หากคนในสังคมขาดการนําสมานัตตตาในหลักสังคหวัตถุ4

เยาวชนทั้งหลายทราบหรือไม่ว่า การที่เรามาอยู่ร่วมกันในสังคมนั้นต้องปฏิบัติตนอย่างไร จึงจะอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ท่านทรงได้ให้หลักธรรมในการดำเนินชีวิตในสังคมอย่างเป็นสุข คือ สังคหวัตถุ 4 ซึ่งประกอบด้วย ทาน ปิยวาจา อัตถจริยา และ สมานัตตตา ซึ่งมีสาระสำคัญดังนี้ 

“ทาน” คือ การให้ การให้นั้นมี 3 ระดับคือ 1.ให้คนที่สูงกว่า เรียกว่า บูชา เช่น ให้พ่อ แม่ ปู่ ย่า ตา ยาย 2.ให้คนที่เสมอกันกับเรา เรียกว่า เกื้อกูล เช่น ให้เพื่อน พี่ น้อง 3.ให้คนที่ต่ำกว่า เรียกว่า สงเคราะห์ เช่น มีคนที่ตกทุกข์ลำบาก เราพอช่วยอะไรได้ก็สงเคราะห์เขา การให้ทานจะช่วยให้ผูกใจคนอื่นไว้ได้ พระพุทธเจ้าทรงสอนการให้ที่ก่อให้เกิดสุขไว้หลายข้อ เช่น “ททมาโน ปิโย โหติ ผู้ให้ย่อมที่รัก”“ททํ คนฺถติ มิตฺตานิ ผู้ให้ย่อมผูกใจมิตรไว้ได้”หรือ “มนาปทายี ลภเต มนาปํ ผู้ให้สิ่งที่น่าพอใจย่อมได้รับสิ่งที่น่าพอใจ” 

“ปิยวาจา” การพูดวาจาที่ไพเราะ สวัสดี ยินดี ขอโทษ ไม่เป็นไร เพราะเรามีน้ำใจ ขอบคุณ ฟังแล้วเกิดความชื่นใจ เบิกบานใจ สิ่งที่เราจะพูดนั้นต้องเป็นเรื่องจริง เป็นคำสุภาพ ไพเราะนิ่มนวล พูดออกไปแล้วเกิดประโยชน์ เวลาพูดก็ต้องพูดด้วยจิตที่มีเมตตา ซึ่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสไว้ว่า “บุคคลที่มาแนะนำเราสิ่งที่เป็นประโยชน์ให้แก่เราเมื่อเห็นเราผิดพลาด เรียกว่า “ผู้ชี้ขุมทรัพย์ให้”  

“อัตถจริยา” คือ ทำตนให้เป็นประโยชน์ บางครั้งในการทำงานอาจขาดกำลัง แต่ถ้าเราช่วยกัน งานที่ว่ายากก็จะสำเร็จลุล่วงไปได้ถ้าเราร่วมมือกัน เพราะฉะนั้นตรงนี้เป็นสิ่งสำคัญอย่างหนึ่งที่จะทำให้เราเกิดรักความผูกพันของบุคคลที่อยู่ร่วมกันในสังคม ในการบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์มี 2 ประการ คือ “ทำตัวเราให้เป็นคนดีมีประโยชน์เสียก่อน และสร้างประโยชน์ให้คนอื่นรอบข้าง”

พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ตรัสบุคคลไว้ 3 ประเภทคือ “อัตถจารีย์” ผู้ที่สร้างประโยชน์ ทั้งประโยชน์ตนและประโยชน์ท่าน น่ายกย่อง น่าชื่นใจ “โมฆะบุรุษ”บุรุษผู้ว่างเปล่า ไม่เอาอะไรเลย ไม่ทำทั้งสิ่งที่เป็นประโยชน์และไม่เป็นประโยชน์ “อนัตถัตจารีย์”ผู้ทำสิ่งไม่ใช่ประโยชน์ ทำเรื่องไม่ดี ทำตัวเป็นภาระ ทำให้พ่อแม่เดือดร้อน 

“สมานัตตตา” การวางตนให้พอดีในหน้าที่ของตนอย่างเสมอต้นเสมอปลาย คือ วางตนให้เหมาะสมว่าตอนนี้เราอยู่ในฐานะอะไร เช่น พ่อก็มีหน้าที่เลี้ยงดูลูก แม่ก็มีหน้าที่ดูแลบ้าน ดูแลครอบครัว ลูกเองก็มีหน้าที่ศึกษาเล่าเรียน ถ้ามีใครไม่ทำตามหน้าที่แล้ว ย่อมจะเกิดปัญหาเรื่องการก้าวก่ายหน้าที่กันตามมา จนอาจส่งผลให้เกิดความไม่ปลอดภัยในชีวิตขึ้นได้ อย่างนี้เป็นต้น เมื่อเป็นเช่นนี้การวางตนให้เหมาะสม จะช่วยให้ไม่ต้องระวาดระแวงในการทำหน้าที่ของตน ซึ่งจะส่งผลให้เราอยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างปลอดภัยและสบายใจ  

ดังวลีธรรมะอารมณ์ดีที่ว่า “ให้ให้ให้ แทนน้ำใจ คือที่สุด พูดพูดพูด วจี สุดอ่อนหวาน ทำทำทำ จิตอาสา ใจชื่นบาน วางวางวาง ตัวตน ให้พองาม รู้จักให้ ใช้คำหวาน ช่วยเหลืองาน ประสานมิตรไมตรี” 

……………………………………………….

คอลัมน์ : ลานธรรม

โดย : พระสุธีวชิรปฏิภาณ ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ประธานพระธรรมวิทยากรเครือข่ายธรรมะอารมณ์ดี

ประเทศไทยตกอยู่ในสภาพการณ์ที่ไม่ได้แตกต่างไปจากประเทศอื่นๆทั่วโลกเพราะต้องเผชิญกับปัญหาสังคมและปัญหาเศรษฐกิจร้ายแรงอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน เนื่องจากการแพร่ระบาดใหญ่ของโควิด-19 และโควิดกลายพันธุ์ที่มีการลุกลามขยายตัวอย่างรวดเร็วชนิดก้าวกระโดด แม้ว่าประเทศไทยจะได้รับการจัดอันดับจากองค์การอนามัยโลกให้เป็นประเทศที่มีระบบสาธารณสุขที่เข้มแข็งติดอันดับ 1 ใน 5 ของโลก อย่างไรก็ตามการแพร่ระบาดของโควิด-19 ระลอก 3 ที่เกิดขึ้นตั้งแต่ปลายเดือน มี.ค. 64 เป็นต้นมา โควิดกลายพันธุ์ไวรัสสายพันธุ์อังกฤษมีการแพร่ระบาดจากกัมพูชาเข้าสู่ไทยซึ่งมีสถานบันเทิงย่านทองหล่อเป็นศูนย์กลางการแพร่ระบาดแบบกลุ่มก้อนใหญ่ที่กระจายเชื้อไปทุกจังหวัดทั่วประเทศ

หากคนในสังคมขาดการนําสมานัตตตาในหลักสังคหวัตถุ4

สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 และโควิดกลายพันธุ์ในประเทศไทยครั้งนี้มีความรุนแรงและหนักหน่วงเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งมียอดผู้ติดเชื้อรายวันเกินกว่า 1,000 รายต่อเนื่องมาเป็นเวลา 7 วัน และมียอดผู้ติดเชื้อรายวันเกินกว่า 2,000 รายต่อเนื่องมาเป็นเวลา 6 วัน ปัจจุบันมียอดผู้ติดเชื้อสะสมกว่า 60,000 ราย มียอดผู้เสียชีวิตสะสมกว่า 170 ราย และมียอดผู้อยู่ระหว่างการรักษาตัวในโรงพยาบาลกว่า 30,000 ราย ในจำนวนนี้มีผู้ป่วยอาการหนักกว่า 600 ราย ในขณะที่ทั่วโลก มียอดผู้ติดเชื้อสะสมราว 150 ล้านราย มียอดผู้เสียชีวิตสะสมกว่า 3.1 ล้านราย มีผู้ติดเชื้อรายวันกว่า 8 แสนราย

               ในยามนี้ทุกภาคส่วนของสังคมจะต้องตระหนักถึงสภาพปัญหาอันใหญ่หลวงที่มีอยู่ การรู้รักสามัคคีเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งยวดและการร่วมแรงร่วมใจจะเป็นเหตุนำพาชาติบ้านเมืองให้ผ่านพ้นวิกฤติในครั้งนี้  โดยภาครัฐจะต้องบริหารจัดการและแก้ปัญหาอย่างเป็นเอกภาพและมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะต้องทุ่มเทสรรพกำลังและงบประมาณอย่างเต็มที่เพื่อคลี่คลายสถานการณ์ให้ทุเลาเบาบางลง ภาคเอกชนและภาคประชาชนจะต้องให้ความร่วมมือกับมาตรการต่างๆ ของรัฐอย่างเคร่งครัด ประการสำคัญนักการเมืองจะต้องหยุดเล่นเกมการเมืองเพื่อช่วงชิงอำนาจรัฐ การลดความขัดแย้งและลดความสับสนแก่สาธารณชนจะช่วยให้ทุกสิ่งดีขึ้น มีอะไรที่เป็นประโยชน์ต่อการแก้ไขวิกฤติการณ์ในครั้งนี้ก็ขอให้เสนอความคิดอย่างสร้างสรรค์ และให้ความร่วมมือกับการทำงานของภาครัฐ หากกระทำไม่ได้ก็ขอให้อยู่เฉยๆ เสียดีกว่า ไม่พายเรือก็อย่าเอาเท้าราน้ำ ซึ่งจะสร้างความสับสนอลหม่านให้บ้านเมืองยิ่งขึ้น ไม่เป็นผลดีอันใดเลย

               เพื่อให้ได้รับประโยชน์จากหลักธรรมคำสอนของพระบรมศาสดา พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าในเรื่องหลักธรรมสังคหวัตถุ 4 ซึ่งมีการสนทนาธรรมที่โรงพยาบาลปากเกร็ดเวชการเมื่อ 28 ปีที่แล้วในปี พ.ศ.2536 มีผู้ร่วมสนทนาธรรมตั้งคำถามว่า “นอกจากวัตถุทานในสังคหธรรม 4 แล้ว ยังจะมีอะไรอีก ขอให้ช่วยขยายความเพิ่มเติมด้วย” อาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ประธานมูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา กล่าวว่า

หากคนในสังคมขาดการนําสมานัตตตาในหลักสังคหวัตถุ4

“…ต้องแปลคำนี้แล้วก็อธิบายว่าคืออะไร ไม่อย่างนั้นก็คงจะไม่มีใครเข้าใจ “สังคห” ก็คงจะเหมือนกับคำว่า สงเคราะห์ ที่เราใช้ในภาษาไทย “วัตถุ” ในภาษาบาลีใช้คำนี้บ่อยๆ เป็นเรื่องหรือเป็นสิ่ง หรือเป็นหัวข้อและธรรมะใดๆก็ตามจะใช้คำว่าวัตถุ เพราะฉะนั้นสังคหวัตถุเป็นธรรมะที่สงเคราะห์ หรือช่วยในการที่จะให้ทุกคนมีความสุขในชีวิตประจำวันซึ่ง มี 4 อย่างได้แก่ ทาน คือ การให้ 1 ปิยวาจา คือ คำพูดที่น่าฟัง 1​ อัตถจริยา คือ การประพฤติสิ่งที่เป็นประโยชน์ 1 สมานัตตา คือ การมีตนเสมอ 1 4 อย่างนี้ก็คงจะทำให้เรามีความสุขได้จริงๆ ถ้าเราเป็นผู้ที่มีสังคหวัตถุ แล้วคนอื่นได้รับสังคหวัตถุของเรา

              

หากคนในสังคมขาดการนําสมานัตตตาในหลักสังคหวัตถุ4

สังคหวัตถุที่ 1 ทาน คือ การให้ เป็นเรื่องที่ไม่จำเป็นต้องเป็นเรื่องใหญ่ การให้สิ่งที่เป็นประโยชน์แก่คนอื่น ให้ได้ทั้งหมดเลยเป็นสิ่งของเล็กๆน้อยๆ ก็ได้ เป็นวิชาความรู้​ก็ได้ เป็นคำแนะนำก็ได้ ขณะใดที่มีจิตใจเป็นกุศลแล้วก็ให้สิ่งซึ่งตนสามารถจะให้กับคนอื่นได้ ถ้าเป็นคนที่มีความสามารถก็สามารถที่จะสอนหรือถ่ายเทความรู้นั้นให้คนอื่น ขณะนั้นก็เท่ากับให้สิ่งที่เป็นประโยชน์เหมือนกัน แม้จะไม่ใช่วัตถุทานแต่การให้ความรู้​ความ​สามารถกับคนอื่นก็เท่ากับว่าเราสละสิ่งที่เป็นประโยชน์ให้คนอื่นแล้ว คนที่ได้รับจะต้องมีความดีใจมาก เพราะฉะนั้นไม่ใช่การหวงแหนความรู้​อย่างในสมัยก่อน พอใครทำอะไรเก่งก็ไม่ยอมบอกใครเลย เพราะคิดว่าคนอื่นจะทำและอาจจะเอาไปเป็นอาชีพหรืออะไรก็ได้ แต่จริงๆ แล้วให้ไปเถอะเพราะเหตุว่าใครจะได้รับอะไรในชีวิตก็ขึ้นอยู่กับบุญกรรมที่ได้ทำแล้วทั้งนั้น ไม่ใช่ขึ้นอยู่กับว่าเราไปบันดาลให้ แต่ต้องอาศัยกรรมของเขาที่ได้ทำนั่นเอง

              

หากคนในสังคมขาดการนําสมานัตตตาในหลักสังคหวัตถุ4

สังคหวัตถุที่ 2 ปิยวาจา คือ คำพูดที่น่าฟัง เป็นสิ่งที่สำคัญมาก อย่างที่โบราณว่าปากเป็นเอกเลขยังรอง คือเป็นโท แสดงให้เห็นว่าความสุขของเราในวันหนึ่งจะขึ้นอยู่กับคำที่เราได้ยินได้ฟังมาก ถ้าเราได้ยินคำที่น่าฟังทำให้เรามีกำลังใจ รู้สึกสบายและอยากจะมีชีวิตอยู่ต่อไปก็เป็นสิ่งที่ดี เพราะบางคนอาจมีความท้อแท้ด้วยโรคภัย ปัญหาชีวิต ความน่าเบื่อหน่าย เศรษฐกิจต่างๆ ก็เป็นความท้อแท้ได้ทั้งหมด แต่ถ้าเราสามารถมีปิยวาจา คือคำที่ทำให้คนอื่นมีกำลังใจ สบายใจขึ้น ก็เป็นสิ่งที่มีประโยชน์ เพราะฉะนั้นถ้าเราเคยเป็นคนพูดไม่น่าฟัง และบางคนก็อาจจะรู้สึกตัวแต่รู้สึกช้าไปแล้ว และติดนิสัยเคยใช้คำพูดนั้นบ่อยๆ แต่ถ้าเราได้ฟังประโยชน์ของปิยวาจา เราก็จะเห็นจริงว่า แทนที่เราจะพูดอย่างนั้นเราพูดอีกอย่างหนึ่งก็ได้แล้วประโยชน์ก็มีมากกว่าด้วย ในขณะนั้นจิตใจของเราก็เป็นกุศลและคนฟังก็สบาย มีคำพูดที่ฟังกันสบายกันทั้งวันก็คงจะดีกว่าการได้ยินคำที่ฟังแล้วไม่สบายใจ เพราะฉะนั้นอันนี้ก็เป็นสิ่งที่สงเคราะห์ให้เราอยู่ด้วยความสุขในวันหนึ่งๆ

หากคนในสังคมขาดการนําสมานัตตตาในหลักสังคหวัตถุ4

สังคหวัตถุที่ 3 อัตถจริยา คือ การประพฤติสิ่งที่เป็นประโยชน์ ช่วยเหลือคนอื่นนั่นเอง เล็กๆ น้อยๆ นิดๆ หน่อยๆ ก็มีน้ำใจ ที่โต๊ะอาหาร ยื่นอาหารให้ รินน้ำให้ เห็นใครทำอะไรตกเก็บให้เลย นั่นก็คือการกระทำสิ่งที่มีประโยชน์ นี่ก็แสดงให้เห็นว่าสิ่งที่เราประพฤติในชีวิตประจำวันที่เป็นประโยชน์นั้นมี ถ้าเรารู้ว่าขณะนั้นเป็นกุศลจิต แล้วก็ถ้าใครประพฤติอย่างนั้นกับเรา เราก็ชอบ และในขณะเดียวกันถ้าเราสามารถจะประพฤติตนเป็นประโยชน์ เพราะว่าชีวิตวันหนึ่งๆ ก็ล่วงไปทีละขณะ เรียกกลับคืนมาไม่ได้เลย แต่เราได้รับประโยชน์อะไรจากชีวิตขณะหนึ่งที่ล่วงไปแล้ว นี่แสดงให้เห็นว่าเราเสียเวลากับชีวิตที่เป็นอยู่โดยไม่ได้อะไรเลยมาก ขณะหนึ่งก็ผ่านไป ขณะหนึ่งก็ผ่านไป ได้อะไรจากแต่ละขณะที่ผ่านไป ถ้าเป็นสิ่งที่ดีเป็นกุศล เป็นประโยชน์เพราะเป็นเหตุว่าขัดเกลาจิตใจของเราให้เบาบางจากการเป็นคนเห็นแก่ตัว เป็นคนโลภมาก เป็นคนโกรธมาก มาเป็นผู้ที่สามารถจะเสียสละประโยชน์ของเราเองด้วยการช่วยเหลือคนอื่น

สังคหวัตถุที่ 4 สมานัตตา คือ การมีตนเสมอ การมีตนเสมอนี่มักจะมีปัญหาเสมอว่าจะเสมอกันได้อย่างไร มีนาย มีลูกจ้างกับนายจ้าง มีพี่กับน้องบ้าง มีพ่อกับแม่บ้าง มีฐานะตำแหน่งในราชการต่างๆ กันบ้าง หรือคนในบ้านของเราเองก็มีผู้รับใช้ช่วยเหลือบ้าง แล้วจะเสมอกันได้อย่างไร แต่ตามความจริงการเสมอที่นี้ควรเป็นการเสมอในคุณธรรมไม่ใช่ในสิ่งที่เรามองจากวัตถุภายนอก แต่ว่าจริงๆ แล้วถ้าเราเป็นผู้ที่เข้าใจทุกคนเหมือนกับที่เราเข้าใจเราเองว่า เราต้องการมีความสุข และไม่ได้ชอบมีความทุกข์ เพราะฉะนั้นเราเกิดมาอาจจะต่างกันในชาตินี้โดยสภาพ ฐานะ ความเป็นอยู่ ความรู้ ศักดิ์ตระกูล แต่จริงๆ ทุกคนมีใจที่เหมือนกันคือ มีโลภะก็โลภะชนิดเดียวกัน ชอบในรูป เสียง กลิ่น รส สิ่งที่กระทบสัมผัส มีโทสะ มีความขุ่นใจก็เหมือนกัน เพราะฉะนั้นจะว่าไปแล้วไม่ต่างกัน นอกจากความคิดของเราซึ่งถือว่าสิ่งหนึ่งเป็นอีกสิ่งหนึ่ง…แต่ตามความจริงถ้าทุกคนเข้าใจเรามีใจเสมอ ไม่มีการยกตนหรือว่าข่มคนอื่น หรือว่าดูหมิ่นดูถูกใครเลย และถ้าเราสามารถที่จะเข้าใจใครได้ด้วยความจริงใจ มีความเป็นมิตร มีความเป็นคนเสมอจริงๆ ไม่มีการสูงต่ำในใจ สิ่งนั้นก็จะทำให้คนที่อยู่ใกล้เรามีความสุข แน่นอนที่สุด คือ เขาทำงานให้เราด้วยความรักเรา และเราก็ไม่ใช่ว่าถือว่าเขาทำงานให้เราโดยการที่ได้เงินจากเรา แต่ในขณะเดียวกันก็เป็นเพื่อนมนุษย์ เป็นคนที่เกิดมาร่วมกัน แล้วก็มีสุขทุกข์ร่วมกัน อันนี้ก็คือ สังคหวัตถุ”

ตราบใดที่คนไทยยังเป็นผู้ที่นับถือพระพุทธศาสนาเพียงในนามเพราะไม่เคยศึกษาพระธรรมซึ่งเป็นคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าโดยการฟังธรรมตามกาล ก็ย่อมเป็นผู้ที่มีแต่ความเห็นแก่ตัว ไม่เคยเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม อีกทั้งมีแต่การประพฤติปฏิบัติทุจริตทั้งทางกายและวาจาเพื่อให้ได้มาในสิ่งที่ต้องการโดยไม่ละอายชั่วกลัวบาป ก็นับเป็นเรื่องที่ยากเย็นแสนเข็ญที่คนในชาติจะร่วมกันสร้างสรรค์สิ่งที่เป็นประโยชน์แก่บ้านเมืองอย่างแท้จริง ในช่วงที่ประเทศชาติและประชาชนต้องเผชิญกับความยากลำบากในขณะนี้น้ำใจของประชาชนตัวเล็กๆ ได้ปรากฏให้เห็นจากการออกมาช่วยเหลือสังคมคนละไม้คนละมือเท่าที่จะกระทำกันได้ ภาคเอกชนซึ่งประกอบด้วยสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยและสมาคมธนาคารไทยต่างได้เสนอตัวร่วมทำงานกับรัฐบาลอย่างใกล้ชิดเพื่อฝ่าฟันวิกฤติของประเทศชาติในครั้งนี้ นับเป็นความหวังที่จะได้เห็นประเทศไทยมีความเข้มแข็งมากยิ่งขึ้นจากพลังความดีของทุกภาคส่วนในสังคม

.......................................

คอลัมน์ : ว่ายทวนน้ำ

โดย “ทวีศักดิ์ อุ่นจิตติกุล”

สังคหวัตถุ 4 ประกอบด้วยองค์ธรรมในข้อใดถูกต้องที่สุด

สังคหวัตถุมีสี่ประการ คือ ทาน การให้ การเสียสละ การแบ่งปันเพื่อประโยชน์แก่คนอื่น ช่วยปลูกฝังให้เป็นคนที่ไม่เห็นแก่ตัว แบ่งปันกัน (แบ่งปันไปมา) ปิยวาจา การพูดจาด้วยถ้อยคำไพเราะอ่อนหวาน จริงใจ ไม่พูดหยาบคายก้าวร้าว พูดในสิ่งที่เป็นประโยชน์ เหมาะกับกาลเทศะ พูดดีต่อกัน (พูดจาจับใจ) อัตถจริยา ช่วยเหลือกัน (ช่วยกิจกันไป)

สังคห วัตถุ 4 มี ความ สําคัญ อย่างไร

สังคหวัตถุ 4 หมายถึง เครื่องมือ หรือหลักธรรม 4 ประการ ที่ช่วยประสานคนหมู่มากให้อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข เป็นเครื่องช่วยขจัดความขัดแย้งที่เกิดขึ้นทำให้คนอยู่ร่วมกันด้วยความรัก สามารถนำไปใช้ได้ตั้งแต่ระดับครอบรัวจนถึงระดับสังคม เป็นธรรมที่ก่อให้เกิดความผาสุกในบ้านเมือง และประเทศชาตินั่นเอง

ทาน ปิยวาจา อัตถจริยา สมานัตตตา เป็นหลักธรรมข้อใด

สังคหวัตถุ หมายถึง คุณธรรมที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของบุคคลและประสานหมู่ชนให้ตั้งอยู่ในความสามัคคี ตามหลักความสงเคราะห์ ซึ่งประกอบไปด้วยคุณธรรม 4 ประการ ได้แก่ 1) ทาน 2) ปิยวาจา 3) อัตถจริยา 4) สมานัตตา

หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาที่ใช้ในการยึดเหนี่ยวจิตใจผู้อื่น คือ หลักธรรมใด

สังคหวัตถุธรม หลักธรรมสำหรับยึดเหนี่ยวจิตใจคนในสังคม ให้มีความรักใคร่ กลมเกลียวสามัคคีกัน เป็นหลักธรรมสำหรับการผูกมิตรไมตรีระหว่างกัน สังคหวัตถุธรรม เป็นเสมือนยานพาหนะที่จะนำมนุษย์ไปสู่ความสุขความเจริญ สังคมของมนุษย์ประกอบขึ้น ด้วยบุคคลที่มีภูมิหลังแตกต่างกันมีทั้งคนดีและคนไม่ดี มีทั้งคนที่ร่ำรวยและยากจน ดังนั้นจึง ...