การผลิตสื่อสิ่งพิมพ์มีกี่ขั้นตอนอะไรบ้าง

สื่อสิ่งพิมพ์ คือ สื่อประเภทหนึ่งที่ทำหน้าที่นำเสนอข้อมูลข่าวสาร,เนื้อหาต่างๆ หรือวัสดุประเภทกระดาษที่มีการพิมพ์ข้อมูลและรูปภาพ มีทั้งแบบที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ ซึ่งจะมีลักษณะการใส่ข้อความ รูปภาพ หรือสีสัน ตามแต่ละวัตถุประสงค์ของผู้ใช้งานที่ต่างกันไป

การผลิตสื่อสิ่งพิมพ์ที่พิมพ์ลงบนกระดาษ 5 ประเภท

1. สื่อสิ่งพิมพ์ประเภทหนังสือ

เป็นสื่อสิ่งพิมพ์ที่มีเนื้อหาหรือข้อมูลที่ให้ความรู้ เช่น หนังสือเรียน หนังสือสารคดี หรือหนังสือที่ให้ความรู้ในเรื่องต่างๆ เพื่อสื่อให้ผู้อ่านเข้าใจความหมาย

2. สื่อสิ่งพิมพ์เพื่อเผยแพร่ข่าวสาร

เป็นสื่อสิ่งพิมพ์ที่เน้นให้ข้อมูลข่าวสารหรือประชาสัมพันธ์ แบ่งออกเป็น

– นิตยสาร วารสาร คือ สื่อสิ่งพิมพ์ที่นำเสนอข้อมูลข่าวสาร ความบันเทิง โดยจะเน้นการออกแบบที่สวยงามและโดดเด่น ดูสะดุดตา น่าสนใจ

– จุลสาร คือ สื่อสิ่งพิมพ์ขนาดเล็กที่ไม่ใช่วารสารที่นำเสนอข้อมูลความรู้ต่างๆ ให้กับผู้อ่านหรือผู้ที่สนใจ มักมีการพิมพ์ออกเผยแพร่ในโอกาสพิเศษ

– หนังสือพิมพ์ คือ สื่อสิ่งพิมพ์ที่นำเสนอข่าวสารในรูปแบบเนื้อหารายละเอียดและรูปภาพ มีทั้งหนังสือพิมพ์แบบรายวัน รายสัปดาห์ และรายเดือน

– โปสเตอร์ คือ สื่อสิ่งพิมพ์เพื่อการโฆษณา เป็นลักษณะแผ่นใหญ่เพื่อให้ดูโดดเด่นและดึงดูดความสนใจ นิยมนำไปติดตามสถานที่ต่างๆ ที่สามารถมองเห็นได้ง่าย

– ใบปลิว คือ สื่อสิ่งพิมพ์ที่ให้ข้อมูลแบบแผ่นเดียว ส่วนใหญ่มักพิมพ์ด้วยกระดาษขนาด A4 เพื่อให้ง่ายต่อการนำไปใช้

– แผ่นพับ คือ สื่อสิ่งพิมพ์ที่มีลักษณะเป็นแผ่นที่มีการพับ เนื้อหาหรือข้อมูลจะเป็นการสรุปใจความสำคัญ หรือเป็นข้อความอธิบายสั้นๆ

– โบรชัวร์ คือ สื่อสิ่งพิมพ์ที่นำเสนอข้อมูลเพื่อการโฆษณาสินค้า ในความหมายภาษาอังกฤษจริงๆนั้น Brochure มักใช้กับสิ่งพิมพ์ที่มีเนื้อหาค่อนข้างมาก อาจเป็นตั้งแต่แบบแผ่นพับขึ้นไป จนถึงแบบที่เย็บเล่มหลายๆหน้า อย่างเช่นแคตตาล็อกสินค้า เป็นต้น แต่คนไทยคำว่าโบรชัวร์มักใช้เป็นคำที่ใช้เรียกสิ่งพิมพ์โฆษณา-ประชาสัมพันธ์ แบบรวมๆ ทั้งแบบที่เป็น ใบปลิว แผ่นพับ แคตตาล็อก

3. สื่อสิ่งพิมพ์เพื่อการบรรจุภัณฑ์

เป็นสิ่งพิมพ์ที่ใช้ห่อหุ้มผลิตภัณฑ์หรือสินค้า แยกเป็นสิ่งพิมพ์หลัก คือสิ่งพิมพ์ที่ใช้ปิดรอบตัวสินค้า และสิ่งพิมพ์รอง คือสิ่งพิมพ์ที่เป็นกล่องบรรจุหรือลัง

4. สื่อสิ่งพิมพ์มีค่า

คือสื่อสิ่งพิมพ์ที่นำไปใช้เป็นหลักฐานสำคัญตามกำหนดกฎหมาย เช่น พรบ หนังสือประกัน บัตรเครดิต หนังสือเดินทาง  ฯลฯ

5. สื่อสิ่งพิมพ์ลักษณะพิเศษ

คือประเภทของสื่อสิ่งพิมพ์ที่ผลิตขึ้นตามลักษณะพิเศษแล้วแต่การใช้งาน เช่น นามบัตร ปฏิทิน สิ่งพิมพ์พิเศษบนแก้วหรือบนผ้า เป็นต้น

 
สนใจผลิตติดต่อ
Tel.     080-0510786
Email :

สาระน่ารู้

การผลิตสื่อส่งพิมพ์

     การผลิตสื่อสิ่งพิมพ์ เป็นกระบวนการจัดทำเครื่องมือเผยแพร่ประชาสัมพันธ์กิจการของหน่วยงาน ซึ่งมีหลายประเภท เช่น จุลสาร วารสาร นิตยสาร จดหมายข่าว แผ่นพับ หนังสือพิมพ์ หนังสือเล่ม ฯลฯ สื่อสิ่งพิมพ์แต่ละประเภทจะมีรูปแบบและวัตถุประสงค์ในการจัดทำแตกต่างกัน การเลือกผลิตสื่อสิ่งพิมพ์ที่เหมะสมกับนโยบายและวัตถุประสงค์ของหน่วยงาน จะช่วยให้หน่วยงานสามารถเผยแพร่และประชาสัมพันธ์กิจการของตนได้อย่างมีประสิทธิภาพ บรรลุผลตามวัตถุประสงค์ สื่อสิ่งพิมพ์ที่สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาตินิยมใช้ ได้แก่ แผ่นพับ หนังสือนำชม หนังสือเล่ม โดยแต่ละรูปแบบสามารถสื่อสารข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดแตกต่างกัน สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติเลือกเผยแพร่กิจการด้านต่าง ๆ ตามลักษณะเฉพาะของสื่อสิ่งพิมพ์แต่ละประเภท ดังนี้ 

     แผ่นพับ (Brochure) หรือสื่อสิ่งพิมพ์ที่ใช้กระดาษแผ่นเดียว พิมพ์ข้อความเกี่ยวกับหน่วยงาน เรื่องราวเกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เพื่อแจกจ่ายเฉพาะกิจ หรือทำถาวรไว้แจกจ่ายเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับหน่วยงานนั้น ๆ  เช่น แผ่นพับแนะนำการค้นคว้าเอกสารจดหมายเหตุ แผ่นพับแนะนำหอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช

การผลิตสื่อสิ่งพิมพ์มีกี่ขั้นตอนอะไรบ้าง

แผ่นพับใช้เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับหน่วยงาน

     หนังสือนำชม (Guide book) หรือสื่อสิ่งพิมพ์เย็บเล่มเฉพาะกิจ ที่มุ่งเสนอข่าวสารเป็นการเฉพาะคล้ายแผ่นพับ แต่มีปริมาณเนื้อหามากกว่าที่บรรจุในแผ่นพับ เช่น หนังสือนำชมสำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ หนังสือนำชมนิทรรศการ 

การผลิตสื่อสิ่งพิมพ์มีกี่ขั้นตอนอะไรบ้าง

หนังสือนำชมกิจการของสำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ

การผลิตสื่อสิ่งพิมพ์มีกี่ขั้นตอนอะไรบ้าง

หนังสือนำชมนิทรรศการ สายสัมพันธ์ไทย – รัสเซีย

     หนังสือเล่ม (Book) หรือสื่อสิ่งพิมพ์เย็บเล่มที่มีเนื้อหาเฉพาะเรื่อง เป็นเรื่องเดียวกันอย่างละเอียดทั้งเล่ม ส่วนใหญ่จะเป็นข้อมูลทางวิชาการเพื่อการศึกษา เช่น หนังสือจดหมายเหตุเฉลิมพระเกียรติ สมุดภาพจดหมายเหตุ ตำราวิชาการจดหมายเหตุ 

การผลิตสื่อสิ่งพิมพ์มีกี่ขั้นตอนอะไรบ้าง

หนังสือเล่มใช้เผยแพร่ข้อมูลในเอกสารจดหมายเหตุ

การผลิตสื่อสิ่งพิมพ์ ประเภทแผ่นพับ หนังสือนำชม และหนังสือเล่ม มีขั้นตอนการผลิตที่เหมือนกันดังนี้

     ๑. ศึกษานโยบายการบริหารงานของหน่วยงาน 

     ๒. กำหนดคุณลักษณะของสื่อสิ่งพิมพ์ 

     ๓. กำหนดขั้นตอนการดำเนินงาน

     ๔. จัดทำโครงการผลิตสื่อสิ่งพิมพ์

     ๕. ขออนุมัติดำเนินโครงการและจัดสรรงบประมาณ 

     ๖. แต่งตั้งคณะกรรมการหรือคณะทำงาน

     ๗. ประชุมคณะกรรมการหรือคณะทำงาน

     ๘. ปฏิบัติตามขั้นตอนการดำเนินงานของโครงการ

ขั้นตอนการผลิตสื่อสิ่งพิมพ์ ประเภทแผ่นพับ หนังสือนำชม และหนังสือเล่ม

     ๑. ศึกษานโยบายการบริหารงานของหน่วยงาน เพื่อกำหนดวัตถุประสงค์ กลุ่มเป้าหมาย งบประมาณ และระยะเวลาดำเนินการ

     การจัดทำสื่อสิ่งพิมพ์ จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องศึกษานโยบายการบริหารงานของหน่วยงาน เพื่อจะได้วางแผนการผลิตให้สัมพันธ์และตอบสนองความต้องการของหน่วยงาน ได้แก่ กำหนดวัตถุประสงค์ที่แสดงให้เห็นว่าหน่วยงานจะได้ประโยชน์จากการผลิตสื่อสิ่งพิมพ์เผยแพร่อย่างไร ซึ่งจะนำไปสู่การกำหนดกลุ่มเป้าหมาย หรือกลุ่มที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับหน่วยงาน ซึ่งความคิดเห็นหรือพฤติกรรมของกลุ่มต่างๆ จะมีผลต่อการปฏิบัติงานของหน่วยงานไม่มากก็น้อย หรือเป็นกลุ่มที่หน่วยงานต้องการติดต่อด้วยโดยตรง เช่น สื่อมวลชน นักวิจัย กลุ่มคนในชุมชน และการกำหนดงบประมาณ ซึ่งจะเป็นเงื่อนไขให้ต้องดำเนินงานในระยะเวลาจำกัดต่อไป

     ๒. กำหนดคุณลักษณะของสื่อสิ่งพิมพ์ เพื่อเป็นมาตรฐานการจัดจ้างผู้รับจ้างพิมพ์ หรือโรงพิมพ์ มีสิ่งที่ต้องพิจารณาดังนี้

          ๒.๑ ขนาด สามารถจำแนกขนาดสื่อสิ่งพิมพ์ ได้ดังนี้

               ๒.๑.๑ แผ่นพับ เป็นสื่อสิ่งพิมพ์เดี่ยว คือ ใช้พื้นที่หน้า-หลังของกระดาษเท่านั้น และอาศัยการพับทบไปมาขึ้นเป็นการรวมเล่ม และแบ่งเป็นหน้า ๆ ไม่นิยมจัดพิมพ์แผ่นพับขนาดใหญ่มาก ขนาดที่นิยมจะเป็นขนาด 8 หน้ายก A4 (8 1/4 นิ้ว x 11 3/4 นิ้ว)

               ๒.๑.๒ หนังสือนำชม เป็นสื่อสิ่งพิมพ์เย็บเล่มเล็ก ๆ ขนาดที่นิยมจะเป็นขนาด 16 หน้ายกธรรมดา หรือขนาดพอกเก็ตบุ๊ค (5 x 7 1/2 นิ้ว)

               ๒.๑.๓ หนังสือเล่ม เป็นสื่อสิ่งพิมพ์เย็บเล่ม ที่ให้ความรู้ความเข้าใจในเรื่องต่าง ๆ อย่างละเอียด จึงมีหลายขนาดตามความเหมาะสมของเนื้อหา ขนาดที่นิยมได้แก่

                ๑) ขนาด 8 หน้ายกธรรมดา (7 1/2 นิ้ว x 101/4 นิ้ว)

                ๒) ขนาด 8 หน้ายก A4 (8 1/4 นิ้ว x 11 3/4 นิ้ว)

                ๓) ขนาด 16 หน้ายกธรรมดา หรือขนาดพอกเก็ตบุ๊ค (5 x 7 1/2 นิ้ว)

          ๒.๒ ชนิดของวัสดุที่ใช้ ได้แก่ กระดาษ ซึ่งเป็นวัสดุรองรับการพิมพ์ที่มีคุณสมบัติเฉพาะต่าง ๆ กันออกไปตามชนิดของกระดาษ การเลือกใช้ให้เหมาะสมกับลักษณะงานพิมพ์จึงเป็นสิ่งสำคัญ โดยทั่วไปจำแนกกระดาษได้เป็น ๒ ประเภท คือ

               ๒.๒.๑ จำแนกตามน้ำหนักมาตรฐาน

                    ๑) กระดาษพิมพ์ไบเบิล 26 – 35 กรัมต่อตารางเมตร

                    ๒) กระดาษพิมพ์น้ำหนักเบา 35 – 60 กรัมต่อตารางเมตร

                    ๓) กระดาษพิมพ์ทั่วไป 60 – 90 กรัมต่อตารางเมตร

                    ๔) กระดาษแข็ง 200 กรัมต่อตารางเมตร

               ๒.๒.๒ จำแนกตามลักษณะผิวกระดาษ

                    ๑) กระดาษเคลือบผิว หรือกระดาษอาร์ต ลักษณะมีผิวเรียบและขาวเนื่องจากถูกเคลือบไว้ด้วยสารเคลือบผิว มี ๓ ชนิด ได้แก่ กระดาษเคลือบด้าน กระดาษเคลือบเรียบด้าน และกระดาษเคลือบมันวาว คุณสมบัติสามารถซับหมึกได้ดี พิมพ์งานให้สีสดใส จึงนิยมใช้พิมพ์งานที่ต้องการคุณภาพของสีและความคงทน ขนาดที่นิยมใช้คือ

    • ขนาด 80 – 120 กรัม/ตารางเมตร เหมาะสำหรับพิมพ์เนื้อในหนังสือ
    • ขนาด 140 – 260 กรัม/ตารางเมตร เหมาะสำหรับพิมพ์ปกหนังสือ
    • ขนาด 120 – 210 กรัม/ตารางเมตร เหมาะสำหรับพิมพ์โปสเตอร์
    • ขนาด 120 – 160 กรัม/ตารางเมตร เหมาะสำหรับพิมพ์แผ่นพับ

                    ๒) กระดาษไม่เคลือบผิว ลักษณะมีความเรียบน้อยกว่ากระดาษเคลือบผิว มีหลายชนิด แต่ละชนิดเหมาะกับงานพิมพ์ต่างกันออกไป เช่น

    • กระดาษการ์ด เป็นกระดาษมีน้ำหนักเกินกว่า 100 กรัม/ตารางเมตรขึ้นไป เนื้อกระดาษขาวกว่ากระดาษอาร์ต แต่ผิวไม่มันจึงดูดหมึกได้ดี ใช้พิมพ์ สื่อสิ่งพิมพ์ที่ต้องการความแข็งแรง ทนทานมากกว่าธรรมดา เช่น ปกหนังสือ
    • กระดาษปอนด์ เป็นกระดาษเนื้อด้านสีขาว ไม่เหลืองกรอบไปตามกาลเวลา จึงนิยมใช้พิมพ์เป็นเนื้อในของหนังสือ
    • กระดาษปรู๊ฟ เป็นกระดาษสีไม่ขาวจัดสีจะเข้มขึ้นและเหลืองกรอบไปตามกาลเวลา มีหลายสีนอกจากสีขาว เหมาะกับงานพิมพ์ใช้งานชั่วคราวที่มีงบประมาณจำกัดและไม่จำเป็นต้องใช้งานนาน เช่น ใบปลิว

          ๒.๓ จำนวนหน้า สื่อสิ่งพิมพ์แต่ละประเภทจะกำหนดจำนวนหน้าไว้เป็นลักษณะเฉพาะ เช่น แผ่นพับมีจำนวน ๑ แผ่น หรือ ๒ หน้า (หน้า – หลัง) หนังสือคู่มือมีจำนวนอย่างน้อย ๕ หน้า แต่ไม่เกิน ๔๘ หน้า ส่วนหนังสือเล่มต้องบรรจุเนื้อหาของเรื่องราวต่าง ๆ อย่างละเอียด จึงมีจำนวนหน้าได้อย่างไม่จำกัด

          ๒.๔ จำนวนสี ที่ต้องการพิมพ์ ได้แก่ พิมพ์ ๑ สี พิมพ์มากกว่า ๑ สี (แต่ไม่ใช่สี่สี) และพิมพ์สี่สี งานพิมพ์ ส่วนใหญ่นิยมพิมพ์สี่สี เพื่อให้งานพิมพ์มีสีเป็นธรรมชาติเหมือนต้นฉบับ และใช้สีดำเป็นสีของตัวอักษร เพราะอ่านง่ายที่สุด 

          ๒.๕ ลักษณะความซับซ้อนของงาน ซึ่งไม่อาจทำได้ด้วยเครื่องพิมพ์ เช่น การใส่กลิ่น

          ๒.๖ ลักษณะการเข้าเล่มของสื่อสิ่งพิมพ์ประเภทหนังสือ โดยทั่วไปแบ่งการเข้าเล่มเป็น ๒ วิธี คือ

               ๒.๖.๑ การเข้าเล่มแบบปกอ่อน เป็นการเข้าเล่มที่ใช้ปกที่มีน้ำหนักมากกว่าน้ำหนักของกระดาษเนื้อในประมาณ ๒ เท่า วิธีการเข้าเล่มแบบนี้ ทำได้หลายวิธีตามความเหมาะสมของงาน ได้แก่

    • เย็บมุงหลังคา เป็นวิธีที่ง่าย สะดวกที่สุด และมีต้นทุนการผลิตต่ำ เหมาะสำหรับหนังสือที่มีความหนาไม่เกิน ๑๐๐ หน้า เช่น หนังสือคู่มือ หนังสือแนะนำ 
    • เย็บสัน เหมาะสำหรับหนังสือที่หนาเกิน ๑๐๐ หน้า แต่ไม่เกิน ๑ เซนติเมตร และต้องการมีข้อความที่สันปก ปัจจุบันวิธีนี้นิยมใช้น้อยลง เพราะสันจะไม่เรียบ ปกหลุดง่าย และเปิดอ่านได้ยาก
    • ไสกาว วิธีนี้มีข้อดี คือ ไม่จำกัดความหนาของหนังสือ เปิดอ่านได้ง่าย ทำได้รวดเร็ว สวยงาม สันปกเรียบ แต่ก็มีข้อเสีย คือ ถ้าทากาวไม่ดีหรือปิดปกไม่แน่น หนังสือจะหลุดมาเป็นแผ่น ๆ ได้ง่าย 
    • เย็บกี่ – ไสกาว เป็นวิธีเข้าเล่มที่ดีที่สุด แพงที่สุด ใช้ได้กับหนังสือปกอ่อนและปกแข็ง

การผลิตสื่อสิ่งพิมพ์มีกี่ขั้นตอนอะไรบ้าง

หนังสือปกแข็งที่เข้าเล่มแบบเย็บกี่-ไสกาว

               ๒.๖.๒ การเข้าเล่มแบบปกแข็ง เหมาะสำหรับหนังสือที่ต้องการความคงทนสูง ซึ่งต้นทุนในการผลิตก็จะสูงตามด้วย

          ๒.๗ จำนวนพิมพ์ ในปัจจุบันนิยมใช้ระบบออฟเซต สำหรับการพิมพ์หนังสือทั่วไป เพราะสะดวก รวดเร็ว คุณภาพดี แต่มีต้นทุนในการผลิตแม่พิมพ์ (เพลท) สูง    หากพิมพ์น้อยกว่า ๓,๐๐๐ เล่ม จะมีราคาแพงกว่าพิมพ์ด้วยระบบอื่น เช่น ระบบเลตเตอร์เพรส

          ๒.๘ องค์ประกอบของสื่อสิ่งพิมพ์ ที่ต้องการให้จัดทำเป็นลักษณะเฉพาะหรือจัดทำเพิ่มเติม ส่วนที่ให้จัดทำเป็นลักษณะเฉพาะ เช่น ส่วนของปก ให้จัดทำ

  • ใบพาดปก พิมพ์ด้วยกระดาษอาร์ตด้าน 130 กรัม/ตารางเมตร
  • ใบหุ้มปกแข็ง พิมพ์ด้วยกระดาษอาร์ตด้าน 128 กรัม/ตารางเมตร อาบ PVC ด้าน ปั๊มทอง ๒ ตำแหน่ง ปกแข็งใช้กระดาษเบอร์ ๓๒
  • ใบหุ้มปก (Jacket) พิมพ์ด้วยกระดาษอาร์ตมัน 128 กรัม/ตารางเมตร พับเข้าขนาด 3 นิ้ว ทั้งปกหน้าและปกหลัง อาบ PVC ด้าน ปั๊มทอง ๒ ตำแหน่ง ส่วนที่ให้เพิ่มเติม เช่น จัดทำซีดีและกล่องใส่หนังสือ

          ๒.๙ การตกแต่งหลังพิมพ์ เช่น การเดินทองและปั๊มนูน ส่วนมากใช้กับตัวอักษร และตรา ที่ประกอบบนปกหนังสือ การอาบพลาสติก และการเคลือบพลาสติก ซึ่งนิยมใช้กับงานปก

          ๒.๑๐ ระยะเวลาพิมพ์ พิจารณาจาก จำนวนพิมพ์ เวลาในการเตรียมต้นฉบับ เวลาในการตรวจปรู๊ฟ ความยุ่งยากในการพิมพ์ ต้องการตรวจสอบอย่างเข้มงวด ข้อจำกัดของเครื่องจักรในการพิมพ์และทำเล่ม ลักษณะความซับซ้อนของงานซึ่งไม่อาจทำด้วยเครื่องจักร

          ๒.๑๑ การจัดส่งสื่อสิ่งพิมพ์แก่หน่วยงานต่าง ๆ

     ๓. กำหนดขั้นตอนการดำเนินงาน ประกอบด้วย

          ๓.๑ การสอบค้นข้อมูลเบื้องต้น จากการอ่าน การฟัง ประสบการณ์ของตัวเอง และแหล่งข้อมูลข่าวสารที่น่าเชื่อถือได้ เพื่อให้ทราบปริมาณของเนื้อหาอย่างคร่าว ๆ กรณีของนักจดหมายเหตุ เมื่อทราบวัตถุประสงค์ของการจัดทำสื่อสิ่งพิมพ์แล้ว ต้องสอบค้นข้อมูลจากเอกสารจดหมายเหตุทุกประเภทและเอกสารดำเนินงานของสำนักหอจดหมายเหตุ (กรณีจัดทำหนังสือนำชมกิจการ) แล้วจึงสอบค้นข้อมูลจากหนังสือ หรือสัมภาษณ์ เพื่อเสริมให้เนื้อหามีความหลากหลายและสมบูรณ์ขึ้น  

          ๓.๒ จัดทำเนื้อหา รูปแบบของเนื้อหา สื่อสิ่งพิมพ์แต่ละประเภทจะมีรูปแบบการนำเสนอเนื้อหาแตกต่างกัน ดังนี้ 

     แผ่นพับ (Brochure) หรือสื่อสิ่งพิมพ์ที่ใช้กระดาษแผ่นเดียว ให้ข้อมูลข่าวสารเรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยเฉพาะ เพื่อบอกกล่าว ชักจูง โน้มน้าว แนะนำ และเตือนความจำ มีภาพประกอบที่สะดุดตา ใช้ภาษาอ่านเข้าใจง่ายและกระชับรัดกุม ทำให้เกิดการถ่ายทอดข้อมูลสืบต่อกันไป นักจดหมายเหตุนิยมผลิตแผ่นพับ เพื่อสื่อสารข้อมูลเกี่ยวกับกิจการจดหมายเหตุ โดยสืบค้นข้อมูลจากเอกสารดำเนินงานภายในองค์กร และองค์ความรู้ของนักจดหมายเหตุ เช่น แผ่นพับการค้นคว้าเอกสารจดหมายเหตุ แผ่นพับแนะนำหอจดหมายเหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ฯลฯ

     หนังสือนำชม (Guide book) หรือสื่อสิ่งพิมพ์เย็บเล่ม เฉพาะกิจ ให้ข้อมูลข่าวสารเป็นการเฉพาะคล้ายแผ่นพับ แต่มีปริมาณเนื้อหามากกว่าที่บรรจุในแผ่นพับ ทำให้ผู้อ่านได้ความรู้และเกิดความเข้าใจมากยิ่งขึ้น นอกจากนักจดหมายเหตุจะใช้หนังสือนำชม สื่อสารข้อมูลเกี่ยวกับกิจการจดหมายเหตุ ได้แก่ หนังสือนำชมสำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ แล้ว ยังใช้เพื่อสื่อสารข้อมูลในเอกสารจดหมายเหตุด้วย ได้แก่ หนังสือประกอบนิทรรศการเอกสารจดหมายเหตุ นักจดหมายเหตุจะสรุปย่อเนื้อหาของนิทรรศการ พร้อมคัดเลือกภาพที่สำคัญมาประกอบ และเพิ่มเติมข้อมูลบางส่วนที่ไม่สามารถแสดงในนิทรรศการได้ ทำให้นิทรรศการมีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น และสื่อสารข้อมูลได้อย่างแพร่หลาย เช่น หนังสือนำชมนิทรรศการสายสัมพันธ์ไทย-รัสเซีย หนังสือนำชมนิทรรศการสมเด็จพระบรมราชินี ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ฯลฯ

การผลิตสื่อสิ่งพิมพ์มีกี่ขั้นตอนอะไรบ้าง

หนังสือนำชมแสดงข้อเพิ่มเติม เสริมให้กิจกรรมมีความชัดเจนขึ้น

ขั้นตอนการผลิตสื่อสิ่งพิมพ์ มีกี่ขั้นตอน อะไรบ้าง

กระบวนการผลิตสื่อสิ่งพิมพ์.
ทิศทางและการเคลื่อนไหว (Direction & Movement).
เอกภาพและความกลมกลืน (Unity & Harmony) 2.1 เลือกใช้องค์ประกอบอย่างสม่ำเสมอ ... .
การเว้นพื้นที่ว่างรอบองค์ประกอบทั้งหมด 3.1 ความสมดุล (Balance) ... .
สัดส่วน (Proportion) 4.1 ความแตกต่าง (Contrast) ... .
จังหวะ ลีลา และการซ้ำ (Rhythm & Repetition).

กระบวนการจัดพิมพ์มีกี่แบบ อะไรบ้าง

งานพิมพ์มีกี่ประเภท?.
1. พิมพ์แบบดิจิตอล เป็นงานพิมพ์เหมือนเครื่องprinter ทั่วไปคือ ต่อเครื่องprint เข้ากับคอมพิวเตอร์ แล้วส่งภาพจากคอมพิวเตอร์สู่เครื่องprint รายละเอียดความคมชัดของงานพิมพ์จึงขึ้นอยู่กับตัวเครื่องprint ว่ามีรายละเอียดคมชัดมากน้อยแค่ไหน.
2. พิมพ์แบบนูน ... .
3. พิมพ์แบบลึก ... .
4. พิมพ์พื้นราบ.

การผลิตสื่อสิ่งพิมพ์ หมายถึงอะไร

การผลิตสื่อสิ่งพิมพ์ เป็นกระบวนการจัดทำเครื่องมือเผยแพร่ประชาสัมพันธ์กิจการของหน่วยงาน ซึ่งมีหลายประเภท เช่น จุลสาร วารสาร นิตยสาร จดหมายข่าว แผ่นพับ หนังสือพิมพ์ หนังสือเล่ม ฯลฯ สื่อสิ่งพิมพ์แต่ละประเภทจะมีรูปแบบและวัตถุประสงค์ในการจัดทำแตกต่างกัน การเลือกผลิตสื่อสิ่งพิมพ์ที่เหมะสมกับนโยบายและวัตถุประสงค์ของหน่วยงาน ...

ข้อใดคือขั้นตอนแรกของการออกแบบสิ่งพิมพ์

1. ออกแบบให้ดึงดูดความสนใจของผู้อ่านและพบเห็น 2. ออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์ให้เป็นที่สังเกตหรือจดจำได้ง่าย 3. นำข่าวสารไปสู่ผู้อ่าน ด้วยการออกแบบที่มีลักษณะของการเสนอเนื้อหาในรูปแบบที่สวยงาม และสะดวกต่อการทำความเข้าใจในเนื้อหา 4. ใช้ศิลปะของการออกแบบปิดบังความด้อยในคุณภาพของวัสดุพิมพ์