การ สื่อสาร ด้วยการพูดที่ดี

ทักษะการพูด (Speaking Skills)

ความหมาย

   การพูด คือ การส่งสารโดยใช้วัจนภาษาและอวัจนภาษาเพื่อให้ผู้ฟังได้รับสาร แล้วเกิดความเข้าใจในสารนั้นๆ

ความสำคัญ      - ช่วยให้ข้อมูล

                   - ช่วยโน้มน้าว

                   - ช่วยสร้างความบันเทิง

                   - ช่วยสร้างสรรค์

                   - ช่วยให้รู้สึกดี

ลักษณะของวัจนภาษาและอวัจนภาษา

วัจนภาษา (มีน้ำหนัก 7%)       - เป็นคำพูดเพื่อให้เห็นภาพ

                                      - เป็นคำพูดที่ชัดเจน

                                      - เป็นภาษาง่ายๆ

                                      - เป็นคำคล้องจอง

                                      - เป็นคำคม

 

อวัจภาษา (มีน้ำหนัก 93%)      - สีหน้า

                                      - น้ำเสียง (38%)

                                      - สายตา

                                      - การใช้มือ

                                      - เสื้อผ้า การแต่งกาย บุคลิก

ใน 100% ของการสื่อสาร คนส่วนมากเลือกที่จะเชื่ออวัจนภาษามากกว่า
วัจนภาษา  นั่นเป็นเพราะ… “การกระทำ สำคัญกว่าคำพูด

 
ลักษณะการพูดที่ดี

           1. เข้าใจจุดมุ่งหมายในการพูดเพื่อติดต่อสื่อสาร

           2. เลือกช่องทางที่เหมาะสมในการพูดติดต่อสื่อสารแบบสองทาง เช่น เจอหน้า, โทรศัพท์

           3. เน้นที่ผู้รับสาร (Receiver) มากกว่าผู้ส่งสาร

           4. รู้เทคนิคในการพูดติดต่อสื่อสาร เช่น ถ้ากรณีเร่งด่วน ใช้โทรศัพท์, วาระสำคัญ ควรจะประชุม

           5. สร้างบรรยากาศที่ดี เช่น เริ่มต้นด้วยการทักทาย สนทนากันก่อน

           6. รับฟังอย่างตั้งใจและใส่ใจ (Active & Reflective)

           7. สังเกตความสอดคล้องของวัจนภาษาและอวัจนภาษา

           8. สอบถามเมื่อจำเป็น (Questioning)

           9. ทบทวน (Paraphrasing) เพื่อให้เข้าใจตรงกัน


การวางแผนการพูดติดต่อสื่อสาร ต้องคำนึง

           1. ต้องรู้วัตถุประสงค์

           2. ใช้ภาษาผู้ฟัง

           3. เน้นสื่อสารแบบสองทาง

           4. เลือกช่องทางที่เหมาะสม

           5. ใช้วัจนภาษาและอวัจนภาษาได้สอดคล้องกัน

           6. ต้องรับฟัง สอบถาม และทบทวน

เมื่อวางแผนแล้ว จะนำมาซึ่งการสื่อสารที่เข้าใจตรงกัน บรรลุวัตถุประสงค์ สร้างสายสัมพันธ์อันดี

 
การนำเสนอ

           การนำเสนอ คือ รูปแบบหนึ่งของการสื่อสารทางการพูด โดยผู้พูดต้องการที่จะ

                   - แจ้งให้ทราบ                      - ถ่ายทอดความรู้

                   - แลกเปลี่ยนความคิดเห็น     - บอกความต้องการ

                   - ขออนุมัติ                           - รายงานผล

                   - โน้มน้าว

           ไปสู่ผู้ฟัง ผ่านวิธีที่เรียกว่า การนำเสนอด้วยวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน ทั้งนี้ จะมีการประยุกต์ใช้หลักการและเทคนิคต่างๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการสื่อสาร

 

ประเด็น

ที่ต้องการ นำเสนอ (เพื่อนำไปใช้ประกอบในกระบวนการนำเสนอ)

1. ระบุประเด็นที่ต้องการนำเสนอ

           - หัวข้อที่ถนัด

           - หัวข้อที่น่าสนใจ

           - หัวข้อที่อยู่ในกระแส

2. ศึกษาข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ ประเด็น

           - ความสำคัญ

           - ปัญหา

3. ศึกษาข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ ผู้ฟัง

           - อายุ/ประสบการณ์ เป็นต้น

4. จัดทำเนื้อหาตามที่ได้ศึกษาและตามโครงสร้าง

           - กล่าวเปิด

           - เนื้อหา

           - กล่าวปิด

กระบวนการนำเสนอ

1. กล่าวเปิดให้ น่าสนใจ”  (ให้น้ำหนักที่ 10-15%)

           - สร้างความน่าสนใจให้ประเด็น

           - บอกวัตถุประสงค์และประโยชน์

           - ให้ภาพรวมและนำสู่ประเด็นที่จะนำเสนอ

2. เล่าเนื้อหาให้ เข้าใจ  (ให้น้ำหนักที่ 70-80%)

           - มีลำดับขั้นตอนและเชื่อมโยงเนื้อหา

           - สร้างการมีส่วนร่วมผ่านสื่อ/กิจกรรม

           - เล่าเนื้อหาอย่างชัดเจน กระชับ เข้าใจง่าย

           - อาจเสริมด้วยตัวอย่างหรือถ่ายทอดประสบการณ์

3. กล่าวปิดให้ เชื่อใจ”  (ให้น้ำหนักที่ 10-15%)

           - สรุปประเด็นสำคัญ

           - กระตุ้นความน่าสนใจทิ้งท้าย

 

พิธีกร

พิธีกร (MC : Master of Ceremony) คือ ผู้ดำเนินการในพิธีต่างๆ โดยจัดการ ควบคุม ดูแล แก้ปัญหา   เพื่อให้กิจกรรมหรืองานต่างๆ ภายในพิธี ดำเนินไปอย่างราบรื่น บรรลุตามวัตถุประสงค์และกำหดการที่วางไว้


ทักษะที่จำเป็นในการเป็นพิธีกร

1. ทักษะการนำเสนอ

           - ประเด็นการนำเสนอ (เช่น รายละเอียดของพิธีการ, กำหนดเวลา, ผู้ร่วมงาน)

           - ภาษาพูดและภาษาท่าทาง

           - กระบวนการนำเสนอ

2. ทักษะการสร้างมนุษยสัมพันธ์

           - บุคลิกภาพภายใน/ภายนอก

3. ทักษะการแก้ปัญหา (ไหวพริบ)


หลักการสำคัญในการเป็นพิธีกร

           1. จับธีมงาน (Theme)

                   - ทำการบ้านศึกษาค้นคว้าธีมงาน/กลุ่มผู้ชมและข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง

                   - สอบถาม/รับฟัง/นำเสนอ concept

                   - เตรียมสคริปต์ (Script) ช่วยจำ

                   - ตรวจสอบความถูกต้อง

                   - ซ้อมพิธีการดูจังหวะ

           2. จับสถานการณ์ (Situation) นอกสคริปต์

                   - สังเกต

                   - สอบถาม

                   - รับฟัง

                   - แก้ปัญหาเฉพาะหน้า

หน้าที่พิธีกรที่สร้างสรรค์



1. สร้างผลลัพธ์ได้บรรลุตามวัตถุประสงค์และกำหนดเวลาที่วางไว้

2. สร้างความเข้าใจ

3. สร้างบรรยากาศ

4. สร้างสีสันให้กับพิธี

5. สร้างความประทับใจ

6. สร้างความน่าสนใจให้กับพิธี

7. สร้างความเป็นมืออาชีพ

8. สร้างสไตล์