พระมหากษัตริย์ไทยทรงเป็นพุทธมามกะ

ทรงเป็นอัครศาสนูปถัมภกในการทะนุบำรุงและดำเนินกิจกรรมทางศาสนา พระราชทานเงินสมทบทุนซื้อที่ดินมัสยิดกลางจังหวัดนครศรีธรรมราช

     พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นอัครศาสนูปถัมภก อันมีความหมายถึงผู้ทะนุบำรุงศาสนาทั้งปวง โดยทรงเกื้อกูล ค้ำจุนทุกศาสนาภายใต้พระบรมโพธิสมภาร
อย่างเสมอภาคและเท่าเทียม ทั้งศาสนาพุทธ ศาสนาอิสลาม ศาสนาคริสต์ ศาสนาพราหมณ์ – ฮินดู และศาสนาซิกข์ ด้วยทรงเชื่อว่าทุกศาสนาล้วนสอนให้ทุกคนเป็นคนดี
และร่วมกันสร้างสรรค์ทำความดี คือการก่อเกิดสังคมที่ดี
     นับเป็นเวลาหลายคราวที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงให้การอุปถัมภ์กิจการของศาสนาอิสลาม ด้วยพระราชหฤทัยอันเข้าใจอย่างลึกซึ้งในความสำคัญของศาสนา
ทรงพระราชอุตสาหะเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเป็นประธานในการพระราชทานรางวัลการทดสอบการอัญเชิญพระมหาคัมภีร์อัลกุรอานระดับภาคใต้ และระดับประเทศ
รวมทั้งเสด็จพระราชดำเนินไปพระราชทานโล่เกียรติคุณและเงินรางวัลแก่คณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด และอิหม่ามที่มีผลการปฏิบัติงานดีเด่นอยู่เป็นประจำ นอกจากนั้น
ยังมีพระมหากรุณาธิคุณพระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานต่าง ๆ ของศาสนาอิสลามอย่างสม่ำเสมอมาโดยตลอด

     โดยเมื่อวันที่ 15 มกราคม 2564 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ นายไกรศร วิศิษฎ์วงศ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช
เป็นประธานในพิธีมอบเงินพระราชทาน จำนวน 4,500,000 บาท (สี่ล้านห้าแสนบาท) เบื้องหน้าพระบรมฉายาลักษณ์ แก่สำนักงานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดนครศรีธรรมราช เพื่อสมทบทุนในการจัดซื้อที่ดินของมัสยิดกลางจังหวัดนครศรีธรรมราชเพิ่มเติม เป็นเนื้อที่จำนวน 7 ไร่ 53.5 ตารางวา โดยมีประธานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นผู้รับมอบ พร้อมทั้งหัวหน้าส่วนราชการ คณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด ผู้นำศาสนาอิสลาม มุสลิมะห์ ร่วมในพิธี นับเป็น
พระมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดมิได้

     ในโอกาสดังกล่าว ผู้ว่าราชการจังหวัดนครศรีธรรมราช และรองประธานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดนครศรีธรรมราช ได้กล่าวสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ
จากนั้น ประธานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดนครศรีธรรมราช พร้อมด้วยผู้นำศาสนาอิสลาม ประกอบพิธีดูอาร์ขอพรถวายแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

    จึงนับเป็นพระมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดมิได้แก่ชาวจังหวัดนครศรีธรรมราช ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานเงินสมทบทุนในการจัดซื้อที่ดิน อันยังประโยชน์ในการประกอบศาสนกิจของพสกนิกรผู้นับถือศาสนาอิสลาม และศาสนิกชนทั่วไป ด้วยทรงมุ่งมั่นที่จะทรงอุปถัมภ์ทะนุบำรุงกิจการของศาสนาอิสลามในประเทศไทย ในฐานะที่ทรงเป็นอัครศาสนูปถัมภก
     ทั้งนี้ มัสยิดกลางจังหวัดนครศรีธรรมราช ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากกรมการปกครอง เป็นเงิน 104,450,000 บาท ในการก่อสร้างอาคารมัสยิดกลาง บริเวณพื้นที่
หมู่ที่ 3 ตำบลนาทราย อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2557 บนเนื้อที่ 7 ไร่ 3 งาน 21 ตารางวา การก่อสร้างแล้วเสร็จ เมื่อปี พ.ศ. 2560
เพื่อใช้เป็นศูนย์กลางการบริหารกิจการศาสนาอิสลาม เป็นสถานที่ปฏิบัติศาสนกิจของชาวมุสลิมในจังหวัดนครศรีธรรมราช และจังหวัดใกล้เคียง รวมทั้งชาวมุสลิมจากต่างประเทศ

  • 04 ธ.ค. 2559
  • 0

"ในหลวงรัชกาลที่ 10" พระมหากษัตริย์ทรงเป็นพุทธมามกะ และทรงเป็นอัครศาสนูปถัมภก

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 มีพระนามเมื่อแรกประสูติว่า
"สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าวชิราลงกรณ บรมจักรยาดิศรสันตติวงศ เทเวศรธำรงสุบริบาล อภิคุณูประการมหิตลาดุลเดช ภูมิพลนเรศวรางกูร กิตติสิริสมบูรณ์สวางควัฒน์ บรมขัตติยราชกุมาร"
เป็นพระราชโอรสพระองค์เดียวในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เสด็จพระราชสมภพ ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต เมื่อวันจันทร์ที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2495 เวลา 17:45 น.
 

พระนาม "วชิราลงกรณ" นั้น สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ ทรงตั้งถวาย มาจาก "วชิรญาณ" พระนามฉายาขณะผนวชในพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหามงกุฎ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ผนวกกับ "อลงกรณ์" จากพระนามในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
เมื่อมีพระชนมายุครบ 20 พรรษา พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช โปรดให้สถาปนาสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าวชิราลงกรณ ขึ้นเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2515 มีพระนามตามจารึกในพระสุพรรณบัฏว่า
"สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร สิริกิตยสมบูรณสวางควัฒน์ วรขัตติยราชสันตติวงศ์ มหิตลพงศอดุลยเดช จักรีนเรศยุพราชวิสุทธิ สยามมกุฎราชกุมาร"
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 ทรงแสดงพระองค์เป็นพุทธมามกะที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม เมื่อวันที่ 3 มกราคม พ.ศ.2509 ก่อนเสด็จพระราชดำเนินไปทรงศึกษาต่อที่ประเทศอังกฤษ ระหว่าง พ.ศ. 2509-2513

พระมหากษัตริย์ไทยทรงเป็นพุทธมามกะ

เมื่อสำเร็จการศึกษา เสด็จนิวัติสู่พระนครแล้ว ได้เสด็จพระราชดำเนินสักการะพระบรมสารีริกธาตุ ณ บรมบรรพต (ภูเขาทอง) โดยมี สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ) อดีตประธานคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช ขณะดำรงสมณศักดิ์เป็น พระเทพคุณาภรณ์ ถวายการต้อนรับ
สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ได้ถวายสัตย์ปฏิญาณ ถือน้ำพิพัฒน์สัตยา ณ พระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม เมื่อวันที่ ๒๕ ธันวาคม ๒๕๑๕ ในการพระราชพิธีสถาปนาเฉลิมพระนามาภิไธย สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร
“ข้าพระพุทธเจ้าขอพระราชทานกระทำสัตย์ปฏิญาณสาบานต่อประเทศชาติและประชาชนชาวไทย เฉพาะพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เฉพาะพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรท่ามกลางสันนิบาตนี้ว่า
ข้าพระพุทธเจ้าผู้เป็น สยามมกุฎราชกุมาร จะรักษาเกียรติยศและอิสริยศักดิ์ ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานไว้ด้วยชีวิต จะภักดีต่อชาติบ้านเมือง จะซื่อสัตย์ต่อประชาชน จะปฏิบัติภาระหน้าที่ทุกอย่าง โดยเต็มกำลังสติปัญญาความสามารถ และโดยความเสียสละ เพื่อความเจริญสงบสุขและความมั่นคงไพบูลย์ของประเทศไทย จนตราบเท่าชีวิตร่างกายจะหาไม่”
สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 มีพระทัยศรัทธาจะอุปสมบทในพระพุทธศาสนา พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช จึงโปรดเกล้าฯ ให้ทรงผนวชในวันจันทร์ที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2521 เวลา 15.00 น. ณ พระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม
โดยมีสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (วาสน์ วาสโน) เป็นพระอุปัชฌาย์ สมเด็จพระญาณสังวร (เจริญ สุวฑฺฒโน) เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และสมเด็จพระธีรญาณมุนี (ธีร์ ปุณฺณโก) ถวายอนุสาสน์ ได้รับถวายพระสมณนามว่า "วชิราลงฺกรโณ"
ผนวชแล้วเสด็จฯ ไปประทับ ณ พระตำหนักปั้นหยา พระมหารัชมงคลดิลก (บุญเรือน ปุณฺณโก) เป็นพระอภิบาล ผนวชอยู่ 15 วันจึงลาผนวช ในวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2521

ข้อมูลและรูปส่วนหนึ่งจาก หนังสือพิมพ์แนวหน้า  และ FB: วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร

รายงานโดยภัทราพร สำนักข่าวทีนิวส์

พระมหากษัตริย์ทรงเป็นพุทธมามกะคืออะไร

ด้วยพุทธมามกะ หมายถึง ผู้ประกาศตนว่าขอถือพระพุทธเจ้าเป็นสรณะ หรือผู้ประกาศตนว่าเป็นผู้นับถือพระพุทธศาสนา ซึ่งภายใต้บทบัญญัติรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยได้กำหนดให้พระมหากษัตริย์ไทยทรงเป็นพุทธมามกะและอัครศาสนูปถัมภก

พระมหกษัตริย์ทรงเป็นพุทธมามกะและทรงเป็นอัครศาสนูปถัมภกนั้นมีความหมายว่าอย่างไร?

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นอัครศาสนูปถัมภก อันมีความหมายถึงผู้ทะนุบำรุงศาสนาทั้งปวง โดยทรงเกื้อกูล ค้ำจุนทุกศาสนาภายใต้พระบรมโพธิสมภาร อย่างเสมอภาคและเท่าเทียม ทั้งศาสนาพุทธ ศาสนาอิสลาม ศาสนาคริสต์ ศาสนาพราหมณ์ – ฮินดู และศาสนาซิกข์ ด้วยทรงเชื่อว่าทุกศาสนาล้วนสอนให้ทุกคนเป็นคนดี

พุทธมามกะมีอะไรบ้าง

หน้าที่ของพุทธมามกะ.
ศึกษาหลักธรรมให้เป็นสัมมาทิฏฐิ.
ฟังธรรมหรือสนทนาธรรมตามกาล.
ทำบุญตักบาตร.
ไหว้พระสวดมนต์ก่อนนอน.
ปฏิบัติตนตามศีล ๕ เป็นอย่างน้อย.
ปฏิบัติกิจกรรมในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา.

การประกาศตนเป็นพุทธมามกะเรียกว่าอะไร

การแสดงตนเป็นพุทธมามกะ คือ การประกาศตนของผู้แสดงว่าเป็นผู้นับถือพระพุทธศาสนา คือ พระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ เป็นสิ่งสูงสุดและเป็นที่พึ่งที่ระลึกของตน