ใบงาน การ เจริญ เติบโต ของร่างกาย ป. 3

หน่วยการเรียนรู้ที่ การเจริญเติบโตตามวัย

เวลา  3  ชั่วโมง

1      มาตรฐานการเรียนรู้/ตัวชี้วัด

        พ 1.1     ป.3/1        อธิบายลักษณะและการเจริญเติบโตของร่างกายมนุษย์

                      ป.3/2        เปรียบเทียบการเจริญเติบโตของตนเองกับเกณฑ์มาตรฐาน

2      สาระสำคัญ/ความคิดรวบยอด

       การเจริญเติบโตของร่างกายแต่ละคนมีความแตกต่างกัน ซึ่งสามารถเปรียบเทียบน้ำหนัก และส่วนสูงของตนเองกับเกณฑ์มาตรฐาน เพื่อจะได้ปรับปรุงตนเองให้มีความเจริญเติบโตอย่างสมวัย

3      สาระการเรียนรู้

        3.1    สาระการเรียนรู้แกนกลาง

            1)  ลักษณะการเจริญเติบโตของร่างกายมนุษย์ที่มีความแตกต่างกันในแต่ละบุคคล

                 -   ลักษณะรูปร่าง                    -    น้ำหนัก                    -    ส่วนสูง

             2)  เกณฑ์มาตรฐานการเจริญเติบโตของเด็กไทย

        3.2    สาระการเรียนรู้ท้องถิ่น

            (พิจารณาตามหลักสูตรสถานศึกษา)

4      สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน

       4.1    ความสามารถในการคิด

            1)  ทักษะการสังเกต

             2)  ทักษะการเปรียบเทียบ

        4.2    ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต

5      คุณลักษณะอันพึงประสงค์

       1.   มีวินัย                                         2.   ใฝ่เรียนรู้

6      ชิ้นงาน/ภาระงาน (รวบยอด)

       สมุดบันทึกการเจริญเติบโตของฉัน

7      การวัดและการประเมินผล

        7.1   การประเมินก่อนเรียน

                -   ตรวจแบบทดสอบก่อนเรียน หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 เรื่อง การเจริญเติบโตตามวัย

       7.2    การประเมินระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้

            1)  ตรวจใบงานที่ 1.1 เรื่อง การเจริญเติบโตของฉัน

            2)  ตรวจใบงานที่ 1.2 เรื่อง น้ำหนักและส่วนสูง

            3)  ประเมินการนำเสนอผลงาน

            4)  สังเกตพฤติกรรมการทำงานรายบุคคล      

            5)  สังเกตพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม   

            6)  สังเกตคุณลักษณะอันพึงประสงค์

        7.3    การประเมินหลังเรียน

            -   ตรวจแบบทดสอบหลังเรียน หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 เรื่อง การเจริญเติบโตตามวัย

       7.4    การประเมินชิ้นงาน/ภาระงาน (รวบยอด)

            -   ตรวจสมุดบันทึกการเจริญเติบโตของฉัน

8      กิจกรรมการเรียนรู้

                 นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน หน่วยการเรียนรู้ที่

เรื่องที่ 1 ลักษะรูปร่าง

1 ชั่วโมง

วิธีสอนโดยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ :  เทคนิคกลุ่มสืบค้น

ขั้น    นำเข้าสู่บทเรียน

   1. ครูให้นักเรียนแต่ละคนลองจินตนาการว่าตนเองในอีก 10 ปี ข้างหน้า จะมีลักษณะรูปร่างเป็นอย่างไร

   2. ครูขออาสาสมัครนักเรียนออกมาวาดภาพตนเองตามจินตนาการให้เพื่อนๆ ดู

   3. ครูอธิบายเชื่อมโยงให้นักเรียนเข้าใจถึงความสำคัญเกี่ยวกับลักษณะรูปร่าง

ขั้น    สอน

   1. ครูแบ่งนักเรียนเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 4 คน โดยให้สมาชิกแต่ละคนมีลักษณะรูปร่างแตกต่างกัน แล้วร่วมกันศึกษาความรู้เรื่อง ลักษณะการเจริญเติบโตของร่างกาย : ลักษณะรูปร่าง จากหนังสือเรียน

   2. นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันอธิบายความรู้ที่ได้จากการศึกษาเกี่ยวกับลักษณะการเจริญเติบโตของร่างกาย : ลักษณะรูปร่าง

   3. นักเรียนแต่ละคนทำใบงานที่ 1.1 เรื่อง การเจริญเติบโตของฉัน แล้วร่วมกันสรุปประเด็นสำคัญ

ขั้น    สรุป

       นักเรียนร่วมกันสรุปความรู้เรื่อง ลักษณะการเจริญเติบโตของร่างกาย : ลักษณะรูปร่าง จากนั้นครูอธิบายเพิ่มเติม

  เรื่องที่ 2 น้ำหนักและส่วนสูง

1 ชั่วโมง

วิธีสอนแบบ  สืบเสาะหาความรู้(Inquiry Method : 5E)

ขั้นที่ 1    กระตุ้นความสนใจ (Engage)

   1. ครูสุ่มนักเรียน 2-3 คน ออกมาเล่าถึงการเปลี่ยนแปลงของตนเองเมื่อเทียบกับตอนอายุ 5 ขวบ ว่ามีการเปลี่ยนแปลงอย่างไรเกี่ยวกับรูปร่าง น้ำหนัก และส่วนสูง

   2. ครูอธิบายเชื่อมโยงให้นักเรียนเข้าใจถึงความสำคัญเกี่ยวกับน้ำหนักและส่วนสูง

ขั้นที่ 2    สำรวจค้นหา (Explore)

   1. นักเรียนรวมกลุ่มเดิม จากนั้นร่วมกันศึกษาความรู้เรื่อง ลักษณะการเจริญเติบโตของร่างกาย : น้ำหนัก  และส่วนสูง จากหนังสือเรียน

   2. ครูแนะนำวิธีการวัดส่วนสูงและชั่งน้ำหนักที่ถูกต้องให้นักเรียนฟัง จากเอกสารประกอบการสอน

ขั้นที่ 3    อธิบายความรู้ (Explain)

       สมาชิกแต่ละคนผลัดกันอธิบายความรู้ที่ได้จากการศึกษาเกี่ยวกับลักษณะการเจริญเติบโตของร่างกายให้สมาชิกภายในกลุ่มฟัง ตามประเด็นที่กำหนด

ขั้นที่ 4    ขยายความเข้าใจ (Expand)

       นักเรียนแต่ละกลุ่มวัดส่วนสูงและชั่งน้ำหนักของเพื่อนสมาชิกทุกคนในกลุ่ม แล้วบันทึกข้อมูลลงใน            

ใบงานที่ 1.2 เรื่อง น้ำหนักและส่วนสูง

ขั้นที่ 5    ตรวจสอบผล (Evaluate)

   1. ตัวแทนของแต่ละกลุ่มออกมานำเสนอใบงานที่ 1.2 หน้าชั้นเรียน ครูตรวจสอบความถูกต้อง

   2. นักเรียนร่วมกันสรุปความรู้เรื่อง ลักษณะการเจริญเติบโตของร่างกาย : น้ำหนักและส่วนสูง

เรื่องที่ 3 เกณฑ์มาตรฐานการเจริญเติบโตของเด็กไทย

1 ชั่วโมง

วิธีสอนโดยเน้นกระบวนการ :  กระบวนการสร้างความตระหนัก

ขั้นที่ 1    สังเกต

   1. ครูนำข่าวเด็กที่มีน้ำหนักเกินจนเป็นโรคอ้วนมาเล่าให้นักเรียนฟัง จากนั้นให้นักเรียนแสดงความคิดเห็น

   2. ครูซักถามเกี่ยวกับน้ำหนักและส่วนสูงของนักเรียนแต่ละคน และให้นักเรียนบอกรูปร่างของตนเองว่าเป็นอย่างไร

   3. ครูนำตารางแสดงน้ำหนักและส่วนสูงในช่วงอายุ 2-19 ปี ติดบนกระดาน พร้อมกับอธิบายวิธีตรวจสอบว่า เรามีการเจริญเติบโตที่สมวัยหรือไม่

ขั้นที่ 2    วิเคราะห์วิจารณ์

   1. นักเรียนแต่ละกลุ่มร่วมกันศึกษาความรู้เรื่อง เกณฑ์มาตรฐานการเจริญเติบโตของเด็กไทย จากหนังสือเรียน

   2. ครูสุ่มนักเรียน 1 คน ออกมาหน้าชั้นเรียน แล้วถามน้ำหนักและส่วนสูง จากนั้นนำมาเปรียบเทียบกับเกณฑ์มาตรฐานการเจริญเติบโต เพื่อวิเคราะห์การเจริญเติบโตว่าสมวัยหรือไม่

   3. นักเรียนแต่ละกลุ่มนำข้อมูลเกี่ยวกับน้ำหนักและส่วนสูงของสมาชิกในกลุ่ม มาวิเคราะห์การเจริญเติบโตว่า แต่ละคนมีการเจริญเติบโตที่สมวัยหรือไม่ อย่างไร

ขั้นที่ 3    สรุป

   1. นักเรียนร่วมกันสรุปวิธีดูแลตนเองให้มีการเจริญเติบโตที่สมวัย

   2. ครูแนะนำว่า การดูแลตนเองให้มีการเจริญเติบโตที่สมวัย จะทำให้เรามีสุขภาพที่แข็งแรง

  • ครูมอบหมายให้นักเรียนแต่ละคนจัดทำสมุดบันทึกการเจริญเติบโตของตนเอง โดยให้ครอบคลุมประเด็นตามที่กำหนด

         นักเรียนทำแบบทดสอบหลังเรียนหน่วยการเรียนรู้ที่ 1

9      สื่อ/แหล่งการเรียนรู้

        9.1    สื่อการเรียนรู้

             1)  หนังสือเรียน สุขศึกษาและพลศึกษา ป.3
             2)  แบบวัดและบันทึกผลการเรียนรู้ สุขศึกษาและพลศึกษา ป.3
             3)  บทเรียนคอมพิวเตอร์ Smart L.O. LMS Lite สุขศึกษา ป.3 บริษัท เพลย์เอเบิล จำกัด
             4)  เอกสารประกอบการสอน
             5)  ตัวอย่างข่าว
             6)  ตารางแสดงน้ำหนักและส่วนสูงในช่วงอายุ 2-19 ปี
             7)  เครื่องชั่งน้ำหนักและที่วัดส่วนสูง
             8)  ใบงานที่ 1.1 เรื่อง การเจริญเติบโตของฉัน

             9)  ใบงานที่ 1.2 เรื่อง น้ำหนักและส่วนสูง

        9.2    แหล่งการเรียนรู้

           

การประเมินชิ้นงาน/ภาระงาน (รวบยอด)

แบบประเมินสมุดบันทึกการเจริญเติบโตของฉัน

รายการประเมิน

คำอธิบายระดับคุณภาพ / ระดับคะแนน

ดี (3)

พอใช้ (2)

ปรับปรุง (1)

1.  การอธิบายลักษณะการเจริญเติบโตของร่างกาย

อธิบายลักษณะการเจริญเติบโต ของร่างกายตนเองได้ถูกต้องตรงตามความเป็นจริง            ทุกประเด็น

อธิบายลักษณะการเจริญเติบโตของร่างกายตนเองได้ถูกต้องตรงตามความเป็นจริง         เป็นส่วนใหญ่

อธิบายลักษณะการเจริญเติบโตของร่างกายตนเองได้ แต่      ไม่ค่อยตรงตามความเป็นจริง

2.  การบันทึกข้อมูลน้ำหนัก ส่วนสูง และผลการเปรียบเทียบกับเกณฑ์มาตรฐาน

บันทึกข้อมูลน้ำหนัก ส่วนสูง  ได้ถูกต้อง ครบถ้วน และแสดงผลการเปรียบเทียบกับเกณฑ์มาตรฐานได้ถูกต้อง

บันทึกข้อมูลน้ำหนัก ส่วนสูง  ได้ถูกต้อง 2 ข้อมูล แต่แสดงผลการเปรียบเทียบกับเกณฑ์มาตรฐานได้ถูกต้อง 1 ข้อมูล

บันทึกข้อมูลน้ำหนัก ส่วนสูง  ได้ถูกต้อง 1 ข้อมูล แต่แสดงผลการเปรียบเทียบกับเกณฑ์มาตรฐานไม่ถูกต้องเลย

3.  แนวทางในการปฏิบัติตนเพื่อปรับปรุงตนเอง        ในด้านน้ำหนัก

บอกแนวทางในการปฏิบัติตนเพื่อปรับปรุงตนเองด้านน้ำหนักให้เจริญเติบโตสมวัยได้ถูกต้อง ละเอียด ครบถ้วน และนำไปปฏิบัติได้ง่าย

บอกแนวทางในการปฏิบัติตนเพื่อปรับปรุงตนเองด้านน้ำหนักให้เจริญเติบโตสมวัยได้ แต่ไม่ค่อยละเอียด และนำไปปฏิบัติได้เป็นส่วนใหญ่

บอกแนวทางในการปฏิบัติตนเพื่อปรับปรุงตนเองด้านน้ำหนักให้เจริญเติบโตสมวัยได้ แต่ไม่ค่อยละเอียด และนำไปปฏิบัติ          ได้ยาก

4.  แนวทางในการปฏิบัติตนเพื่อปรับปรุงตนเอง        ในด้านส่วนสูง

บอกแนวทางในการปฏิบัติตนเพื่อปรับปรุงตนเองด้านส่วนสูงให้เจริญเติบโตสมวัยได้ถูกต้อง ละเอียด ครบถ้วน และนำไปปฏิบัติได้ง่าย

บอกแนวทางในการปฏิบัติตนเพื่อปรับปรุงตนเองด้านส่วนสูงให้เจริญเติบโตสมวัยได้ แต่ไม่ค่อยละเอียด และนำไปปฏิบัติได้เป็นส่วนใหญ่

บอกแนวทางในการปฏิบัติตนเพื่อปรับปรุงตนเองด้านส่วนสูงให้เจริญเติบโตสมวัยได้ แต่ไม่ค่อยละเอียด และนำไปปฏิบัติ          ได้ยาก

เกณฑ์การตัดสินคุณภาพ

ช่วงคะแนน

10 - 12

6 - 9

ต่ำกว่า 6

ระดับคุณภาพ

ดี

พอใช้

ปรับปรุง

แบบทดสอบก่อนเรียนหน่วยการเรียนรู้ที่ 1 

 คำชี้แจง      ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว

   1.  นักเรียนมีลักษณะรูปร่างอยู่ในวัยใด

       ก.   วัยทารก

       ข.   วัยผู้ใหญ่

       ค.  วัยชรา

       ง.  วัยเรียน

   2.  เราจะทราบน้ำหนักที่แน่นอนของตนเองได้จากอะไร

       ก.   ถามพ่อ

       ข.   ชั่งน้ำหนัก

       ค.   เทียบน้ำหนักกับเพื่อน

       ง.   ตารางเปรียบเทียบน้ำหนัก

   3.  น้ำหนักของคน มีหน่วยวัดเป็นอะไร

       ก.   ขีด

       ข.   ฟุต

       ค.   กิโลกรัม

       ง.   กิโลเมตร

   4.  เราทราบส่วนสูงของตนเองได้จากอะไร

       ก.   วัดส่วนสูง

       ข.   ชั่งน้ำหนัก

       ค.   ถามพ่อแม่

       ง.   ถามเพื่อนที่โรงเรียน

   5.  น้องแป้งอายุ 5 ปี และน้องปอนอายุ 9 ปี น้ำหนักตัว      ของใครควรมากกว่ากัน ถ้าเทียบกับเกณฑ์มาตรฐาน  การเจริญเติบโตของเด็กไทย

       ก.   น้องแป้ง   

       ข.   น้องปอน

       ค.   น้ำหนักตัวเท่ากัน

       ง.   ไม่สามารถหาคำตอบได้

   6.  ตารางแสดงน้ำหนักและส่วนสูงที่นักเรียนควรดู ควรเป็นช่วงอายุเท่าใด

       ก.   อายุ 2 - 19 ปี          ข.   อายุ 3 - 15 ปี

       ค.   อายุ 5 - 19 ปี          ง.   อายุ 5 - 20 ปี

   7.  ผลการชั่งน้ำหนักของหน่อยมีค่าต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานแสดงว่าหน่อยมีรูปร่างเป็นอย่างไร

       ก.   น้ำหนักมาก

       ข.   น้ำหนักเกินเกณฑ์

       ค.   น้ำหนักพอดีเกณฑ์

       ง.   น้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์

   8.  โต้งอายุ 8 ปี มีน้ำหนัก 35 กิโลกรัม รูปร่างของโต้งเป็นอย่างไร เมื่อเทียบกับเกณฑ์มาตรฐานการเจริญเติบโตของเด็กไทย

       ก.   สูง

       ข.   ผอม

       ค.   อ้วน

       ง.   เตี้ย

   9.  ถ้าออมมีส่วนสูงต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน ควรทำอย่างไร

       ก.   ดื่มนมทุกวัน

       ข.   งดออกกำลังกาย

       ค.   กินอาหารที่มีไขมันสูง

       ง.   ลดอาหารที่มีน้ำตาลมาก

10.  ถ้าผลการวัดส่วนสูงมีค่าน้อยกว่าเกณฑ์ หมายถึงสิ่งใด

       ก.   ส่วนสูงสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน

       ข.   ส่วนสูงต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน

       ค.   ส่วนสูงพอดีเกณฑ์มาตรฐาน           

       ง.   ส่วนสูงมีค่าปานกลางมาตรฐาน

                                                                                                                                                          มฐ. พ 1.1 .3/1-2

เฉลย

    1.  ง

    2.  ข

    3.  ค 

    4.  ก

    5.  ข

    6.  ก

    7.  ง  

    8.  ค

    9.  ก 

  10.  ข

แบบทดสอบหลังเรียนหน่วยการเรียนรู้ที่ 1  

คำชี้แจง      ให้นักเรียนเลือกคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว

   1ตารางแสดงน้ำหนักและส่วนสูงที่นักเรียนควรดู ควรเป็นช่วงอายุเท่าใด

       ก.   อายุ 2 - 19 ปี         

       ข.   อายุ 3 - 15 ปี

       ค.   อายุ 5 - 19 ปี         

       ง.   อายุ 5 - 20 ปี

   2ถ้าออมมีส่วนสูงต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน ควรทำอย่างไร

       ก.   ลดอาหารที่มีน้ำตาลมาก

       ข.   กินอาหารที่มีไขมันสูง

       ค.   งดออกกำลังกาย

       ง.   ดื่มนมทุกวัน

   3ผลการชั่งน้ำหนักของหน่อยมีค่าต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานแสดงว่าหน่อยมีรูปร่างเป็นอย่างไร

       ก.   น้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์

       ข.   น้ำหนักพอดีเกณฑ์

       ค.   น้ำหนักเกินเกณฑ์

       ง.   น้ำหนักมาก

   4ถ้าผลการวัดส่วนสูงมีค่าน้อยกว่าเกณฑ์ หมายถึงสิ่งใด

       ก.   ส่วนสูงพอดีเกณฑ์มาตรฐาน

       ข.   ส่วนสูงสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน

       ค.   ส่วนสูงต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน        

       ง.   ส่วนสูงมีค่าปานกลางมาตรฐาน

   5โต้งอายุ 8 ปี มีน้ำหนัก 35 กิโลกรัม รูปร่างของโต้งเป็นอย่างไร เมื่อเทียบกับเกณฑ์มาตรฐานการเจริญเติบโตของเด็กไทย

       ก.   สูง

       ข.   เตี้ย

   6เราจะทราบน้ำหนักที่แน่นอนของตนเองได้จากอะไร

       ก.   ตารางเปรียบเทียบน้ำหนัก

       ข.   เทียบน้ำหนักกับเพื่อน

       ค.   ชั่งน้ำหนัก

       ง.   ถามพ่อ

   7นักเรียนมีลักษณะรูปร่างอยู่ในวัยใด

       ก.   วัยทารก

       ข.   วัยเรียน

       ค.  วัยผู้ใหญ่

       ง.  วัยชรา

   8น้องแป้งอายุ 5 ปี และน้องปอนอายุ 9 ปี น้ำหนักตัว      ของใครควรมากกว่ากัน ถ้าเทียบกับเกณฑ์มาตรฐาน  การเจริญเติบโตของเด็กไทย

       ก.   ไม่สามารถหาคำตอบได้   

       ข.   น้ำหนักตัวเท่ากัน

       ค.   น้องปอน

       ง.   น้องแป้ง

   9น้ำหนักของคน มีหน่วยวัดเป็นอะไร

       ก.   กิโลเมตร

       ข.   กิโลกรัม

       ค.   ฟุต

       ง.   ขีด

10เราทราบส่วนสูงของตนเองได้จากอะไร

       ก.   ถามเพื่อนที่โรงเรียน

       ข.   ถามพ่อแม่

       ค.   ชั่งน้ำหนัก

       ง.   วัดส่วนสูง

  มฐพ 1.1 .3/1-2

เฉลย

    1.  ก

    2.  ง

    3.  ก 

    4.  ค

    5.  ง

    6.  ค

    7.  ข 

    8.  ค

    9.  ข 

  10.  ง