เทคโนโลยีความปลอดภัยและอาชีวอนามัย ทำงานอะไร

ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับหลักสูตร

ชื่อหลักสูตร

ภาษาไทย             วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

ภาษาอังกฤษ         Bachelor of Science Program in Occupational Health and Safety

ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

ภาษาไทย             ชื่อเต็ม : วิทยาศาสตรบัณฑิต  สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

ชื่อย่อ  : วท. บ. (อาชีวอนามัยและความปลอดภัย)

ภาษาอังกฤษ       ชื่อเต็ม : Bachelor of Science (Occupational Health and Safety)

                           ชื่อย่อ  : B.Sc. (Occupational Health and Safety)

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ตั้งขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการบุคลากรในสายงานอาชีวอนามัยและความปลอดภัย รองรับการเติบโตของภาคอุตสาหกรรมและการพัฒนางานด้านความปลอดภัยในการทำงานของประเทศ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นและเป็นมาตรฐานของระดับแรงงานไทยสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนต่อไปในอนาคต โดยการเป็นหลักสูตรของศาสตร์เชิงบูรณาการที่เน้นการสร้างบัณฑิตให้เป็นผู้ที่มีความรู้และทักษะทางด้านเทคโนโลยี การจัดการอุตสาหกรรมควบคู่การงานทางด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้บัณฑิตเป็นผู้ที่มองเห็นภาพรวมของระบบอุตสาหกรรม สามารถแก้ปัญหาด้านอาชีวอนามัย ความปลอดภัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานอย่างองค์รวม นอกจากนี้ยังเน้นให้บัณฑิตเป็นผู้มีความรู้คู่คุณธรรม ยึดมั่นจรรยาบรรณของวิชาชีพ มีจิตสาธารณะ ให้บริการวิชาการแก่สังคม เพื่อให้งานอาชีวอนามัยและความปลอดภัยได้มาตรฐานสากล 

วัตถุประสงค์ จุดเน้น จุดเด่นของหลักสูตร

1. เพื่อผลิตบัณฑิตในระดับปริญญาตรี ที่มีความสามารถและมีทักษะที่จะใช้ความรู้ในการบริหารการจัดการด้านสุขภาพ อนามัยและความปลอดภัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ

2. เพื่อผลิตบัณฑิตในระดับปริญญาตรี ที่มีความสามารถในการปรับตัวเข้ากับเทคโนโลยีและสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว และเป็นผู้ที่สามารถเรียนรู้และนำเทคโนโลยีใหม่ๆ มาปรับปรุงใช้กับงานอาชีวอนามัยได้อย่างเหมาะสมได้อย่างเหมาะสม รวมทั้งมีจิตสำนึกสาธารณะและมีสมรรถนะสากล

3. เพื่อเป็นการสร้างความพร้อมในการค้นคว้าวิจัยและบริการวิชาการในด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยของประเทศ เพื่อให้เกิดการพัฒนาอุตสาหกรรมที่เข้มแข็งและยั่งยืนและสามารถแข่งขันได้ในระดับนานาชาติ

จำนวนหน่วยกิต            รวมตลอดหลักสูตร                                       144 หน่วยกิต

โครงสร้างหลักสูตร

  • หมวดวิชาศึกษาทั่วไป                                               จำนวน  30 หน่วยกิต

1)  กลุ่มวิชาภาษา                                                                        จำนวน  13  หน่วยกิต

2)  กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์และพลศึกษา       จำนวน  11  หน่วยกิต

3)  กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์                                จำนวน    6  หน่วยกิต

  • หมวดวิชาเฉพาะ                                                       จำนวน  102 หน่วยกิต

1)  กลุ่มวิชาพื้นฐานวิชาชีพ                                                       จำนวน  48  หน่วยกิต

2)  กลุ่มวิชาชีพ                                                                           จำนวน  54 หน่วยกิต

- วิชาชีพบังคับ                                                              จำนวน   45 หน่วยกิต

       - วิชาชีพเลือก                                                               จำนวน    9  หน่วยกิต

  • หมวดวิชาเลือกเสรี                                                    จำนวน    6  หน่วยกิต
  • หมวดวิชาฝึกงานและโครงงานหรือสหกิจศึกษา     จำนวน    6   หน่วยกิต

       แบ่งเป็น 2 แผน คือ

                      แผนที่ 1 ฝึกงานและโครงงานนักศึกษา                            จำนวน    6   หน่วยกิต

              นักศึกษาต้องลงทะเบียนเรียน จำนวน 3 รายวิชา ได้แก่

                               1)  ฝึกงาน                                                                 จำนวน    ≥  240 ชั่วโมง

                               นักศึกษาต้องลงทะเบียนเรียนรายวิชาฝึกงานในภาคฤดูร้อน ชั้นปีที่ 3

                               2) โครงงานนักศึกษา 1                                      จำนวน    2  หน่วยกิต

                               3) โครงงานนักศึกษา 2                                      จำนวน    4  หน่วยกิต

                      แผนที่ 2 สหกิจศึกษา                                                          จำนวน    6   หน่วยกิต

              นักศึกษาต้องลงทะเบียนเรียน จำนวน 2 รายวิชา ได้แก่

                               2) สหกิจศึกษา 1                                                 จำนวน    1  หน่วยกิต

                               3) สหกิจศึกษา 2                                                 จำนวน    5  หน่วยกิต

สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย

มีค่าใช้จ่ายประมาณ 18,000 บาท/ภาคการศึกษา

144,000 บาท/ตลอดหลักสูตร

อาชีพที่รองรับ

1.  เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับวิชาชีพ

2.  ผู้ประกอบการด้านการตรวจวัด ตรวจสอบ ประเมินความเสี่ยง ฝึกอบรมหรือให้คำปรึกษา เพื่อส่งเสริมความปลอดภัย  อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน

3.  เจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหารจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน

4.  เจ้าหน้าที่ในหน่วยงานภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ และเอกชน ได้แก่ ผู้ตรวจแรงงาน นักอาชีวอนามัยและความปลอดภัย เจ้าหน้าที่วิเคราะห์สภาพแวดล้อมในโรงงาน

สาขาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ทำงานที่ไหน

สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย.
เรียนจบแล้วทำงานอะไร.
1) เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับวิชาชีพ 2) นักวิชาการด้านความปลอดภัย 3) วิทยากรความปลอดภัย 4) เจ้าหน้าที่ตรวจวัดสภาพแวดล้อมในการทำงาน 5) นักวิชาการแรงงาน / พนักงานตรวจความปลอดภัย.

จป.จบมาทำงานอะไร

จป. วิชาชีพ ก็คือ เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานวิชาชีพ (Safety Officer) ซึ่งมีหน้าที่ในการคอยดูแลและป้องกันไม่ให้เกิดอุบัติเหตุจากการทำงาน และให้ปฏิบัติไปตามที่กฎหมายกำหนด โดยเป็นตำแหน่งที่กฎหมายได้กำหนดบังคับให้นายจ้างต้องมี ไม่ว่าจะเป็นโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ, การไฟฟ้า, การประปา, โรงแรม, โรงพยาบาล, งานเหมืองแร่และ ...

สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย คืออะไร

สำหรับสาขานี้จะเรียนเกี่ยวกับการจัดการระบบสุขอนามัย รวมไปถึงการจัดการความปลอดภัยให้กับพนักงานในบริษัทหรือสถานประกอบการ ให้มีคุณภาพชีวิตและความปลอดภัยที่ถูกสุขลักษณะตามพระราชบัญญัติ ตลอดจนการกำหนดนโยบายความปลอดภัย การจัดสรรเวลา และทรัพยากรอีกทั้งยังต้องฝึกอบรมพนักงาน ชี้ให้พนักงานทุกคนเห็นความสำคัญของความปลอดภัย ซึ่ง ...

อาชีวอนามัยและความปลอดภัยอยู่ในคณะอะไร

คณะสาธารณสุขศาสตร์ สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย