ผู้ว่าราชการจังหวัด คือใคร

Summary
  • ความแตกต่างของผู้ว่าราชการจังหวัดในปัจจุบันกับนายก อบจ. คือ ผู้ว่าฯ แต่งตั้งมาจากส่วนกลาง ส่วนนายกฯ อบจ. มาจากการเลือกตั้ง เป็นผลผลิตของการกระจายอำนาจตามรัฐธรรมนูญ 2540
  • กรุงเทพฯ เป็นจังหวัดแรกที่ได้รับสิทธิให้มีการเลือกตั้ง โดยเป็นแบบท้องถิ่นพิเศษ ผู้ว่าฯ กรุงเทพฯ มีฐานะไม่ต่างจากนายกฯ อบจ. มากนัก
  • การคงคำว่า ‘ผู้ว่าราชการจังหวัด’ กรุงเทพฯ ไว้ นอกจากจะเป็นคำเก่าที่มีรากเหง้า หากให้คำอื่นอย่างตรงไปตรงมา เช่น นายกเทศมนตรีมหานคร กรุงเทพฯ ก็จะเกิดความแตกต่าง เพราะกลายเป็นจังหวัดเดียวที่ไม่มีผู้ว่าฯ

ผู้ว่าราชการจังหวัด คือใคร

Author

กองบรรณาธิการ

กองบรรณาธิการไทยรัฐพลัส

  • TAG
  • #เลือกตั้งผู้ว่าฯ ทั่วประเทศ
  • #เลือกตั้งผู้ว่าฯ
  • #การกระจายอำนาจ
  • #คณะก้าวหน้า
  • #รัฐธรรมนูญ หมวด 14
  • #ท้องถิ่น
  • #องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น
  • #องค์การบริหารส่วนจังหวัด

Toggle the table of contents

ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
ผู้ว่าราชการจังหวัด คือใคร

ตราประจำกรุงเทพมหานคร

ผู้ว่าราชการจังหวัด คือใคร

ผู้ดำรงตำแหน่งคนปัจจุบัน
ชัชชาติ สิทธิพันธุ์

ตั้งแต่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2565

สมาชิกของกรุงเทพมหานคร (องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น)
รายงานต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
ที่ว่าการศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร
ผู้แต่งตั้งการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน (หรือบางช่วงคือคำสั่งของคณะรัฐประหาร)
วาระ4 ปีและดำรงตำแหน่งติดต่อกันได้ไม่เกิน 2 วาระ
ตราสารจัดตั้งประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 335
พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2518
ตำแหน่งก่อนหน้าผู้ว่าราชการนครหลวงกรุงเทพธนบุรี
ผู้ประเดิมตำแหน่งชำนาญ ยุวบูรณ์
สถาปนา1 มกราคม พ.ศ. 2516
เงินตอบแทน113,560 บาท[1]
เว็บไซต์http://www.bangkok.go.th

ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เป็นหัวหน้าฝ่ายบริหารของกรุงเทพมหานคร ตำแหน่งนี้จัดตั้งขึ้นจากประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 335 (สมัยจอมพลถนอม กิตติขจร) และพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2518 ผู้ดำรงตำแหน่งมีที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรง มีวาระการดำรงตำแหน่งคราวละสี่ปี (หรือบางช่วงมาจากคำสั่งของคณะรัฐประหาร)

ผู้ดำรงตำแหน่งคนที่ 17 และคนปัจจุบัน คือ ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ซึ่งดำรงตำแหน่งเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2565[2]

อำนาจหน้าที่ของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร[แก้]

ตามกฎหมายปัจจุบันคือ พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528[3] ในมาตรา 49 กำหนดให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร มีอำนาจหน้าที่ดังนี้

  1. กำหนดนโยบาย บริหารราชการของกรุงเทพมหานคร ให้เป็นไปตามกฎหมาย
  2. สั่ง อนุญาต อนุมัติ เกี่ยวกับราชการของกรุงเทพมหานคร
  3. แต่งตั้งและถอดถอน รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ผู้ช่วยเลขานุการผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และแต่งตั้งและถอดถอนผู้ทรงคุณวุฒิ เป็นประธานที่ปรึกษา ที่ปรึกษา หรือคณะที่ปรึกษาของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร หรือเป็นคณะกรรมการ เพื่อปฏิบัติราชการใด ๆ
  4. บริหารราชการตามที่คณะรัฐมนตรี นายกรัฐมนตรี หรือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยมอบหมาย
  5. วางระเบียบ เพื่อให้งานของกรุงเทพมหานคร เป็นไปโดยเรียบร้อย
  6. รักษาการให้เป็นไปตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร
  7. อำนาจหน้าที่อื่นตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัตินี้ (เช่น การเป็นผู้บังคับบัญชาของข้าราชการ และลูกจ้างกรุงเทพมหานคร ตามมาตรา 50 การเสนอร่างข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร ตามมาตรา 98 เป็นต้น)
    และตามที่กฎหมายอื่นกำหนดไว้ (เช่น อำนาจหน้าที่ซึ่งกฎหมายอื่นกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของผู้ว่าราชการจังหวัด นายกเทศมนตรี หรือคณะเทศมนตรี ตามมาตรา 50 เป็นต้น)

รายนามผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร[แก้]

ลำดับ รูป ชื่อ ที่มา วาระดำรงตำแหน่ง พรรค
เริ่มวาระ สิ้นสุดวาระ
(สิ้นสุดโดย)
ระยะเวลา
1
ผู้ว่าราชการจังหวัด คือใคร
ชำนาญ ยุวบูรณ์ การแต่งตั้ง 1 มกราคม พ.ศ. 2516[4] 22 ตุลาคม พ.ศ. 2516 0 ปี 294 วัน -
2
ผู้ว่าราชการจังหวัด คือใคร
อรรถ วิสูตรโยธาภิบาล การแต่งตั้ง 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2516[5] 4 มิถุนายน พ.ศ. 2517 0 ปี 215 วัน -
3
ผู้ว่าราชการจังหวัด คือใคร
ศิริ สันติบุตร การแต่งตั้ง 5 มิถุนายน พ.ศ. 2517[6] 13 มีนาคม พ.ศ. 2518 0 ปี 281 วัน -
4
ผู้ว่าราชการจังหวัด คือใคร
สาย หุตะเจริญ การแต่งตั้ง 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2518[7] 9 สิงหาคม พ.ศ. 2518 0 ปี 72 วัน -
5
ผู้ว่าราชการจังหวัด คือใคร
ธรรมนูญ เทียนเงิน การเลือกตั้ง พ.ศ. 2518 10 สิงหาคม พ.ศ. 2518 29 เมษายน พ.ศ. 2520 1 ปี 262 วัน ประชาธิปัตย์
6
ผู้ว่าราชการจังหวัด คือใคร
ชลอ ธรรมศิริ การแต่งตั้ง 29 เมษายน พ.ศ. 2520 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2522 2 ปี 15 วัน -
7
ผู้ว่าราชการจังหวัด คือใคร
เชาวน์วัศ สุดลาภา การแต่งตั้ง 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2522 16 เมษายน พ.ศ. 2524 1 ปี 286 วัน -
8
ผู้ว่าราชการจังหวัด คือใคร
พลเรือเอก เทียม มกรานนท์ การแต่งตั้ง 28 เมษายน พ.ศ. 2524 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2527 3 ปี 187 วัน -
9
ผู้ว่าราชการจังหวัด คือใคร
อาษา เมฆสวรรค์ การแต่งตั้ง 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2527 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2528 1 ปี 7 วัน -
10
ผู้ว่าราชการจังหวัด คือใคร
พลตรี จำลอง ศรีเมือง การเลือกตั้ง พ.ศ. 2528 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2528 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2532 6 ปี 15 วัน กลุ่มรวมพลัง
การเลือกตั้ง พ.ศ. 2533 7 มกราคม พ.ศ. 2533 22 มกราคม พ.ศ. 2535 พลังธรรม
11
ผู้ว่าราชการจังหวัด คือใคร
ร้อยเอก กฤษฎา อรุณวงษ์ ณ อยุธยา การเลือกตั้ง พ.ศ. 2535 19 เมษายน พ.ศ. 2535 18 เมษายน พ.ศ. 2539 4 ปี 0 วัน พลังธรรม
12
ผู้ว่าราชการจังหวัด คือใคร
พิจิตต รัตตกุล การเลือกตั้ง พ.ศ. 2539 3 มิถุนายน พ.ศ. 2539 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2543 4 ปี 49 วัน อิสระ
13 สมัคร สุนทรเวช การเลือกตั้ง พ.ศ. 2543 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2543 28 สิงหาคม พ.ศ. 2547 4 ปี 36 วัน ประชากรไทย
14
ผู้ว่าราชการจังหวัด คือใคร
อภิรักษ์ โกษะโยธิน​ การเลือกตั้ง พ.ศ. 2547 29 สิงหาคม พ.ศ. 2547 5 ตุลาคม พ.ศ. 2551 4 ปี 82 วัน ประชาธิปัตย์
การเลือกตั้ง พ.ศ. 2551 5 ตุลาคม พ.ศ. 2551 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551
(ลาออก)[8]
15
ผู้ว่าราชการจังหวัด คือใคร
หม่อมราชวงศ์สุขุมพันธุ์ บริพัตร การเลือกตั้ง พ.ศ. 2552 11 มกราคม พ.ศ. 2552 9 มกราคม พ.ศ. 2556
(ลาออก)[9]
6 ปี 202 วัน[a] ประชาธิปัตย์
การเลือกตั้ง พ.ศ. 2556 29 มีนาคม พ.ศ. 2556 18 ตุลาคม พ.ศ. 2559[b]
16
ผู้ว่าราชการจังหวัด คือใคร
พลตำรวจเอก อัศวิน ขวัญเมือง การแต่งตั้ง 18 ตุลาคม พ.ศ. 2559[12] 24 มีนาคม พ.ศ. 2565
(ลาออก)[13]
5 ปี 157 วัน -
17
ผู้ว่าราชการจังหวัด คือใคร
ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ การเลือกตั้ง พ.ศ. 2565 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2565[2] ปัจจุบัน 0 ปี 177 วัน อิสระ

ดูเพิ่ม[แก้]

  • การเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร
  • สภากรุงเทพมหานคร

หมายเหตุ[แก้]

  1. หม่อมราชวงศ์สุขุมพันธุ์ บริพัตร เคยถูกพักงานเนื่องจากศาลอุทธรณ์ภาค 1 รับคำร้องของคณะกรรมการการเลือกตั้ง กรณีที่สุเทพ เทือกสุบรรณ หาเสียงเลือกตั้งสนับสนุนหม่อมราชวงศ์สุขุมพันธุ์โดยปราศรัยโจมตีพลตำรวจเอก พงศพัศ พงษ์เจริญ หนึ่งในผู้สมัคร ระหว่างที่หม่อมราชวงศ์สุขุมพันธุ์พักงาน ผุสดี ตามไท รักษาการแทนตั้งแต่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2557 ต่อมาวันที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2557 ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้อง[10]
  2. วันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2559 พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ได้ใช้อำนาจตามมาตรา 44 ของ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 ออกคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 50/2559 ให้พักงาน หม่อมราชวงศ์สุขุมพันธุ์ บริพัตร จากตำแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครโดยไม่พ้นจากตำแหน่ง[11] และวันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2559 ได้ใช้อำนาจตามมาตรา 44 ให้พ้นจากตำแหน่ง[12]

อ้างอิง[แก้]

  1. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชกฤษฎีกา กำหนดเงินเดือน เงินเพิ่ม เงินค่าเบี้ยประชุม และเงินตอบแทนอื่นของผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ข้าราชการการเมืองอื่นของกรุงเทพมหานคร และกรรมการที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครแต่งตั้ง (ฉบับที่ 10) พ.ศ.2556, เล่ม 130 ตอนที่ 70 ก หน้า 4, 6 สิงหาคม พ.ศ. 2556.
  2. ↑ 2.0 2.1 "กทม.ติดประกาศนโยบาย "ชัชชาติ" 214 ข้อ สั่งห้ามถ่ายรูปหน้าห้อง ผู้ว่าฯ". www.thairath.co.th. 2022-05-31.
  3. ราชกิจจานุเบกษา, พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528, เล่ม 102 ตอนที่ 115 ก ฉบับพิเศษ หน้า 1, 31 สิงหาคม พ.ศ. 2528.
  4. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร, เล่ม 90 ตอนที่ 16 ฉบับพิเศษ หน้า 3, 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2516.
  5. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร, เล่ม 90 ตอนที่ 141 ฉบับพิเศษ หน้า 6, 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2516.
  6. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร, เล่ม 91 ตอนที่ 100 หน้า 2572, 11 มิถุนายน พ.ศ. 2517.
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งผู้ปฏิบัติหน้าที่ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และรองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร, เล่ม 92 ตอนที่ 109 หน้า 1394, 10 มิถุนายน พ.ศ. 2518.
  8. "สปิริต"อภิรักษ์"ลาออกขอโทษคนกทม.-กกต.คาดเลือกใหม่ 11 ม.ค.นี้". mgronline.com. 2008-11-13.
  9. "เผย ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าฯ กทม.จะลาออกในวันพรุ่งนี้". thaiza. 2013-01-08.
  10. "สุขุมพันธุ์"รอด!ศาลยกคำร้องคดีใบเหลือง, โพสต์ทูเดย์, 5 กันยายน พ.ศ. 2557
  11. ราชกิจจานุเบกษา, คําสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 50/2559 เรื่อง ประกาศรายชื่อเจ้าหน้าที่ของรัฐที่อยู่ระหว่างการถูกตรวจสอบเพิ่มเติม ครั้งที่ 6 เล่ม 133 ตอนพิเศษ 188 ง หน้า 17, วันที่ 25 สิงหาคม 2559
  12. ↑ 12.0 12.1 ราชกิจจานุเบกษา, คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 64/2559 เรื่อง การให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครพ้นจากตำแหน่ง และการแต่งตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เล่ม 133 ตอนพิเศษ 238 ง หน้า 9, วันที่ 18 ตุลาคม 2559
  13. ""อัศวิน" เซ็นลาออก "ผู้ว่าฯ กทม." แล้ว ปิดฉาก "คสช." แต่งตั้ง 5 ปี 5 เดือน 5 วัน". bangkokbiznews. 2022-03-24.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

  • สำนักงานปกครองท้องถิ่นกรุงเทพมหานคร
  • ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครในอดีต

ผู้ว่าราชการจังหวัดหมายถึงอะไร

ผู้ว่าราชการจังหวัด น. ผู้รับนโยบายและคำสั่งจากราชการส่วนกลางมาปฏิบัติให้เหมาะสมกับท้องที่และเป็นหัวหน้าบังคับบัญชาบรรดาข้าราชการฝ่ายบริหาร ในการบริหารราชการส่วนภูมิภาค.

ผู้ว่าราชการ ทําหน้าที่อะไร

พระราชบัญญัติระเบียบบริหาราชการแผ่นดิน 2534 มาตรา 57 ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดมีอานาจและ หน้าที่ดังนี้ (1) บริหารราชการตามกฎหมายและระเบียบแบบแผนของทางราชการ (2) บริหารราชการตามที่คณะรัฐมนตรี กระทรวง ทบวง กรม มอบหมายหรือตามที่นายกรัฐมนตรีสั่ง การในฐานะหัวหน้ารัฐบาล จังหวัด

ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นข้าราชการไหม

อำนาจหน้าที่ของผู้ว่าราชการ ผู้ว่าราชการเป็นข้าราชการประจำหรือข้าราชการพลเรือนสามัญระดับ 10 เทียบเท่าอธิบดี สังกัดกระทรวงมหาดไทย โดยมาจากสายงานการปกครองหรือกรมการปกครอง เป็นตัวแทนของรัฐบาลหรือคณะรัฐมนตรี(ครม.) ในการบริหารงานส่วนภูมิภาค ได้รับเงินเดือนจากงบประมาณแผ่นดิน

ผู้ว่าราชการจังหวัดทำงานที่ไหน

ประวัติสำนักงานจังหวัด สำนักงานจังหวัดเป็นหน่วยงานบริหารราชการส่วนภูมิภาค ดำเนินการเป็นศูนย์กลาง ในการบริหารงานของผู้ว่าราชการจังหวัด เช่นเดียวกับสำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย ซึ่งเป็นศูนย์กลางของการบริหาร ราชการของกระทรวงมหาดไทยในส่วนกลางสำนักงานจังหวัด เป็นหน่วยงานที่ปรากฎชื่อเป็นครั้งแรกในพระราชบัญญัติระเบียบบริหาร ...