ประกันสังคมมาตรา 39 กับ 40 ต่างกันยังไง

ประกันสังคม หลักการสร้างความคุ้มครองของผู้คนที่เลือกทำประกันตน โดยมีหน้าที่ในการจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคม และ จะได้รับการรักษาหากเกิดการเจ็บป่วย หรือ อุบัติเหตุ ทุพพลภาพ หรือ การคลอดบุตร และการว่างงาน เฉลี่ยความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้ และมีรายได้อย่างต่อเนื่อง แต่หลายคนยังไม่ทราบรายละเอียดที่แน่นอน ในเรื่องของความคุ้มครอง รู้เพียงแต่ว่าต้องจ่ายค่าประกันสังคมทุกๆเดือน 5% ของเงินเดือน และยังได้รับสิทธิ์อะไรจากประกันสังคมบ้าง อีกทั้งประกันสังคมแต่ละประเภทนั้นต่างกันอย่างไร โดยเฉพาะ ประกันสังคมมาตรา 39 กับ 40 ที่เคยได้ยินกันบ่อยๆ

ประกันสังคมมาตรา 39 กับ 40 ต่างกันยังไง

ผู้ประกันตนภาคสมัครใจ มาตรา 39

ผู้ประกันตน คือ ผู้ใดที่เคยเป็นผู้ประกันตน ตามมาตรา 33 ซึ่งจ่ายเป็นเงินสมทบไม่น้อยกว่า สิบสองเดือน และต่อมาความเป็นผู้ประกันตนสิ้นสุดลง สำหรับผู้ประกันตนในมาตรา 39 เป็นการประกันตนภาคสมัครใจ กรณีที่เคยทำงานในบริษัทและผู้ประกันตนในมาตรา 33 มาก่อน แต่เกิดตกงานหรือลาออก และมีความต้องการในการรับสิทธิประโยชน์จากประกันสังคมและจะได้รับความคุ้มครอง 6 กรณี คือ กรณีเจ็บป่วย อุบัติเหตุ กรณีทุพพลภาพ กรณีเสียชีวิต กรณีคลอดบุตร กรณีสงเคราะห์บุตร และ กรณีชราภาพ

ผู้ประกันตนประกันสังคมมาตรา 40

คือ การขยายการทำประกันสังคมให้ครอบคลุมแรงงานนอกระบบ และผู้ที่ประกอบอาชีพอิสระ ทั้งกลุ่มของพ่อค้าแม่ค้า เกษตรกร รวมไปถึงผู้ที่ทำงานฟรีแลนซ์ และพนักงานอิสระ เพื่อสร้างหลักและความมั่นคงในชีวิตได้ โดยผู้ที่สมัครได้ต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 15 – 60 ปีบริบูรณ์ และไม่เป็นลูกจ้างในบริษัทเอกชนตามประกันสังคมมาตรา 33 และจะได้รับสิทธิประโยชน์ จากเงินทดแทนการขาดรายได้เมื่อนอนโรงพยาบาล หรือ เจ็บป่วย เงินทดแทนการขาดรายได้เมื่อทุพพลภาพ เงินบำเหน็จชราภาพ ค่าทำศพ เงินสงเคราะห์บุตร

ซึ่งทั้ง 2 แบบนี้แตกต่างกันที่ผู้ประกัน ที่จะแตกต่างกันในส่วของการได้รับผลประโยชน์ สำหรับประกันสังคมมาตราที่ 40 จะไม่ได้ในส่วนของค่ารักษาพยาบาล แต่สามารถใช้สิทธิ์ 30 บาทรักษาทุกโรคในการรักษาการเจ็บป่วยได้ แต่ผู้ที่ยื่นประกันตน มาตรา 39 นั้นจะได้ครบทั้งในส่วนของค่ารักษาพยาบาล และอื่นๆ ตามเงื่อนไขประกันสังคม

ประกันสังคมมาตรา 39 กับ 40 ต่างกันยังไง

READ MORE : 

  • วิธีเบิกเงินสงเคราะห์บุตรประกันสังคม 2562
  • วิธีเช็คเงินชดเชยประกันสังคมกรณีลาออก
  • วิธีเปลี่ยนโรงพยาบาลประกันสังคม 2562 ออนไลน์
  • ขั้นตอนการเบิกสิทธิประโยชน์ประกันสังคม-2562

ประกันสังคมมาตรา 39 กับ 40 ต่างกันยังไง

HIGHLIGHTS

โดยหลักๆแล้วที่เห็นได้ชัดเลยก็คือ 1️⃣ มาตรา 33 (ภาคบังคับ) สำหรับพนักงานเอกชนทั่วไป 2️⃣ มาตรา 39 (ภาคสมัครใจ) สำหรับผู้ที่ ไม่ทำงานประจำแล้ว อยากส่งเองต่อ 3️⃣ มาตา 40 (ภาคสมัครใจ) สำหรับแรงงานนอกระบบ, อาชีพอิสระ

โดยหลักๆแล้วที่เห็นได้ชัดเลยก็คือ

ประกันสังคมมาตรา 39 กับ 40 ต่างกันยังไง
มาตรา 33 (ภาคบังคับ) สำหรับพนักงานเอกชนทั่วไป

สำหรับใคร : สำหรับพนักงานเอกชนทั่วไป

การให้ความคุ้มครอง : 7 กรณี ได้แก่ เจ็บป่วย ตาย ว่างงาน คลอดบุตร สงเคราะห์บุตร ทุพพลภาพ ชราภาพ

คุณสมบัติของผู้ประกันตน : ลูกจ้างซึ่งทำงานให้กับนายจ้างที่อยู่ในสถานประกอบการ ที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป

เงินสมทบของผู้ประกันตน : เงินสมทบ คือ 5% ของฐานเงินเดือน (สูงสุด 750 บาท/เดือน)

ฐานเงินที่ไว้คำนวน คือ เงินเดือนจริงที่ได้รับหรือ 15,000 โดยดูว่าจำนวนใดน้อยกว่า

ประกันสังคมมาตรา 39 กับ 40 ต่างกันยังไง
ประกันสังคมมาตรา 39 กับ 40 ต่างกันยังไง
ประกันสังคมมาตรา 39 กับ 40 ต่างกันยังไง
ประกันสังคมมาตรา 39 กับ 40 ต่างกันยังไง

ประกันสังคมมาตรา 39 กับ 40 ต่างกันยังไง
มาตรา 39 (ภาคสมัครใจ) สำหรับผู้ที่ ไม่ทำงานประจำแล้ว อยากส่งเองต่อ

สำหรับใคร : ผู้ที่เคยเป็นพนักงานเอกชนแล้วลาออก

การให้ความคุ้มครอง : 6 กรณี ได้แก่ เจ็บป่วย ตาย คลอดบุตร สงเคราะห์บุตร ทุพพลภาพ ชราภาพ

คุณสมบัติของผู้ประกันตน :

  • เคยเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 ส่งเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือนและออกจากงานไม่เกิน 6 เดือน
  • ต้องไม่เป็นผู้รับประโยชน์ทดแทนกรณีทุพพลภาพจากกองทุนประกันสังคม

การส่งเงินสมทบ :

  • เงินที่ใช้เป็นฐานในการคำนวณเงินสมทบ คือ เดือนละ 4,800 บาท เท่ากันทุกคน
  • คิดจากอัตราเงินสมทบ 9% (4,800 x 9% = 432 บาทต่อเดือน)
ประกันสังคมมาตรา 39 กับ 40 ต่างกันยังไง
ประกันสังคมมาตรา 39 กับ 40 ต่างกันยังไง
ประกันสังคมมาตรา 39 กับ 40 ต่างกันยังไง
ประกันสังคมมาตรา 39 กับ 40 ต่างกันยังไง
ประกันสังคมมาตรา 39 กับ 40 ต่างกันยังไง

ประกันสังคมมาตรา 39 กับ 40 ต่างกันยังไง
มาตา 40 (ภาคสมัครใจ) สำหรับแรงงานนอกระบบ, อาชีพอิสระ

สำหรับใคร : ประชาชนที่ประกอบอาชีพอิสระทุกอาชีพ

การให้ความคุ้มครอง : 3-4-5 กรณี (ขึ้นอยู่กับทางเลือกในการสมทบ)

คุณสมบัติของผู้ประกันตน :

  • อายุ15 ปีเป็นต้นไป แต่ไม่เกิน 65 ปีบริบูรณ์ (ผู้ที่มีอายุ 60-65 ปี เริ่มต้นตั้งแต่วันที่ 24 มิ.ย. 2563)
  • ทำงานแบบไม่มีนายจ้าง
ประกันสังคมมาตรา 39 กับ 40 ต่างกันยังไง

ประกันสังคมมาตรา 39 และ 40 ต่างกันยังไง

สรุปง่าย ๆ ให้เข้าใจ คือ ประกันสังคมมาตรา 39 เหมาะสำหรับผู้ที่เคยทำงานประจำหรือเคยเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 มาก่อน เมื่อออกจากงานแล้วยังต้องการคงสภาพความคุ้มครองประกันสังคมอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ประกันสังคมมาตรา 40 เหมาะกับผู้ประกอบอาชีพอิสระ หรือแรงงานนอกระบบที่ไม่เคยทำประกันสังคมมาก่อนและต้องการได้รับสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ...

สิทธิ ประกัน สังคม มาตรา 33 39 40 ต่าง กัน อย่างไร

โดยหลักๆแล้วที่เห็นได้ชัดเลยก็คือ มาตรา 33 (ภาคบังคับ) สำหรับพนักงานเอกชนทั่วไป มาตรา 39 (ภาคสมัครใจ) สำหรับผู้ที่ ไม่ทำงานประจำแล้ว อยากส่งเองต่อ มาตา 40 (ภาคสมัครใจ) สำหรับแรงงานนอกระบบ, อาชีพอิสระ

ประกันสังคมมาตรา 39 คืออะไร

ผู้ประกันตนมาตรา 39 คือ บุคคลที่เคยทำงานและเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 มาก่อน แล้วออกจากงานแต่ต้องการรักษาสิทธิประกันสังคม ซึ่งนำส่งเงินสมทบเท่ากับ 432 บาท/เดือน โดยไม่ขาดการส่งเงินสมทบ 3 เดือนติดต่อกัน หรือภายในระยะเวลา 12 เดือน ส่งเงินสมทบไม่น้อยกว่า 9 เดือน

ประกันสังคมแต่ละมาตราต่างกันยังไง

กองทุนประกันสังคม ผู้ประกันตน มีทั้งหมด 3 ประเภท ดังนี้ 1. พนักงานเอกชนทั่วไป (มาตรา 33) ได้รับความคุ้มครอง 7 กรณี 2. เคยเป็นพนักงานแต่ลาออก (มาตรา 39) ได้รับความคุ้มครอง 6 กรณี 3. อาชีพอิสระ/แรงงานนอกระบบ (มาตรา 40) ได้รับความคุ้มครอง 3 หรือ 4 กรณี