ผลงานที่เกิดจากการประดิษฐ์ เรียกว่าอะไร

Skip to content

สิทธิบัตร ตัวอย่าง การจดสิทธิบัตร อนุสิทธิบัตรและสิทธิบัตรออกแบบ

สิทธิบัตร ตัวอย่าง การจดสิทธิบัตร อนุสิทธิบัตรและสิทธิบัตรออกแบบ

  • View Larger Image
    ผลงานที่เกิดจากการประดิษฐ์ เรียกว่าอะไร

การจดสิทธิบัตร (patent) เป็นมากกว่าการยื่นเอกสารเพื่อขอความคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาทางกฏหมายแก่งานประดิษฐ์หรืองานออกแบบอุตสาหกรรม แต่ การจดสิทธิบัตร เป็นเครื่องมือหนึ่งในการสร้างความได้เปรียบทางกลยุทธ์เหนือคู่แข่ง โดยมี “สิทธิบัตร” เป็นเหมือนเครื่องมือในการสร้างพื้นที่ทางการแข่งขันให้กับธุรกิจ

เราอาจจะเคยเห็นว่า ทำไม gillette ถึงสามารถใช้ใบมีดโกนแบบ 3 ใบได้บริษัทเดียว แถมขายกับด้ามมีดของบริษัทตัวเองเท่านั้น ทำไมคนอื่นถึงไม่ทำด้ามมีดมาใช้กับใบมีดของ gillette หละ? หรือทำไมยาบางตัวถึงมีราคาแพง และอยู่ๆมันก็มีราคาถูกลงแบบหน้ามือเป็นหลังมือ เมื่อถึงเวลาหนึ่ง

ทั้งหมดทั้งมวลนี้ มีสิ่งที่เรียกว่า “สิทธิบัตร” อยู่เบื้องหลังทั้งสิ้น และเป็นเครื่องมือที่ทำให้ธุรกิจสามารถหากำไรจากสินค้าหรือบริการที่เฉพาะของตน ได้อย่างเต็มที่ในระยะเวลาหนึ่ง

เมื่อคุณรู้เช่นนั้น อยากจะทำอย่างนั้นและตื่นเต้นที่จะทำได้แบบนั้น คุณก็พร้อมแล้วหละ ที่จะเริ่มเรียนรู้เกี่ยวกับสิทธิบัตร และก้าวเข้าสู่การเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านสิทธิบัตร ที่สามารถบริการจัดการ เขียนสิทธิบัตร ได้อย่างมีกลยุทธ์ เพื่อสร้างความได้เปรียบให้กับธุรกิจของคุณ และที่สำคัญคือ มันจะช่วยลดต้นทุนด้านสิทธิบัตรของคุณ จากการจ้างทีมที่ปรึกษาที่เก่งๆ อีกด้วย ถ้าพร้อมแล้ว ซีรีย์ชุดนี้ จะพาคุณเรียนรู้วิธีการจดสิทธิบัตรด้วยต้นเอง ตั้งแต่แนวคิด จนถึงการลงมือปฏิบัติ ที่คุณก็หาอ่านจากที่ไหนไม่ได้อีกแล้ว ถ้าคุณชอบบทความของเรา อย่าลืมแชร์หรือส่งต่อให้กับเพื่อนๆ ด้วยนะครับ เพื่อเป็นกำลังใจให้กับผู้เขียนนั่นเอง

มาวิเคราะห์สุขภาพด้านทรัพย์สินทางปัญญา (IP Health) ของคุณฟรี ง่ายๆ โดยใช้เครื่องมือ IP HEALTH CHECK ของ ATPSERVE

จะช่วยให้คุณทราบจุดแข็ง จุดอ่อนของทรัพย์สินทางปัญญาในองค์กรของคุณ (หรือส่วนตัวก็ได้) เพื่อนำมาปรับปรุงและวางแผน กลยุทธิ์การจดทรัพย์สินทางปัญญาที่มีประสิทธิภาพต่อไป

ผลงานที่เกิดจากการประดิษฐ์ เรียกว่าอะไร

สารบัญ

  • ประเภทของสิทธิบัตร
  • ทำไมต้องจดสิทธิบัตร
  • จดสิทธิบัตรด้วยตัวเองยากหรือง่าย
  • หัวใจของการจดสิทธิบัตร
  • การพิจารณาความใหม่
  • สิ่งที่จดสิทธิบัตรไม่ได้
  • ขั้นตอนการจดสิทธิบัตร
  • สิทธิบัตรจ้างทำได้หรือไม่
  • จ้างทำสิทธิบัตรได้ที่ไหน
  • สรุป
  • เพิ่มเติม

ผลงานที่เกิดจากการประดิษฐ์ เรียกว่าอะไร

การจดสิทธิบัตร (patent) ประเทศไทย แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ สิทธิบัตรการประดิษฐ์ อนุสิทธิบัตร และสิทธิบัตรออกแบบผลิตภัณฑ์ โดยในความจริงนั้น สิทธิบัตรไม่ได้คุ้มครองงานที่เกิดจากความคิดทุกประเภท แต่การจดสิทธิบัตรนั้น มีขึ้นเพื่อคุ้มครองสิ่งประดิษฐ์และการออกแบบทางอุตสาหกรรม ตัวอย่างเช่น เครื่องจักร อุปกรณ์ สูตร กรรมวิธีการผลิต ระบบ โครงสร้างทางเคมี การตัดต่อพันธุกรรม หรืองานออกแบบอุตสาหกรรม เป็นต้น

สิทธิบัตร จัดเป็นทรัพย์สินทางปัญญาประเภทหนึ่ง โดยสิทธิบัตร คือ หนังสือสำคัญที่รัฐออกให้เพื่อคุ้มครองงานประดิษฐ์ กรรมวิธี กระบวนการผลิต สิ่งประดิษฐ์หรือการออกแบบผลิตภัณฑ์ โดยมอบสิทธิให้ภายในระยะเวลาที่จำกัดโดยแลกกับการเปิดเผยรายละเอียดการประดิษฐ์ต่อสาธารณะ

สิทธิบัตร แบ่งกลุ่มความคุ้มครอง ออกเป็นลักษณะใหญ่ๆ ด้วยกัน 2 ลักษณะ คือ การคุ้มครองการประดิษฐ์ และการคุ้มครองการออกแบบ ดังแสดงตามตัวอย่างต่อไปนี้

ผลงานที่เกิดจากการประดิษฐ์ เรียกว่าอะไร

คุ้มครองสิ่งประดิษฐ์ สูตร กรรมวิธี และงานระบบโปรแกรม

1. สิทธิบัตรการประดิษฐ์

2. อนุสิทธิบัตร

ผลงานที่เกิดจากการประดิษฐ์ เรียกว่าอะไร

คุ้มครองงานออกแบบ ลวดลาย รูปทรง

1. สิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์

1.ประเภทของสิทธิบัตร

1.1 สิทธิบัตรการประดิษฐ์

ผลงานที่เกิดจากการประดิษฐ์ เรียกว่าอะไร

สิทธิบัตรการประดิษฐ์นั้นคุ้มครองสิ่งประดิษฐ์ที่เป็นองค์ประกอบทางวิศวะกรรม สูตร กรรมวิธีการผลิต หรือระบบโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ซึ่งโดยปกติมักหมายถึงงานประดิษฐ์ที่เป็นเทคโนโลยีใหม่ มีการพัฒนาที่แตกต่างจากเดิมอย่างเด่นชัด (Breakthrough technology) โดยสิทธิบัตรการประดิษฐ์ในประเทศไทย มีระยะเวลาคุ้มครองสูงสุด 20 ปี

หลักพิจารณาสิทธิบัตรการประดิษฐ์

ในการพิจารณาความเป็นสิทธิบัตรการประดิษฐ์ (invention patent) มีจะมีหลักที่เข้มงวดมากที่สุด โดยจะตรวจสอบ องค์ประกอบ 3 ส่วน ดังนี้

  • ความใหม่ (Novelty) สิ่งประดิษฐ์ต้องมีความใหม่ในระดับสากลหรือทั่วโลก โดยต้องไม่เหมือนกับงานประดิษฐ์ที่มีอยู่แล้วก่อนหน้า หรือไม่มีงานประดิษฐ์ดังกล่าวในฐานข้อมูลสิทธิบัตร อีกทั้งไม่มีการเปิดเผยสาระของงานในสื่อสิ่งพิมพ์ วารสาร หรืองานแสดงทางวิชาการ เป็นต้น ซึ่งผู้ที่จะยื่นจดสิทธิบัตรควรทำการสืบค้นให้ครอบคลุมก่อนการยื่นจดทะเบียนสิทธิบัตร
  • ขั้นการประดิษฐ์ที่สูงขั้น (Non-obvious) ต้องเป็นสิ่งประดิษฐ์ที่มีการพัฒนาต่อยอดให้แตกต่างจากเดิมอย่างเห็นได้ชัด ทั้งในเชิงฟังก์ชั่นหรือผลลัพธ์ของงานประดิษฐ์ดังกล่าว โดยผู้ที่เชี่ยวชาญในสาขาวิทยาการนั้นต้องไม่สามารถคาดเดาถึงผลลัพธ์ที่อาจเกิดขึ้นได้จากทฤษฎี
  • การประยุกต์ใช้ในเชิงอุตสาหกรรม (Industrial Applicable) งานประดิษฐ์ต้องสามารถทำซ้ำได้ ไม่ว่าจะด้วยการผลิตในเชิงอุตสาหกรรมหรืองานฝีมือ และก่อให้เกิดประโยชน์ต่ออุตสาหกรรมและสังคมในทางใดทางหนึ่ง

ตัวอย่างสิทธิบัตรการประดิษฐ์

  • เครื่องพิมพ์สามมิติ
  • การตัดต่อยีนส์ด้วยวิธี CRISPR
  • รถไฟความเร็วสูง

1.2 อนุสิทธิบัตร

ผลงานที่เกิดจากการประดิษฐ์ เรียกว่าอะไร

อนุสิทธิบัตร คุ้มครองงานประดิษฐ์ที่เป็นองค์ประกอบทางวิศวะกรรม สูตรหรือกรรมวิธีการผลิต ซึ่งโดยทั่วไป มักหมายถึงงานประดิษฐ์ที่เป็นการต่อยอดเพียงเล็กน้อย (Incrimental Technology) ซึ่งอนุสิทธิบัตร มีอายุความคุ้มครองสูงสุด 10 ปี

คนไทย จดอนุสิทธิบัตร มากกว่าสิทธิบัตรการประดิษฐ์

หลักการพิจารณาอนุสิทธิบัตร

ถ้ามองตามประสบการณ์ของผม อนุสิทธิบัตร (petty patent) จะได้รับการรับจดที่ง่ายกว่า เนื่องจากมีหลักการวิเคราะห์แค่ 2 ข้อ และขอบเขตน้อยกว่าสิทธิบัตรการประดิษฐ์ ดังนี้

  • ใหม่ (Novelty) ผู้ตรวจสอบจะตรวจค้นความใหม่เบื้องต้นแค่ในประเทศไทย กล่าวคือ ถ้าในฐานข้อมูลสิทธิบัตรไทย ไม่มีงานเหมือนคล้าย ก็สามารถได้รับจดเป็นอนุสิทธิบัตรได้ แต่อย่างไรก็ดี งานประดิษฐ์ควรจะต้องเป็นงานที่มีความใหม่ในระดับสากล โดยต้องไม่เหมือนกับงานประดิษฐ์ที่มีอยู่แล้วก่อนหน้า หรือไม่มีสิ่งประดิษฐ์ดังกล่าวในฐานข้อมูลสิทธิบัตร อีกทั้งไม่มีการเปิดเผยสาระของงานในสื่อสิ่งพิมพ์ วารสาร หรืองานแสดงทางวิชาการ เป็นต้น เพื่อความมั่นคงของสิทธิ์ในอนาคต
  • สามารถประยุกต์ใช้ในเชิงอุตสาหกรรม (Industrial Applicable) สิ่งประดิษฐ์ต้องสามารถทำซ้ำได้ ไม่ว่าจะด้วยการผลิตในเชิงอุตสาหกรรมหรืองานฝีมือ และก่อให้เกิดประโยชน์ต่ออุตสาหกรรมและสังคมในทางใดทางหนึ่ง

โดยเราจะพบว่าอนุสิทธิบัตร จะไม่พิจารณาขั้นการประดิษฐ์ที่สูงขึ้น หมายถึง งานประดิษฐ์ที่เป็นการต่อยอดเพียงเล็กน้อย เช่น การนำสิ่งประดิษฐ์ A มารวมกับสิ่งประดิษฐ์ B ก่อให้เกิดฟังก์ชั่นการใช้งานที่หลากหลายมากยิ่งขึ้น ก็สามารถจดเป็นอนุสิตธิบัตรได้

ตัวอย่างอนุสิทธิบัตร

  • ภาชนะบรรจุที่มีกรรมวิธีการล็อคแบบใหม่
  • เสื้อกันหนาวที่มีช่องสำหรับใส่โทรศัพท์

1.3 สิทธิบัตรออกแบบผลิตภัณฑ์

ผลงานที่เกิดจากการประดิษฐ์ เรียกว่าอะไร

สิทธิบัตรออกแบบผลิตภัณฑ์ (design patent) จะแตกต่างจากสิทธิบัตร สองประเภทแรก ตรงที่สิทธิบัตรออกแบบผลิตภัณฑ์จะคุ้มครองงานออกแบบ ไม่ว่าจะเป็นรูปร่าง รูปทรง ลวดลายหรือสีสันของผลิตภัณฑ์ ตัวอย่างเช่น ลวดลายของผ้า ลวดลายของกระเบื้อง โฉมรถยนต์ ดีไซน์แจกัน เป็นต้น โดยสิทธิบัตรออกแบบ มีระยะเวลาคุ้มครองสูงสุด 10 ปี

สิทธิบัตรออกแบบผลิตภัณฑ์ฉบับแรกของประเทศไทย คือ “ไม้จิ้มฟัน”

หลักการพิจารณาสิทธิบัตรออกแบบผลิตภัณฑ์

  • เป็นสิ่งใหม่ (Novelty) งานออกแบบต้องมีความใหม่ในระดับสากล โดยต้องไม่เหมือนกับงานออกแบบที่มีอยู่แล้วก่อนหน้า หรือไม่มีงานออกแบบดังกล่าวในฐานข้อมูลสิทธิบัตร อีกทั้งไม่มีการเปิดเผยสาระของงานในสื่อสิ่งพิมพ์ วารสาร หรืองานแสดงทางวิชาการ เป็นต้น โดยการพิจารณาความเหมือนคล้ายของสิทธิบัตรออกแบบ จะตรวจสอบแค่รูปทรง ลวดลาย ไม่วิเคราะห์ไปถึงฟังก์ชั่นของงานประดิษฐ์ กล่าวคือ งานประดิษฐ์ที่มีฟังก์ชั่นเหมือนกัน แต่คนละดีไซน์ ก็สามารถจดสิทธิบัตรออกแบบได้เช่นกัน
  • ประยุกต์ใช้ในเชิงอุตสาหกรรม (Industrial Applicable) สิ่งประดิษฐ์ต้องสามารถทำซ้ำได้ ไม่ว่าจะด้วยการผลิตในเชิงอุตสาหกรรมหรืองานฝีมือ และก่อให้เกิดประโยชน์ต่ออุตสาหกรรมและสังคมในทางใดทางหนึ่ง

ตัวอย่างสิทธิบัตรออกแบบผลิตภัณฑ์

  • การออกแบบชิ้นส่วนรถยนต์
  • การออกแบบดีไซน์ล้อรถยนต์

สรุปความแตกต่างของสิทธิบัตรแต่ละประเภท

จากที่อ่านมาทั้งหมด ผมขอสรุปรวมความแตกต่างของสิทธิบัตรแต่ละประเภท ตามความเข้าใจและประสบการณ์ของเรานะครับ ซึ่งเมื่อเราตรวจดูข้อดี-ข้อเสียของสิทธิบัตรแต่ละประเภทได้อย่างดีแล้ว จะช่วยให้เราสามารถเลือกความคุ้มครองได้อย่างถูกต้อง และไม่เสียเวลากับเสียเงินในการจดสิทธิบัตร ที่ได้ความคุ้มครองไม่ตรงกับความต้องการ

สิทธิบัตรการประดิษฐ์อนุสิทธิบัตรสิทธิบัตรออกแบบ
ความคุ้มครอง งานประดิษฐ์ งานประดิษฐ์ งานออกแบบ
ความใหม่ สืบค้นทั่วโลก สืบค้นแค่ในประเทศ สืบค้นทั่วโลก
ขั้นการประดิษฐ์ ดูขั้นการประดิษฐ์ ไม่พิจารณา ไม่พิจารณา
การประยุกต์ในเชิงอุตสาหกรรม มีการตรวจสอบ มีการพิจารณา ตรวจสอบ
ระยะเวลาคุ้มครองสูงสุด 20 ปี 10 ปี 10 ปี
ข้อดี 1.ความคุ้มครองยาวนาน

2.ทุกประเทศมีระบบสิทธิบัตร จึงได้รับการยอมรับมากกว่า

1.มีระยะเวลาพิจารณารวดเร็ว ประมาณ 4-11 เดือน

2.ไม่พิจารณาขั้นการประดิษฐ์ งานต่อยอดก็จดได้

1. การเตรียมคำขอไม่ซับซ้อน
ข้อเสีย 1.ระยะเวลาค่อนข้างนาน ประมาณ 1-3 ปี 1.ความคุ้มครอง สั้นกว่าสิทธิบัตรการประดิษฐ์

2.บางประเทศไม่มีระบบอนุสิทธิบัตร

1. ไม่คุ้มครองฟังก์ชั่น จึงแก้ไขดีไซน์บางส่วนก็กลายเป็นงานใหม่ได้

2.ระยะเวลาพิจารณาค่อนข้างนาน

2. ทำไมต้องจดสิทธิบัตร

ผลงานที่เกิดจากการประดิษฐ์ เรียกว่าอะไร

สิ่งสำคัญเกี่ยวกับการคุ้มครองด้วยสิทธิบัตร คือการเปลี่ยนทรัพย์สินที่ไม่มีตัวตน (Intangible asset) เช่น ความคิด ให้กลายเป็นสิทธิแต่เพียงผู้เดียวที่จับต้องได้ (executive right) ของผู้ยื่นจดทะเบียน ในระยะเวลาหนึ่ง

ผู้ประกอบการหรือ SME สามารถอ้างสิทธิความเป็นเจ้าของ เหนืองานประดิษฐ์ งานออกแบบผลิตภัณฑ์ได้อย่างชัดเจน และนั่นทำให้เราสามารถหาประโยชน์จากมันได้

แม้จะเป็นการคุ้มครองในช่วงระยะเวลาหนึ่ง แต่ถ้าผู้ประกอบการ หรือเจ้าของที่ไม่มีการปกป้องคุ้มครองโดยทรัพย์สินทางปัญญาอย่างถูกต้อง นั่นหมายถึงงานของเรา ไอเดียของเรา จะกลายเป็นสิ่งที่เป็นเสรี และผู้อื่นสามารถทำซ้ำ ได้อย่างถูกกฏหมาย

ตัวอย่างต่อไปนี้ เป็นข้อดีบางส่วน ของการจดสิทธิบัตร ได้แก่

  1. ทำให้เราสามารถรักษาตำแหน่งทางการตลาด (market position) และความสามารถทางการแข่งขัน ได้เป็นอย่างดี (competitive advantage ) กล่าวคือ สิทธิบัตรให้สิทธิแต่เพียงผู้เดียวแก่เจ้าของ ในการ ผลิต ขาย มีไว้เพื่อขาย หรือนำเข้าผลิตภัณฑ์ กรรมวิธี สูตร ตามสิทธิบัตร และนั่นก็หมายถึง การผูกขาดสิ่งที่จะทำให้เราได้เปรียบเหนือคู่แข่งไว้แต่เพียงผู้เดียว
  2. สร้างผลตอบแทนจากการลงทุน ศึกษาวิจัย ในรูปของสิทธิแต่งเพียงผู้เดียวในผลการวิจัย ลองคิดดูว่าถ้าลงทุนศึกษาวิจัยไปแล้ว ได้สิ่งใหม่ ที่จะช่วยพัฒนาธุรกิจเราได้ แต่ไม่มีการจดสิทธิบัตรไวสิ แน่นอนว่าเมื่อคู่แข่งเอาไปทำตาม งานวิจัยนับ 10 ปีที่ลงทุนไป ก็ไม่มีความหมายอะไร
  3. เป็นสิ่งแทนการซื้อขายแลกเปลี่ยน (Selling) หรืออนุญาตให้ผู้อื่นใช้ (Licensing) กล่าวคือ ไอเดียหรืองานประดิษฐ์ที่มีประโยชน์ มีมูลค่า สามารถขายได้ แต่อะไรจะเป็นหลักฐานที่ถูกต้องตามกฏหมาย ว่าเราได้ซื้อเทคโนโลยี หรือสิ่งประดิษฐ์นั้นมาจริงๆ แน่นอนว่าต้องเป็น สิทธิบัตร
  4. เพิ่มมูลค่าใช้กิจการ โดยในบางกรณี สิทธิบัตรนั้นช่วยเพิ่มมูลค่าของกิจการได้ อาทิ ราคาหุ้น ตัวอย่างเช่น หากเราทราบข่าวว่า Apple จดสิทธิบัตรเครื่องย้อนเวลา และมันได้รับจด แน่นอนว่าแม้ว่าเครื่องมันจะยังไม่ได้วางขาย แต่ราคาหุ้นหรือมูลค่ากิจการของ Apple ของพุ่งไปก่อนแล้ว
  5. เพื่อขยาย หรือ ควบรวมกิจการ โดยในบางกรณี อาทิ เราต้องการหานักลงทุน (VC) เราเดินเข้าไปบอกเค้าว่า ผมมีไอเดีย และไอเดียมันดีมากๆเลย มันคงจะดีถ้าเราบอกนักลงทุนไปด้วยว่า ผมเป็นเจ้าของแต่เพียงผู้เดียวในไอเดียนี้ด้วยสิทธิบัตร เท่านั้นเอง เราก็สามารถขยายกิจการได้ เป็นต้น หรือในมุมของการควบรวมกิจการ ในปัจจุบันบริษัทมักให้ความสำคัญไปที่ทรัพย์สินไม่มีตัวตนมากขึ้น มากกว่าจะมองว่า มีที่ดินเท่าไหร่ มีเครื่องจักรกี่เครื่อง ตัวอย่างเช่น ข้อมูลลูกค้า ความสามารถของพนักงาน ตลอดจนเทคโนโลยีที่ถือคลอง ซิ่งสิทธิบัตรก็เป็นหนึ่งในนั้น ซึ่งจะหลักพิจารณาหนึ่งว่า การควบรวมกิจการนี้เป็นสิ่งที่คุ้มค่าหรือไม่
  6. เพื่อเป็นรางวัลตอบแทนในความทุ่มเท สร้างสรรค์งานประดิษฐ์ให้กับผู้ประดิษฐ์หรือผู้ออกแบบ
  7. สร้างให้เกิดวัฒนธรรมในการสร้างสรรค์และประดิษฐ์สิ่งใหม่ เนื่องจากในการสร้างสรรค์ต้องมีการลงทุนและใช้งบประมาณ ดังนั้นรัฐจึงให้ผลตอบแทนกับผู้ที่ลงทุนด้วยสิทธิ์แต่เพียงผู้เดียวในงานประดิษฐ์ เพื่อจูงใจให้เกิดวัฒนธรรมในการสร้างสรรค์อย่างต่อเนื่อง

3. จดสิทธิบัตรด้วยตัวเองยากหรือง่าย

คำตอบคือ “ไม่ยาก” ครับ ถ้าเราเข้าใจโครงสร้างของคำขอรับสิทธิบัตรว่าประกอบด้วยหัวข้ออะไรบ้าง และรูปเขียนต้องทำอย่างไร และฝึกร่างบ่อยๆ ซึ่งผมจะมีอธิบายไว้ในบทความถัดไป ที่สำคัญเลยก็คือ ไม่มีใครเข้าใจงานประดิษฐ์ของเรา ดีเท่าตัวเราเอง

แต่สิ่งที่ “ยาก” ก็คือ การจดอย่างมีกลยุทธ์ โดยการจดสิทธิบัตรแบบมีกลยุทธ์ ผมได้ทำการสรุปสาระสำคัญที่ต้องคำนึงไว้เสมอ ขณะร่างคำขอ ดังนี้

  1. ต้องร่างคำขอรับสิทธิบัตรให้คุ้มครองการดัดแปลงแก้ไข แบบที่ตัวแทนสิทธิบัตรเรียกว่า ทำให้กว้างไว้ก่อน แต่ว่าจะกว้างแค่ไหนถึงจะมีความใหม่ หรือแคบแค่ไหนถึงมีความใหม่ สิ่งเหล่านี้ต้องมาจากผลการสืบค้นงานประดิษฐ์ก่อนหน้า เพื่อช่วยให้งานของเราได้รับจดทะเบียน
  2. ร่างคำขอรับสิทธิบัตรให้คนทั่วไป สืบค้นเจอได้ยาก ฟังดูอาจจะแปลก แต่ถ้าคนทั่วไปสืบค้นเจอได้ง่าย ก็จะสามารถอ่านรายละเอียดของงานเราและทำการดัดแปลงแก้ไขได้โดยง่าย เพราะฉะนั้น สิ่งสำคัญคือร่างให้สืบค้นไม่เจอแต่ว่าต้องสื่อถึงงานประดิษฐ์เช่นกัน
  3. ร่างคำขอสิทธิบัตรให้เข้าใจเฉพาะคนที่เราต้องการให้เข้าใจ ซึ่งคล้ายกับการสืบค้นเจอได้ง่ายในข้อ 2 ครับ คือสิทธิบัตรเนี่ยเราไม่จำเป็นต้องให้คนมาเข้าใจงานของเราทุกคนก็ได้ โดยคนที่ควรเข้าใจคือ ผู้ตรวจสอบ แต่คนที่ควรจะอ่านแล้วงงๆ ก็คือคู่แข่งของเรานั่นเอง เพราะในหลายครั้งเมื่อเราแจ้งเตือนการละเมิดไปให้คู่แข่ง ถ้าคู่แข่งสืบค้นกลับมาหาสิทธิบัตรของเรา แต่อ่านแล้วไม่เข้าใจว่าเป็นฉบับไหนที่คุ้มครองงานที่เราแจ้งเตือนไป แบบนี้ก็อาจจะทำให้เขาหามุมหลบเลี่ยงการละเมิดได้ยากขึ้น
  4. กำหนดเวลา ที่พลาดไม่ได้ โดยสิทธิบัตร เรื่องเวลาเป็นสิ่งสำคัญมาก เช่น เรามีเวลาแก้ไข 90 วัน ถ้าลืม คำขอนั้นก็จะตายไปทันที หรือการต่ออายุ การถือสิทธิย้อนหลังในต่างประเทศ การเปิดเผยก่อนวันยื่นจดทะเบียน สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่เราต้องบริการจัดการ ติดตาม เพื่อให้การจดสิทธิบัตรของเราไม่มีปัญหาในอนาคต

4. หัวใจสำคัญของการจดสิทธิบัตร

ผลงานที่เกิดจากการประดิษฐ์ เรียกว่าอะไร

แน่นอนว่า ถ้าถามว่าการจดสิทธิบัตตร อะไรคือสิ่งสำคัญที่สุด คำตอบก็คือ “ความคุ้มครอง

ความคุ้มครองสิทธิ์ในงานประดิษฐ์ สูตร กรรมวิธี หรืองานออกแบบ เป็นหัวใจสำคัญของการจดสิทธิบัตร ซึ่งถ้าเราเสียเงินไปอย่างแพง แต่งานเราไม่คุ้มครอง ก็เสียเงินเปล่า

ความคุ้มครอง ของสิทธิบัตรดูได้จาก “ข้อถือสิทธิ์” ซึ่งสิทธิบัตรการประดิษฐ์ สามารถมีได้ไม่จำกัดจำนวน, อนุสิทธิบัตร มีข้อถือสิทธิ์ได้ สูงสุด 10 ข้อ และ สิทธิบัตรออกแบบผลิตภัณฑ์ มีข้อถือสิทธิ์ได้ 1 ข้อ และในจำนวนข้อเหล่านั้น ก็จะแบ่งแยกย่อยเป็นข้อถือสิทธิ์หลัก และข้อถือสิทธิรองอีกต่างหาก

สำหรับการร่างขอบเขตข้อถือสิทธิ์นั้น ต้องถือว่าเป็นการใช้ชั้นเชิงทางภาษาพอสมควร และมีการเรียนการสอนกันแบบจริงจัง เฉพาะเรื่องการเขียนข้อถือสิทธิ์โดยเฉพาะ เพื่อให้ได้ขอบเขตการคุ้มครองที่ครอบคลุม มีความใหม่ และรองรับต่อการแก้ไขโดยผู้ตรวจสอบในอนาคต

สำหรับผู้ที่สนใจ ผมมีเขียนเรื่องข้อถือสิทธิ์ไว้ในบทความถัดๆไป ในซีรีย์ชุดการร่างสิทธิบัตรด้วยตัวเองไว้ด้วยครับ

5. หลักในการพิจารณาความใหม่

การพิจารณาว่าจะสามารถจดสิ่งประดิษฐ์ได้หรือไม่ ต้องดูว่ามีความใหม่เพียงพอหรือไม่ ต่อการเป็นสิทธิบัตร อนุสิทธิบัตรและสิทธิบัตรออกแบบผลิตภัณฑ์ โดยมีหลักการดังนี้

  1. ต้องไม่เหมือนหรือคล้ายกับงานประดิษฐ์ที่มีอยู่ก่อนหน้า รวมทั้งงานประดิษฐ์ที่อยู่ในฐานข้อมูลสิทธิบัตร ดูได้จากการสืบค้นข้อมูลสิทธิบัตร
  2. ต้องไม่เป็นงานประดิษฐ์ที่ให้กันแพร่หลายในราชอาณาจักร
  3. ต้องไม่มีการเปิดเผยสาระสำคัญก่อนวันที่ยื่นจดสิทธิบัตร ไม่ว่าจะเป็น วาระสาร สื่อ สิ่งพิมพ์ หรืองานแสดง ยกเว้นจะเป็นงานแสดงที่ทางราชการสามารถออกจดหมายรับรองให้ได้

ทั้งนี้ ก็อย่าพึ่งตกใจกันไป ถ้าเราได้มีการเปิดเผยงานไปแล้วก่อนวันยื่นจดทะเบียน โดยในความเป็นจริงนั้น การเปิดเผยที่จะทำให้สูญเสียความใหม่ ต้องเป็นการเปิดเผยสาระสำคัญของงาน เช่น ถ้าเป็นเครื่องจักร ก็ต้องเปิดเผยองค์ประกอบข้างใน กลไกการทำงาน เป็นต้น ดังนั้น ถ้าแค่เราถ่ายภาพเครื่องจักรลงเฟสบุค อาจจะไม่ถือว่าได้เปิดเผยสาระสำคัญก็ได้ ถ้าจริงๆแล้ว เราขอรับความคุ้มครององค์ประกอบเฉพาะ ภายในเครื่องจักรนั้น

6. สิ่งที่ไม่สามารถขอรับ สิทธิบัตร ได้

สำหรับประเทศไทย มีสิ่งที่ต้องพิจารณาเพิ่มเติม นอกจากหลักการเบื้องต้นในการเป็นสิทธิบัตรแล้ว นั่นก็คือข้อห้ามในการจดสิทธิบัตร

สิ่งต้องห้ามเหล่านี้ มีขึ้นก็เพิ่อเป็นการรักษามาตรฐานทางจริยธรรม หรือสิ่งที่ไม่ควรมีใครได้รับความคุ้มครองแต่เพียงผู้เดียวเอาไว้ โดยข้อห้ามเหล่านั้น ได้แก่

ผลงานที่เกิดจากการประดิษฐ์ เรียกว่าอะไร

สิ่งมีชีวิต

ส่วนประกอบหรือสารสกัดจากส่วนหนึ่งส่วนใดของ พืช สัตว์ หรือจุลชีพ จัดเป็นสิ่งที่มีอยู่แล้วตามธรรมชาติ การที่เราสกัดออกมานั้น ไม่ได้หมายความว่าเราเป็นเจ้าของสิ่งนั้น

กรรมวิธีการสกัดหรือวิธีการอื่นๆ ที่ทำให้ได้มาซึ่งส่วนประกอบของสิ่งมีชีวิตนั้นสามารถขอรับความคุ้มครองได้ เช่น เราเป็นเจ้าของน้ำมันดอกทานตะวันไม่ได้ แต่เราเป็นเจ้าของ วิธีการสกัดน้ำมันดอกทานตะวันได้

ผลงานที่เกิดจากการประดิษฐ์ เรียกว่าอะไร

กฏและทฤษฏี

ทฤษฎีและกฏเกณฑ์ที่พื้นฐานทางธรรมชาติ เช่น E=mc2, F=ma สิ่งเหล่านี้ถือว่าเป็นสิ่งที่มีอยู่แล้วตามธรรมชาติ มนุษย์เป็นเพียงผู้ค้นพบเท่านั้น ดังนั้นเราจึงไม่สามารถถือสิทธิ์ในสิ่งเหล่านี้ได้

สูตรทางคณิตศาสตร์ ที่เรานำมาใช้ในการคำนวน เช่น ในระบบการเงิน การธนาคาร หรือในตู้ ATM สามารถจดทะเบียนได้

ผลงานที่เกิดจากการประดิษฐ์ เรียกว่าอะไร

โปรแกรมคอมพิวเตอร์

โปรแกรมคอมพิวเตอร์จัดเป็นงานวรรณกรรมประเภทหนึ่ง ซึ่งจัดเป็นงานลิขสิทธิ์ ซึ่งจะได้รับความคุ้มครองอัตโนมัตินับจากวันที่เราได้สร้างสรรค์ โดยไม่จำเป็นต้องจดทะเบียน

โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ใช้ควบคุม Hardware เช่นควบคุมเครื่องจักร สามารถจดเป็ฯสิทธิบัตรประเภทงานระบบได้

ผลงานที่เกิดจากการประดิษฐ์ เรียกว่าอะไร

วิธีการรักษาโรค คนหรือสัตว์

การตรวจหรือรักษาโรคของคนและสัตว์ ไม่สามารถขอรับความคุ้มครองได้ เนื่องจากจะเป็นการจำกัดสิทธิการเข้าถึงการรักษาของมนุษย์ เช่น หากเรามีวิธีการรักษาโรคมะเร็งที่ดีมาก คงไม่เป็นการดีต่อสังคม ถ้าวิธีการรักษานั้นไม่สามารถใช้ในการรักษาได้อย่างอิสระ

วิธีการเสริมความงาม สามารถจดเป็นสิทธิบัตรได้

ผลงานที่เกิดจากการประดิษฐ์ เรียกว่าอะไร

ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรม

การประดิษฐ์ที่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมของประชาชน เช่น งานที่มีลักษณะโป๊ เปลือย หรือสะท้อนความรุนแรง เช่น อาวุธสงคราม ระเบิดหรือเครื่องมือฆ่าคน เป็นต้น

7. ขั้นตอนการจดสิทธิบัตร

ผลงานที่เกิดจากการประดิษฐ์ เรียกว่าอะไร

โดยปกติแล้ว ขั้นตอนการจดอนุสิทธิบัตร จะไม่มีความซับซ้อนมาก แค่ยื่นจดทะเบียนและรอเจ้าหน้าที่ตรวจและรับจดเท่านั้น จึงจะยังไม่ขอกล่าวในบทความนี้

ในบทความนี้ จะพูดถึงขั้นตอนการจดสิทธิบัตรการประดิษฐ์ ซึ่งมีความซับซ้อนกว่าอนุสิทธิบัตร โดยสามารถแบ่งเป็น 4 ช่วงใหญ่ๆ ดังนี้

  1. ขั้นตอนการยื่นคำขอ คำขอสิทธิบัตรที่ยื่นคำขอเข้ามาแล้ว เจ้าหน้าที่กรมทรัพย์สินทางปัญญาจะใช้เวลาวิเคราะห์คำขอเบื้องต้นประมาณ 10 เดือน เพื่อดูว่าคำขอดังกล่าวถูกหลักกฏหมายสิทธิบัตรหรือไม่ มีการตรวจแบบฟอร์มของเอกสาร ตรวจคำถูกผิด และจึงมีคำสั่งให้ประกาศโฆษณา ซึ่งเรามีหน้าที่ต้องยื่นเพื่อขอให้กรมทรัพย์สินทางปัญญา ประกาศโฆษณาคำขอของเราออกมา
  2. ข้ันตอนการประกาศโฆษณา เมื่อประกาศโฆษณาแล้ว เราก็สามารถที่จะนำไปแจ้งเตือนผู้ละเมิดไ หรือนำไปเสนอขายได้แล้ว เพราะว่ารายละเอียดการประดิษฐ์ได้ถูกเปิดเผยออกมาแล้ว และในระหว่างนี้ ผู้มีส่วนได้เสียจะสามารถยื่นคัดค้านงานประดิษฐ์เราได้ภายใน 90 วันหลังประกาศโฆษณา ถ้าพ้น 90 วันไปแล้วไม่มีคนคัดค้าน เราก็จะสามารถยื่นขอให้ผู้ตรวจสอบ ทำการตรวจค้นการประดิษฐ์ของเราได้
  3. ขั้นตอนการตรวจค้น เมื่อเราได้ยื่นเพื่อขอตรวจการประดิษฐ์แล้ว คำขอของเราจะถูกตรวจตามหลักเกณฑ์ของสิทธิบัตรการประดิษฐ์คือ การสืบค้นความใหม่ทั่วโลก การพิจารณาขั้นการประดิษฐ์ และการตรวจวัดความสามารถในการประยุกต์ใช้ในเชิงอุตสาหกรรม ซึ่งถ้าไม่มีปัญหาอะไร ก็จะมีคำสั่งให้รับจดทะเบียน
  4. ขั้นตอนการรับจดทะเบียน เมื่อมีคำสั่งรับจดทะเบียน นั่นแปลว่าคำขอของเราได้รับจดเป็นที่เรียบร้อย มีสิทธิความคุ้มครองเต็ม 100% สามารถแจ้งเอาผิดผู้ละเมิด หรือใช้ในการซื้อขาย แลกเปลี่ยนได้อย่างสะดวกมากยิ่งขึ้นนั่นเอง

8. สิทธิบัตร จ้างทำได้หรือไม่?

“ได้ครับ” เพราะ ATPSERVE ก็เป็นบริษัทที่ปรึกษา ซึ่งรับจ้างจดสิทธิบัตรเช่นกัน แต่คำถามที่สำคัญคือ จ้างแล้วได้อะไร จ้างแล้วคุ้มค่าหรือเปล่า หรือกรณีไหนที่ควรจ้าง

การจ้างจดสิทธิบัตร ข้อดีก็คือ เราไม่ต้องทำเอง ไม่ต้องวุ่นวาย โดยมีผู้เชี่ยวชาญในการร่างคำขอและจัดการขอบเขตสิทธิให้กับเรา และไม่ต้องกลัวลืมเรื่องเอกสารที่เยอะแยะมากมาย เช่น คำสั่งแก้ไข คำสั่งต่ออายุ เป็นต้น

ส่วนข้อด้อยก็คือ การจ้างมาพร้อมราคาค่าบริการที่ต้องจ่ายเพิ่ม และในบางงานที่มีความซับซ้อน ตัวแทนสิทธิบัตรเองก็อาจจะไม่เข้าใจดีเท่ากับเจ้าของงาน ทำให้ร่างออกมาแล้ว อาจจะพลาดประเด็นสำคัญไปได้

เมื่อไหร่ ถึงควรจ้างบริษัทที่ปรึกษาในการจดสิทธิบัตร?

  1. กรณีที่งานมีความเร่งด่วน การจ้างผู้เชี่ยวชาญ จะช่วยลดปัญหาความผิดพลาด ในเรื่องเอกสารและความคุ้มครองที่ได้รับ
  2. กรณีงานมีความเหมือนคล้ายกับงานเดิมสูง การร่างเอง อาจทำให้เราชี้ข้อแตกต่างจากงานก่อนหน้า หรือออกแบบข้อถือสิทธิ์ได้ไม่ดีพอ ทำให้ไม่ได้รับจด เนื่องจากทับซ้อนกับงานเดิม
  3. กรณีงานมีความเสี่ยง (liability) สูง เช่น การยื่นจดในต่างประเทศ ซึ่งมีค่าใช้จ่ายสูง ถ้าพลาดไม่ได้รับจดมาเท่ากับเสียเงินไปฟรีๆ หรืองานที่สำคัญกับธุรกิจมากๆ ถ้าขอบเขตความคุ้มครองไม่ดีพอ อาจเกิดการละเมิดหรือถูกฟ้องร้องได้
  4. กรณีที่เราไม่มีเวลาจัดการและมีงบประมาณเพียงพอ ซึ่งตรงตัวครับ ก็คือถ้ามีงบไว้และไม่อยากทำเอง ก็ให้บริษัทที่ปรึกษาทำแทนครับ จะได้ไม่วุ่นวาย

ทั้งนี้ ทั้งนั้น ก็ขึ้นอยู่กับความจำเป็น ณ ขณะนั้นๆด้วยนะครับ ถ้าเรามีคนในองค์กรที่มีความเชี่ยวชาญอยู่แล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องจ้างก็ได้ หรือถ้าเรามีเวลาในการเรียนรู้และไม่เร่งรีบ การค่อยๆเรียนรู้ไป จะช่วยให้เรายื่นจดได้ด้วยตัวเอง โดยไม่ต้องเสียเงินอีกมากในอนาคต

9. ถ้าอยากจ้างทำอย่างไร?

บริษัทที่ปรึกษาด้านทรัพย์สินทางปัญญาในประเทศไทย มีมากมาย และหลายราคา ขึ้นอยู่กับความพึงพอใจของผู้ใช้บริการและความเชี่ยวชาญของที่ปรึกษาครับ

ผมอาจไม่สามารถบอกได้ว่า ที่ไหนดีที่สุด เพราะทุกที่ต่างมีประสบการณ์และมาตรฐานการให้บริการที่เฉพาะตัว เอาเป็นว่าสิ่งสำคัญที่ต้องพิจารณาว่าเราอยากจะจ้างให้ใครเป็นที่ปรึกษา ให้ลองวิเคราะห์ดังนี้

  1. ความเข้าใจ หรือก็คือความเชี่ยวชาญในสาขาวิทยาการนั้นๆ ของทีมที่ปรึกษา สังเกตุง่ายๆ ว่า ถ้าเราถามประเด็นที่เกี่ยวกับงานประดิษฐ์ไป ที่ปรึกษาสามารถแนะนำวิธีการคุ้มครอง หรือการแก้ปัญหาของเราได้เข้าใจ ตรงประเด็น ชัดเจนหรือเปล่า
  2. ความเข้ากันได้ หรือมาตรฐานการบริการ เพราะการเลือกที่ปรึกษา เหมือนการเลือกผู้ช่วยส่วนตัว ซึ่งต้องสามารถให้บริการเราได้อย่างเต็มที่ ถ้าคุยกันถูกคอ มี service mind แบบนี้ในอนาคตถ้ามีปัญหา ก็สามารถยกหูหากันได้สะดวก
  3. บริการหลังการขาย เนื่องจากสิทธิบัตร ไม่ใช่การจ้าง ยื่นและจบ มันจะต้องมีการติดตามผลและโต้ตอบกับกรมทรัพย์สินทางปัญญา และอยู่กับเราไปอีกเกือบเท่าอายุสิทธิบัตร (ถ้าเราไม่เปลี่ยนเจ้า) ดังนั้น อยากให้ลองถามว่า หลังจากยื่นแล้วทำอะไรต่อ และหลังจากรับจดแล้วทำอะไรต่อให้บ้าง เพื่อที่เราจะได้ไม่ตกใจหรือเสียเงินทีหลัง เมื่อเวลานั้นมาถึง
  4. บริการเสริม ซึ่งไม่ใช่สาระอะไรมากเกี่ยวกับการจดสิทธิบัตรนะครับ แต่เป็นบริการอื่นๆ ที่จะมีขึ้น เช่น การเข้าร่วมสัมมนาฟรี หรือสิทธิพิเศษของลูกค้า เป็นต้น ไหนๆจะจ้างทั้งที ก็ต้องเอาให้คุ้มถูกไหมครับ
  5. ราคา แน่นอนว่า ราคาไม่ใช่ทุกอย่าง แต่ก็ไม่ควรมองข้าม ราคา โดยให้พิจารณาราคาที่เรารับได้ เมื่อเทียบกับคุณค่าที่เราได้รับ

สรุป

สิทธิบัตร คือเอกสารสิทธิ์ที่รัฐออกให้เพื่อเป็นหลักฐานในความเป็นเจ้าของให้กับผู้ประดิษฐ์ ในสิทธิความเป็นเจ้าของแต่เพียงผู้เดียว ในระยะเวลาที่จำกัด โดยแลกกับการเปิดเผยสาระสำคัญของงานประดิษฐ์ โดยสิทธิบัตรแบ่งเป็น 3 ประเภทคือ สิทธิบัตรการประดิษฐ์ อนุสิทธิบัตรและสิทธิบัตรออกแบบผลิตภัณฑ์ มุ่งเน้นคุ้มครองสิ่งประดิษฐ์ องค์ประกอบทางวิศวะกรรม กระบวนการผลิต สูตร และงานออกแบบเชิงอุตสาหกรรม

สิทธิบัตร นอกเหนือจากการให้ความคุ้มครองงานประดิษฐ์และงานออกแบบเชิงอุตสาหกรรมแล้ว สิทธิบัตรยังมีประโยชน์ในด้านอื่นๆ เช่น การสร้างความได้เปรียบเหนือคู่แข่ง การเป็นเครื่องมือในการซื้อขาย แลกเปลี่ยนงานประดิษฐ์ ตลอดจนสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับธุรกิจได้

การจดสิทธิบัตรด้วยตัวเอง มีข้อดีคือไม่ต้องเสียค่าบริการส่วนเพิ่มให้กับที่ปรึกษา และยังสามารถเข้าใจในงานประดิษฐ์ได้อย่างชัดเจน เพราะเป็นงานของตนเอง แต่ถึงอย่างไร การจ้างที่ปรึกษาเพื่อจดสิทธิบัตร อาจช่วยเราในด้านของกลยุทธ์ด้านความคุ้มครอง ความเร่งรีบหรืองานที่มีความเสี่ยงในการละเมิดสูง

อย่างไรก็ดี สิทธิบัตร เป็นเพียงทรัพย์สินทางปัญญาประเภทหนึ่งเท่านั้น ซึ่งสินค้าหนึ่งประเภทอาจประกอบด้วยทรัพย์สินทางปัญญมามากกว่า 1 ชนิด โดยการคุ้มครองที่ดีที่สุด คือการออกแบบความคุ้มครองสินค้าหรือบริการ ด้วยทรัพย์สินทางปัญญาที่ถูกประเภทและครอบคลุม

เพิ่มเติม

  • ความเหมือนและความต่างของสิทธิบัตรประเภทต่างๆ กรมทรัพย์สินทางปัญญา
  • สิทธิบัตรคืออะไร กรมทรัพย์สินทางปัญญา
  • สิทธิบัตรและอนุสิทธิบัตร มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • ขั้นตอนการจดสิทธิบัตรการประดิษฐ์ กรมทรัพย์สินทางปัญญา

admin2021-09-14T22:54:17+07:00

แชร์เนื้อหาที่น่าสนใจนี้

Page load link

เว็บไซต์ของเรามีการเก็บ cookies ซึ่งเก็บข้อมูลว่าคุณใช้งานเว็บไซต์ของเราอย่างไรและช่วยให้เราจดจำคุณได้ เราใช้ข้อมูลนี้เพื่อการวิเคราะห์และนำมาสู่การทำให้ประสบการณ์การใช้เว็บไซต์ดียิ่งขึ้น (อ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ privacy policy) Settings ยอมรับ

Go to Top