ชั้นสื่อสารใดบนแบบจำลอง osi ทำหน้าที่เข้ารหัสข้อมูลและถอดรหัสข้อมูล

 

5.Session Layer
ชั้น Session ทำหน้าที่สร้างการเชื่อมต่อ, การจัดการระหว่างการเชื่อมต่อ และการตัดการเชื่อมต่อคำว่า "เซสชัน" (Session) นั้หมายถึงการเชื่อมต่อกันในเชิงตรรกะ (Logic) ระหว่างปลายทางทั้งสองด้าน (เครื่อง 2 เครื่อง) ชั้นนี้อาจไม่จำเป็นต้องถูกใช้งานเสมอไป อย่างเช่นถ้าการสื่อสารนั้นเป็นไปในแบบ "Connectionless" ที่ไม่จำเป็นต้องเชื่อมต่อ เป็นต้น ระหว่างการสื่อสารในแบบ "Connection-less" ทุกๆ แพ็กเก็ต (Packet) ของข้อมูลจะมีข้อมูลเกี่ยวกับเครื่องปลายทางที่เป็นผู้รับติดอยู่อย่างสมบูรณ์ในลักษณะของจดหมายที่มีการจ่าหน้าซองอย่างถูกต้องครบถ้วน ส่วนการสื่อสารในแบบ "Connection Oriented" จะต้องมีการดำเนินการบางอย่างเพื่อให้เกิดการเชื่อมต่อ หรือเกิดเป็นวงจรในเชิงตรรกะขึ้นมาก่อนที่การรับ/ส่งข้อมูลจะเริ่มต้นขึ้น แล้วเมื่อการรับ/ส่งข้อมูลดำเนินไปจนเสร็จสิ้นก็ต้องมีการดำเนินการบางอย่างเพื่อที่จะตัดการเชื่อมต่อลง ตัวอย่างของการเชื่อมต่อแบบนี้ได้แก่การใช้โทรศัพท์ที่ต้องมีการกดหมายเลขปลายทาง จากนั้นก็ต้องมีการดำเนินการบางอย่างของระบบจนกระทั่งเครื่องปลายทางมีเสียงดังขึ้น การสื่อสารจะเริ่มขึ้นจริงเมือ่มีการทักทายกันของคู่สนทนา จากนั้นเมื่อคู่สนทนาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งวางหูก็ต้องมีการดำเนินการบางอย่างที่จะตัดการเชื่อมต่อลงชั้น Sussion นี้มีระบบการติดตามด้วยว่าฝั่งใดที่ส่งข้อมูลซีงเรียกว่า "Dialog Management"
Simple MailTransport Protocol (SMTP), File Transfer Protocol (FTP) และ Telnet เป็นตัวอย่างของโปรโตคอลที่นิยมใช้ และมีการทำงานครอบคลุมในชั้น Session, Presentation และ Application

การให้บริการด้านต่างๆ

5.1 ให้บริการจัดการเรื่องการโต้ตอบข้อมูลซึ่งจะให้บริการทั้งในแบบส่งข้อมูลไม่พร้อมกัน(Half-Duplex) และแบบพร้อมกัน (Full-Duplex)

5.2 การสื่อสารในทิศทางเดียวกัน ในการสื่อสารผ่านระบบเครือข่ายระยะไกลหากเกิดข้อผิดพลาดขึ้นระหว่างการสื่อสารในจุดใดจุดหนึ่ง Session Layer จะอนุญาตให้ผู้ใช้เลือกที่จะทำการรับ - ส่ง ข้อมูลใหม่อีกครั้งในเวลาใดก็ได้

5.3 การรายงานเกี่ยวกับข้อผิดพลาดถ้าในระหว่างการสือ่สารเกิดมีข้อผิดพลาดที่ไม่สามารถแก้ไขได้ Session Layer จะทำการส่งสัญญานเพื่อแจ้งให้ Application รู้ถึงขอ้ผิดพลาดนั้น

สรุปหน้าที่และบริการของระดับชั้น Session Layer

1.ควบคุมการเริ่มต้นการติดต่อและากรสิ้นสุดการติดต่อ(Session Control)

2.ทำให้ความสัมพันธ์เข้าจังหวะและไม่เหลื่อมล้ำกัน (Synchronization)

6.Presentation Layer
ชั้น Presentation ให้บริการจัดรูปแบบและนำเสนอข้อมูลระหว่างการสื่อสารให้เป็นไปตามที่ต้องการ โดยมีการกำหนดรูปแบบการส่งข้อมูลสำหรับใช้ในการเลกเปลี่ยน รูปแบบที่จะมีการกำหนดไว้ใน 2 ลักษณะ คือ

6.1 Abstract Data Syntax เป็นรูปแบบที่ใช้ในการเก็บข้อมูลภายในเครื่องคอมพิวเตอร์

6.2 Transfer (or Concrete) Syntax เป็นรูปแบบที่ใช้ในการสื่อสารข้อมูลระหว่างกัน

ถ้าหากว่ารูปแบบทั้งสองมีความแตกต่างกัน ก็เป็นหน้าที่ของ Presentation Layer ที่จะทำการแปลงข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบที่ผู้ใช้มีความเข้าใจได้เวลานำเสนอทั้งนี้ยังรวมไปถึงการจัดแปลงข้อมูลในรูปมาตราฐาน ASCLL หรือ EBCDIC,การลดการลดขนาดข้อมูล(Data Dompression)และการเข้ารหัสหรือถอดรหัสของข้อมูลเพื่อความปลอดภัยในการสื่อสาร

สรุปหน้าที่และบริการของระดับชั้น Presentation Layer

1.การแปลงรูปแบบข้อมูล(Translation Information Format)

2.การเข้ารหัส(Encryption)

3.การบีบอัดข้อมูล(Compression)

7.Application Layer
ชั้น Application เป็นชั้นบนสุดของแบบจำลอง OSI เป็นชั้นที่ใช้บริการของชั้น Presentation (และชั้นอื่นๆ ในทางอ้อมด้วย) เพื่อประยุกต์ใช้งานต่างๆ เช่น การทำ E-mail Exchange (การรับ/ส่งอีเมล์), การโอนย้ายไฟล์ หรือการประยุกต์ใช้งานทางด้านเครือข่ายอื่นๆ นอกจากนั้นยังรวมถึงการบริการทางด้านการแลกเปลี่ยนเอกสารและข้อความต่างๆจะทำหน้าี่จัดการเรื่องต่างๆของเครือข่ายที่ผู้ใช้ต้องการนั่นเองโดยจะอยู่ระดับบนที่ใกล้ชิดกับผู้ใช้ที่สุด

การบริการของลำดับชั้นนี้จะแสดงให้ผู้ใชเข้าใจได้ในทันที โดยไม่ว่าการสื่อสารจะประสบความสำเร็จหรือไม่และหากมีข้อผิดพลาดประการใดผู้ใช้ก็จะทราบได้จากข้อความทีแสดงออกมา

สรุปหน้าที่และบริการของระดับชั้น Application Layer

1.ติดต่ิิอกับผู้ใช้(User Interface)

2.บริการแลกเปลี่ยนข้อมูล เช่น Mail,FTP, Telnet เป็นต้น

Frame

หน่วยของข้อมูลในระดับ Datalink Layer

Packet

หน่วยของข้อมูลในระดับ Network Layer

Datagram

หน่วยของข้อมูลในระดับ Network Layer ที่มีรูปแบบการเชื่อมต่อแบบ Connectional Less

Segment

หน่วยของข้อมูลในระดับ Transport Layer

Message

ระดับข้อมูลในเหนือ Network Layer มักจะหมายถึงระดับ Application Layer

Cell

หน่วยข้อมูลที่มีขนาดแน่นอนในระดับ Datalink Layer ใช้เป็นหน่วยในลักษณะการส่งข้อมูลแบบสวิตซ์ เช่น Asynchronous Transfer Mode (ATM) หรือ Switched Multimegabit Data Service (SMDS)

Data unit

หน่วยข้อมูลทั่วไป

OSI กับอุปกรณ์ระบบเครือข่าย
    การรับส่งข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์นั้น ทางด้านผู้รับผู้ส่งจะต้องมีขบวนการการรับส่งข้อมูลตาม OSI ครบทั้ง 7 ชั้น  ระหว่างการส่งข้อมูลผ่านเครือข่ายอื่น ๆ อาจมีอุปกรณ์เครือข่ายเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย ซึ่งจะเกี่ยวกับเพียง 3 ระชั้นล่าง คือ Layer ที่ 1, 2 และ 3 อุปกรณ์เครือข่ายจะมีดังนี้ Hub หรือ Repeater , Switch หรือ Bridge , Router , Geteway และ Layer-3 Switch
    Hub หรือ Repeater
    เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ขยายสัญญาณที่ได้รับมาส่งต่อให้กับอุปกรณ์อื่นที่ต่อเข้ากับเครือข่าย เป็นอุปกรณ์ที่จัดอยู่ใน Layer ที่ 1 หรือ Physical Layer ของ OSI Model ตัว Hub หรือ  Repeater นี้จะขยายสัญญาณได้โดยไม่มีการใช้ซอฟต์แวร์จึงใช้งานได้ง่าย
    Switch หรือ Bridge
    เป็นอุปกรณ์สำหรับเชื่อมเครือข่ายสองเครือข่ายเข้าด้วยกัน โดยจะต้องเป็นเครือข่ายประเภทเดียวกัน และใช้โปรโตคอลในการรับส่งข้อมูลเหมือนกัน Switch หรือ Bridge จะมีการทำงานในระดับ Data Link Layer ของ OSI Model สามารถเชื่อมต่อฮาร์ดแวร์ที่ใช้รับส่งข้อมูลเข้าด้วยกัน และตรวจสอบข้อผิดพลาดของการรับส่งข้อมูล การติดตั้งใช้งานคล้ายกับการติดตั้ง Hub ไม่ต้องใช้ซอฟต์แวร์
    Router
    เป็นอุปกรณ์สำหรับเชื่อมต่อเครือข่ายหลาย ๆ เครือข่ายเข้าด้วยกัน เช่น การเชื่อมต่อ Ethernet LAN ที่ใช้รับส่งข้อมูลแบบ Unshielded Twisted Pair(UTP) เข้ากับ Ethernet อีกเครือข่ายหนึ่งที่ใช้สายแบบ Coaxial Cable ได้ Router จะมีการทำงานในระดับ Network Layer ของ OSI Model สามารถรับส่งข้อมูลเป็น Frame เลือกเส้นทางการเดินทางของข้อมูล จึงทำให้ Router มีราคาแพงกว่า Switch และ Hub
    Gateway
    เป็นอุปกรณ์ที่มีความสามารถสูงสุดในการเชื่อมต่อเครือข่าย โดยสามารถเชื่อมต่อเครือข่ายที่ใช้โปรโตคอลต่างกันได้ อีกทั้งยังทำหน้าที่เป็น Firewall เพื่อป้องกันไม่ให้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่อยู่นอกเครือข่ายเข้ามาเชื่อมต่อลักลอบนำข้อมูลภายในองค์กรออกไปได้

 

Back

 

การเข้ารหัสและถอดรหัสข้อมูลจะทำในชั้นใดของ OSI Model

ชั้นสื่อสารแอปพลิเคชั่น (Application Layer) เป็นส่วนติดต่อระหว่างโปรแกรมประยุกต์ของเครือข่ายกับผู้ใช้ โดยคอมพิวเตอร์จะแปลงข้อมูลที่ได้จากผู้ใช้เข้าสู่ระบบ เช่น การนำเสนอผ่านเว็บ การเข้ารหัสและถอดรหัสข้อมูล

ชั้นใดของแบบจำลอง OSI ที่ทำหน้าที่ติดต่อกับผู้ใช้งาน

7. เลเยอร์ชั้น Application เป็นเลเยอร์ชั้นบนสุดของรูปแบบ OSI ซึ่งเป็นชั้นที่ใช้ติดต่อกันระหว่างผู้ใช้โดยตรงซึ่งได้แก่ โฮสต์คอมพิวเตอร์ เทอร์มินัลหรือคอมพิวเตอร์ PC เป็นต้น แอปพลิเคชันในเลเยอร์ชั้นนี้สารมารถนำเข้า หรือออกจากระบบเครือข่ายได้โดยไม่จำเป็นต้องสนใจว่า จะมีขั้นตอนการทำงานอย่างไร เพราะจะมีเลเยอร์ชั้น ...

แบบจำลอง OSI ประกอบไปด้วยชั้นสื่อสารอะไรบ้าง

แบบจำลอง OSI ประกอบไปด้วยชั้นสื่อสาร 7 ชั้นด้วยกัน โดยแนวคิดของการแบ่งเป็นชั้นสื่อสารมีเหตุผลสำคัญ ดังนี้ การแบ่งออกเป็นชั้นสื่อสาร ก็เพื่อลดความซับซ้อน ทำให้ง่ายต่อการทำความเข้าใจ เพื่อให้แต่ละชั้นสื่อสารจำแนกบทบาทหน้าที่ที่ชัดเจนและแตกต่างกัน เพื่อให้แต่ชั้นสื่อสารปฏิบัติงานตามหน้าที่ที่ได้รับการมอบหมายเท่านั้น

ชั้นใดของแบบจำลอง OSI ที่แบ่งข้อมูลออกเป็นส่วนย่อยๆ

internetworking layer (Internet layer) เป็นส่วนย่อยของชั้น OSI network layer (ดูด้านบน) link layer ประกอบด้วย OSI data link layers และ physical layers, และบางส่วนของ OSI network layer.