รายงานการจัดการพลังงาน 8 ขั้นตอน

 

รายงานการจัดการพลังงาน 8 ขั้นตอน

Show

คำนำ

     ตามที่กระทรวงพลังงาน ได้ออกกฎกระทรวงเพื่อกำหนดให้เจ้าของโรงงานควบคุม และเจ้าของอาคารควบคุมดำเนินการจัดการพลังงานให้เป็นไปตามกฎหมาย และมีหน้าที่ในการจัดส่งรายงานผลการตรวจสอบและรับรองการจัดการพลังงานที่รับรองโดยพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมาย หรือผู้ตรวจสอบและรับรองการจัดการพลังงานที่อธิบดีมอบหมาย ส่งให้กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) ภายในเดือนมีนาคมของทุกรอบปี และต่อมากระทรวงพลังงาน ได้ออกกฎกระทรวงกำหนดคุณสมบัติของผู้ขอรับใบอนุญาต หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการขอรับ
ใบอนุญาต และการอนุญาตตรวจสอบและรับรองการจัดการพลังงาน พ.ศ. 2555 เพื่อกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการขอรับใบอนุญาตและการอนุญาตผู้ตรวจสอบและรับรองการจัดการพลังงาน โดยมีผลบังคับใช้แล้วตั้งแต่วันที่ 7 พฤศจิกายน 2555 และ พพ. ได้ออกประกาศกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน เรื่องการยื่นขอรับใบอนุญาตตรวจสอบและรับรองการจัดการพลังงาน ประกาศ ณ วันที่ 18 กันยายน พ.ศ.2558 เพื่ออนุญาตให้บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลที่มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามกฎกระทรวง ยื่นคำขอรับใบอนุญาตตรวจสอบและรับรองการจัดการพลังงาน รวมทั้งได้ออกประกาศ พพ. เรื่อง การกำหนดประเภทและขนาดโรงงานควบคุมและอาคารควบคุม
ที่ผู้ได้รับใบอนุญาตดำเนินการตรวจสอบและรับรองการจัดการพลังงาน โดยได้ทยอยกำหนดให้ผู้ได้รับใบอนุญาตตรวจสอบและรับรองฯ ในโรงงานควบคุมและอาคารควบคุมแต่ละขนาดโดยเริ่มจากขนาดใหญ่ในรอบปี 2558 จนถึงรอบปี 2560 โรงงานควบคุมและอาคารควบคุมทุกขนาดต้องส่งรายงานผลการตรวจสอบและรับรองการจัดการพลังงานให้ พพ.
ภายในเดือนมีนาคมของทุกปี

     

ดังนั้น เพื่อให้โรงงานควบคุมและอาคารควบคุมมีความเข้าใจในการดำเนินการด้านการตรวจสอบและรับรองการจัดการพลังงานได้อย่างถูกต้องและเป็นแนวทางเดียวกัน พพ. จึงได้จัดทำคู่มือเล่มนี้ขึ้น เพื่อเป็นข้อมูลและแนวทางให้กับโรงงานควบคุมและอาคารควบคุมในการดำเนินการที่เกี่ยวข้องกับการตรวจสอบและรับรองการจัดการพลังงานต่อไป

 สำนักกำกับและอนุรักษ์พลังงาน
กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน
                 กรกฎาคม 2561

1. ระบบการจัดการพลังงานตามกฎหมาย

1.1 โครงสร้างกฎหมายอนุรักษ์พลังงาน

     พระราชบัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. 2535 (ฉบับแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2550) ได้มีการกำหนดให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานมีอำนาจออกกฎกระทรวงในการกำหนดมาตรฐานหลักเกณฑ์และวิธีการจัดการพลังงาน โดยกฎกระทรวงดังกล่าวได้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 20 พฤศจิกายน 2552 ซึ่งในการดำเนินการให้เป็นไปตามกฎกระทรวงนั้น เจ้าของอาคารควบคุมและเจ้าของโรงงานควบคุมต้องดำเนินการจัดการพลังงานให้เป็นไปตามมาตรฐาน หลักเกณฑ์ และวิธีการจัดการพลังงานตามที่กฎหมายกำหนด นอกจากนี้ยังต้องมีหน้าที่ในการจัดทำรายงานการจัดการพลังงานที่รับรองโดยพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมาย หรือผู้ตรวจสอบและรับรองการจัดการพลังงานที่อธิบดีมอบหมาย ส่งให้กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) ภายในเดือนมีนาคมของทุกปี โดยปัจจุบันกฎกระทรวงกำหนดคุณสมบัติของผู้ขอรับใบอนุญาต หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการขอรับใบอนุญาต และการอนุญาตตรวจสอบและรับรองการจัดการพลังงาน พ.ศ. 2555 ได้มีผลบังคับใช้แล้วตั้งแต่วันที่ 7 พฤศจิกายน 2555

รายงานการจัดการพลังงาน 8 ขั้นตอน

โครงสร้างกฎหมายอนุรักษ์พลังงาน

1.2 ข้อกำหนดของระบบการจัดการพลังงาน

     กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐาน หลักเกณฑ์ และวิธีการจัดการพลังงานในโรงงานควบคุมและอาคารควบคุม พ.ศ. 2552 กำหนดให้โรงงานควบคุมและอาคารควบคุมต้องจัดทำระบบการจัดการพลังงานเพื่อให้เกิดการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด โดยวิธีการจัดการพลังงานนั้น ต้องมีการปฏิบัติอย่างเป็นขั้นตอน มีการวางแผนการดำเนินการที่ดี และเหมาะสมกับองค์กร เพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายของการจัดการพลังงาน
ซึ่งประกอบด้วย 8 ขั้นตอน ดังนี้
     1) การแต่งตั้งคณะทำงานการจัดการพลังงาน
     2) การประเมินสถานภาพการจัดการพลังงานเบื้องต้น
     3) การกำหนดนโยบายการอนุรักษ์พลังงาน
     4) การประเมินศักยภาพการอนุรักษ์พลังงาน
     5) การกำหนดเป้าหมายและแผนอนุรักษ์พลังงานและแผนการฝึกอบรมและกิจกรรมการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน
     6) การดำเนินการตามแผนการอนุรักษ์พลังงานและการตรวจสอบและวิเคราะห์การปฏิบัติตามเป้าหมายและ
แผนอนุรักษ์พลังงาน
     7) การตรวจติดตามและประเมินการจัดการพลังงาน
     8) การทบทวน วิเคราะห์และแก้ไขข้อบกพร่องของการจัดการพลังงาน

 

รายงานการจัดการพลังงาน 8 ขั้นตอน

ข้อกำหนดระบบการจัดการพลังงานตามกฎหมาย

1.3 หน้าที่ของเจ้าของอาคารควบคุม และเจ้าของโรงงานควบคุม

     พระราชบัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน ได้กำหนดให้เจ้าของโรงงานควบคุมและเจ้าของอาคารควบคุม มีหน้าที่ต้องดำเนินการอนุรักษ์พลังงาน ดังต่อไปนี้
     1) จัดให้มีผู้รับผิดชอบด้านพลังงานประจำในโรงงานควบคุมและอาคารควบคุมแต่ละแห่ง โดยมีจำนวนและคุณสมบัติตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวงกำหนดคุณสมบัติ หน้าที่ และจำนวนผู้รับผิดชอบด้านพลังงาน พ.ศ. 2552
     2) จัดให้มีการจัดการพลังงานในโรงงานควบคุมและอาคารควบคุมตามกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐาน หลักเกณฑ์ และวิธีการจัดการพลังงานในโรงงานควบคุมและอาคารควบคุม พ.ศ. 2552
     3) ปฏิบัติตามคำสั่งของอธิบดีตามมาตรา 10 หรือมาตรา 21 ประกอบมาตรา 10 แล้วแต่กรณีที่สั่งให้ผู้นั้นแจ้งข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการใช้พลังงานเพื่อตรวจสอบให้การอนุรักษ์พลังงานเป็นไปตามมาตรฐาน หลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวงตาม (1) และ (2)

โรงงานหรืออาคารที่เข้าข่ายเป็นโรงงานควบคุมหรืออาคารควบคุม

  • โรงงานหรืออาคารที่ได้รับอนุมัติจากผู้จำหน่ายพลังงานให้ใช้เครื่องวัดไฟฟ้าหรือให้ติดตั้งหม้อแปลงไฟฟ้าชุดเดียวหรือหลายชุดรวมกันมีขนาดตั้งแต่ 1,000 กิโลวัตต์ หรือ 1,175 กิโลโวลต์แอมแปร์ ขึ้นไป หรือ
  • โรงงานหรืออาคารที่ใช้ไฟฟ้าจากระบบของผู้จำหน่ายพลังงาน ความร้อนจากไอน้ำจาก
    ผู้จำหน่ายพลังงาน หรือพลังงานสิ้นเปลืองอื่นจากผู้จำหน่ายพลังงานหรือของตนเอง อย่างใดอย่างหนึ่งหรือรวมกันตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ถึงวันที่ 31 ธันวาคมของปีที่ผ่านมา มีปริมาณพลังงานทั้งหมดเทียบเท่าพลังงานไฟฟ้าตั้งแต่ 20 ล้านเมกะจูลขึ้นไป

บทลงโทษสำหรับผู้เกี่ยวข้องที่ไม่ปฏิบัติตาม พ.ร.บ.

ลำดับ
รายละเอียด
มาตรา
บทลงโทษ

1

เจ้าของโรงงานควบคุมแห่งใดแจ้งรายละเอียดหรือ
เหตุผลตามมาตรา
8 วรรคสามอันเป็นเท็จ
“มาตรา 8 วรรค 3 เจ้าของโรงงานควบคุมแห่งใด
ใช้พลังงานต่ำกว่าขนาดหรือปริมาณที่กำหนดใน
พระราชกฤษฎีกาตามวรรคหนึ่งและจะใช้พลังงาน
ในระดับดังกล่าวต่อไปเป็นเวลาติดต่อกันไม่น้อยกว่า
หกเดือน เจ้าของโรงงานควบคุมแห่งนั้นอาจแจ้ง
รายละเอียดพร้อมด้วยเหตุผล และมีคำขอให้อธิบดี
ผ่อนผันการที่ต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้
ตลอดเวลาดังกล่าวได้ ในกรณีที่มีคำขอดังกล่าว
ให้อธิบดีพิจารณาผ่อนผันหรือไม่ผ่อนผันและ
มีหนังสือแจ้งให้เจ้าของโรงงานควบคุมทราบโดยเร็ว”

53

จำคุกไม่เกิน 3 เดือนหรือปรับไม่เกิน
150,000 บาท
หรือทั้งจำทั้งปรับ

 2 เจ้าของโรงงานควบคุมหรือเจ้าของอาคารควบคุม
ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของอธิบดีที่สั่งตามมาตรา 10
ซึ่งได้นำมาใช้บังคับโดยอนุโลมตามมาตรา 21
“มาตรา 10 ในกรณีที่มีเหตุอันสมควร อธิบดีมีอำนาจ
ออกคำสั่งให้เจ้าของโรงงานควบคุมรายใดแจ้งข้อเท็จจริง
เกี่ยวกับการใช้พลังงานเพื่อตรวจสอบให้การอนุรักษ์
พลังงานเป็นไปตามมาตรฐาน หลักเกณฑ์
และวิธีการที่กำหนดในกฎกระทรวงที่ออกตามมาตรา 9
และให้เจ้าของโรงงานควบคุมรายนั้นปฏิบัติตาม
ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับคำสั่งนั้น”
 54  ปรับไม่เกิน 50,000 บาท
3 เจ้าของโรงงานควบคุม เจ้าของอาคารควบคุม
หรือผู้รับผิดชอบด้านพลังงานผู้ใดไม่ปฏิบัติตาม
กฎกระทรวงที่ออกตามความในมาตรา
9 หรือ
มาตรา
21
55 ปรับไม่เกิน
200,000 บาท 
4 ผู้รับใบอนุญาตตรวจสอบและรับรองการจัดการพลังงาน
การใช้พลังงานในเครื่องจักรหรืออุปกรณ์ และคุณภาพ
วัสดุหรืออุปกรณ์เพื่อการอนุรักษ์พลังงานตาม
มาตรา
48/1 ผู้ใดรายงานผลการตรวจสอบและ
รับรองตามมาตรา
47(3) อันเป็นเท็จหรือไม่ตรงตามความเป็นจริง
56 จำคุกไม่เกิน 3 เดือนหรือปรับไม่เกิน
200,000 บาท หรือ
ทั้งจำทั้งปรับ 
5 ผู้ใดไม่ส่งเงินเข้ากองทุนหรือส่งเงินเข้ากองทุนไม่ครบ ตามจำนวนที่ต้องส่งตามมาตรา 35 มาตรา 36 
หรือมาตรา
37
58 จำคุกตั้งแต่ 3 เดือนถึง 2 ปี
หรือ ปรับตั้งแต่
1
00,000 บาท
ถึง
10,000,000 บาท  หรือทั้งจำทั้งปรับ
6 ผู้ใดขัดขวางหรือไม่อำนวยความสะดวกแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา 47(2) 59 ปรับไม่เกิน 5,000 บาท

1.4 ระบบการตรวจสอบและรับรองการจัดการพลังงาน

     กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐาน หลักเกณฑ์ และวิธีการจัดการพลังงานในโรงงานควบคุมและอาคารควบคุม พ.ศ. 2552 นอกจากกำหนดให้โรงงานควบคุมและอาคารควบคุมต้องจัดทำระบบการจัดการพลังงานแล้ว ยังต้องจัดให้มีการตรวจสอบและรับรองการจัดการพลังงานโดยผู้ตรวจสอบรับรองการจัดการพลังงานที่ขึ้นทะเบียนกับกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.)

     โดยกระทรวงพลังงาน ได้ออกกฎกระทรวงกำหนดคุณสมบัติของผู้ขอรับใบอนุญาต หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการขอรับใบอนุญาต และการอนุญาตตรวจสอบและรับรองการจัดการพลังงาน พ.ศ. 2555 เพื่อกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการขอรับใบอนุญาตและการอนุญาตผู้ตรวจสอบและรับรองการจัดการพลังงาน โดยมีผลบังคับใช้แล้วตั้งแต่วันที่ 7 พฤศจิกายน 2555 และ พพ. ได้ออกประกาศ พพ. เรื่องการยื่นขอรับใบอนุญาตตรวจสอบและรับรองการจัดการพลังงาน ประกาศ ณ วันที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2558 เพื่ออนุญาตให้บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลที่มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามกฎกระทรวง ยื่นคำขอรับใบอนุญาตตรวจสอบและรับรองการจัดการพลังงานกับ พพ. เพื่อดำเนินการตรวจสอบและรับรองการจัดการพลังงานให้กับโรงงานควบคุมและอาคารควบคุมต่อไป

 

รายงานการจัดการพลังงาน 8 ขั้นตอน

ระบบการตรวจสอบและรับรองการจัดการพลังงานตามกฎหมาย

     โดยที่ผ่านมา พพ. ได้ทยอยกำหนดให้ผู้ได้รับใบอนุญาตดำเนินการตรวจสอบและรับรองฯ ให้กับโรงงานควบคุมและอาคารควบคุมโดยเริ่มจากขนาดใหญ่ก่อน ซึ่งเริ่มกำหนดให้ผู้ได้รับใบอนุญาต ดำเนินการตรวจสอบและรับรองปีแรกในรอบปี 2558 ในโรงงานควบคุมและอาคารควบคุมเอกชนที่มีการติดตั้งขนาดหม้อแปลงตั้งแต่ 3,000 กิโลวัตต์หรือ 3,530 กิโลโวลต์แอมแปร์ขึ้นไปหรือใช้พลังงานรวมตั้งแต่ 60 ล้านเมกกะจูลขึ้นไป จนถึงรอบปี 2560 โรงงานควบคุมและอาคารควบคุมทุกขนาดต้องส่งรายงานผลการตรวจสอบและรับรองการจัดการพลังงานให้ พพ. ภายในเดือนมีนาคมของทุกปี

รายงานการจัดการพลังงาน 8 ขั้นตอน
การกำหนดให้ผู้ได้รับใบอนุญาตดำเนินการตรวจสอบและรับรองฯ
ให้กับโรงงานควบคุมและอาคารควบคุมในระยะแรก

2. ผู้ตรวจสอบและรับรองการจัดการพลังงาน

2.1  ผู้ตรวจสอบและรับรองการจัดการพลังงาน

     ผู้ตรวจสอบและรับรองการจัดการพลังงาน คือ ผู้มีอำนาจตรวจสอบและรับรองการจัดการพลังงานตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน

     กฎกระทรวงกำหนดคุณสมบัติของผู้ขอรับใบอนุญาต หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการขอรับใบอนุญาต และการอนุญาตตรวจสอบและรับรองการจัดการพลังงาน พ.ศ. 2555 กำหนดคุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของผู้ขอรับ
ใบอนุญาตไว้ 2 ประเภท ดังนี้

     ประเภทบุคคลธรรมดา
     1) มีสัญชาติไทย
     2) ได้รับอนุญาตให้เป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมตามกฎหมายว่าด้วยวิศวกรในสาขาที่กําหนดให้
การจัดการพลังงานเป็นงานในวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมสาขานั้น
     3) เป็นผู้สําเร็จการฝึกอบรมด้านการตรวจสอบและรับรองการจัดการพลังงานตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่อธิบดีประกาศกําหนด
     4) มีผู้ชํานาญการและผู้ช่วยผู้ชํานาญการ ตามที่กําหนดไว้ในข้อ 4ของกฎกระทรวง
     5) ไม่อยู่ในระหว่างถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตหรือไม่เคยถูกเพิกถอนใบอนุญาตที่ออกตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน ในระยะเวลาสามปีก่อนวันขอรับใบอนุญาตหรือไม่เป็นผู้เคยต้องโทษโดยคําพิพากษาถึงที่สุดในความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานเว้นแต่พ้นโทษมาแล้วไม่น้อยกว่าสามปีก่อนวันขอรับใบอนุญาต

     ประเภทนิติบุคคล
     1) ต้องจดทะเบียนนิติบุคคลตามกฎหมายไทย และมีวัตถุประสงค์เพื่อประกอบธุรกิจหรือให้บริการเกี่ยวกับการอนุรักษ์พลังงานหรือการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมจากการใช้และการผลิตพลังงาน
     2) ได้รับอนุญาตให้เป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมตามกฎหมายว่าด้วยวิศวกร และมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามข้อ 3 (1) (ง) และ (จ) 
     3) กรรมการหรือผู้จัดการของนิติบุคคล หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดําเนินงานของนิติบุคคลอย่างน้อย
หนึ่งคน ต้องมีคุณสมบัติตาม ข้อ 3 (1) (ก) (ข)  และ (ค)
     4) กรรมการหรือผู้จัดการของนิติบุคคล หรือบุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดําเนินงานของนิติบุคคลต้องไม่มีลักษณะต้องห้ามตาม (1) (จ)
     5) ไม่อยู่ในระหว่างถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตหรือไม่เคยถูกเพิกถอนใบอนุญาตที่ออกตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน ในระยะเวลาสามปีก่อนวันขอรับใบอนุญาตหรือไม่เป็นผู้เคยต้องโทษโดยคําพิพากษาถึงที่สุดในความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน เว้นแต่พ้นโทษมาแล้วไม่น้อยกว่าสามปีก่อนวันขอรับใบอนุญาต

2.2 หน้าที่ และเงื่อนไขที่ผู้ตรวจสอบต้องปฏิบัติ

     ผู้ได้รับใบอนุญาตแล้วจะทำหน้าที่ในการตรวจสอบและรับรองรายงานการจัดการพลังงานของโรงงานควบคุมและอาคารควบคุม โดยมีหน้าที่และเงื่อนไขที่ต้องปฏิบัติตามกฎกระทรวง ดังนี้

ผู้ชำนาญการ อย่างน้อย 1 คน ผู้ช่วยผู้ชำนาญการ อย่างน้อย 2 คน
ทำหน้าที่เป็นผู้ตรวจสอบฯ และจัดทำรายงานผล
การตรวจสอบและรับรองการจัดการพลังงาน
(กฎกระทรวงข้อ 4)
ทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยผู้ชำนาญการในการตรวจสอบฯ
และช่วยผู้ชำนาญการจัดทำรายงานผลการตรวจสอบ
และรับรองการจัดการพลังงาน(กฎกระทรวงข้อ 4)
  • ตรวจได้ไม่เกิน 30 แห่งในแต่ละรอบการตรวจสอบ (กฎกระทรวงข้อ 4)
  • ต้องไม่เป็นผู้ชำนาญการหรือผู้ช่วยผู้ชำนาญการให้กับผู้รับใบอนุญาตรายอื่นในเวลาเดียวกัน และต้องไม่เป็นบุคลากรประจำของโรงงานควบคุมและอาคารควบคุมที่เข้าไปดำเนินการตรวจสอบฯ (กฎกระทรวงข้อ 5)
  • การตรวจสอบและรับรองการจัดการพลังงานในโรงงานควบคุมและอาคารควบคุมแต่ละแห่งต้องดำเนินการโดยผู้ชำนาญการ อย่างน้อย 1 คน และผู้ช่วยผู้ชำนาญการอย่างน้อย 2 คน (กฎกระทรวงข้อ 6)

รายงานการจัดการพลังงาน 8 ขั้นตอน

ใบอนุญาตตรวจสอบและรับรองการจัดการพลังงาน 

2.3 การค้นหาข้อมูลผู้ตรวจสอบ

     โรงงานควบคุมและอาคารควบคุมสามารถค้นหารายชื่อผู้ได้รับใบอนุญาตตรวจสอบและรับรองการจัดการพลังงานได้ที่เว็บไซต์ www.dede.go.th และwww.thaienergyauditor.org

รายงานการจัดการพลังงาน 8 ขั้นตอน

รายงานการจัดการพลังงาน 8 ขั้นตอน

รายงานการจัดการพลังงาน 8 ขั้นตอน

2.4 แนวทางการว่าจ้างผู้ตรวจสอบ

     ในการสรรหาและว่าจ้างผู้ตรวจสอบและรับรองการจัดการพลังงานในแต่ละรอบปี สิ่งที่โรงงานควบคุมและอาคารควบคุมต้องพิจารณาก่อนการดำเนินการว่าจ้าง มีดังนี้

     1. จำนวนผู้ตรวจสอบ
     กฎกระทรวงกำหนดคุณสมบัติของผู้ขอรับใบอนุญาต หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการขอรับใบอนุญาตและ
การอนุญาตตรวจสอบและรับรองการจัดการพลังงาน พ.ศ. 2555 ข้อ 6 กำหนดให้การตรวจสอบและรับรองการจัดการพลังงานในโรงงานควบคุมและอาคารควบคุมแต่ละแห่งต้องดำเนินการโดยผู้ชำนาญการอย่างน้อย 1 คน และผู้ช่วย
ผู้ชำนาญการ อย่างน้อย 2 คน
ดังนั้น โรงงานควบคุมและอาคารควบคุมต้องพิจารณาดำเนินการสรรหาผู้ตรวจสอบให้เป็นไปตามเงื่อนไขดังกล่าว

     2. จำนวนวันที่ใช้ในการตรวจสอบ
          จำนวนวันที่ใช้ในการตรวจสอบขึ้นอยู่กับความซับซ้อนของระบบการจัดการพลังงาน (Complexity) ปัจจัยที่ใช้ในการพิจารณา อาทิ
          1) ปริมาณการใช้พลังงานทั้งปี (Annual energy consumption)
          2) จำนวนแหล่งพลังงาน (ไฟฟ้าและความร้อน) (Number of energy sources)
          3) จำนวนการใช้พลังงานที่มีนัยสำคัญ (Number of significant energy uses)
          4) จำนวนมาตรการการอนุรักษ์พลังงาน
          5) จำนวนหลักสูตร/กิจกรรมเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน
          6) จำนวนพนักงาน 

3. การตรวจสอบและรับรองการจัดการพลังงานโดยผู้ได้รับใบอนุญาต3.1 ขั้นตอนการตรวจสอบและรับรองการจัดการพลังงาน

     การตรวจสอบและรับรองการจัดการพลังงาน เป็นการตรวจสอบว่าระบบการจัดการพลังงานของโรงงานควบคุมและอาคารควบคุมเป็นไปตามข้อกำหนดของกฎหมายหรือไม่ ขั้นตอนการดำเนินงานของผู้ตรวจสอบ
     1) การแต่งตั้งทีมผู้ตรวจสอบ
     2) การจัดทำแผนและกำหนดการตรวจสอบ
     3) การจัดเตรียมรายการตรวจสอบ
     4) การตรวจสอบรายงานการจัดการพลังงาน
     5) การตรวจสอบระบบการจัดการพลังงาน ณ โรงงานควบคุมและอาคารควบคุม
     6) การสรุปผลการตรวจสอบ
     7) การจัดทำรายงานผลการตรวจสอบฯ และส่งให้กับโรงงานควบคุมและอาคารควบคุม

3.2 การตัดสินความสอดคล้องกับข้อกำหนด

     การตัดสินความสอดคล้อง คือ การพิจารณาความสอดคล้องในการดำเนินการจัดการพลังงานของโรงงานควบคุมหรืออาคารควบคุมกับข้อกำหนดของวิธีการจัดการพลังงานตามกฎหมาย โดยต้องมีหลักฐานและเอกสาร
การสัมภาษณ์บุคลากรที่เกี่ยวข้อง และการปฏิบัติจริงที่โรงงานควบคุมและอาคารควบคุม ข้อสรุปของผลการตรวจสอบ ประกอบด้วย
     1) สอดคล้องกับข้อกำหนด คือ การปฏิบัติตามข้อกำหนดครบถ้วนและถูกต้องครบทุกข้อ ถือว่าโรงงานควบคุมและอาคารควบคุม ผ่านการตรวจสอบ”
     2) ไม่สอดคล้องกับข้อกำหนดประเภทไม่ร้ายแรง (Minor) คือความไม่สอดคล้องของเอกสารขณะที่ปฏิบัติจริง ความไม่สอดคล้องหรือความคลาดเคลื่อนในเชิงปฏิบัติ ตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง สรุปผลการตรวจสอบในกรณีนี้คือ “ผ่านการตรวจสอบแต่ต้องแก้ไขในปีต่อไป”
     3) ไม่สอดคล้องกับข้อกำหนดประเภทร้ายแรง (Major) คือ การไม่มีเอกสารในการดำเนินการจัดการพลังงานหรือไม่มีหลักฐานการปฏิบัติจริงตามข้อใดข้อหนึ่งของวิธีการจัดการพลังงานที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง สรุปผลการตรวจสอบในกรณีนี้คือ ไม่ผ่านการตรวจสอบ”

 

รายงานการจัดการพลังงาน 8 ขั้นตอน

3.3 รายงานผลการตรวจสอบและรับรองการจัดการพลังงาน

     ภายหลังจากการดำเนินการตรวจสอบและรับรองการจัดการพลังงานเสร็จสิ้น ผู้ตรวจสอบฯ จะส่งรายงานผลการตรวจสอบ ให้กับโรงงานควบคุมหรืออาคารควบคุมที่เข้าดำเนินการตรวจสอบฯ ทั้งนี้ระยะเวลาการส่งมอบรายงานผลการตรวจสอบขึ้นอยู่กับข้อตกลงระหว่างโรงงานควบคุม/อาคารควบคุม และผู้ตรวจสอบ โดยรายงานผลการตรวจสอบที่โรงงานควบคุมและอาคารควบคุมจะได้รับจากผู้ตรวจสอบ จะต้องประกอบด้วย รายการตรวจสอบ และรายงานผลการตรวจสอบ ซึ่ง รายงานแต่ละส่วนจะต้องประกอบไปด้วยรายละเอียด ดังนี้

  1) รายการตรวจสอบ (Checklist) ต้องมีรายละเอียดอย่างน้อย ดังนี้ 

  • ชื่อรายการตรวจประเมิน
  • ผลการตรวจประเมินว่ามีหรือไม่มีหลักฐาน โดยกรณีที่มีหลักฐานมีการระบุชื่อของหลักฐาน และความสอดคล้องหรือไม่สอดคล้องของหลักฐานกับข้อกำหนด รวมถึงการระบุประเภทของความไม่สอดคล้องว่าไม่สอดคล้องในกรณีร้ายแรงหรือไม่ร้ายแรง
  • ข้อเสนอแนะในการปรับปรุงวิธีดำเนินการจัดการพลังงานแต่ละขั้นตอนให้สอดคล้องกับข้อกำหนด

รายงานการจัดการพลังงาน 8 ขั้นตอน
ตัวอย่างรายการตรวจสอบ หรือ Checklist

  2) รายงานผลการตรวจสอบ ต้องมีรายละเอียดอย่างน้อย ดังนี้

  • ชื่อรายการตรวจประเมิน
  • ผลการตรวจประเมิน
  • ความคิดเห็นหรือข้อเสนอแนะ

รายงานการจัดการพลังงาน 8 ขั้นตอน

ตัวอย่างรายงานผลการตรวจสอบและรับรองการจัดการพลังงาน

4. การจัดส่งรายงานผลการตรวจสอบและรับรองการจัดการพลังงาน

     การส่งรายงานผลการตรวจสอบและรับรองการจัดการพลังงาน เป็นหน้าที่ของเจ้าของโรงงานควบคุมและเจ้าของอาคารควบคุม โดยต้องจัดส่งรายงานผลการตรวจสอบและรับรองการจัดการพลังงานที่ได้รับจากผู้ได้รับใบอนุญาต รวมถึงรายงานการจัดการพลังงาน ให้กับ พพ. ภายในเดือนมีนาคมของทุกปี

     การจัดส่งรายงานผลการตรวจสอบและรับรองการจัดการพลังงานที่ต้องจัดส่งประกอบด้วยเอกสารต้นฉบับพร้อมแผ่น CD ไฟล์อิเล็กทรอนิกส์ ด้วยวิธีการใดวิธีการหนึ่ง ดังต่อไปนี้
     1) นำส่งด้วยตนเอง
     2) จัดส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับ โดยถือวันที่ลงทะเบียนเป็นวันส่งรายงาน

รายงานการจัดการพลังงาน 8 ขั้นตอน