การสัมมนาพระพุทธศาสนามีกี่รูปแบบ

สัมมนาทางพระพุทธศาสนา รหัส 220025

220025 สัมมนาทางพระพุทธศาสนา (Seminar on Buddhism) 3(2-2-5)
รวบรวม วิเคราะห์ สังเคราะห์ปัญหาเกี่ยวกับพุทธศาสนา เช่น การเผยแผ่ การศึกษาพระพุทธศาสนา การเรียนการสอนพระพุทธศาสนาในโรงเรียน การปฏิบัติที่ไม่เหมาะสมของพระและชาวพุทธ กิจกรรมทางสังคมของบุคคลและองค์กรทางพระพุทธศาสนา  ศิลปวัฒนธรรมแบบพุทธ การเสนอรายงานทางวิชาการที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัยหรือวิทยานิพนธ์ นำเสนอต่อกลุ่มหรือที่ประชุม แลกเปลี่ยนความคิดเห็น เสนอแนะ และให้มีการปรับปรุงเพื่อเผยแพร่และ ใช้ประโยชน์โดยมีการนำเสนอผลงานการค้นคว้า ประกอบการสัมมนา

การจัดกิจกรรมสัมมนาในรายวิชาในหัวข้อต่าง ๆ

งานทางโลกและงานทางธรรม http://www.buddhiststudies-nrru.net/?p=13856
จิตตปัญญาศึกษาเชิงพุทธ http://www.buddhiststudies-nrru.net/?p=14766
พุทธศาสนากับชีวิตประจำวัน http://www.buddhiststudies-nrru.net/?p=14542
พระพุทธศาสนากับผู้สูงอายุ http://www.buddhiststudies-nrru.net/?p=14528
กรอบคิดเชิงรุกครูผู้นำการเปลี่ยนแปลง Teachers leadership in distrubtive time http://www.buddhiststudies-nrru.net/?p=14519
พระพุทธศาสนากับการอนุรักษ์ป่าไม้เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน http://www.buddhiststudies-nrru.net/?p=14437
พระพุทธศาสนากับวิทยาศาสตร์ http://www.buddhiststudies-nrru.net/?p=12111
พระพุทธศาสนากับความเชื่อ http://www.buddhiststudies-nrru.net/?p=12121
วัยรุ่นกับพุทธศาสนาในปัจจุบัน http://www.buddhiststudies-nrru.net/?p=12130
พระพุทธศาสนากับชีวิตประจำวัน http://www.buddhiststudies-nrru.net/?p=12150
พระพุทธศาสนากับวัฒนธรรม http://www.buddhiststudies-nrru.net/?p=12135
การจัดการเรียนการสอนพระพุทธศาสนาในโรงเรียน http://www.buddhiststudies-nrru.net/?p=12116
ความสำคัญของการอยู่กับปัจจุบัน http://www.buddhiststudies-nrru.net/?p=10930
กิจกรรมทางพระพุทธศาสนาในปัจจุบัน http://www.buddhiststudies-nrru.net/?p=15578
การล้อเลียนพระพุทธศาสนา http://www.buddhiststudies-nrru.net/?p=15552
ภัยในพระพุทธศาสนากับการแก้ไขปัญหาของพุทธบริษัท http://www.buddhiststudies-nrru.net/?p=15547
พุทธศาสนากับปรัชญา http://www.buddhiststudies-nrru.net/?p=15565
พระพุทธศาสนาในยุคออนไลน์
พระพุทธศาสนากับศิลปะ

  • Facebook iconFacebook
  • Twitter iconTwitter
  • LINE iconLine

ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง

            1.  รู้จักหลักธรรมในการพัฒนาชุมชนและการจัดระเบียบสังคม

            2.  สามารถนำหลักธรรมทางพระพุทธศาสนามาพัฒนาตนเองและสังคมได้

สาระการเรียนรู้

การสัมมนาทางพระพุทธศาสนา

            การสัมมนา  คือการประชุมเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้และความคิดเห็น  เพื่อหาข้อสรุปในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง  โดยใช้หลักการ วิธีการ หรือกระบวนการอย่างใดอย่างหนึ่ง  ในชั้นนี้ เป็นการจัดสัมมนาพระพุทธศาสนาเกี่ยวกับการแก้ปัญหาและการพัฒนา  โดยเน้นไปที่การพัฒนาสังคมและการจัดระเบียบสังคม  โดยใช้หลักการ วิธีการ  หรือกระบวนการทางพระพุทธศาสนา  ผลที่ได้จากการสัมมนาสามารถนำไปเป็นแนวทางในการแก้ปัญหาและพัฒนาคุณภาพชีวิตและสังคมได้

            เนื่องจากกิจกรรมนี้  มีความหลากหลายนักเรียนสามารถศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมได้จากแหล่งข้อมูลต่างๆ แล้วเก็บข้อมูลนำมาวิเคราะห์ สรุปผลการอภิปราย บอกแนวทางการปฏิบัติและประโยชน์ที่จะได้รับจากการสัมมนา  ในชั้นนี้ จะได้ยกหัวข้อไว้ เพื่อให้นักเรียนได้ใช้เป็นแนวทางในการวิเคราะห์และศึกษาเพิ่มเติม

พระพุทธศาสนากับการพัฒนาชุมชนและการจัดระเบียบสังคม 

            ในการพัฒนาสังคมและการจัดระเบียบสังคมนั้น  พระพุทธศาสนาได้มีหลักคำสอนเกี่ยวกับเรื่องนี้หลายอย่าง  ในที่นี้จะขอยกตัวอย่างหลักคำสอนและวิธีการไว้  พอเป็นแนวทางให้นักเรียนได้ไปศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม  ดังนี้  

            1.   จักร  4   

                        จักร 4  เป็นหลักธรรมที่นำไปสู่ความเจริญรุ่งเรือง  ตามความหมายได้แก่ธรรมประดุจล้อทั้งสี่ที่นำรถไปสู่จดหมาย  มี 4  อย่าง  คือ

            1.   ปฏิรูปเทสวะ   คือ  การเลือกอยู่ถิ่นที่เหมาะ มีสิ่งที่แวดล้อมที่เหมาะสม

            2.   สัปปุริสูปัสสยะ  คือ  การสมาคมกับคนดี หรือสัตบุรุษ

            3.   อัตตสัมมาปณิธิ  คือ  การตั้งตนไว้ชอบ ดำรงตนอยู่ในในธรรมและความถูกต้อง

            4.   ปุพเพกตปุญญตา  คือ  การได้ทำความดีไว้ก่อน หรือมีทุนดีได้เตรียมไว้  เพื่อการนำไปใช้แก้ปัญหาในอนาคต

            2.  ทิฎฐธัมมิกัตถวัตตนิกธรรม  4  

                        หมายถึง  ธรรมที่เป็นไปเพื่อประโยชน์ในปัจจุบัน หรือหลักธรรมอันอำนวยประโยชน์สุขขั้นต้น  มี  4  อย่าง คือ

            1.   อุฏฐานสัมปทา    คือ ถึงพร้อมด้วยความหมั่น  ได้แก่ การเป็นผู้ขยันหมั่นเพียร  ในการปฏิบัติหน้าที่การงาน  และการประกอบอาชีพที่สุจริต

            2.   อารักขสัมปทา    คือ ถึงพร้อมด้วยการรักษา   ได้แก่ รู้จักคุ้มครอง  เก็บ  รักษาทรัพย์และผลงานอันตนได้ทำไว้ด้วยความขยันหมั่นเพียร โดยชอบธรรม ด้วยกำลังงานของตนๆไม่ให้เกิดอันตรายหรือเสื่อมเสีย

            3.   กัลยาณมิตตตา    คือ คบคนดีเป็นมิตร  ได้แก่ รู้จักเสวนาคบหาคน ไม่คบไม่เอาอย่างผู้ที่ชัดจูงไปในทางเสื่อมเสีย

            4.   สมชีวิตา  คือ  เลี้ยงชีวิตแต่พอดี  ได้แก่ มีความเป็นอยู่เหมาะสมตามฐานะของตนเอง  รู้จัดกำหนดรายได้และรายจ่าย เป็นอยู่พอดีสมรายได้

            3.  นาถกรณธรรม 10 

                        หมายถึง  ธรรมสำหรับสร้างที่พึ่งแก่ตนเอง หรือคุณธรรมที่ทำให้ตนเป็นที่พึ่งของตนได้ มี  10  อย่าง

            1.  ศีล  คือ  การประพฤติดีมีวินัย  ได้แก่  ดำเนินชีวิตโดยสุจริต ทั้งทางกาย ทางวาจา มีวินัย  และประกอบสัมมาชีพ

            2.   พาหุสัจจะ   คือ  การได้ศึกษาสดับมาก  คือ ศึกษาเล่าเรีวนสดับตรับฟังมาก

            3.  กัลยาณมิตตตา  คือ  การรู้จักคบคนดี  ได้แก่ มีกัลยาณมิตร  รู้จัดเลือกเสวนาเข้าหาที่ปรึกษาหรือผู้แนะนำสั่งสอนที่ดี

            4.  โสวจัสสตา  คือ  การเป็นคนที่พูดกันง่าย  ได้แก่  ไม่ดื้อรั้นกระด้าง  รู้จัดรับฟังเหตุผลและข้อเท็จจริง  พร้อมที่จะแก้ไขปรับปรุงตนเอง

            5.  กิงกรณีเยสุ  ทักขตา  คือ   การขวนขวายในกิจของหมู่คณะ  ได้แก่  เอาใจใส่ช่วยเหลือธุระและกิจการของหมู่คณะ  ญาติ  เพื่อนพ้องง และของชุมชน

            6.  ธรรมกามตา  คือ  เป็นผู้ใคร่ธรรม  ได้แก่  รักธรรม ชอบศึกษา ค้นคว้าสอบถามหาความรู้หาความจริง  รู้จักพูด รู้จักรับฟัง

            7.  วิริยารัมภะ   คือ  มีความเพียรขยัน  ได้แก่  ขยันหมั่นเพียร  พยายามหลีกละความชั่ว  ประกอบความดี ไม่ทอดทิ้งธุระหน้าที่

            8.  สันตุฏฐี  คือ  มีความพอดี  ได้แก่  ยินดี  พึงพอใจแต่ในลาภผล ผลงานและผลสำเร็จต่างๆ  ที่ตนสร้างหรือแสวงหามาได้ด้วยเรี่ยวแรงความเพียรของตนเองโดยชอบธรรม

            9.  สติ   คือ  มีความระลึกคงมั่น  ได้แก่  รู้จักกำหนดจดจำ  ระลึกการที่ทำ  คำที่พูด  กิจที่ทำแล้ว  และที่จะต้องทำต่อไป  มีความรอบคอลบ รู้จักยับยั่งชั่งใจ

            10.  ปัญญา  คือ  มีปัญญาเหนืออารมณ์  ได้แก่  มีปัญญาหยั่งรู้เหตุผล  รู้ดี รู้ชั่ว  คุณโทษ  ประโยชน์มิใช่ประโยชน์ รู้จักพิจารณาวินิจฉัยในสิ่งต่างๆ ตามความเป็นจริง

            หลักธรรมเหล่านี้  เป็นหลักการพัฒนาชุมชนและการจัดระเบียบสังคม  ที่ควรนำมาปฏิบัติ  นอกจากนี้ยังมีหลักธรรมอีกมากมายที่ใช้เป็นหลักในการพัฒนา  เช่น  พรหมวิหาร 4  อิทธิบาท 4  ศีล  5  และกุศลกรรมบถ  10 เป็นต้น