. ข้อใดไม่ใช่วิธีการอนุรักษ์ดินที่เหมาะสม

1. �ɵø����ҵ� ���¶֧���� �. ����ɵ÷���ͧ����������٧ �. ����ɵ÷���������¤͡ �. ����ɵ÷������������շء��Դ �. ����ɵ÷���繡�÷���·�Ѿ�ҡ� 2. ���������� ��Թ�ժ��Ե� �դ������µç�Ѻ���� �. 㹴Թ������ժ��Ե �. �Թ�ա�áԹ����� �. �Թ�ա������ �. �Թ�ա������͹���3. ����������ú��ا�Թ�����Ը��ɵø����ҵ� �. ��ä����Թ �. ��١�ת��ع���¹ �. ��ö䶾�ǹ �. ���������Թ�������ª����Ҿ 4. �ת����ö��ԭ�Ժ���дѺ pH ���� �. 1 � 3 �. 3 � 8 �. 9 - 12 �. 12 � 14 (adsbygoogle = window.adsbygoogle || []).push({}); 5. �������Ըա�û�Ѻ��ا�Թ�˹���������ç���ҧ�բ�� �. ����Թ�����ѵ�� �. ���ٹ��� �. �������Է����ʵ�� �. ������������6. ��������ù�������ʴ�㹡�÷ӻ�����ѡ �. ���ʵԡ �. �ҧ��� �. ���˭�� �. ����ѵ��7. �ת��ͧ��á�ҫ����㹡������ �. ����͹��͡䫹� �. �͡��ਹ �. ���ਹ �. �ת������� 8. ���� ����� ����ª��ͧ��ä����Թ �. ���¡ӨѴ�Ѫ�ת�� �. �ѡ�Ҥ���������鹢ͧ�Թ �. ��ͧ�ѹ��ê���ҧ�ͧ˹�ҴԹ �. �����Թ���� ���µ�͡���Ժⵢͧ�ת (adsbygoogle = window.adsbygoogle || []).push({}); 9. ���� ����� ��û�ͧ�ѹ��СӨѴ��ŧ���Ըա� �. ��Ѻ�ѡ��ŧ �. �������Ժ�͡ �. �մ���Ҧ����ŧ �. ����駵Ң��»�ͧ�ѹ10. �����͹������ª��������Թ �. �����Թ�ִ�Դ�ѹ����觢�� �. �����Թ������� ����繡ô �. �����Թ��ǹ��� �. �����Թ�˹��ǡ����繴Թ����

��ṹ���س����= ��ṹ �ҡ��ṹ��� 10 ��ṹ ��¤ӵͺ :

Show

. ข้อใดไม่ใช่วิธีการอนุรักษ์ดินที่เหมาะสม

ดินเป็นทรัพยากรที่ใกล้ชิดกับมนุษย์มากที่สุด และใช้ประโยชน์มากที่สุดด้วย การใช้ดินอย่างรู้คุณค่าโดยไม่ทำลายเป็นการอนุรักษ์ทรัพยากรดินที่ดี ยิ่งถ้าได้รับการดูแลฟื้นฟูดินอย่างสม่ำเสมอจะเป็นวิธีการอนุรักษ์ดินที่ถูกต้องตามหลักวิชาการเกษตรกรรมสมัยใหม่ โดยมุ่งเน้นผลของการอนุรักษ์ไว้ว่าดินต้องมีคุณภาพดี ทำให้ผลผลิตทางเกษตรสมบูรณ์ตามต้องการ

การอนุรักษ์ทรัพยากรดิน

1.การปลูกพืชหมุนเวียน – การปลูกพืชหมุนเวียนแบบปลูกพืชซ้ำๆ ช่วยรักษาคุณภาพดิน หากปลูกพืชชนิดเดียวโดยไม่เปลี่ยนเลยจะทำให้ดินขาดแร่ธาตุและสารอาหารบางชนิด แถมยังทำให้เกิดโรคระบาดในพืชได้ง่ายด้วย เพราะว่าสะสมโรคระบาดในบริเวณนั้น ถ้าหากสลับการปลูกพืชบ่อยๆ จะทำให้ดินแน่นหนาและป้องกันการชะล้างพังทลายของดิน เพิ่มผลผลิตของพืช

2.การปลูกพืชคลุมดิน – เป็นวิธีการยึดดิน ลดแรงปะทะของลม ฝน การปลูกพืชคลุมดินคือการนำพืชที่มีใบหนา มีรากมากและลึกมาปกคลุมดินเป็นเวลานาน เช่น พืชตระกูลถั่ว ไม่เพียงแค่ช่วยยึดดินแล้วแต่ยังช่วยตรึงไนโตรเจนในอากาศ ทำให้ดินมีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น

3.การบำรุงดินด้วยปุ๋ย – การใส่ปุ๋ยในดินเป็นการปรับปรุงดินให้มีแร่ธาตุ betflik pg เพิ่มสาอาหารในดิน ทำให้ดินระบายน้ำและอากาศได้ดี ปุ๋ยที่ดีควรเป็นปุ๋ยจากธรรมชาติเช่น ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยสด ปุ๋ยคอก ไม่ใช่ปุ๋ยเคมีเพราะจะส่งผลเสียในระยะยาวได้

4.การปลูกพืชแบบสวนผสม – หรือการปลูกพืชแบบวนเกษตรคือการปลูกพืชนานาพรรณเพื่อรักษาสมดุลธาตุอาหารในดิน เก็บความชุ่มชื้นในดิน และช่วยลดการพังทลายของหน้าดิน วิธีการปลูกแบบนี้แบ่งเป็น 3 แบบ คือ การปลูกไม้ยืนต้นคู่กับพืชเกษตร การปลูกไม้ยืนต้นคู่กับพืชอาหารสัตว์พร้อมกับเลี้ยงสัตว์ การปลูกไม้ยืนต้นคู่กับพืชเกษตรและเลี้ยงสัตว์

5.การปลูกพืชแบบขั้นบันได – เป็นการสร้างคันดินจนมีลักษณะเป็นบันไดเพื่อปลูกพืช ช่วยลดความลาดเทของพื้นที่ ลดอัตราการไหลบ่าของน้ำ ลดการพังทลายของหน้าดิน และยังช่วยเก็บกักความชื้นไว้ได้ทำให้ดินมีสภาพโครงสร้างที่เหมาะแก่การปลูกพืช เช่น การทำนาขั้นบันได

6.การเลือกใช้สภาพดินให้เหมาะสมแก่การใช้งาน – ซึ่งการจำแนกดินแบ่งได้ 3 ชนิด คือ ดินทราย ดินร่วน และดินเหนียว ดินแต่ละชนิดจะมีคุณสมบัติและการนำไปใช้งานต่างกัน หากรู้จักเลือกใช้ดินให้เหมาะแก่กิจกรรมจะช่วยรักษาระบบนิเวศและธรรมชาติได้อย่างมีคุณภาพ

ทั้งหมดที่กล่าวมานี้เป็นเพียงวิธีการง่ายๆ ที่ช่วยขจัดปัญหาการเสื่อมโทรมของดิน เมื่อดินดีมีความสมบูรณ์แล้ว ทำให้การทำกิจกรรมบนหน้าดินเป็นไปอย่างเรียบง่าย ตลอดถึงส่งผลสิ่งแวดล้อมระบบนิเวศโดยรอบ เช่น แม่น้ำไม่ตื้นเขินเพราะดินดีช่วยกักเก็บน้ำไว้ได้ ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของประชาชนในชุมชนดีและมีความสุข

ดิน คือ เทหวัตถุธรรมชาติซึ่งเกิดขึ้นบนพื้นผิวโลก เป็นวัตถุที่ค้ำจุนการเจริญเติบโตและการทรงตัวของต้นไม้  ดินประกอบด้วยแร่ธาตุและอินทรียวัตถุต่างๆ และมีลักษณะชั้นแตกต่างกัน แต่ละชั้นที่อยู่ต่อเนื่องกันจะมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันตามขบวนการ กำเนิดดิน

การอนุรักษ์ดิน หมายถึง การใช้ประโยชน์จากดินอย่างชาญฉลาด ซึ่งจำเป็นจะต้องคำนึงถึงเรื่องดังต่อไปนี้ คือ
          ๑. ลดการกัดเซาะหรือป้องกันการพังทลายของดิน
          ๒. รักษาปริมาณธาตุอาหารในดินให้คงความอุดมสมบูรณ์อยู่เสมอ
          ๓. รักษาระดับอินทรียวัตถุ และคุณสมบัติของดินในทุกๆ ด้าน เพราะการปรับปรุงให้กลับคืนมาจากการสูญเสียไปนั้น จะต้องใช้เวลาอันยาวนาน และเสียค่าใช้จ่ายสูงกว่าการป้องกันโดยวิธีการอนุรักษ์เป็นอันมาก

ธีการพิเศษในการอนุรักษ์ดิน 
          สำหรับวิธีการพิเศษในการอนุรักษ์ดิน ตามหลักการอนุรักษ์ ได้แก่
          ๑. การปลูกพืชคลุมดิน หมายถึง การปลูกพืชที่มีใบหนาแน่น หรือมีระบบรากลึกและแน่นเพื่อคลุมและยึดดิน เช่น พืชตระกูลถั่ว และหญ้า เป็นต้น
          ๒. การปลูกพืชหมุนเวียน หมายถึง การปลูกพืชต่างชนิดกันบนพื้นที่เดียวกันโดยหมุนเวียนเปลี่ยนไป นอกจากนี้การเลือกชนิดพืชที่จะนำมาปลูก ควรพิจารณาเลือกพืชที่มีความต้องการแร่ต่างกัน รวมทั้งเลือกปลูกพืชแต่ละชนิดที่มีระบบรากลึกและรากตื้นสลับกัน และไม่ควรปลูกพืชวงศ์เดียวกัน เพราะจะมีศัตรูพืชคล้ายกัน
          ๓. การคลุมดิน หมายถึง การนำเอาวัสดุใดๆ  เช่น หญ้าแห้ง ขี้เลื่อย ไปคลุมไว้บนดินเพื่อป้องกันการกัดเซาะ และลดแรงปะทะของเม็ดฝนและแรงลม ทำให้ดินเพิ่มความสามารถในการรักษาความชื้น และลดการไหลบ่าของน้ำ อันจะช่วยลดการสูญเสียธาตุอาหารในดิน
          ๔. การปลูกพืชตามแนวระดับ หมายถึง การไถ พรวน หว่าน และเก็บเกี่ยวพืชผลขนานไปตามแนวระดับ เพื่อลดการพังทลายของดิน
          ๕. การปลูกพืชสลับเป็นแถบ หมายถึง การปลูกพืชต่างชนิดกันสลับเป็นแถบๆ ขวางความลาดชันของพื้นที่ หรือตามแนวระดับ

          ๖. การทำขั้นบันได เพื่อช่วยลดความลาดเทและความเร็วของน้ำที่ไหลบ่า ทำให้ปริมาณการสูญเสียเนื้อดินน้อยลง ป้องกันการเกิดร่องน้ำและช่วยให้ดินเก็บความชื้นได้มากขึ้น

วิธีการรักษาหรือเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดิน
          วิธีการรักษาหรือเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดินทำได้ดังนี้
          ๑. เพิ่มอินทรียวัตถุ เศษเหลือจากพืช เช่น หญ้าแห้ง กิ่งไม้ใบไม้ และปุ๋ยพืชสด รวมทั้งเศษเหลือจากสัตว์ อินทรียวัตถุเหล่านี้จะไปช่วยทำให้คุณสมบัติทางฟิสิกส์ของดินดีขึ้น ทำให้ดินร่วนซุยสามารถดูดซับน้ำได้มากขึ้น ส่วนจุลินทรีย์ในดินจะช่วยให้อินทรียวัตถุต่างๆ เหล่านี้สลายตัวเป็นธาตุอาหารที่เป็นประโยชน์แก่พืชต่อไป
          ๒. การเพิ่มปุ๋ยพืชสด โดยการไถพรวนพืชสดๆ ทับลงไปในดิน ซึ่งเท่ากับเป็นการเพิ่มแร่ธาตุจากพืชสดเพื่อเป็นอาหารแก่ดิน
          ๓. การใช้ซากและเศษเหลือจากสัตว์ ซึ่งประกอบด้วยธาตุต่างๆ ที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืช เช่น ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม ซัลเฟอร์ เป็นต้น อันจะช่วยเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดินให้ดีขึ้น
          ๔. การใช้ระบบการปลูกพืชหมุนเวียนเพื่อช่วยให้ดินคงความอุดมสมบูรณ์อยู่ได้
          ๕. การใช้ปูนขาว เพื่อให้ธาตุแคลเซียมซึ่งเป็นอาหารชนิดหนึ่งที่จำเป็นต่อพืช และยังเป็นตัวช่วยลดความเป็นกรดและปรับปรุงคุณสมบัติอื่นๆ ของดินได้ดีอีกด้วย

          ๖. การรักษาธาตุไนโตรเจน ฟอสฟอรัสและโพแทสเซียม ในดิน การรักษาธาตุไนโตรเจนในดิน ทำได้โดยการปลูกพืชตระกูลถั่วไว้คอยตรึงไนโตรเจนจากอากาศ และทำการไถพรวนเป็นปุ๋ยพืชสด อันจะช่วยเพิ่มไนโตรเจนให้แก่ดินได้อย่างดี ส่วนฟอสฟอรัส พืชมักจะใช้ในรูปของซูเปอร์ฟอสเฟต สำหรับโพแทสเซียมรักษาให้คงอยู่ได้ ด้วยการปลูกพืชให้ถูกต้องตามหลักการอนุรักษ์ เพื่อป้องกันการชะล้าง และควรใช้ปุ๋ยที่ให้โพแทสเซียมโดยตรง

การจัดการทรัพยากรที่ดิน
          การจัดการทรัพยากรที่ดินให้เหมาะสมเพื่อให้สามารถใช้ประโยชน์ได้ยั่งยืนต่อไป ได้แก่
          ๑. วางแผนการใช้ที่ดินให้เหมาะสมกับสมรรถนะของที่ดิน สภาพทางเศรษฐกิจ สังคม และสภาวะแวดล้อม เพื่อควบคุมและแก้ไขปัญหาการใช้ที่ดินให้เป็นไปอย่างประหยัด โดยให้เกิดประโยชน์ต่อหน่วยพื้นที่สูงสุด และสามารถรักษาความอุดมสมบูรณ์ของดินให้ตลอดไป
          ๒. ศึกษาการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อกิจกรรมต่างๆ และจัดทำแผนที่แสดงขอบเขตการใช้ที่ดินประเภทต่างๆ ในระดับจังหวัดทั่วประเทศ ให้เป็นไปอย่างเหมาะสมตามหลักวิชาการ เช่น เขตอุตสาหกรรม เขตเกษตรกรรม เขตชุมชนเมือง และเขตสถานที่ราชการ เป็นต้น เพื่อส่งเสริมและควบคุมการใช้ที่ดินแต่ละประเภทให้สอดคล้องกับการกำหนดเขต โดยเฉพาะจะช่วยให้การคุ้มครองพื้นที่ที่เหมาะสมต่อการเกษตรกรรมไว้เป็นแหล่ง ผลิตที่ถาวรของประเทศตลอดไป และเท่ากับเป็นการป้องกันมิให้มีการนำที่ดินไปใช้อย่างผิดประเภท อันจะช่วยให้การใช้ที่ดินของประเทศโดยส่วนรวมเป็นไปอย่างถูกต้องและเหมาะสม ตลอดจนจะช่วยรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมไว้ด้วย

          ๓. ดำเนินการอนุรักษ์ดินและน้ำโดยเฉพาะในพื้นที่สูง หรือพื้นที่ที่มีความลาดชันให้เป็นไปตามหลักวิชาการ ตลอดจนสงวนและคุ้มครองบำรุงรักษาที่ดินที่เหมาะสมทางการเกษตรให้คงความอุดม สมบูรณ์ตลอดไป

ขอบคุณข้อมูลจาก https://sites.google.com/site/kritttiyaporn/kar-xnuraks-din