เป็นประจำเดือน 9วัน ผิดปกติ ไหม

ประจำเดือนมามาก-น้อยแบบนี้ปกติไหม

กันยายน 23, 2020 | Bonné

เป็นประจำเดือน 9วัน ผิดปกติ ไหม

In Brief

  • ประจำเดือนปกติของแต่ละคนไม่เหมือนกัน ดังนั้นควรหมั่นสังเกตเพื่อหาจุดปกติของตัวเอง
  • ประจำเดือนปกติสามารถเกิดขึ้นได้ทุกๆ 21-35 วัน และมีติดต่อกันได้ตั้งแต่ 2-7 วัน
  • ผู้หญิงส่วนใหญ่จะเสียเลือดประจำเดือนน้อยกว่า 16 ช้อนชา (80 มิลลิลิตร) ในแต่ละเดือน และมักจะอยู่ในปริมาณประมาณ 6-8 ช้อนชา
  • ความเครียด น้ำหนักตัวที่เปลี่ยนไป หรือการกินยาบางชนิด ทำให้ประจำเดือนผิดปกติได้

ทำไมบางเดือนรู้สึกว่าเมนมาเยอะเหลือเกิน แต่บางเดือนมานิดเดียวก็หมดแล้ว หรือบางทียังไม่ถึงรอบก็มีเลือดออกมา ความแปรปรวนเหล่านี้เป็นเรื่องปกติ หรือควรต้องกังวลใจ วันนี้เราจะมาไขข้อสงสัยให้รู้กันไปเลยว่า ประจำเดือนปกติควรมีประมาณแค่ไหน แล้วแบบไหนควรไปหาหมอ

ประจำเดือนปกติของแต่ละคนไม่เหมือนกัน

อันดับแรกต้องทำความเข้าใจก่อนว่า รอบเดือนและประจำเดือนของแต่ละคนไม่เหมือนกัน โดยประจำเดือนปกติสามารถเกิดขึ้นได้ทุกๆ 21-35 วัน และมีติดต่อกันได้ตั้งแต่ 2-7 วัน การมาแต่ละเดือนอาจจะไม่ใช่วันเดียวกันเป๊ะ แต่ก็สามารถมาเร็วหรือช้ากว่าเดินที่ผ่านมาได้บวก/ลบ 7 วัน

ไม่ว่าประจำเดือนของเราจะมาทุกๆ กี่วัน มานานหรือไม่นาน มาในปริมาณมาก มาน้อย ปวดท้องหรือไม่ปวด ก็เป็นสิ่งที่ต้องสังเกตกันไปในแต่ละคนว่า ประจำเดือนปกติ ของตัวเองนั้นเป็นแบบไหน

มามากแบบไหนคือไม่ปกติ

จากที่บอกไว้ด้านบนว่า ประจำเดือนของแต่ละคนไม่เหมือนกัน ดังนั้นประจำเดือนมามากของแต่ละคนก็แตกต่างกันเช่นกัน บางคนอาจจะมีประจำเดือนมากทุกเดือนเป็นปกติ ในขณะที่บางคนไม่ใช่ แต่รู้สึกว่าเดือนนี้มามากกว่าปกติที่เคยสังเกตมา ก็อาจจะต้องหาข้อมูลเพิ่มเติมหรือไปปรึกษาหมอ

ผู้หญิงส่วนใหญ่จะเสียเลือดประจำเดือนน้อยกว่า 16 ช้อนชา (80 มิลลิลิตร) ในแต่ละเดือน และมักจะอยู่ในปริมาณประมาณ 6-8 ช้อนชา หากมากกว่า 80 มิลลิลิตร หรือมีประจำเดือนติดต่อกันนานเกิน 7 วันจะถือว่าประจำเดือนมามากเกินปกติ

วิธีสังเกตประจำเดือนมามาก

  • ผลิตภัณฑ์ที่ใช้ซับประจำเดือน (ผ้าอนามัยแบบแผ่น แบบสอด หรืออื่นๆ) เต็มทุกๆ 1-2 ชั่วโมง
  • มีลิ่มเลือดขนาดใหญ่กว่า 2.5 เซนติเมตร (ใหญ่กว่าเหรียญ 10 บาท) ปนออกมาด้วย
  • เลือดประจำเดือนซึมเปื้อนกางเกงหรือที่นอน
  • จำเป็นต้องใช้ผลิตภัณฑ์ที่ใช้ซับประจำเดือนร่วมกันหลายแบบ เช่น ใช้ทั้งผ้าอนามัยแบบแผ่นและแบบสอด

งานวิจัยบอกว่า สาเหตุของประจำเดือนมามากส่วนใหญ่เกิดจากปัญหาในเยื่อบุโพรงมดลูก หรือปัญหาภูมิคุ้มกัน นอกจากนี้ความไม่สมดุลของฮอร์โมนกระตุ้นการทำงานของต่อมไทรอยด์ และฮอร์โมนไทรอยด์ก็สามารถทำให้ประจำเดือนมามากผิดปกติ ( Menorrhagia) ได้ถึง 32-56%

มาน้อยแบบนี้ยังได้อยู่ไหม

ปกติแล้วประจำเดือนมาน้อยไม่ค่อยเป็นสัญญาณของปัญหาใดๆ ปริมาณเลือดประจำเดือนในแต่ละเดือนสามารถแตกต่างกันได้ โดยบางเดือนอาจจะน้อยกว่าเดือนที่ผ่านมาได้โดยธรรมชาติ

วิธีสังเกตประจำเดือนมาน้อย

  • ประจำเดือนมาและหมดในระยะเวลาที่สั้นกว่าที่เคย
  • ใช้ผ้าอนามัยแบบแผ่นหรือแบบสอดน้อยกว่าที่เคย
  • ประจำเดือนมาน้อยตั้งแต่วันแรก ไม่ได้มีประจำเดือนมามากในวันแรกๆ แล้วจึงเริ่มมาน้อย
  • ประจำเดือนน้อยมากจนเหมือนเลือดออกกะปริบกะปรอยมากกว่าจะเป็นปริมาณน้อยที่คงที่

อย่างไรก็ตามต้องสังเกตด้วยว่า ประจำเดือนที่มาน้อย ที่จริงแล้วใช่ประจำเดือนหรือเปล่า บางทีอาจจะเป็นการมีเลือดออกกะปริบกะปรอย หรือเป็นมูกช่องคลอด (ตกขาว) ที่มีสีก็ได้

ประจำเดือนมาน้อยอาจเกิดจากความไม่สมดุลของฮอร์โมน ความเครียด หรือการขาดสารอาหารบางชนิด ซึ่งยังไม่มีอะไรต้องกังวลมาก ตราบใดที่ประจำเดือนยังมาทุกเดือน ไม่ได้หายไปไหน

อ่าน: “ประจำเดือนมาน้อย” หรือ “เลือดออกกะปริบกะปรอย”

สาเหตุที่ทำให้ประจำเดือนมาไม่ปกติ

  • ความเครียด
  • การตั้งครรภ์หรือการให้นมลูก
  • น้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นหรือลดลงมากเกินไป
  • ความผิดปกติในระบบสืบพันธุ์ เช่น การติดเชื้อที่มดลูก ภาวะพังผืดในโพรงมดลูก เนื้องอก เป็นต้น
  • การกินยาบางชนิด เช่น ยาเม็ดคุมกำเนิด ยารักษาอาการทางจิตเวช ยารักษาความดันโลหิตสูง ฯลฯ
  • การเข้าสู่วัยหมดประจำเดือน

ประจำเดือนผิดปกติที่ต้องไปหาหมอ

  • ประจำเดือนไม่มาเกิน 3 เดือน
  • รอบเดือนนานเกิน 35 วันติดต่อกันหลายเดือน
  • มีประจำเดือนน้อยกว่า 9 ครั้งใน 1 ปี

ประจำเดือนที่ปกติของแต่ละคนไม่เหมือนกัน และสามารถเปลี่ยนแปลงได้บ้างโดยธรรมชาติ ดังนั้นการหมั่นสังเกตตัวเองทุกๆ เดือนจะช่วยให้เข้าใจความปกติหรือไม่ปกติของประจำเดือนตัวเองมากขึ้น ความผิดปกติของประจำเดือนมีสาเหตุมาจากระดับฮอร์โมนที่ไม่สมดุลได้ด้วยนะ อยากรู้ว่าระดับฮอร์โมนของตัวเองสมดุลไหม ชุดตรวจฮอร์โมนภาวะเจริญพันธุ์ Yesmom Fertility ที่สามารถใช้ตรวจเองได้ที่บ้านบอกคุณได้ โดยชุดตรวจนี้ครอบคลุมฮอร์โมนภาวะเจริญพันธุ์ถึง 6 ชนิด มาพร้อมผลวิเคราะห์ระดับฮอร์โมนของคุณฉบับเข้มข้น เชื่อถือได้ แถมยังให้คำแนะนำว่า คุณควรทำความเข้าใจและจัดการภาวะเจริญพันธุ์ของคุณอย่างไรเพื่อสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง

References

  • -แพทย์หญิงกรพินธุ์ รัตนสัจธรรม
  • -แพทย์หญิงชัญวลี ศรีสุโข
  • -โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์. 2561. “ประจำเดือนมาไม่ปกติ บอกอะไร? (Amenorrhea).” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา https://www.siphhospital.com/th/news/article/share/827/Amenorrhea (23 กันยายน 2563)
  • -Berbic M, Fraser IS. Immunology of normal and abnormal menstruation. Women’s Health. 2013;9(4):387–395.
  • -Krassas GE, Pontikides N, Kaltsas Th, Papadopoulou Ph, Paunkovic J, Paunkovic N, Duntas LH. Disturbances of menstruation in hypothyroidism. Clinical Endocrinology. 1999;50:655–659.
  • -Heavy periods [Internet]. n.d. [reviewed 2018 June 7; cited 2020 September 23] Available from https://www.nhs.uk/conditions/heavy-periods/#:~:text=Heavy%20for%201%20woman%20may,than%207%20days%2C%20or%20both.
  • -Menstrual cycle: What’s normal, what’s not [Internet]. 2019 [updated n.d.; cited 2020 September 23] Available from https://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/womens-health/in-depth/menstrual-cycle/art-20047186

เป็นประจำเดือน 10วัน ผิดปกติ ไหม

ผู้หญิงจะมีประจำเดือนเฉลี่ยคือ 6 วัน โดยพบว่า มีผู้หญิงประมาณ 5% ที่มีประจำเดือนมาน้อยกว่า 4 วัน หากมีประจำเดือนมามากกว่า 7 วัน จะเรียกว่า ประจำเดือนมามาก ผู้หญิง 9-14% จะมีประจำเดือนมามาก คือมามากกว่า 7 วัน หากถ้าประจำเดือนมานานเกิด 8 วัน จะถือว่ามามากผิดปกติ ซึ่งเกิดในผู้หญิงราว 4%

ทำไมประจำเดือนมา9วัน

การที่ประจำเดือนมามากหรือนานกว่าปกติ สาเหตุที่พบได้บ่อยก็คือ มีเนื้องอกในมดลูกค่ะ แนะนำว่าอาจลองสังเกตรอบเดือนครั้งต่อไปก่อนว่ามาปกติไหม ยังมานาน 8-9 วันอีกหรือไม่ ถ้าใช่แนะนำให้ไปพบสูตินรีแพทย์เพื่อทำการอัลตราซาวน์หน้าท้องดูมดลูกค่ะ

ประจำเดือนมาเกิน10วันเกิดจากอะไร

ประจำเดือนมามากเกิดจากอะไร ? ประจำเดือนมามากเกิดได้จากหลายสาเหตุ โดยทั่วไปแล้ว ผู้ที่ประสบภาวะนี้มักประสบปัญหาฮอร์โมนไม่สมดุล รังไข่ทำงานผิดปกติ เกิดปัญหาสุขภาพเกี่ยวกับมดลูก ได้รับภาวะแทรกซ้อนจากการตั้งครรภ์ เกิดผลข้างเคียงจากการใช้ยา หรือป่วยเป็นโรคอื่น ๆ ดังนี้

ประจำเดือนมาเกิน7วันเกิดจากอะไร

ฮอร์โมนไม่สมดุล ร่างกายไม่ตกไข่ตามปกติ ส่งผลให้ระดับฮอร์โมนไม่สมดุล และสร้างเยื่อบุโพรงมดลูกหนาเกินไป ทำให้มีเลือดประจำเดือนมาก ซึ่งเป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยที่สุดและพบมากในผู้ป่วยโรคเบาหวาน อ้วนเกินไป และเครียดเกินไป