โมเดลการศึกษาในศตวรรษที่ 21

ปัจจุบันนี้ นักเรียนต้องสามารถคิดวิเคราะห์และคิดได้อย่างเป็นระบบมากกว่าเมื่อก่อน เพราะพวกเขาจะได้สามารถนำวิธีการคิดเหล่านั้นมาประยุกต์ใช้กับวิทยาศาสตร์, เทคโนโลยี, วิศวกรรมศาสตร์และคณิตศาสตร์ (สะเต็มศึกษา) เพื่อแก้ไขปัญหาที่ซับซ้อนได้ หากปราศจากซึ่งการพัฒนากุญแจสำคัญของทักษะในศตวรรษที่21 (เช่น การคิดวิเคราะห์, การแก้ไขปัญหาและการทำงานเป็นทีม) แล้ว นักเรียนไทยก็อาจจะถูกทิ้งไว้ข้างหลัง ท่ามกลางโลกยุคอุตสาหกรรม 4.0 ที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว วันนี้ประเทศไทยมีตำแหน่งงานที่ต้องการนักเทคนิคทางสะเต็มว่างอยู่กว่า 15,000 ตำแหน่ง แม้ว่าจะมีนักเรียนจบการศึกษาจากโรงเรียนอาชีวศึกษากว่า 120,000 คน แต่ระบบการศึกษาของเราก็ยังไม่สร้างพัฒนาทักษะทางเทคนิคที่จำเป็น และทักษะด้านการทำงาน เพื่อเติมที่ว่างในตำแหน่งงานเหล่านั้น โดยเฉพาะตำแหน่งอันเป็นหัวใจสำคัญสำหรับการพัฒนาประเทศไทยในอนาคต

โมเดลการศึกษาในศตวรรษที่ 21

หากเราต้องการนำพาประเทศให้ก้าวผ่านความท้าทายต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในยุคอุตสาหกรรม 4.0 ก็คือ
การเสริมสร้างศักยภาพให้กับเด็กอย่างณัฐกานต์ ที่ได้รับการพัฒนาทักษะอันจำเป็นสำหรับการทำงานในอนาคตแล้ว การเสริมสร้างศักยภาพให้นักเรียนนั้นยังรวมไปถึงการให้โอกาสค้นหาคำตอบจากโครงการและกิจกรรมต่าง ๆ ด้วยตัวของพวกเขาเอง เพื่อให้พวกเขาได้พัฒนาทักษะสำคัญในศตวรรษที่21 และมีแนวความคิดเชิงนวัตกรรม แก่นของความทุ่มเทดังกล่าวนี้คือ การให้ความสำคัญกับองค์ประกอบหลักของระบบการศึกษาอันประกอบด้วย การสร้างคุณครูให้รับผิดชอบต่อการถ่ายทอดศึกษาให้กับนักเรียนด้วยวิธีการส่งเสริมการเรียนรู้แบบใหม่ เพราะคงไม่มีองค์ประกอบอันใดในระบบการศึกษาที่มีความสัมพันธ์ต่อการยกรับผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ของเด็กได้โดยตรงดังเช่นคุณครูกับนักเรียน นักเรียนคือผลลัพธ์ทางการศึกษาของครู ดังนั้น หากครูเป็นผู้ที่มีแรงบันดาลใจ รู้จักให้นักเรียนมีส่วนร่วมในการเรียนการสอน และเข้าใจถึงประโยชน์ของการใช้การเรียนการสอนแบบทันสมัยว่าจะทำให้นักเรียนได้มีโอกาสแสดงออกในห้องเรียนได้ ดังที่ผลลัพธ์จาการประเมินแสดงให้เห็นถึงระดับการมีส่วนร่วมและการแสดงออกของนักเรียน

นี่คือสาเหตุที่ว่า เพราะเหตุใด คีนันจึงทำงานร่วมกับพันธมิตร ทั้งระดับนานาชาติและในประเทศไทย เพื่อถ่ายทอดรูปแบบทางการศึกษาในศตวรรษที่21 ที่จะช่วยให้นักเรียนสามารถเตรียมพร้อมสำหรับงานในอนาคตได้ เป้าหมายของเราคือการกระตุ้นให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปในระบบการศึกษา เพราะชาติของเราก็กำลังเปลี่ยนแปลงก้าวไปข้างหน้า โดยเปลี่ยนจากระบบการเรียนรู้แบบท่องจำ สู่การใช้ระบบการเรียนรู้แบบทันสมัย การเรียนรู้แบบกลุ่ม และการเรียนรู้แบบใช้คำถามเป็นศูนย์กลาง กุญแจสำคัญของงานที่เราทำในปัจจุบัน มีความเกี่ยวข้องกับ 3 ส่วนหลักของรูปแบบการเรียนรู้ในศตวรรษที่21 ที่แสดงให้เห็นแล้วว่ามีความสำคัญต่อการประสบความสำเร็จของครูและการได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาล อันได้แก่ 1. การพัฒนาและยกระดับศักยภาพบุคลากรทางการศึกษา 2. การจัดหาเครื่องมือและแหล่งการเรียนรู้สำคัญต่อคุณครูและนักเรียน 3. การสร้างความเชื่อมโยงเพื่อสร้างความสอดคล้องกับหลักสูตรการเรียนการสอนของไทย

การพัฒนาและยกระดับศักยภาพบุคลากรทางการศึกษา

การพัฒนาบุคลากรทางการศึกษาด้วยกระบวนการพัฒนาที่ผสมผสานกิจกรรมที่มีความหลากหลายเพื่ออบรมครูผู้สอนให้มีศักยภาพ ทักษะ และเทคนิคการถ่ายทอดความรู้ของครูผู้สอน และผู้บริหารสถานศึกษา รวมถึงให้คำแนะนำ ชี้แนะ และเป็นพี่เลี้ยงอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้พวกเขาเหล่านั้นเรียนรู้ ประยุกต์ใช้เพื่อความก้าวหน้า พร้อมศักยภาพสำหรับถ่ายทอดและประยุกต์การสอนเชิงนวัตกรรม นำการจัดการเรียนการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (inquiry-based education) มากระตุ้นการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นและสร้างผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาแก่เด็กไทย

บ่อยครั้งที่โครงการทางการศึกษาถูกออกแบบมาเพื่อพัฒนาครูผู้สอนที่มุ่งเน้นที่ปริมาณการอบรมครูผู้สอน มากกว่าจะมุ่งเน้นที่การพัฒนาความสามารถในการประยุกต์ใช้องค์ความรู้และถ่ายทอดความรู้สู่นักเรียนได้อย่างแท้จริง ทรัพยากรที่นำมาใช้เพื่อการพัฒนาครูผู้สอน ควรที่จะได้รับการนำไปใช้ในการส่งเสริมและสนับสนุนให้นำความรู้หรือเทคนิคที่ได้รับกลับไปสร้างให้เกิดผลลัพธ์ในกลุ่มย่อย อันจะช่วยกระตุ้นให้พวกเขาเหล่านั้นเผชิญกับความท้าทายในการจัดการห้องเรียนแบบสืบเสาะหาความรู้ (inquiry-based education)ได้ เช่นเดียวกัน การปราศจากซึ่งผู้นำโรงเรียนที่เข้าใจว่าคุณครูในโรงเรียนกำลังทำอะไรอยู่ ความพยายามเหล่านี้ก็จะหายไป เนื่องด้วยอธิการบดียืนยันที่จะใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบเดิม ดังนั้น ความพยายามของเราจึงต้องมุ่งเน้นไปที่การพัฒนาความสามารถของคุณครูและอธิการบดีของโรงเรียน ควบคู่ไปกับการจัดการอบรมให้กับพวกเขาด้วย

การจัดหาเครื่องมือ อุปกรณ์ และแหล่งการเรียนรู้สำหรับการศึกษา

คงเป็นเรื่องที่น่าเศร้าใจหากคุณครูผู้สอนผ่านหลักสูตรการอบรมและเสริมทักษะการสอนแบบใหม่แล้ว แต่เมื่อเขาเหล่ากลับไปห้องเรียนโดยที่ไม่มีอุปกรณ์และเครื่องมือเหล่านั้นที่จะใช้เพื่อประกอบการสอน มันจะเกิดผลลัพธ์ในการสอนได้อย่างไรในเมื่อเราอบรมครูผู้สอนให้สอนการทดลองทางฟิสิกส์เกี่ยวกับแรงและการเคลื่อนที่ ที่มีกิจกรรมอันน่าตื่นเต้น แต่เขาเหล่านั้นกลับไม่มีอุปกรณ์การเรียนการสอนที่จำเป็นให้นักเรียนได้มีโอกาสทดลองจริงได้อย่างที่ควรจะเป็น ครูผู้สอนจำเป็นที่จะต้องมีอุปกรณ์การเรียนการสอน คู่มือการเรียนการสอน ตารางและแผนการเรียนรู้ อีกทั้งสิ่งต่างๆ ที่จำเป็นต่อการนำความรู้เกี่ยวกับการสอนสมัยใหม่ กลับไปถ่ายทอดให้กับนักเรียนของตน หากขาดซึ่งอุปกรณ์การเรียนรู้เหล่านี้ในท้ายที่สุดครูและนักเรียนก็คงไม่มีโอกาสที่จะปรับรูปแบบการเรียนรู้ได้สำเร็จ ท้ายที่สุดแล้วพวกเขาเหล่านั้นก็คงต้องกลับไปสู่รูปแบบการเรียนรู้แบบเก่า ที่เรียนผ่านการท่องจำอย่างเลี่ยงไม่ได้

ความเชื่อมโยงสู่หลักสูตรการเรียนการสอนของไทย

ปัจจัยสำคัญที่มีส่วนต่อความสำเร็จของโครงการด้านการศึกษาคือความจำเป็นของการเชื่อมโยงสู่เนื้อหาการเรียนรู้ตรงตามบทเรียนของหลักสูตรการศึกษาไทย โดยเฉพาะการสอดคล้องกับบริบทของสังคมไทย ทุกวันนี้ครูผู้สอนต่างได้รับมอบหมายภารกิจต่างๆ มากมาย ทำให้มีโอกาสน้อยลงในการที่จะปรับเพิ่มเนื้อหาใหม่ๆ ในแผนการเรียนการสอนของตน นอกจากนั้นกระทรวงศึกษาธิการยังกำหนดให้ครูผู้สอนใช้เวลาบางส่วนไปในบางวิชาที่สำคัญ หากเป็นเช่นนี้แล้วเราคงไม่สามารถที่จะเพิ่มเนื้อหาการเรียนรู้ให้กับครูผู้สอนที่ยุ่งจนแทบจะไม่มีเวลาเหลือ แล้วคาดหวังให้เขาเหล่านั้นนำเนื้อหาที่ได้รับเพิ่มเติมนั้นกลับไปถ่ายทอดในชั้นเรียนได้ในทันที นอกจากเราพึงพิจารณาว่า หากอยากให้ครูผู้สอนยกระดับการเรียนการสอนได้อย่างที่คาดหวังต่อผลสัมฤทธิ์ต่อการเรียนรู้ เราจำต้องออกแบบเนื้อหาการเรียนการสอนให้สัมพันธ์กับหลักสูตรการเรียนการสอนของไทยเพื่อลดความซ้ำซ้อนในการใช้เวลาต่อการเรียนรู้เพิ่มเติมของครูผู้สอน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเราประยุกต์หรือนำหลักสูตรจากต่างประเทศมาใช้อย่างเช่นคีนัน เราจำต้องพิจารณาและสร้างความเชื่อมั่นว่าเนื้อหาหลักสูตรที่นำมานั้นสามารถปรับให้สอดคล้องกับบริบทของสังคมไทยได้เหมาะสมและถูกต้อง

สุดท้ายนี้ เราไม่ความมองข้ามความสำคัญต่อการสร้างการตระหนักรู้ และรับทราบถึงความสำคัญต่ออาชีพที่เกี่ยวกับสะเต็ม และการสร้างทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ในกลุ่มผู้ปกครองและนักเรียน เพราะทุกวันนี้ผู้ปกครองมักจะชี้นำและกระตุ้นให้ลูกหลานของตนเข้ารับการศึกษาในระดับสามัญ และมุ่งสู่สายสังคมศาสตร์มากกว่าที่จะผลักดันให้เข้าสู่สายวิทยาศาสตร์เพื่อให้ได้ทำงานที่เกี่ยวข้องกับสะเต็ม หรือสายอาชีวะ ดังนั้นนอกจากที่เราจำต้องพยายามส่งเสริมให้นักเรียนสนใจและสนุกกับการเรียนวิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์ พร้อมทั้งจุดประกายให้พวกเด็กๆ เหล่านั้นมุ่งมั่นใจต่อการเข้าทำงานทางด้านที่เกี่ยวกับสะเต็ม เรายังพึงพยายามสร้างความเชื่อมมั่นแต่ผู้ปกครองว่าอาชีพที่เกี่ยวกับสะเต็มนับเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดในอนาคตอันใกล้ กิจกรรมค่ายสะเต็ม และการประกวดสิ่งประดิษฐ์ทางวิทยาศาสตร์ คาราวานสะเต็ม วันแนะแนวอาชีพ กิจกรรมส่งเสริมการประดิษฐ์เชิงนวัตกรรม รวมทั้งกิจกรรมที่มุ่งสร้างการรับรู้ต่อสาธารณชนจะช่วยลงช่องว่างระหว่างทางเลือกของนักเรียนต่อสายสังคมศาสตร์และสายวิทยาศาสตร์ลง นำไปสู่การสนับสนุนเป้าหมายของประเทศต่อการเพิ่มสัดส่วนและจำนวนของนักเรียนในสายอาชีวศึกษาให้อยู่ในระดับ 60% ของนักเรียนทั้งหมด ( 32% ในปี 2557)

เพื่อที่จะสร้างองค์ประกอบเชิงพื้นฐานต่อการศึกษาของไทย คีนันและพันธมิตรของเรา มุ่งมั่นและหวังเป็นอย่างยิ่งให้นักเรียนไทยกว่า 100,000 คน ก้าวไปข้างหน้าพร้อมกับเรา เพื่อให้เข้าถึงโอกาสและรอบรับการพัฒนาเชิงเศรษฐกิจในลำดับต่อไป หากสนใจร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนการศึกษาแห่งศตวรรษที่ 21 ให้ขับเคลื่อนประเทศไทย กรุณากรอกรายละเอียดเกี่ยวกับตัวท่าน พร้อมเบอร์โทรศัพท์ หรืออีเมลล์ เพื่อรับการติดต่อกลับจากเรา