนใหญ่ก็ทำจากต้นตะเคียน

ชาวบ้านมักเชื่อกันว่า ต้นไม้นี้มีผีสางนางไม้อยู่ประจำเรียกว่า ผีนางตะเคียน จึงไม่ควรไปตัดโค่น หรือนำมาใช้ประโยชน์ ด้วยความเชื่อดังกล่าว จึงทำให้มีเรื่องเล่าขานกันมากมาย เกี่ยวกับความดุร้าย และอิทธิฤทธิ์ของนางตะเคียน

วรรณคดีเกี่ยวกับขนบธรรมเนียมประเพณี มีอะไรบ้าง

๓. วรรณคดีขนบประเพณีและพิธีกรรม แบ่งเป็น ๒ ลักษณะ คือ เป็นบทที่นำไปใช้ในการประกอบ พิธี มีเนื้อหาและการใช้ภาษาที่ไพเราะ สร้างอารมณ์ให้รู้สึกถึงความศักดิ์สิทธิ์ของพิธีเช่น กาพย์เห่เรือ ลิลิต โองการแช่งน้ำ มหาชาติคำเทศน์ หรืออีกลักษณะหนึ่ง คือ เนื้อหาให้รายละเอียดเกี่ยวกับพิธีกรรมและ ขนบธรรมเนียมประเพณีต่าง ๆ เช่น พระราช ...

วรรณคดีเรื่องใดให้ความรู้เกี่ยวกับขนบธรรมเนียมประเพณีในเดือนต่าง ๆ

"ขุนช้างขุนแผน" ได้รับยกย่องจากวรรณคดีสโมสรสมัยรัชกาลที่ 6 ว่าเป็นยอดของหนังสือประเภท กลอนเสภา มีสำนวนโวหารที่ไพเราะ คมคาย มีคติเตือนใจ สะท้อนให้เห็นสภาพชีวิต และสังคมความเป็นอยู่ของคนไทย ให้ความรู้เกี่ยวกับขนบธรรมเนียมประเพณี และวัฒนธรรมไทย และยังให้

วรรณคดีเกี่ยวกับพิธีกรรมมีเรื่องอะไรบ้าง

วรรณคดีประเภทนี้มักจะอยู่ในลักษณะบทสวดที่ใช้ภาษาเรียบเรียงไว้อย่างไพเราะ ใช้ภาษาเร้าอารมณ์ให้ผู้ฟังเกิดความรู้สึกถึงความศักดิ์สิทธิ์ ความขลัง และให้เห็นความสำคัญของพิธีกรรม เช่น ลิลิตโองการแช่งน้ำ มหาชาติกลอนเทศน์ คำฉันท์สังเวยดุษฎีกล่อมช้าง ลิลิตพยุหยาตราเพชรพวง พระราชพิธีสิบสองเดือน ตำรับนาง นพมาศ เป็นต้น

วรรณคดีเรื่องใดที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการยกย่องวีรชน

๔) วรรณคดีประวัติศาสตร์ เป็นวรรณคดีที่บันทึก หรือมีเนื้อหาเกี่ยวกับเหตุการณ์ ส าคัญในประวัติศาสตร์ การสดุดีวีรชนผู้กล้าหาญ เช่น โคลงยวนพ่าย ราชาธิราช ลิลิตตะเลงพ่าย โคลงชะลอพระพุทธไสยาสน์ พระราชพงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ เป็นต้น