บริการลักษณะ Peer to Peer มีจุดเด่นอย่างไร

การกู้ยืมเงินของคนไทยอาจถูกจำกัดให้แคบลง เพราะธปท มีการออกมาตรการลดการอนุมัติสินเชื่อบุคคล การจำกัดการถือบัตรเครดิต และเรื่องการปลดหนี้ด้วยคลินิกแก้หนี้ ความหวังริบหรี่ของผู้ที่อยากได้เงินเริ่มหายไปทุกที จนมาถึงยุคที่การกู้เงินไม่จำเป็นต้องทำกับธนาคารหรือสถาบันการเงินอีกต่อไป เพราะเราจะได้ยินคำว่า peer to peer lending (P2P) หรือการกู้ยืมเงินแบบ บุคคลต่อบุคคล ซึ่งเป็นอะไรที่ใหม่มากสำหรับคนไทย และข่าวเกี่ยวกับการกู้ยืมประเภทนี้ เริ่มมีกระแสมาตั้งแต่ปี 2016 ซึ่งหลายบริษัทอยากกระโดดเข้ามาเล่นในตลาด P2P Loan แต่ยังคงติดเรื่องกฎหมายอยู่ แต่นั่นก็เป็นอะไรที่ต้องค่อยๆไป เพราะ Thailand 4.0 อาจจะต้องมีการปรับปรุงอะไรหลายๆอย่างยกใหญ่ ซึ่งวันนี้ เราจะมาพูดถึงข้อดีของ P2P Lending กัน ว่ามันจะดีอย่างไรนะ? ดีต่อใคร? และมีข้อเสียมั้ย?

รู้จักกับคำว่า P2P ก่อน

  • รู้จักกับคำว่า P2P ก่อน
  • ข้อดีข้อเสียของ Peer to Peer Lending
  • ข้อกฏหมายทั้งในไทยและต่างประเทศ
  • บริษัทที่เปิดให้บริการ P2P Lending

P2P หรือ peer to peer คำว่า peer มาจากคำว่า เพื่อน นั่นคือเพื่อนกับเพื่อน หรือบุคคลต่อบุคคลนั่นเอง และการกู้ยืมเงินในอดีตหากจะเป็นบุคคลต่อบุคคลแล้ว ต้องเป็นบุคคลที่เรารู้จักที่เราสามารถขอยืมเงินได้ เช่นพ่อแม่ ญาติ พี่น้อง เพื่อน และคนที่คุ้นกัน แต่ระบบ peer to peer lending มันเป็นการกู้ยืมเงินจากบุคคลและเป็นบุคคลเท่านั้น ไม่ใช่ธนาคาร หรือสถาบันการเงิน และเป็นการกู้ยืมเงินจากคนที่ไม่รู้จัก ผ่านตัวกลาง

P2P Lending ต้องผ่านตัวกลางอยู่ดี ใครว่าไม่ผ่าน?

หลายเว็บไซด์ตีความหมายว่า P2P lending เป็นการกู้ยืมที่ไม่ผ่านตัวกลาง ซึ่งจริงๆ แล้ว ถ้าไม่ผ่านตัวกลางเนี่ยแปลว่า นาย A จะให้นาย B กู้ยืม โดยการโอนเงินให้เลย หลังจากที่ได้พูดคุยกัน แต่จริงๆแล้วไม่ใช่ เพราะ peer to peer lending มันคือการผ่านตัวกลาง และในปัจจุบันมันคือ Online Platform หรือ application นั่นเอง ซึ่งตัวกลางก็จะคอยเก็บเงินค่า Fees ค่าธรรมเนียม หรือส่วนแบ่งเป็น % ต่างๆ จากทั้งผู้ที่สนใจให้กู้ยืม ผู้กู้ยืมนั่นเอง ซึ่งรวมๆแล้ว ระบบ P2P lending มีทั้งหมด 3 parties ด้วยกันหลักๆคือ

บริการลักษณะ Peer to Peer มีจุดเด่นอย่างไร

  1. ผู้ให้กู้ยืม
  2. Platform ตัวกลาง
  3. ผู้กู้ยืม (ผู้ที่อยากได้เงิน)

หากใครนึกไม่ออก สำหรับคนที่ชอบโหลดหนังต่างๆผ่านพวก Bittorrent มันต้องมีคนเป็น Seeder และ Leacher ซึ่งเป็นคนปล่อยข้อมูล และ ดาวน์โหลดข้อมูล ระหว่างบุคคล ยังไงๆ ก็ต้องมีการผ่านระบบกลาง คือ internet หรือ software ที่ ไว้ใช้สำหรับ โหลดบิตนั่นแหละ โดยที่ตัวกลางเช่น Utorrent, Bittorrent ก็จะสามารถเอา platform ตัวเองมาให้คนสมัครเสียเงินรายเดือนได้ หรือเก็บค่าโฆษณาได้ ซึ่งเค้าก็ยังคงต้องมีตัวกลางอยู่ดี

P2P Lending เปรียบเสมือน UBER ในร่างของการเงิน

ทุกคนรู้จัก UBER อยู่แล้ว ถ้าคุณมีรถ คุณไปสมัครเป็นคนขับ คุณอยากรับใครก็กดรับ และก็ไปรับไปส่งเค้า และได้ค่าตอบแทน นักลงทุน หรือผู้ให้ยืมก็เปรียบเสมือนคนขับนั่นแหละ คุณสามารถเลือกได้ว่า ใครคุณอยากจะให้กู้ และคุณจะคิดตังค์เค้าเท่าไหร่ ก็ตามกฎของ platform และกฎหมาย ผู้โดยสารก็เปรียบเสมือน ผู้ขอกู้ ที่ไม่สามารถเลือกผู้กู้ได้ ซึ่ง การที่ P2P lending เข้ามาในไทย อาจจะประสบปัญหาแบบเดิมๆ ที่ Taxi เจอกันอยู่ทุกวันนี้กับ คนขับ Uber 

Diagram ของ Peer to Peer Lending

บริการลักษณะ Peer to Peer มีจุดเด่นอย่างไร
ภาพจาก stratinfotech (พัฒนาระบบ p2p)

การกู้ยืมต้องมีตัวกลางขึ้นมาก่อน คือ website, application, ฯลฯ  ซึ่งตัวกลางนี้ จะคอยทำหน้าที่โฆษณาชวนเชื่อ ให้ผู้มีเงิน ปล่อยกู้มาปล่อยกู้ และคนที่อยากกู้มาทำเรื่องกู้ และ คนที่มีเงินก็จะได้รับผลตอบแทนเป็นดอกเบี้ย และผู้ที่กู้ ก็จะได้เงิน และตัวกลางก็จะได้ส่วนแบ่งจากอัตราดอกเบี้ยนั้นๆไป จาก diagram นี้ จะเห็นได้ชัดว่า ยังไงก็ต้องผ่านตัวกลางอยู่ดีนะ

ข้อดีข้อเสียของ Peer to Peer Lending

ทุกอย่างในโลกล้วนแล้วแต่มีข้อดี และข้อเสียในตัวของมัน คนที่อยากกู้ยืมเงิน ทั้งระยะยาวและระยะสั้น ก็อาจจะสงสัยเกี่ยวกับระบบนี้ ว่ามันมีจุดแข็งจุดบอดยังไงบ้าง? จะหนีธนาคารมา ฟังเรื่องเกี่ยวกับ P2P Lending ทำไมมันดูดีจัง มันดีอย่างที่ได้ยินมาหรือเปล่านะ? เราแยก ข้อดี ข้อเสียของ Peer to Peer Lending เป็นทั้ง 2 ฝ่าย ฝ่ายละ 2 ข้อ รวมเป็นทั้งหมด 4 ข้อ ทั้งสำหรับผู้กู้ และผู้ให้กู้

ข้อดีของ P2P กับผู้ยื่นกู้

  1. รวดเร็วทันใจ
  2. ไม่มีการเช็คเครดิตเข้ามาเกี่ยวข้อง
  3. ดอกเบี้ยต่ำกว่าปกติ เมื่อเทียบกับธนาคาร และสถาบันการเงิน
  4. ดอกเบี้ยโดยมากแล้วจะเป็นแบบคงที่ และไม่มีค่าใช้จ่ายแอบแฝง (เช่น ใครใช้บัตรกดเงินสดจะรู้ดี ว่ามีค่าธรรมเนียมกดเงินสดอีก)
  5. ผู้ให้กู้ ไม่รู้ประวัติ หน้าตา และไม่รู้จักกับผู้ขอกู้เงิน
  6. มักจะไม่มีค่าปรับเมื่อจ่ายเต็มหรือเคลียร์หนี้
  7. สามารถนำเงินไปใช้ทำอะไรก็ได้ เช่น กู้ไปปิดบัตรเครดิต กู้ไปปิดหนี้ที่เหลือ
  8. ไม่ต้องมีหลักทรัพย์ค้ำประกัน (บางแห่งมี เช็คให้ดี)
  9. สามารถยื่นกู้ได้เพิ่มถ้าประวัติดี และง่ายกว่าการยื่นกู้ธนาคาร

ข้อดีของ P2P กับผู้ให้กู้เงิน (เจ้าของเงิน)

  1. สามารถเป็นใครก็ได้ แม้แต่สถาบันการเงิน
  2. เป็นการลงทุนออนไลน์ประเภทหนึ่ง
  3. การให้กู้เงินเป็นอะไรที่ง่ายและเริ่มต้นด้วยจำนวนเงินที่ไม่มาก
  4. สามารถปล่อยกู้ให้กับหลายบุคคลพร้อมๆกัน
  5. กระจายความเสี่ยง และกระจายเงินทุนลงมาในตลาด P2P เปรียบเสมือนการลงทุนอีกประเภทหนึ่ง ที่สามารถอยู่ใน Portfolio ได้
  6. สามารถยื่นเงินให้ได้ เลือกผู้กู้ได้ และสามารถหยุดลงทุนได้ตลอดเวลา

ข้อเสียของ P2P กับผู้ยื่นกู้

  1. มันเป็นไอเดียที่ดีที่จะมากู้เงินผ่าน P2P ที่ดอกเบี้ยต่ำกว่า เพื่อไปปิดหนี้บัตรเครดิต Refinance บ้าน ฯลฯ แต่นั่นจะทำให้วินัยทางการเงินของผู้กู้ เสียไป
  2. P2P บางแห่ง เช็ค credit ถ้าเครดิตผู้กู้ไม่ดี ก็จะโดนดอกเบี้ยสูงเหมือนเดิม
  3. โอกาสที่จะสูญเสียหลักทรัพย์ค้ำประกัน และโอกาสที่จะผิดนัดชำระหนี้ สูงกว่า เพราะเงินที่ได้มามันง่ายกว่าการกู้แบงค์ หรือการขอสินเชื่อบุคคล 

ข้อเสียของ P2P กับผู้ให้กู้เงิน (เจ้าของเงิน)

  1. แม้ว่าเจ้าของเงินจะกระทำการผ่านตัวกลาง แต่เมื่อลูกหนี้ผิดนัดชำระหนี้จริงๆ แน่ใจหรือว่า ตัวกลางเค้าจะเจียดเวลาไปทวงหนี้ให้คุณ และโอกาสที่จะเสียเงินลงทุนไปก็มีมากด้วย
  2. ไม่รู้ประวัติ ไม่รู้ข้อมูลเกี่ยวกับผู้ขอยืมเงินมากพอ และตัวกลางคือ platform นั้น จะน่าเชื่อใจได้มากแค่ไหนกัน?
  3. การลงทุนเกี่ยวกับ Peer to Peer Lending หรือการกู้ยืมเงินบุคคลต่อบุคคล ไม่ใช่วิธีการลงทุนที่ชัดเจนและแท้จริง และไม่มีใครรวยเร็วจากการทำธุรกิจเป็นผู้ให้ยืมแบบนี้
  4. กฎหมายอาจยังไม่ครอบคลุม เกี่ยวกับการติดตามหนี้ประเภทนี้
  5. ผู้ให้กู้เงิน อาจต้องเสียภาษี จากดอกเบี้ยที่ได้

จะเห็นได้ชัดว่า ความเสี่ยงนั้นไม่ได้อยู่ที่ผู้กู้เลย และความเสี่ยงก็ไม่ได้ตกอยู่กับ Platform ตัวกลางด้วย ความเสี่ยงส่วนใหญ่ หรือที่เรียกว่า ข้อเสียส่วนใหญ่มันอยู่กับเจ้าของเงินล้วนๆ ดังนั้นใครจะลงทุนกับ P2P lending ประเภทนี้ ต้องระมัดระวังให้เยอะ

ข้อกฏหมายทั้งในไทยและต่างประเทศ

สิ่งหนึ่งที่ P2P Lending ยังคงไม่ได้เป็นที่นิยมในประเทศไทยก็คือ “ข้อบังคับ และความคลุมเครือ ของกฎหมาย” ที่ยังคงต้องมาตีความให้เจนมากยิ่งขึ้น เพราะมีบางข้อเช่น P2P จะสามารถตีเป็นการกู้ยืมเงินได้หรือไม่? เช่น การยืมเงินทดรอง, สัญญาเช่นแชร์เปียหวย, มอบเงินให้ไปดำเนินกิจการร่วมกัน, สัญญาเบิกเงินเกินบัญชี, สัญญาบัตรเครดิต ฯลฯ ซึ่งการกู้ยืมเงินผ่าน P2P นั้น หากไม่มีลายลักษณ์อักษร จะสามารถกู้ยืมได้หรือไม่? (ขนาดธนาคารใหญ่ๆ เวลาสินเชื่อผ่าน ผู้กู้ยังต้องเซ็นต์เอกสารเลย) และกฎหมายมีดังนี้

1.กรณีจำนวนเงินที่กู้ยืมกัน ไม่เกิน 2,000 บาท กฎหมายไม่ได้กำหนดให้ต้องทำหลักฐานการกู้ยืมต่อกัน ดังนั้น แม้ตกลงยืมเงินกันด้วยวาจา เมื่อเกิดการผิดข้อตกลงหรือผิดสัญญาก็สามารถฟ้องร้องบังคับคดีกันได้ตามกฎหมาย

2.กรณีจำนวนเงินที่กู้ยืมกัน เกิน 2,000 บาทขึ้นไป กฎหมายกำหนดให้การกู้ยืมเงินจะต้องมีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเงิน มิเช่นนั้นจะฟ้องร้องให้บังคับคดีต่อกันไม่ได้

หลักฐานแห่งการกู้ยืมเงินนั้นจะอยู่ในรูปแบบใดก็ได้ แต่ต้องเป็นลายลักษณ์อักษร มีข้อความชัดแจ้งว่ามีการกู้ยืมเงินกันไปเป็นจำนวนเท่าใดและตกลงจะใช้คืนเมื่อใด และที่สำคัญคือต้องมีลายมือชื่อของผู้กู้ยืมเป็นสำคัญด้วย

ดังนั้น เนื้อความในเอกสารหลักฐานการกู้ยืมเงิน ต้องมีองค์ประกอบ 3 ประการ คือ

1.ข้อความที่แสดงโดยตรงหรือโดยปริยายว่าเงินที่ได้รับเป็นเงินกู้ยืมและมีข้อความว่าจะใช้คืนให้

2.ระบุจำนวนเงิน และ

3.ผู้กู้ยืมต้องลงลายมือชื่อ (กรณีลงลายพิมพ์นิ้วมือจะต้องมีพยานรับรองลายนิ้วมือ 2 คน)

ดังนั้นการเซ็นต์ชื่อเป็นลายลักษณ์อักษรนั้นยังคงมีความจำเป็นต้องทำ ไม่ใช่การกู้ยืมเงิน และโอนผ่านออนไลน์กันอย่างเดียว

รวมถึงธุรกิจเงินทุนนั้น กฎหมายสินเชื่อ จากธนาคารแห่งประเทศไทย กล่าวเอาไว้ถึง ธนาคารพาณิชย์ บริษัทเงินทุน บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ เพียง 3 อย่างเท่านั้น แต่ยังไม่มีข้อไหนที่สามารถระบุ ถึงบุคคลตัวกลางหรือ Platform เพราะน่าจะเข้าใจได้ว่า ธุรกิจตัวกลางไม่ใช่เจ้าของเงิน แต่เป็นบุคคลที่เอาเงินมาให้กู้นั่นเอง

คลิ๊กเพื่อดาวน์โหลดเอกสารจาก ธนาคารแห่งประเทศไทย ว่าด้วยกฎหมาย พ.ร.บ.ธุรกิจสถาบันการเงิน ที่มา https://bot.or.th

สำหรับเมืองนอกเค้ามีกฎหมายครอบคลุม 4 ข้อใหญ่ๆ ดังนี้

  1. เมื่อคุณอยู่ในวงการเงิน สินเชื่อบุคคล คุณจะต้องถูกควบคุมโดย ธนาคารแห่งประเทศนั้นๆ และถ้าในประเทศไทยก็คือ ธปท อย่างแน่นอน ดังนั้น regulation ทุกอย่างจะต้องเป็นไปตามที่ ธปท กำหนด หรือประเทศนั้นๆกำหนด
  2. ผู้ที่อยากเป็นธุรกิจ P2P Lending แบบนี้ ต้องมีใบอนุญาต ประกอบกิจการ
  3. อาจต้องเชื่อมโยงกับตลาดหุ้นด้วย
  4. อาจต้องเป็นสินเชื่อแบบมีหลักทรัพย์ค้ำประกัน นั่นก็คือ รถยนต์

บริษัทที่เปิดให้บริการ P2P Lending

บริษัท Peer to Peer Lending ในต่างประเทศที่ดังๆคือ

Upstart, Funding Circle, Prosper Marketplace, CircleBack Lending, Peerform, Sofi, Lending Club, ข้อมูลจาก Investopedia

บริษัท Peer to Peer Lending ในประเทศไทยที่พึ่งเปิดตัวไป (มีทั้งที่ดำเนินกิจการแล้ว และยังไม่ดำเนินกิจการ เนื่องจากติดเรื่องกฎหมายหรือ ใบอนุญาต ประกอบกิจการ)

Satangdee.com

Peerpower.co.th

Daingern.com 

บริการลักษณะ Peer to Peer มีจุดเด่นอย่างไร

บริการลักษณะ Peer to Peer มีจุดเด่นอย่างไร