โครงการพระราชดำริด้านการชลประทานแห่งแรกเกิดขึ้นที่ใด

การพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการเพาะปลูกหรือการชลประทาน นับว่า เป็นงานที่มีความสำคัญ และมีประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับประชาชน ส่วนใหญ่ของประเทศ ในการช่วยให้เกษตรกร ทำการเพาะปลูกได้อย่าง สมบูรณ์ตลอดปี ในปัจจุบันพื้นที่การเพาะปลูกส่วนใหญ่ทุกภาคของประเทศเป็นพื้นที่เพาะปลูกนอกเขตชลประทาน ซึ่งต้องอาศัยเพียงน้ำฝน และน้ำ จากแหล่งน้ำธรรมชาติเป็นหลัก ทำให้พืชได้รับน้ำไม่ สม่ำเสมอตามที่พืชต้องการเป็นผลให้ผลผลิตที่ได้รับไม่ดีเท่าที่ ควร พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงให้ความ สนพระราชหฤทัย เกี่ยวกับการพัฒนาแหล่งน้ำ มากกว่าโครงการพัฒนาอันเนื่องมาจาก พระราชดำริประเภทอื่น ทรงให้ความสำคัญในลักษณะ "น้ำคือชีวิต" ดังพระราชดำรัส ณ สวนจิตรลดา เมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2529 ความว่าตอนหนึ่ง

"...หลักสำคัญว่าต้องมีน้ำบริโภค น้ำใช้ น้ำเพื่อการเพาะ ปลูก เพราะว่าชีวิตอยู่ที่นั่น ถ้ามีน้ำคนอยู่ได้ ถ้าไม่มี น้ำ คนอยู่ไม่ได้ ไม่มีไฟฟ้าคนอยู่ได้ แต่ถ้ามีไฟฟ้าไม่มีน้ำคน อยู่ไม่ได้..."

การพัฒนาแหล่งน้ำอันเนื่องมาจากพระราชดำรินั้น มีหลักและ วิธีการที่สำคัญ ๆ คือ

1. การพัฒนาแหล่งน้ำจะเป็นรูปแบบใด ต้องเหมาะสมกับราย ละเอียดสภาพ ภูมิประเทศเสมอ

2. การพิจารณาวางโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ ต้องเหมาะสมกับสภาพแหล่งน้ำธรรมชาติ ที่มีในแต่ละท้องถิ่นเสมอ

3. พิจารณาถึงความเหมาะสมในด้านเศรษฐกิจ และสังคมของท้องถิ่น หลีกเลี่ยงการเข้าไปสร้างปัญหาความเดือดร้อนให้กับคนกลุ่ม หนึ่ง โดยสร้างประโยชน์ ให้กับ คนอีกกลุ่มหนึ่ง ไม่ว่าประโยชน์ทางด้านเศรษฐกิจเกี่ยวกับการลงทุนนั้น จะมีความ เหมาะสมเพียงใดก็ตาม

ด้วยเหตุนี้การทำงานโครงการพัฒนาแหล่งน้ำทุกแห่งจึงพระ ราชทานพระราชดำริไว้ว่า ราษฎรในหมู่บ้าน ซึ่งได้รับประโยชน์จะ ต้องดำเนินการแก้ไขปัญหาเรื่องที่ดิน โดยจัดการ ช่วยเหลือผู้ที่ เสียประโยชน์ตามความเหมาะสมที่จะตกลงกันเอง เพื่อให้ทางราชการสามารถเข้าไปใช้ที่ดินทำการก่อสร้างได้ โดยไม่ต้องจัดซื้อที่ดิน ซึ่งเป็นพระบรมราโชบาย ที่มุ่งหวังให้ราษฎรมีส่วน ร่วมกับรัฐบาล และช่วยเหลือเกื้อกูลกันภายในสังคมของตนเองและ มีความหวงแหน ที่จะต้องดูแลบำรุงรักษาสิ่งก่อสร้างนั้นต่อไปด้วย โครงการพัฒนา แหล่งน้ำอันเนื่องมาจากพระราชดำริ อาจแบ่งออกได้ เป็น 5 ประเภท ดังต่อไปนี้

1) โครงการพัฒนาแหล่งน้ำ เพื่อการเพาะปลูก และอุปโภค บริโภค ได้แก่ อ่างเก็บน้ำ และฝายทดน้ำ

2) โครงการพัฒนาแหล่งน้ำ เพื่อการรักษาต้นน้ำลำธาร

3) โครงการพัฒนาแหล่งน้ำ เพื่อการผลิตไฟฟ้าพลังน้ำ

4) โครงการระบายน้ำออกจากพื้นที่ลุ่ม

5) โครงการบรรเทาอุทกภัย

อย่างไรก็ตามโครงการพัฒนาแหล่งน้ำอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ส่วนใหญ่จะมีวัตถุประสงค์ เพื่อการเกษตรเป็นสำคัญ แต่ก็มีการ พัฒนาแหล่งน้ำ หลาย ๆ โครงการที่มีวัตถุประสงค์ หลาย ๆ อย่าง พร้อมกันไป โครงการพัฒนาแหล่งน้ำอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สามารถก่อให้เกิดประโยชน์แก่ประชาชน และประเทศชาติเป็นส่วนรวม ทั้ง ในระยะสั้นและระยะยาว พอสรุปได้ดังนี้

1. ช่วยให้พื้นที่เพาะปลูกมีน้ำอย่างอุดมสมบูรณ์ สามารถทำ การเพาะปลูกได้ทั้งฤดูฝนและฤดูแล้ง ช่วยให้ได้ผลิตผลมากขึ้น และสามารถทำการเพาะปลูก ครั้งที่สองได้ เป็นการช่วยให้ราษฎร มีรายได้มากขึ้น

2. ในบางท้องที่เคยมีน้ำท่วมขัง จนไม่สามารถใช้ทำการเพาะ ปลูกได้ หรือไม่ได้ผลดีเท่าที่ควร โครงการระบายน้ำออกจากพื้นที่ ลุ่มอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เช่น บริเวณขอบพรุ ทำให้พื้นที่ แห้งลงจนสามารถจัดสรรให้ราษฎรที่ไม่มีที่ดินเป็นของตนเองเข้าทำ กินได้ ช่วยให้ไม่ไปบุกรุกทำลายป่าหาที่ทำกินแห่งอื่น ๆ ต่อไป ซึ่ง เป็นการช่วยรักษาป่าไม้อันเป็นทรัพยากรของชาติไว้ได้

3. เมื่อมีการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำขนาดต่าง ๆ ไว้ ก็มีการปล่อยพันธุ์ปลา ทำให้ราษฎรตามหมู่บ้านที่อยู่ใกล้เคียง สามารถมี ปลาบริโภคภายในครอบครัว หรือเสริมรายได้ขึ้น

4. ช่วยให้ราษฎรมีน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคที่สะอาดอย่าง พอเพียงตลอดปี ทำให้ราษฎรมีสุขภาพพลานามัยดีขึ้น และยัง ช่วยให้มีแหล่งน้ำสำหรับการเลี้ยงสัตว์ด้วย

5. บางโครงการจะเป็นประเภท เพื่อบรรเทาอุทกภัยในเขตชุมชนเมืองใหญ่ เช่น กทม. และปริมณฑล ช่วยลดความเสียหายต่อระบบเศรษฐกิจ ทั้ง ภาคเอกชน และภาครัฐบาลเป็นอันมาก

6. โครงการพัฒนาแหล่งน้ำ เพื่อการผลิตไฟฟ้าพลังน้ำ จะช่วย ให้ราษฎรที่อยู่ในป่าเขาในท้องที่ทุรกันดารได้มีไฟฟ้าใช้ สำหรับแสงสว่างในครัวเรือนได้บ้าง

7. โครงการพัฒนาแหล่งน้ำ เพื่อการรักษาต้นน้ำลำธารอันเนื่อง มาจากพระราชดำริ โดยการสร้างฝายเก็บกักน้ำบริเวณต้นน้ำลำธาร เป็นชั้น ๆ พร้อมระบบกระจายน้ำจากฝายต่าง ๆ ไปสู่พื้นที่สองฝั่ง ของลำธาร ทำให้พื้นดินชุ่มชื้น และป่าไม้ตามแนวสองฝั่งลำธาร เขียวชอุ่มตลอดปี ลักษณะเป็นป่าเปียกสำหรับป้องกันไฟป่าเป็นแนว กระจายไปทั่วบริเวณต้นน้ำลำธาร ทำให้ทรัพยากรธรรมชาติมีความ อุดมสมบูรณ์ไว้ต่อไป

กล่าวได้ว่างานพัฒนาแหล่งน้ำนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ หัว ทรงทำทุกอย่างทุกขั้นตอน ดังที่นายปราโมทย์ ไม้กลัด เล่าให้ ประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันที่ 5-10 ตุลาคม 2538 ดังนี้ "...งานของพระองค์ท่านมีตั้งแต่ ถ้าน้ำขาดแคลนก็จัดหาน้ำ และ เมื่อน้ำท่วม น้ำมากก็จัดการ บรรเทาให้น้อยลง เมื่อมีน้ำเน่าเสีย ก็ต้องมีการจัดการทำงานด้านน้ำทั้งหมด ท่านจะทราบปัญหาอย่าง ละเอียด...."

********************

โครงการตามพระราชดำริด้านการพัฒนาแหล่งน้ำ

โครงการตามพระราชดำริด้านการพัฒนาแหล่งน้ำ มีหลายโครงการ และหลายวัตถุประสงค์ คือ พัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร การรักษาต้นน้ำลำธาร การผลิตไฟฟ้า การระบายน้ำออกจากพื้นที่ลุ่ม การบรรเทาอุทกภัย และเพื่อ ประโยชน์อเนกประสงค์ นับถึง พ.ศ. 2529 มีจำนวนทั้งสิ้น 764 โครงการ แยกจำนวนตามวัตถุประสงค์ได้ดังนี้ โครงการพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร ในภาคเหนือมี 319 โครงการ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมี 174 โครงการ ภาคกลางมี 153 โครงการ ภาคใต้มี 80 โครงการ รวมทั้งหมด 746 โครงการ โครงการพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการรักษาต้นน้ำลำธาร ใน ภาคเหนือมี 8 โครงการ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมี 1 โครงการ รวม 9 โครงการ โครงการพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการผลิตไฟฟ้ามีเฉพาะในภาคเหนือรวม 3 โครงการ โครงการระบายน้ำออกจากพื้นที่ลุ่มมีเฉพาะในภาคใต้ 19 โครงการ โครงการบรรเทาอุทกภัย ในภาคกลางมี 4 โครงการ ภาคใต้มี 1 โครงการ รวมเป็น 5 โครงการ โครงการเพื่อประโยชน์อเนกประสงค์ ในภาคเหนือมี 1 โครงการ ภาคใต้มี 1 โครงการ รวมเป็น 2 โครงการ โครงการที่สำคัญ ๆ คือ

โครงการฝายทดน้ำบ้านหนองหอย บริเวณบ้านหนองหอย ตำบลโป่งแยง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่

เริ่มก่อสร้างและเสร็จสิ้นใน พ.ศ. 2516 กรมชลประทาน รับผิดชอบ จัดสร้างเป็นโครงการแหล่งน้ำโครงการแรกในภาคเหนือ มี วัตถุประสงค์เพื่อปิดกั้นห้วยแม่รอกที่บริเวณบ้านหนองหอย ให้ราษฎรมีน้ำใช้ เพื่อการอุปโภคบริโภคและเพื่อการเพาะปลูกพืชผักและพืชเมืองหนาวในพื้นที่ เพาะปลูกประมาณ 300 ไร่

โครงการระบายน้ำพรุบาเจาะ จังหวัดนราธิวาส

เริ่มเมื่อ พ.ศ. 2517 และเสร็จสิ้นใน พ.ศ. 2524 เพื่อระบายน้ำ ออกจากพรุลงทะเล แก้ไขปัญหาอุทกภัยของพื้นที่รอบๆ พรุในฤดูฝน และเพื่อ จัดสรรที่ดินบริเวณขอบพรุซึ่งน้ำแห้งประมาณ 119,000 ไร่ กรมชลประทาน รับผิดชอบขุดลอกคลอง สร้างประตูระบายน้ำ ขุดคลองระบายน้ำ และสร้าง อาคารประกอบต่างๆ

โครงการมูโนะ จังหวัดนราธิวาส

เริ่มเมื่อ พ.ศ. 2517 และเสร็จสิ้นเมื่อ พ.ศ. 2528 กรมชลประทาน วางโครงการและก่อสร้างสนองพระราชดำริเพื่อพัฒนาแหล่งน้ำสำหรับการป้องกัน และบรรเทาอุทกภัย เพื่อการระบายน้ำออกจากที่ลุ่ม และการชลประทาน เพื่อ การเพาะปลูกให้แก่ราษฎร ตำบลมูโนะ อำเภอสุไหงโกลก และราษฎรอำเภอ ตากใบ

โครงการพัฒนาลุ่มน้ำเข็ก ตำบลแคมป์สน อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์

เริ่มเมื่อ พ.ศ.2519 เพื่อพัฒนาหมู่บ้านในลักษณะหมู่บ้านอาสาสมัคร ป้องกันตนเอง โดยพัฒนาพื้นที่ดิน จำนวน 44,000 ไร่ ในพื้นที่รอยต่อระหว่าง จังหวัดเพชรบูรณ์กับจังหวัดพิษณุโลก ให้แก่ทหารผ่านศึก ทหารกองหนุน อาสา สมัครและครอบครัว พัฒนาแหล่งน้ำ ปรับปรุงลักษณะพื้นที่บริเวณขอบอ่างเก็บน้ำ ให้สามารถเพาะปลูกไม้ผล ไม้ฟืน และพืชอื่นๆ ตามหลักวิชาการ ส่งเสริมการ เพาะปลูกปลาเพื่อเลี้ยงในบ่อและเพื่อเป็นแหล่งอาหารโปรตีน

โครงการแม่งัด จังหวัดเชียงใหม่

เริ่มเมื่อ พ.ศ. 2520 และเสร็จสิ้นใน พ.ศ. 2528 เป็นโครงการ พัฒนาแหล่งน้ำขนาดใหญ่ในภาคเหนือ โดยกรมชลประทานร่วมกับการไฟฟ้าฝ่าย ผลิตแห่งประเทศไทย มีโรงไฟฟ้าพลังน้ำ มีระบบส่งน้ำชลประทานให้แก่พื้นที่ ท้ายอ่าง รวมพื้นที่ได้รับประโยชน์ 188,000 ไร่ สามารถส่งน้ำให้ราษฎรเพาะ ปลูกได้ตลอดปี และบรรเทาอุทกภัยจากลำน้ำแม่ปิง

โครงการน้ำเชิน จังหวัดขอนแก่น

เริ่มเมื่อ พ.ศ. 2520 และเสร็จสิ้นใน พ.ศ. 2521 เป็นโครงการพัฒนา แหล่งน้ำขนาดกลางให้แก่ราษฎร ในเขตอำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น และอำเภอ คอนสาร จังหวัดชัยภูมิ ประกอบด้วยเขื่อนทดน้ำและอาคารประกอบและมีระบบ ส่งน้ำไปเชื่อมกับโครงการสหกรณ์ลำน้ำเชิน สามารถส่งน้ำให้กับพื้นที่เพาะปลูกในฤดูฝนประมาณ 25,000 ไร่และในฤดู แล้งได้อีกประมาณ 15,000 ไร่

โครงการอ่างเก็บน้ำบ้านสร้างแก้ว หมู่บ้านส้างแก้ว ตำบลส้างแก้ว อำเภอกุดบาก จังหวัดสกลนคร

เริ่มเมื่อ พ.ศ. 2520 และเสร็จสิ้นใน พ.ศ. 2521 เป็นโครงการแรก ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สร้างเขื่อนดินปิดกั้นลำห้วยธรรมชาติ มีระบบการส่ง น้ำและรับน้ำกระจายไปยังพื้นที่ 500 ไร่ ให้เพาะปลูกและอุปโภคบริโภคได้ตลอด

โครงการพัฒนาแหล่งน้ำและระบบชลประทานในพื้นที่ราบเชิงเขา จังหวัดปราจีนบุรี

เริ่มเมื่อ พ.ศ. 2521 และเสร็จสิ้นใน พ.ศ. 2522 เพื่อให้ราษฎรได้ใช้ อุปโภคบริโภค และทำการเกษตรแหล่งน้ำในโครงการมีดังนี้ ฝายและอ่างเก็บน้ำคลองน้ำเขียว อำเภอสระแก้ว อ่างเก็บน้ำและระบบส่งน้ำห้วยขัน ฝายห้วยซับ ฝายห้วยพยุง ฝายโป่ง ประทุน ฝายคลองยาง และระบบส่งน้ำในพื้นที่อำเภอวัฒนานคร อ่างเก็บน้ำและระบบคลองส่งน้ำท่ากะบาก อำเภอสระแก้ว