จรรยาบรรณ วิชาชีพครู มี จํา น วน เท่าใด

กลุ่มข้อสอบใน Facebook | กดเป็นมาชิกหรือกดไลน์เพจได้นะครับ

กลุ่มแนวข้อสอบบรรจุครูผู้ช่วย 2564
เพจสื่อการสอนครูออฟ

Youtube ครูออฟสอนคอมพิวเตอร์

TOEIC Online | IELTS Online | SAT | TOEIC | IELTS

 &lt;/td&gt; &lt;/tr&gt; &lt;tr&gt; &lt;td align="center" valign="top"&gt;© 2014 - 2020 Thaitestonline.com &amp;nbsp;&lt;br&gt; All rights reserved.&lt;br&gt;&lt;script&gt; (function(i,s,o,g,r,a,m){i['GoogleAnalyticsObject']=r;i[r]=i[r]||function(){ (i[r].q=i[r].q||[]).push(arguments)},i[r].l=1*new Date();a=s.createElement(o), m=s.getElementsByTagName(o)[0];a.async=1;a.src=g;m.parentNode.insertBefore(a,m) })(window,document,'script','//www.google-analytics.com/analytics.js','ga'); ga('create', 'UA-36906269-1', 'auto'); ga('send', 'pageview'); <script type="text/javascript" language="javascript1.1" src="http://tracker.stats.in.th/tracker.php?sid=59014">  

จรรยาบรรณ วิชาชีพครู มี จํา น วน เท่าใด
จรรยาบรรณวิชาชีพครู 5 หมวด 9 ข้อ ที่คุณครูควรอ่าน!!!

จรรยาบรรณวิชาชีพครู 5 หมวด 9 ข้อ ที่คุณครูควรอ่าน!!!

สวัสดีครับข้าราชการครู บุคลากรทางการศึกษา และท่านผู้อ่านทุกท่าน วันนี้ครูอัพเดตดอทคอม มีเรื่องสำคัญมานำเสนอ ซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับจรรยาบรรณ วิชาชีพครูของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ที่เป็นมาตรฐานการปฏิบัติตนที่กำหนดขึ้นเป็นแบบแผนในการประพฤติตน ซึ่งผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาต้องปฏิบัติตาม เพื่อรักษาและส่งเสริมเกียรติคุณชื่อเสียง และฐานะขอผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาให้เป็นที่เชื่อถือศรัทธาแก่ผู้รับบริการและสังคม อันจะนำมาซึ่งเกียรติและศักดิ์ศรีแห่งวิชาชีพ

โดยจะขอนําเสนอข้อบังคับคุรุสภาว่าด้วยจรรยาบรรณของวิชาชีพ พ.ศ. 2556 ซึ่งเป็นฉบับล่าสุด อันเป็นพื้นฐานสำคัญที่ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาทุกท่านจะต้องนําไปประพฤติปฏิบัติตนให้เหมาะสมกับการเป็นข้าราชการที่ดี ครูอัพเดตดอทคอม จึงได้นำมาให้ทุกท่านได้ศึกษาและทบทวน ดังรายละเอียดต่อไปนี้

“วิชาชีพ” หมายความว่า วิชาชีพทางการศึกษาที่ทำหน้าที่หลักทางด้านการเรียนการสอนและการส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนด้วยวิธีการต่างๆ รวมทั้งการรับผิดชอบการบริหารสถานศึกษาในสถานศึกษาปฐมวัย ขั้นพื้นฐาน และอุดมศึกษาที่ต่ำกว่าปริญญาทั้งของรัฐและเอกชน และการบริหารการศึกษานอกสถานศึกษาในระดับเขตพื้นที่การศึกษา ตลอดจนการสนับสนุนการศึกษาให้บริการหรือปฏิบัติงานเกี่ยวเนื่องกับการจัดกระบวนการเรียนการสอน การนิเทศ และการบริหารการศึกษาในหน่วยงานการศึกษาต่าง ๆ

“ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา” หมายความว่า ครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา และบุคลากรทางการศึกษาอื่น ซึ่งได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพตามพระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2546

“ครู” หมายความว่า บุคคลซึ่งประกอบวิชาชีพหลักทางด้านการเรียนการสอนและการส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนด้วยวิธีการต่างๆ ในสถานศึกษาปฐมวัย ขั้นพื้นฐาน และอุดมศึกษาที่ต่ำกว่าปริญญาทั้งของรัฐและเอกชน

“ผู้บริหารสถาศึกษา” หมายความว่า บุคคลซึ่งปฏิบัติงานในตำแหน่งผู้ปริหารสถานศึกษาภายในเขตพื้นที่การศึกษา และสถานศึกษาอื่นที่จัดการศึกษาปฐมวัย ขั้นพื้นฐาน และอุดมศึกษาที่ต่ำกว่าปริญญาทั้งของรัฐและเอกชน

“ผู้บริหารการศึกษา” หมายความว่า บุคคลซึ่งปฏิบัติงานในตำแหน่งผู้บริหารนอกสถานศึกษาในระดับเขตพื้นที่การศึกษา

“บุคลากรทางการศึกษาอื่น” หมายความว่า บุคคลซึ่งทำหน้าที่สนับสนุนการศึกษา ให้บริการหรือปฏิบัติงานเกี่ยวเนื่องกับการจัดกระบวนการเรียนการสอน การนิเทศ และการบริหารการศึกษาในหน่วยงานการศึกษาต่างๆ ซึ่งหน่วยงานการศึกษากำหนดตำแหน่งให้ต้องมีคุณวุฒิทางการศึกษา

“จรรยาบรรณของวิชาชีพ” หรือ จรรยาบรรณวิชาชีพครู หมายความว่า มาตรฐานการปฏิบัติตนที่กำหนดขึ้นเป็นแบบแผนในการประพฤติตน ซึ่งผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาต้องปฏิบัติตาม เพื่อรักษาและส่งเสริมเกียรติคุณชื่อเสียง และฐานะขอผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาให้เป็นที่เชื่อถือศรัทธาแก่ผู้รับบริการและสังคม อันจะนำมาซึ่งเกียรติและศักดิ์ศรีแห่งวิชาชีพ

โดยข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาทุกท่าน ถือว่าเป็นผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องประพฤติตนตามจรรยาบรรณของวิชาชีพ และแบบแผนพฤติกรรมตามจรรยาบรรณของวิชาชีพ ซึ่งมีทั้งหมด 5 หมวด 9 ข้อ ดังนี้

หมวด 1 จรรยาบรรณต่อตนเอง
ข้อ 1 ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องมีวินัยในตนเอง พัฒนาตนเองด้านวิชาชีพบุคลิกภาพ และวิสัยทัศน์ ให้ทันต่อการพัฒนาทางวิทยาการ เศรษฐกิจ สังคม และการเมืองอยู่เสมอ

หมวด 2 จรรยาบรรณต่อวิชาชีพ
ข้อ 2 ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องรัก ศรัทธา ซื่อสัตย์สุจริต รับผิดชอบต่อวิชาชีพ และเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กรวิชาชีพ

เรื่องที่น่าสนใจ >> จรรยาบรรณครู จรรยาบรรณวิชาชีพครู5 หมวด 9 ข้อ ที่คุณครูควรอ่าน!!!

หมวด 3 จรรยาบรรณต่อผู้รับบริการ
ข้อ 3 ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องรัก เมตตา เอาใจใส่ ช่วยเหลือ ส่งเสริม ให้กำลังใจแก่ศิษย์ และผู้รับบริการ ตามบทบาทหน้าที่โดยเสมอหน้า

ข้อ 4 ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ ทักษะ และนิสัยที่ถูกต้องดีงามแก่ศิษย์ และผู้รับบริการ ตามบทบาทหน้าที่อย่างเต็มความสามารถ ด้วยความบริสุทธิ์ใจ

ข้อ 5 ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องประพฤติปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี ทั้งทางกาย วาจา และจิตใจ

ข้อ 6 ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องไม่กระทำตนเป็นปฏิปักษ์ต่อความเจริญทางกาย สติปัญญา จิตใจ อารมณ์ และสังคมของศิษย์ และผู้รับบริการ

ข้อ 7 ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องให้บริการด้วยความจริงใจและเสมอภาค โดยไม่เรียกรับ หรือยอมรับผลประโยชน์จากการใช้ตำแหน่งหน้าที่โดยมิชอบ

หมวด 4 จรรยาบรรณต่อผู้ร่วมประกอบวิชาชีพ
ข้อ 8 ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา พึงช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกันอย่างสร้างสรรค์ โดยยึดมั่นในระบบคุณธรรม สร้างความสามัคคีในหมู่คณะ

เรื่องที่น่าสนใจ >> จรรยาบรรณวิชาชีพครูและแบบแผนพฤติกรรม ตามจรรยาบรรณของวิชาชีพ

หมวด 5 จรรยาบรรณต่อสังคม
ข้อ 9 ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา พึงประพฤติปฏิบัติตนเป็นผู้นำในการอนุรักษ์ และพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม ศาสนา ศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญา สิ่งแวดล้อม รักษาผลประโยชน์ของส่วนรวม และยึดมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

ครูอัพเดตดอทคอม หวังเป็นอย่างยิ่งว่าบทความจรรยาบรรณวิชาชีพครูนี้จะเป็นประโยชน์ต่อท่านผู้อ่านทุกท่านได้ไม่มากก็น้อย เพื่อเป็นแนวทางในการประพฤติปฏิบัติตนให้เหมาะสมกับการเป็นข้าราชการที่ดี สาระความรู้ที่เกี่ยวข้องกับจรรยาบรรณทางวิชาชีพ ของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ยังมีประเด็นที่น่าสนใจอีกหลายประการ ซึ่งครูอัพเดตดอทคอมจะได้นําเสนอในโอกาสต่อไป

ครูอัพเดตดอทคอม ขอขอบคุณข้อมูลจาก คุรุสภา

>>จรรยาบรรณวิชาชีพครู 5 หมวด 9 ข้อ มาตรฐานการปฏิบัติตน ที่กําหนดขึ้นเป็นแบบแผนในการประพฤติตน ข้อบังคับคุรุสภา ว่าด้วยจรรยาบรรณของวิชาชีพ ครู พ.ศ. 2556

จรรยาบรรณ วิชาชีพครู มี จํา น วน เท่าใด

จรรยาบรรณวิชาชีพครูมีกี่จรรยาบรรณ

จรรยาบรรณวิชาชีพครู จะต้องมีลักษณะ ๔ ประการ คือ ๑. เป็นค ามั่นสัญญาหรือพันธะผูกพันต่อผู้เรียน (Commitment to the student) ๒. เป็นค ามั่นสัญญาหรือพันธะผูกพันต่อสังคม (Commitment to the society) ๓. เป็นค ามั่นสัญญาหรือพันธะผูกพันต่อวิชาชีพ (Commitment to the profession) ๔. เป็นค ามั่นสัญญาหรือพันธะผูกพันต่อสถานปฏิบัติงาน ...

จรรยาบรรณวิชาชีพครูมีกี่หมวด

โดยข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาทุกท่าน ถือว่าเป็นผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องประพฤติตนตามจรรยาบรรณของวิชาชีพ และแบบแผนพฤติกรรมตามจรรยาบรรณของวิชาชีพ ซึ่งมีทั้งหมด 5 หมวด 9 ข้อ ดังนี้

จรรยาบรรณวิชาชีพมีกี่ด้าน

จรรยาบรรณของวิชาชีพ 5 ด้าน 9 ข้อ ที่ครูและผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษาต้องรู้ไว้ 1.จรรยาบรรณต่อตนเอง ข้อที่ 1 ผู้ประกอบวิชาชีพทางการศึกษา ต้องมีวินัยในตนเอง พัฒนาตนเองด้านวิชาชีพ บุคลิกภาพ และวิสัยทัศน์ ให้ทันต่อการพัฒนาทางวิทยาการ เศรษฐกิจ สังคม และการเมืองอยู่เสมอ 2. จรรยาบรรณต่อวิชาชีพ

ผิดจรรยาบรรณของวิชาชีพครู มีกี่กรณี

ตอบ 5 กรณี คือ 1. ยกข้อกล่าวหา 2. ตักเตือน 3. ภาคทัณฑ์ 4. พักใช้ใบอนุญาต 5. เพิกถอนใบอนุญาต 55. ผู้ประสงค์จะต่อใบอนุญาตประกอบวิชาชีพให้ยื่นคำขอภายในกี่วัน ตอบ 180 วัน