การปกครองระบอบประชาธิปไตย รัฐบาล มี บทบาท หน้าที่ อย่างไร

บทบาทและหน้าที่ของพรรคการเมือง

การมองบทบาทหน้าที่ของพรรคการเมืองเป็นการพิจารณาถึงกิจกรรมหลักๆ ที่พรรคการเมืองกระทำ อยู่ในสังคม บทบาทหน้าที่ดังกล่าว เป็นกิจกรรมที่พรรคการเมืองแต่ละพรรคกระทำไปตามเป้าหมาย ทางการเมืองของตน แต่ในเวลาเดียวกัน ก็ก่อให้เกิดประโยชน์ในด้านต่างๆ ต่อสังคมตามมาด้วย ถึงแม้ว่า ผลดีที่ตามมานั้น อาจจะไม่ใช่วัตถุประสงค์เบื้องต้นในการทำกิจกรรมของพรรคการเมืองก็ตาม บทบาท และหน้าที่ ซึ่งพรรคการเมืองกระทำ มีอยู่มากมาย แต่ที่สำคัญ ได้แก่ การจัดตั้งรัฐบาลขึ้น ทำหน้าที่บริหารประเทศ การทำหน้าที่เป็นตัวเชื่อมระหว่างสังคมกับรัฐ การสรรหาผู้นำและบุคลากร ทางการเมือง และการนำเสนอประเด็นปัญหา และแนวทางแก้ไขให้แก่สังคม โดยทั่วไป บทบาทหน้าที่เหล่านี้ของพรรคการเมือง เป็นผลมาจากการแสดงบทบาททางการเมือง ในรูปของการเสนอตัวบุคคลลงสมัครรับเลือกตั้งในตำแหน่งต่างๆ การรณรงค์หาเสียงเลือกตั้ง และการทำหน้าที่ของพรรคการเมือง ในฐานะที่เป็นรัฐบาลหรือฝ่ายค้าน

การปกครองระบอบประชาธิปไตย รัฐบาล มี บทบาท หน้าที่ อย่างไร

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้นายกรัฐมนตรีนำคณะรัฐมนตรีเข้าเฝ้าฯ ถวายสัตย์ปฏิญาณก่อนเข้ารับหน้าที่


๑. การจัดตั้งรัฐบาลขึ้นทำหน้าที่บริหารประเทศ

นับเป็นบทบาทหน้าที่ลำดับแรกของพรรคการเมือง เนื่องจาก รัฐบาลในสังคมสมัยใหม่มีภารกิจ ที่ต้องปฏิบัติมากมาย ทั้งภายใน และภายนอกประเทศ ดังนั้น จึงจำเป็นต้องอาศัยคณะบุคคล หรือองค์กร ที่มีความรู้และความสามารถเข้ามารับผิดชอบ ในการกำหนดนโยบาย และควบคุมดูแลการบริหารงาน ด้านต่างๆ โดยปกติ พรรคการเมืองมักมีความพร้อมในการทำหน้าที่ด้านนี้ มากกว่าคณะบุคคล หรือองค์กรอื่นๆ เพราะเป็นองค์กรที่มีเป้าหมาย ในการบริหารประเทศ มีบุคลากรตลอดจนแนวทาง ในการจัดการกับภารกิจด้านต่างๆ โดยตรง

อย่างไรก็ดี ในประเทศประชาธิปไตย วิธีการจัดตั้งรัฐบาลของพรรคการเมือง อาจแตกต่างกันไป ตามรูปแบบการปกครอง ในประเทศที่ปกครองโดยระบบรัฐสภา การจัดตั้งรัฐบาลอาจจัดตั้งในรูปของรัฐบาล โดยพรรคเดียว หรือรัฐบาลผสม ที่มีพรรคการเมืองมากกว่า ๑ พรรคเข้าร่วมในการจัดตั้งรัฐบาล ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับพรรคที่มีโอกาสในการจัดตั้งรัฐบาลว่า มีเสียงข้างมากในสภามากน้อยเพียงใด และต้องการเสียงสนับสนุนจากพรรคอื่นหรือไม่ และเพียงใด ส่วนในประเทศที่ปกครอง โดยระบบประธานาธิบดี เช่น สหรัฐอเมริกา อำนาจหน้าที่ในการจัดตั้งรัฐบาลขึ้นบริหารประเทศ เป็นของประธานาธิบดีที่มาจากพรรค ที่ชนะการเลือกตั้ง ไม่ว่าพรรคการเมืองนั้นจะมีเสียงข้างมาก ในรัฐสภาหรือไม่ก็ตาม

การปกครองระบอบประชาธิปไตย รัฐบาล มี บทบาท หน้าที่ อย่างไร

การอภิปรายของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่พระที่นั่งอนันตสมาคม เมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๒


ในกรณีของพรรคการเมืองไทย ในช่วงที่รัฐธรรมนูญ และกฎหมายที่เกี่ยวข้องเปิดโอกาส ให้มีพรรคการเมืองได้ เราจะเห็นพรรคการเมืองต่างๆ เข้าไปมีส่วนร่วมในการจัดตั้งรัฐบาลเสมอ อย่างไรก็ดี ในการแสดงบทบาทดังกล่าว บางครั้ง พรรคการเมือง มีฐานะเป็นเพียงเครื่องมือ ในการจัดตั้งรัฐบาล มากกว่าที่จะเป็นผู้ดำเนินการจัดตั้งรัฐบาลด้วยตนเอง นั่นคือ กรณีที่ผู้นำทางทหารจัดตั้งพรรคการเมืองของตนขึ้นมา เพื่อเป็นฐานในการจัดตั้งรัฐบาล หรือผู้นำทางทหาร ดึงพรรคการเมืองต่างๆ มาสนับสนุน การจัดตั้งรัฐบาลโดยมีตนเป็นนายกรัฐมนตรี การจัดตั้งรัฐบาลในลักษณะนี้ จะเห็นได้ จากตัวอย่าง เช่น รัฐบาล จอมพล ป. พิบูลสงคราม ในระหว่าง พ.ศ. ๒๔๙๒ - ๒๔๙๔ ช่วงหนึ่ง และระหว่าง พ.ศ. ๒๔๙๘ - ๒๕๐๐ อีกช่วงหนึ่ง รัฐบาล พลเอก เปรม  ติณสูลานนท์ ระหว่าง พ.ศ. ๒๕๒๓  -  ๒๕๓๑ และรัฐบาล พลเอก สุจินดา  คราประยูร ใน พ.ศ. ๒๕๓๕ พรรคการเมืองไทยเพิ่งมีโอกาสจัดตั้งรัฐบาลได้อย่างต่อเนื่อง นับตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๓๕ เป็นต้นมา เมื่อทหารลดบทบาททางการเมืองลง

๒. การทำหน้าที่เป็นตัวเชื่อมระหว่างสังคมกับรัฐ

เป็นกรณีที่พรรคการเมืองแสดงบทบาทคนกลางระหว่างประชาชน หรือกลุ่มคนในสังคมกับรัฐบาล และหน่วยงานของรัฐ กล่าวคือ ด้านหนึ่งพรรคการเมืองจะรับเอาข้อเรียกร้องต่างๆ ของประชาชน มาแจ้งให้รัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทราบ เพื่อให้ดำเนินการตอบสนองต่อข้อเรียกร้องนั้น หรือแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น ทั้งนี้ พรรคการเมืองอาจจะทำหนังสือถึงรัฐบาล หรือติดต่อกับหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องโดยตรง หรืออาจใช้วิธีการตั้งกระทู้ถาม หรือการอภิปรายของสมาชิกของพรรคในรัฐสภา หรือวิธีการอื่นผ่านระบบการทำงานของรัฐสภาก็ได้

การปกครองระบอบประชาธิปไตย รัฐบาล มี บทบาท หน้าที่ อย่างไร

การอภิปรายของหัวหน้าพรรคฝ่ายค้าน ใน พ.ศ. ๒๕๔๘


ส่วนอีกด้านหนึ่ง พรรคการเมืองจะทำหน้าที่รายงานให้ประชาชนรับทราบ เกี่ยวกับนโยบายและมาตรการ ด้านต่างๆ ของรัฐบาล ที่มีผลกระทบต่อประชาชน ในแง่นี้ พรรคการเมืองมักจะใช้วิธีเผยแพร่ข่าวสารดังกล่าว ผ่านทางสาขาพรรค ตัวแทนพรรค หรือสมาชิกรัฐสภา จากพรรคของตน ในแต่ละเขตเลือกตั้ง ในบางครั้ง ประชาชนอาจจะได้รับข่าวสารที่สำคัญ จากการหาเสียง หรือแม้แต่จากการอภิปรายนอกสภาของพรรคการเมือง

นอกจากนั้น บางครั้งพรรคการเมืองยังอาจแสดงบทบาทคนกลาง ในกรณีที่เป็นข้อขัดแย้งด้านผลประโยชน์ ระหว่างรัฐบาล กับประชาชน ดังที่จะเห็นได้จาก กรณีปัญหาการเวนคืนที่ดิน ในโครงการต่างๆ ของรัฐบาล หรือปัญหาที่เกิดจาก การบังคับใช้มาตรการบางด้านของรัฐบาล ซึ่งมีผลกระทบต่อคนบางกลุ่ม ในกรณีนี้ พรรคการเมืองอาจเสนอตัวเป็นคนกลาง ในการเจรจาต่อรองระหว่างคู่กรณี เพื่อหาทางออก ในการแก้ปัญหาที่ทั้งสองฝ่ายยอมรับได้

๓. การสรรหาผู้นำและบุคลากรทางการเมือง

เป็นผลที่ตามมาจากการส่งตัวแทนของพรรคการเมืองลงสมัครรับเลือกตั้งในตำแหน่งทางการเมือง ตั้งแต่ ระดับท้องถิ่น จนถึงระดับชาติ อาทิ สมาชิกสภาเทศบาล ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ทั้งนี้ พรรคการเมืองจะคัดเลือกตัวแทนจากสมาชิกพรรค หรือบุคคล ที่พรรคเห็นว่า มีคุณสมบัติที่เหมาะสม กับตำแหน่งทางการเมืองนั้น และสนใจที่จะทำงานทางการเมือง แล้วเสนอชื่อเป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งในนามของพรรค ผู้ที่ได้รับเลือกก็จะเข้ารับตำแหน่ง และปฏิบัติหน้าที่ ทางการเมืองในตำแหน่งนั้นๆ ต่อไป การแสดงบทบาทเช่นนี้ของพรรคการเมือง เท่ากับเป็นการทำหน้าที่ สรรหาบุคลากร และผู้นำทางการเมืองให้แก่สังคม

การปกครองระบอบประชาธิปไตย รัฐบาล มี บทบาท หน้าที่ อย่างไร

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จากพรรคการเมืองต่างๆ เข้าร่วมในการประชุมรัฐสภา


ถึงแม้ตำแหน่งทางการเมืองที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งโดยตรง เช่น ตำแหน่ง นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี ประธานสภาผู้แทนราษฎร และตำแหน่งอื่นๆ ในฝ่ายบริหาร และฝ่ายนิติบัญญัติ พรรคการเมืองก็มีบทบาท ในการคัดเลือก และเสนอชื่อตัวบุคคลที่จะเข้ารับตำแหน่งเหล่านี้ ซึ่งบุคคลดังกล่าว จะได้รับเลือก เข้าดำรงตำแหน่งนั้นหรือไม่ ขึ้นอยู่กับจำนวนที่นั่งในสภาผู้แทนราษฎรของพรรคที่ได้รับจากการเลือกตั้ง และการต่อรองระหว่างพรรคการเมือง โดยทั่วไปแล้วผู้นำทางการเมือง เช่น นายกรัฐมนตรี ประธานสภาผู้แทนราษฎร และรัฐมนตรีในกระทรวงสำคัญ มักจะมาจากพรรคที่ได้รับเสียงข้างมาก ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และในกรณีที่พรรคการเมืองเพียงพรรคเดียว มีเสียงข้างมากเด็ดขาด และเป็นผู้จัดตั้งรัฐบาล พรรคการเมืองนั้น ก็จะผูกขาดในการสรรหา ผู้นำทางการเมืองแต่เพียงผู้เดียว

อย่างไรก็ดี ในกรณีของประเทศไทย หลายครั้งที่พรรคการเมืองไม่ได้มีบทบาทในการสรรหา ผู้นำทางการเมืองระดับสูงโดยตรง โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้นำในตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ผู้นำในตำแหน่งนี้ อาจถูกกำหนดล่วงหน้าไว้แล้วว่า จะเป็นของผู้ใด ดังนั้น ในกรณีเช่นนี้ ไม่ว่าพรรคการเมือง จะมีเสียงข้างมากเพียงใด ก็ไม่มีโอกาสที่จะทำหน้าที่ สรรหานายกรัฐมนตรี แต่อาจเป็นเพียงผู้สนับสนุนบุคคลที่เลือกไว้แล้วให้เป็นนายกรัฐมนตรี ดังจะเห็นได้จากการเสนอชื่อ พลเอก เปรม  ติณสูลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี ระหว่าง พ.ศ. ๒๕๒๔ - ๒๕๒๙

การปกครองระบอบประชาธิปไตย รัฐบาล มี บทบาท หน้าที่ อย่างไร

การรณรงค์หาเสียงของพรรคการเมืองในรูปแบบต่างๆ


๔. การนำเสนอประเด็นปัญหาและแนวทางแก้ไขแก่สังคม

เป็นกิจกรรมของพรรคการเมืองที่พบเห็นได้ทั่วไป ไม่ว่าในการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้ง การอภิปราย ของสมาชิกพรรคการเมืองในรัฐสภา หรือนอกรัฐสภา การให้สัมภาษณ์ หรือแสดงความคิดเห็นต่อสื่อมวลชน ในวาระต่างๆ หรือการเสนอแนวนโยบาย และมาตรการในการแก้ไขปัญหาโดยพรรคการเมืองฝ่ายรัฐบาล และฝ่ายค้าน บทบาทด้านนี้ ของพรรคการเมืองนับเป็นหน้าที่โดยตรงที่ทุกพรรคจำเป็นต้องกระทำ เพื่อเตือนให้สังคมได้รับรู้ และตระหนักถึงปัญหาด้านต่างๆ ที่มีอยู่ และในเวลาเดียวกันก็เสนอทางออก และทางเลือกในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวไปพร้อมๆ กันด้วย

การปกครองระบอบประชาธิปไตย รัฐบาล มี บทบาท หน้าที่ อย่างไร
การรณรงค์หาเสียงของพรรคการเมือง ในรูปแบบต่างๆ

พรรคการเมืองในระบอบประชาธิปไตยจะมีโอกาสได้จัดตั้งรัฐบาลทำหน้าที่บริหารประเทศหรือไม่ ขึ้นอยู่กับบทบาทด้านนี้ เป็นอย่างมาก ทั้งนี้ เพราะแนวนโยบายของพรรคการเมือง ในประเด็นปัญหาต่างๆ และแนวทางแก้ไข นับเป็นเงื่อนไขสำคัญ ประการแรกๆ ในการชี้ขาดชัยชนะของพรรค ในการเลือกตั้งแต่ละครั้ง การออกเสียงเลือกตั้งในสังคมสมัยใหม่ มักจะเป็นการเลือกตั้งแนวนโยบายของพรรค มากกว่าตัวบุคคลที่ลงสมัครรับเลือกตั้ง พรรคการเมืองจึงให้น้ำหนักกับการนำเสนอประเด็นปัญหา และแนวทางในการแก้ไขแก่สังคม มากกว่าบทบาทหน้าที่ด้านอื่นในสังคมไทย แนวโน้มเช่นนี้เริ่มปรากฏชัดขึ้น ในการเลือกตั้งครั้งหลังๆ นั่นคือ นโยบายของพรรคมีส่วนทำให้พรรคการเมืองไทย ประสบความสำเร็จในการเลือกตั้งมากขึ้น และพรรคการเมืองต่างๆ ก็ให้ความสำคัญต่อการเสนอแนวนโยบาย ในการหาเสียงมากขึ้นกว่าเดิม

นอกจากบทบาทหน้าที่ของพรรคการเมืองที่กล่าวมาแล้ว กิจกรรมที่พรรคการเมืองแต่ละพรรคทำ ในวาระต่างๆ ก็อาจสะท้อนให้เห็นบทบาทหน้าที่ด้านอื่นๆ ของพรรคการเมืองอีกด้วย กิจกรรมบางอย่างของพรรคการเมือง อาจเป็นการระดมพลังประชาชน เพื่อร่วมมือกันแก้ปัญหาของส่วนรวม เช่น การรณรงค์ เพื่อแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม หรือการให้การศึกษาแก่ประชาชนในปัญหาบางด้าน อาทิ ปัญหาเศรษฐกิจถดถอย สิ่งเหล่านี้ ถือได้ว่า เป็นบทบาทหน้าที่ ของพรรคการเมืองได้เช่นกัน