ข้อใด ไม่ใช่ องค์ประกอบของโครงการอาชีวอนามัยและความปลอดภัยขั้นพื้นฐาน

       คณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน (คปอ.) เป็นการร่วมมือจากทุกภาคส่วนในองค์กรในการดำเนินงานด้านความปลอดภัยไม่ว่าจะเป็นนายจ้าง ลูกจ้าง โดยมีหน้าที่ในการพิจารณานโยบายและแผนงานด้านความปลอดภัยในการทำงาน รายงานและเสนอแนะมาตรการหรือแนวทางปรับปรุงแก้ไขให้ถูกต้องตามกฎหมายเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงาน ส่งเสริม สนับสนุน กิจกรรมด้านความปลอดภัยในการทำงานของสถานประกอบกิจการ สำรวจการปฏิบัติการด้านความปลอดภัยในการทำงาน และตรวจสอบสถิติการประสบอันตรายที่เกิดขึ้นในสถานประกอบกิจการนั้น วางระบบการรายงานสภาพการทำงานที่ไม่ปลอดภัยให้เป็นหน้าที่ของลูกจ้างทุกคนทุกระดับต้องปฏิบัติ รวมทั้งประเมินผลการดำเนินงานด้านความปลอดภัยในการทำงานของสถานประกอบกิจการ เป็นต้น โดยสถานประกอบกิจการควรมีการประชุมอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง

          ทั้งนี้ กฎกระทรวงบริหารการจัดการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2549 ได้กำหนดให้สถานประกอบกิจการที่มีจำนวนพนักงานตั้งแต่ 50 คนขึ้นไป ต้องมีคณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางานของสถานประกอบกิจการ และได้แบ่งจำนวนของคณะกรรมการความปลอดภัยฯ ตามจำนวนลูกจ้าง ดังนี้

ข้อใด ไม่ใช่ องค์ประกอบของโครงการอาชีวอนามัยและความปลอดภัยขั้นพื้นฐาน

1.  สถานประกอบกิจการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 50-99 คนให้มีคณะกรรมการไม่น้อยกว่า 5 คน ประกอบด้วย

  • นายจ้างหรือผู้แทนนายจ้างระดับบริหารเป็นประธาน
  • ผู้แทนนายจ้างระดับบัญชา 1 คนเป็นกรรมการ
  • ผู้แทนลูกจ้าง 2 คนเป็นกรรมการ
  • จป.เทคนิคขั้นสูงหรือ จป.วิชาชีพ เป็นกรรมการและเลขานุการ

ข้อใด ไม่ใช่ องค์ประกอบของโครงการอาชีวอนามัยและความปลอดภัยขั้นพื้นฐาน

2.  สถานประกอบกิจการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 100-499 คน ให้มีคณะกรรมการไม่น้อยกว่า 7 คน ประกอบด้วย

  • นายจ้างหรือผู้แทนนายจ้างระดับบริหารเป็นประธาน
  •  ผู้แทนนายจ้างระดับบัญชา 2 คนเป็นกรรมการ
  • ผู้แทนลูกจ้าง 3 คนเป็นกรรมการ
  • จป.เทคนิคขั้นสูงหรือจป.วิชาชีพ เป็นกรรมการและเลขานุการ

ข้อใด ไม่ใช่ องค์ประกอบของโครงการอาชีวอนามัยและความปลอดภัยขั้นพื้นฐาน

3.  สถานประกอบกิจการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 500 คนขึ้นไป ให้มีคณะกรรมการไม่น้อยกว่า 11 คน ประกอบด้วย

  • นายจ้างหรือผู้แทนนายจ้างระดับบริหารเป็นประธาน
  • ผู้แทนนายจ้างระดับบัญชา 4 คนเป็นกรรมการ
  • ผู้แทนลูกจ้าง 5 คนเป็นกรรมการ
  • จป.เทคนิคขั้นสูงหรือจป.วิชาชีพ เป็นกรรมการและเลขานุการ

โดยกรรมการมีวาระ 2 ปี และหากคณะกรรมการมีมากกว่าขั้นต่ำ ให้เพิ่มกรรมการจากผู้แทนนายจ้างและผู้แทนลูกจ้างในสัดส่วนที่เท่ากันซึ่งในแต่ละตำแหน่งนั้นสามารถดำเนินการได้ ดังนี้

>> ประธานกรรมการ ผู้แทนฝ่ายนายจ้าง นายจ้างสามารถแต่งตั้งได้เลย<<

>> ผู้แทนฝ่ายลูกจ้าง จะต้องมีการเลือกตั้งให้เป็นตามกฎหมายกำหนด<<

>> เลขานุการที่เป็น จป.วิชาชีพหรือ จป.เทคนิคขั้นสูง นายจ้างสามารถแต่งตั้งได้ตามความเหมะสม  กรณีไม่มีจป.วิชาชีพหรือ จป.เทคนิคขั้นสูง ให้นายจ้างแต่งตั้งผู้แทนนายจ้างมาเป็น <<

ข้อใด ไม่ใช่ องค์ประกอบของโครงการอาชีวอนามัยและความปลอดภัยขั้นพื้นฐาน

        คณะกรรมการความปลอดภัยฯ จึงมีความสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน เพื่อป้องกันอันตราย อุบัติเหตุ และโรคจากการทำงาน ส่งผลให้การประสบอันตรายลดลง และเกิดการร่วมมือของทุกภาคส่วนในองค์กรให้สามารถขับเคลื่อนงานด้านความปลอดภัยฯ เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการทำงานอย่างจริงจังและยั่งยืน

เพราะเรื่องของความปลอดภัย เป็นหน้าที่ของทุกคนในองค์กร

ที่มา : กฎกระทรวงบริหารการจัดการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2549

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้นำแนวคิดการจัดการเพื่อความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการเป็นผลผลิตจากงานวิจัยโครงการยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยห้องปฏิบัติการวิจัยในประเทศไทย (Enhancement of Safety Practice of Research Laboratory in Thailand, ESPReL) ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ให้การสนับสนุนจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นแกนนำในการดำเนินงาน โดยศูนย์ความเป็นเลิศด้านการจัดการสารและของเสียอันตราย และสถาบันวิจัยสภาวะแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดำเนินการพัฒนาระบบและเครื่องมือการบริหารจัดการความปลอดภัยห้องปฏิบัติการที่คำนึงถึงองค์ประกอบ 7 ด้าน ต่อมารู้จักกันในชื่อ ESPReL และ ESPReL Checklist ที่สามารถใช้สำรวจและประเมินความปลอดภัยด้วยตนเองให้เห็นอันตรายและความเสี่ยงในด้านต่าง ๆ เมื่อระบุสาเหตุของอันตรายได้จึงเข้าไปลดความเสี่ยงนั้นๆ ได้อย่างแม่นยำ ตรงเป้า และ ESPReL Checklist นี้คือเครื่องมือนำไปสู่ 7 องค์ประกอบของการบริหารจัดการความปลอดภัยที่สัมพันธ์และเชื่อมโยงกันแสดงดังรูป

ข้อใด ไม่ใช่ องค์ประกอบของโครงการอาชีวอนามัยและความปลอดภัยขั้นพื้นฐาน

องค์ประกอบหลักของการบริหารจัดการความปลอดภัย

แต่ละองค์ประกอบชี้ให้เห็นความเสี่ยงหลักแต่ละด้านที่สัมพันธ์กับความเสี่ยงด้านอื่น ๆ องค์ประกอบดังกล่าวประกอบด้วย

1. การบริหารระบบการจัดการความปลอดภัย

เริ่มต้นที่นโยบายมหาวิทยาลัยและแผนงานด้านความปลอดภัย ซึ่งถ่ายทอดลงมาเป็นนโยบายและแผนปฏิบัติในทิศทางเดียวกันสำหรับการบริหารทุกระดับ แต่รายละเอียดของการปฏิบัติอาจมีความเฉพาะเจาะจงตามลักษณะงานของแต่ละแห่งได้ มีการกำหนดบทบาทหน้าที่ ความรับผิดชอบชัดเจน และสามารถสื่อสารความสำคัญของการมีระบบการจัดการ ในรูปของเอกสาร แผน รายงาน โครงสร้างการบริหารระบบ ตลอดจนกิจกรรม เพื่อนำไปจัดสรรทรัพยากรด้านบุคลากร กำลังคน และงบประมาณสนับสนุนการปฏิบัติงานได้

2. ระบบการจัดการวัสดุในห้องปฏิบัติการ

จัดทำสารบบของสารเคมี วัสดุกัมมันตรังสี สารชีวภาพ (materials inventories) เพื่อมีระบบการจัดการที่ดี ทั้งระบบข้อมูล การจัดเก็บ การเคลื่อนย้าย และการจัดการสารที่ไม่ใช้แล้ว สำหรับสารบบของสารเคมี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้จัดชุดบริหารจัดการ ChemTrack & WasteTrack2016 ไว้ให้บริการ เพื่อให้ผู้บริหารทุกระดับ รวมทั้งผู้ปฏิบัติที่เป็นผู้ป้อนข้อมูลสามารถเข้าถึงข้อมูลสารได้อย่างถูกต้องและเป็นปัจจุบัน สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการจัดการความเสี่ยง การแบ่งปันสาร การจัดสรรงบประมาณ สำหรับห้องปฏิบัติการด้านชีวภาพและด้านรังสียังต้องมีการจัดการข้อมูลสารชีวภาพและวัสดุกัมมันตรังสี เพื่อรายงานตามกฎหมายด้วย

3. ระบบการจัดการของเสียอันตราย

แนวทางและการบริหารจัดการสอดคล้องกับระบบการจัดการวัสดุในห้องปฏิบัติการ โดยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้จัดชุดบริหารจัดการ ChemTrack & WasteTrack2016 ไว้รองรับข้อมูล ติดตามความเคลื่อนไหวของของเสียที่เกิดขึ้นในห้องปฏิบัติการโดยห้องปฏิบัติการต้องแยกประเภทของเสียอันตรายตามเกณฑ์ที่กำหนด เก็บในภาชนะที่ระบุประเภทของเสีย ปริมาณ แหล่งที่มา และผู้รับผิดชอบ มีการนัดหมายกับผู้ดูแลระบบ เพื่อรวบรวมส่งไปกำจัดโดยหน่วยงานภายนอกที่ได้รับอนุญาต ข้อมูลเหล่านี้จะถูกประมวลออกมาเป็นรายงานที่แสดงถึงแนวโน้มของปริมาณของเสีย รวมทั้งค่าใช้จ่ายในการกำจัดของแต่ละส่วนงาน

4. ลักษณะทางกายภาพของห้องปฏิบัติการ อุปกรณ์และเครื่องมือ

ประกอบด้วยข้อมูลเชิงสถาปัตยกรรม ลักษณะอาคาร (ภายนอก และภายในอาคาร) สภาพแวดล้อมภายในห้อง เครื่องมืออุปกรณ์ต่างๆ มีการดูแลรักษาและพร้อมใช้งาน งานวิศวกรรมต่าง ๆ เช่น งานโครงสร้าง ระบบไฟฟ้า งานสุขาภิบาลและสิ่งแวดล้อม ระบบระบายอากาศและปรับอากาศ รวมทั้งงานระบบฉุกเฉิน อุปกรณ์ฉุกเฉิน และระบบติดต่อสื่อสาร ของพื้นที่การใช้งานจริง เอื้อต่อการทำงานอย่างปลอดภัยทั้งในภาวะปกติและฉุกเฉิน

5. ระบบการป้องกันและแก้ไขภัยอันตราย

ต้องมีระบบการบริหารความเสี่ยงจากข้อมูลจริงในทุก ๆ ด้าน มีลำดับความคิดตั้งต้นจากการระบุปัจจัยเสี่ยงและการประเมินความเสี่ยง มีแผนป้องกันและความพร้อมการตอบโต้เหตุฉุกเฉิน ควรมีการกำหนดข้อปฏิบัติเพื่อความปลอดภัย กำหนดแผนฉุกเฉิน การปฏิบัติตามขั้นตอนที่กำหนด การฝึกซ้อม และการตรวจสอบอุปกรณ์เพื่อรองรับภาวะฉุกเฉิน ส่วนงานควรมีแผนผังทางหนีไฟที่ปรากฎให้เห็นอย่างชัดเจน เส้นทางหนีไฟต้องไม่มีสิ่งกีดขวาง มีป้ายเตือน มีอุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคลที่เหมาะสม เพียงพอ และอยู่ในสภาพที่ใช้งานได้ และมีลำดับขั้นการติดต่อแจ้งเหตุที่ชัดเจนและเชื่อมโยงกับระบบกลางของอาคาร ของคณะ สถาบัน และของมหาวิทยาลัย

6. การให้ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ

ต้องมีการสร้างความตระหนักและการให้ความรู้พื้นฐานที่จำเป็น เหมาะสม และอย่างต่อเนื่องแก่ผู้เกี่ยวข้องแต่ละกลุ่มเป้าหมายซึ่งมีบทบาทต่างกัน ตั้งแต่อาจารย์ เจ้าหน้าที่ นักวิจัย นิสิต พนักงานทำความสะอาด ผู้เข้าเยี่ยมชม รวมทั้งผู้ที่เข้ามาให้หรือรับบริการเป็นครั้งคราว มีการประเมินและกำหนดเงื่อนไขการผ่านการประเมิน ส่วนงานควรมีแผนการให้ความรู้กับบุคลากรทุกระดับ มีระบบประเมินผลระดับความรู้ที่ได้รับ และมีกิจกรรมที่จะนำไปสู่กระบวนการสร้างจิตสำนึก นอกจากหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มต่าง ๆ ในฐานะผู้ใช้แล้ว ยังมีหลักสูตรเพื่อพัฒนาผู้บริหาร คณะกรรมการความปลอดภัย ตลอดจนกลุ่มผู้ดูแลห้องปฏิบัติการที่เกี่ยวข้องกับ สารเคมี สารรังสี สารชีวภาพ

7. การจัดการข้อมูลและเอกสาร

ต้องมีระบบเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานอย่างปลอดภัยซึ่งเน้นที่ตัวระบบมากกว่าบุคคล สามารถสื่อสารให้เข้าใจตรงกันและส่งงานต่อกันได้เมื่อเปลี่ยนผู้รับผิดชอบ และใช้ต่อยอดความรู้ในทางปฏิบัติ ให้การพัฒนาความปลอดภัยเป็นไปได้อย่างต่อเนื่อง มีการกำหนดระดับความรับผิดชอบ โครงสร้างของระบบการบันทึกข้อมูลและการจัดเก็บข้อมูลและเอกสาร ประกอบด้วย รหัสเอกสาร ชื่อเอกสาร ประเภทของเอกสาร (ควบคุม – ไม่ควบคุม) ผู้รับผิดชอบ ผู้ครอบครอง สถานที่จัดเก็บ วันที่บันทึกข้อมูล และปรับปรุงข้อมูล เป็นเอกสารที่ใช้ปฏิบัติงานฉบับล่าสุด และเข้าถึงได้ง่าย โดยจัดเก็บในรูปของเอกสารหรือเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ และมีบัญชีหลักของเอกสาร

(อ้างอิงจาก คณะกรรมการความปลอดภัยด้านเคมี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ระบบการจัดการความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: ศูนย์ความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ศปอส.), 2560.)