การเข้าใช้งาน Google Sites ต้องเข้าใช้ในเว็บไซต์ใด

ทุกคนคงรู้กันดีว่า การมีเว็บไซต์เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับทุกธุรกิจในปัจจุบันนี้ไปแล้ว แต่สำหรับเจ้าของธุรกิจ และคนทั่วไป พอพูดถึงการสร้างเว็บไซต์ก็ดูเหมือนจะเป็นเรื่องไกลตัว เป็นเรื่องยากที่เกี่ยวข้องกับไอที และการเขียนโปรแกรม สุดท้ายก็ต้องไปจ้างบริษัทรับทำเว็บ หรือฟรีแลนซ์มาทำให้ บางครั้งก็ต้องเจอค่าจ้างที่แพง แล้วพอทำออกมาก็อาจจะไม่ถูกใจ ไม่ตรงกับความต้องการอีก คำถามก็คือ ถ้าเป็นอย่างนี้ ทำไมเราไม่ทำเว็บไซต์เองเสียเลยล่ะ? พอมาถึงตรงนี้ ก็ย้อนกลับไปเรื่องเดิมอีก คือ มันยาก เป็นต้องเขียนโปรแกรมเป็น อะไรทำนองนั้น

เจ้าของกิจการหลากหลายธุรกิจที่ผมเคยได้พูดคุยด้วยนั้น โดยเฉพาะกลุ่ม SME ส่วนใหญ่ก็ไม่ได้ต้องการเว็บที่มีความซับซ้อนอะไร ไม่ได้ต้องการแม้แต่ระบบช้อปปิ้งเหมือนเว็บอีคอมเมิร์ซเสียด้วยซ้ำ เอาจริงๆ แล้วเกือบทั้งหมดก็ต้องการเพียงแค่เว็บไซต์ที่เน้นให้ข้อมูลเป็นหลัก หรือถ้าจะต้องการขายของ ก็มักจะให้ลูกค้าติดต่อผ่านช่องทาง ไลน์ แมสเซนเจอร์ หรือโทรเข้าคอลเซ็นเตอร์ เพื่อปิดการขายแทน

พอเราไม่ได้ต้องการเว็บไซต์ที่มีความซับซ้อนอะไร มันจึงไม่ใช่เรื่องยากที่จะสร้างเว็บไซต์ขึ้นมาด้วยตัวเอง แพลตฟอร์มสำหรับสร้างเว็บไซต์ก็มีมากมาย สร้างไม่นานก็เสร็จ สามารถมีเว็บไซต์ของตัวเองได้ทันที บทความนี้ขอแนะนำ Google Site ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มที่ให้เราสร้างเว็บไซต์ได้ฟรี มีรูปแบบสวยๆ ให้เลือกใช้งานเบื้องต้น สร้างได้ง่าย ไม่จำเป็นต้องมีความรู้เกี่ยวกับการเขียนโปรแกรมอะไรเลยก็สามารถสร้างแบบฟอร์มให้ลูกค้ากรอกข้อมูลได้ด้วย ดีงามจริงๆ ที่สำคัญคือ เป็นระบบเว็บไซต์ของ Google เอง ดังนั้นเรื่อง SEO ก็ไม่ต้องเป็นห่วงอะไรอยู่แล้วละครับ

วิธีการสร้างเว็บไซต์ด้วยตัวเอง ง่าย ฟรี สวยงาม

  1. เข้าไปที่เว็บไซต์ http://sites.google.com แล้วล็อกอินด้วย Gmail ที่เราต้องการใช้สร้างเว็บไซต์ (ตอนล็อกอินระบบอาจจะมีการขอให้กรอกโค้ดยืนยันที่ส่งเข้าเบอร์มือถือที่เราผูกไว้กับ Gmail) หลังจากล็อกอินเรียบร้อยแล้ว ก็จะเข้าสู่หน้าจอตามภาพด้านล่าง
    การเข้าใช้งาน Google Sites ต้องเข้าใช้ในเว็บไซต์ใด
    การเข้าใช้งาน Google Sites ต้องเข้าใช้ในเว็บไซต์ใด
  2. เริ่มสร้างเว็บไซต์ด้วยการกด + ที่กรอบ Start a new site จะเข้าสู่หน้าจอตามภาพด้านล่าง ซึ่งจะเป็นหน้าว่างๆ ที่รอให้เราใส่ภาพและข้อมูลลงไป โดยที่หน้านี้จะเป็นหน้าแรกหรือหน้า Homepage ของเว็บไซต์ที่เราสร้างขึ้นมา การจัดการภาพและข้อมูลจะทำด้วยเครื่องมือต่างๆ ที่อยู่ในส่วนของเมนูด้านขวามือ ซึ่งจะแบ่งออกเป็น 3 แทปใหญ่คือ Insert, Pages และ Themes
    • Insert จะเป็นแทปเครื่องมือสำหรับใส่ข้อมูลในแต่ละหน้า เช่น ข้อความ รูปภาพ รูปแบบการจัดวางเลย์เอาท์ต่างๆ ที่เตรียมไว้ให้ใช้งาน วิธีการใช้งานก็ง่าย เพียงแค่คลิ้ก หรือลากวางเท่านั้นเอง
    • Pages จะเป็นแทปสำหรับจัดการหน้าต่างๆ ของเว็บไซต์เรา เช่น การเพิ่มหน้า การลบหน้า การซ่อนหน้า ในเบื้องต้นเราจะมีแค่หน้า Home เท่านั้น ซึ่งก็คือหน้าที่เราดูอยู่นี่แหละครับ ถ้าเราต้องการเพิ่มหน้าเว็บไซต์ก็แค่เข้ามาที่แทปนี้ แล้วก็กด + เพื่อเพิ่มหน้าได้เลย ง่ายมากๆ
    • Themes ส่วนนี้จะเรื่องของหน้าตา และดีไซน์โดยรวมของเว็บไซต์ ซึ่งเราสามารถเลือกเปลี่ยนได้อย่างง่ายดายมาก วันไหนต้องการดีไซน์แบบไหน คลิ้กทีเดียวสไตล์ของเว็บก็เปลี่ยนไปทั้งเว็บไซต์เลย
      การเข้าใช้งาน Google Sites ต้องเข้าใช้ในเว็บไซต์ใด
      การเข้าใช้งาน Google Sites ต้องเข้าใช้ในเว็บไซต์ใด
  3. เลือก Themes เว็บไซต์แบบที่ต้องการ ขั้นตอนนี้ให้คลิ้กที่แทป Themes ที่ด้านบนของเมนูขวามือ เสร็จแล้วทดลองเลือก Themes ต่างๆ ดูว่าชอบแบบไหน ของผมเลือกแบบที่ชื่อ Impression ตามภาพจะสังเกตเห็นว่าพอเลือกแล้ว ดีไซน์เว็บจะเปลี่ยนไปทันที ดูสวยงามขึ้นมาบ้างละ ปล. ตัวอย่างด้านล่างของผมนี้ ผมแก้ตรง Enter Site Name (มุมบนซ้าย) และแก้ Your Page Title ให้เป็นชื่อเว็บไซต์ที่ผมตั้งเล่นๆ ขึ้นมาคือ The Stand Cheer (ล้อเลียน The Standard เล็กน้อย) พอเราใส่ชื่อเว็บไซต์แล้ว ตรงที่เคยเป็น Untitled site ก็จะเปลี่ยนเป็นชื่อเว็บไซต์ของเราแทน
    การเข้าใช้งาน Google Sites ต้องเข้าใช้ในเว็บไซต์ใด
    การเข้าใช้งาน Google Sites ต้องเข้าใช้ในเว็บไซต์ใด

    * สำหรับคนที่ลงเรียนคอร์ส Advance Google Analytics ถ้าทำสเต็ป 3 เสร็จแล้ว สามารถข้ามไปสเต็ปที่ 10 ได้เลย (Workshop สามารถใช้แค่หน้า Homepage หน้าเดียว)

    ** สำหรับคนที่ลงเรียนคอร์ส Intensive Google Analytics อย่างน้อยต้องทำให้ครบสเต็ปที่ 4 หลังจากสเต็ป 4 สามารถข้ามไปที่สเต็ป 10 ได้เช่นกัน (Workshop จะต้องใช้หน้า Thankyou page ด้วย)

  4. เพิ่มหน้าเว็บไซต์อื่นๆ ที่ต้องการ ในการเพิ่มหน้าเว็บนั้น จริงๆ แล้วเราควรคิดและออกแบบเป็น Sitemap ไว้ก่อนนะครับ ว่าเราจะมีหน้าอะไรบ้าง แต่ละหน้าเชื่อมโยงกันอย่างไร ใช้วิธีเขียนด้วยมือแบบคร่าวๆ ก่อนก็ได้ครับ เช่น จากหน้า Home แตกออกไปเป็น หน้าสินค้าและบริการ หน้าประวัติบริษัท หน้าที่อยู่และการติดต่อ หน้าแบบฟอร์ม (Google Site เตรียมเครื่องมือใส่ฟอร์มจาก Google Forms ไว้ให้เราใช้งานด้วยนะครับ ง่ายจริงๆ) ตัวอย่างของผม ผมเริ่มจากการเพิ่มหน้า Our Services เข้าไปก่อน ให้เริ่มต้นด้วยการคลิ้กที่แทป Pages แล้วคลิ้กที่เครื่องหมาย + ด้านล่าง จากนั้นก็ใส่ชื่อหน้าที่เราต้องการ กด Done เป็นอันเสร็จเรียบร้อย
    การเข้าใช้งาน Google Sites ต้องเข้าใช้ในเว็บไซต์ใด
    การเข้าใช้งาน Google Sites ต้องเข้าใช้ในเว็บไซต์ใด
    หลังจากเพิ่มหน้า Our Services เข้าไปแล้ว ก็ให้ลองเพิ่มหน้าอื่นๆ เข้าไปตามที่เราคิดเอาไว้แล้ว ตรงนี้สังเกตว่า หน้าที่เริ่มเพิ่มเข้าไปจะไปแสดงเป็นลิงค์เมนูที่แถบ Naviation ด้านบนของเว็บไซต์ เวลามีคนเข้าเว็บไซต์ก็สามารถเลือกดูข้อมูลหน้าต่างๆ ด้วยการคลิ้กลิงค์ด้านบนนี้ได้เลย

    สำหรับคนที่กำลังจะเข้าเรียนคอร์ส Intensive Google Analytics จำเป็นต้องสร้างหน้าเพิ่มเติม ตัวอย่างด้านล่างเป็นภาพที่ได้สร้างหน้า Store Map, Subscribe และ Thank You ซึ่งหน้าที่สำคัญที่สุดคือหน้า Thank You  หน้านี้จะใช้ในขั้นตอนการเวิร์คช้อปสร้าง Goal กัน อย่าลืมสร้างนะครับ


    การเข้าใช้งาน Google Sites ต้องเข้าใช้ในเว็บไซต์ใด
    การเข้าใช้งาน Google Sites ต้องเข้าใช้ในเว็บไซต์ใด

  5. ใส่ข้อมูลภาพ และข้อความลงในเว็บไซต์ด้วยเครื่องมือต่างๆ ใน Insert Tools ขั้นตอนนี้ให้คลิ้กกลับมาที่หน้า Home ก่อน (คลิ้กจากเมนูด้านบนได้เลย) จากนั้นให้คลิ้กที่แทป Insert แล้วคลิ้กที่แบบ Layouts ที่ต้องการ ของผมเลือกแบบแบ่งสามส่วน เพราะขนาดกำลังดีไม่เล็กไม่ใหญ่ไป พอคล้ิกแล้ว Layout แบบที่ต้องการก็จะแสดงขึ้นในหน้าเว็บทันที พร้อมให้เราเริ่มจัดการใส่ข้อมูและภาพแล้ว ซึ่ง Layout แบบ 3 ส่วนนี้ เราอาจจะใส่เป็นสินค้า 3 ชนิด หรือบทความ 3 บทความก็ได้เช่นกัน แล้วแต่ความต้องการของเราเลย ส่วนใครที่ไม่ต้องการใช้ Layout สำเร็จรูปจะใช้วิธีใส่ Text box หรือ Images เองโดยตรงก็ทำได้เหมือนกันครับ
    การเข้าใช้งาน Google Sites ต้องเข้าใช้ในเว็บไซต์ใด
    การเข้าใช้งาน Google Sites ต้องเข้าใช้ในเว็บไซต์ใด
  6. เริ่มจัดการใส่รูปภาพใน Layout โดยการคลิ้ก + ที่ช่องแรกใน Layout จะเห็นว่ามีเมนูคำสั่งแสดงขึ้นมาให้เราเลือกว่าจะเลือกรูปจากที่ไหน เช่น Upload จากเครื่องของเรา, Select Image จากแหล่งภาพอื่นๆ หรือเลือกจาก Google Drive ของเรา จริงๆ ตรงนี้เราสามารถที่จะใส่วิดีโอ Youtube หรือใส่ Map ก็ได้ด้วยเช่นกัน แต่เรามาเริ่มกันที่การใส่ภาพก่อน ให้ลองเลือก Upload แล้วเลือกไฟล์ภาพที่เราเตรียมไว้ดูครับ รูปภาพที่เตรียมไว้ก็ควรทำขนาดให้ใกล้เคียงกับ Layout และมีขนาดที่ไม่ใหญ่หรือเล็กเกินไป ลองอัพโหลดให้ครบทั้ง 3 ภาพดูนะครับ ตรงนี้ไม่อยากอะไร ทำเสร็จแล้วจะได้ภาพประมาณด้านล่างนี้
    การเข้าใช้งาน Google Sites ต้องเข้าใช้ในเว็บไซต์ใด
    การเข้าใช้งาน Google Sites ต้องเข้าใช้ในเว็บไซต์ใด
    การเข้าใช้งาน Google Sites ต้องเข้าใช้ในเว็บไซต์ใด
    การเข้าใช้งาน Google Sites ต้องเข้าใช้ในเว็บไซต์ใด
  7. เชื่อมโยมหน้าต่างๆ ด้วยการใส่ Link จากภาพหรือข้อความไปที่หน้าอื่นๆ ที่เราเตรียมไว้ ตัวอย่างที่จะทำให้ดูนี้ จะเป็นการสร้างลิงค์จากภาพและข้อความของ โดนัลด์ ทรัมป์ ให้ไปหน้า สินค้า/บริการที่ 1 ของเรา โดยที่เราจะเริ่มจากการสร้าง Service A ขึ้นมาอีก 1 หน้าภายใต้หน้า Our Service ที่เราสร้างมาก่อนหน้านี้แล้ว ให้คลิ้กที่แทป Pages แล้วคลิ้กที่หน้า Our Services เสร็จแล้วคลิ้กที่จุด 3 จุดด้านท้ายของหน้า Our Services จะเห็นว่ามีคำสั่ง Add Subpage คือสร้างหน้าย่อยภายใต้หน้า Our Services อีกที ให้ใส่ชื่อเป็น Service A หรืออะไรก็ได้ตามต้องการ
    การเข้าใช้งาน Google Sites ต้องเข้าใช้ในเว็บไซต์ใด
    การเข้าใช้งาน Google Sites ต้องเข้าใช้ในเว็บไซต์ใด
    การเข้าใช้งาน Google Sites ต้องเข้าใช้ในเว็บไซต์ใด
    การเข้าใช้งาน Google Sites ต้องเข้าใช้ในเว็บไซต์ใด
    การเข้าใช้งาน Google Sites ต้องเข้าใช้ในเว็บไซต์ใด
    การเข้าใช้งาน Google Sites ต้องเข้าใช้ในเว็บไซต์ใด

    ตัวอย่างที่ผมทำด้านบนนี้ผมใส่ไป 3 หน้าเลยคือ Service A B และ C จะเห็นว่าที่เมนู Pages หน้าทั้ง 3 หน้านี้จะแสดงเป็นหน้าย่อยภายใต้หน้า Our Service อีกที และเวลาที่เราเอาเมาส์ไปวางไปที่เมนู Our Services ด้านบนตรง Navigation ก็จะมีเมนูย่อยแสดงหน้า Subpage ทั้ง 3 หน้านี้ด้วย ลูกค้าที่เข้าเว็บก็สามารถเลือกเข้าดูสินค้าแต่ละตัวได้ตรงๆ เลย สะดวกดีมาก
  8. ใส่ Link ที่รูปภาพ และข้อความ ไปยังหน้า Service A ที่สร้างขึ้นมาใหม่ ให้เริ่มจากการคลิ้กกลับไปที่หน้า Home แล้วคลิ้กที่ภาพ โดนัลด์ ทรัมป์ จะเห็นว่ามีเมนูคำสั่งแสดงขึ้นมา ให้คลิ้กเลือกที่เมนูการสร้าง Link จากนั้นจะเห็นเมนูให้เราเลือกว่าจะให้ลิงค์ไปที่หน้าไหน ก็ให้เราเลือกหน้า Service A เสร็จแล้วก็กด Apply เป็นอันเสร็จเรียบร้อย ทีนี้พอใครเข้าเว็บไซต์เราแล้วกดที่รูปนี้ก็จะถูกส่งไปที่หน้า Service A แล้ว ง่ายไหมละครับ
    การเข้าใช้งาน Google Sites ต้องเข้าใช้ในเว็บไซต์ใด
    การเข้าใช้งาน Google Sites ต้องเข้าใช้ในเว็บไซต์ใด
    การเข้าใช้งาน Google Sites ต้องเข้าใช้ในเว็บไซต์ใด
    การเข้าใช้งาน Google Sites ต้องเข้าใช้ในเว็บไซต์ใด
  9. เพิ่ม และแก้ไขข้อความต่าง พร้อมก้บใส่ Link แบบข้อความไปที่หน้า Service A เริ่มจากคล้ิกที่ Click to edit text ใต้รูปแรก แล้วแก้ไขข้อความตามที่ต้องการ ตัวอย่างผมเปลี่ยนเป็น “Service A” และ “รายละเอียดสินค้า/บริการ A” พร้อมกับใส่คำว่า “ดูเพิ่มเติม” เพราะในขั้นตอนถัดไปเราจะใส่ลิงค์ที่ข้อความนี้ ไปที่หน้า Service A ที่เราสร้างขึ้น
    การเข้าใช้งาน Google Sites ต้องเข้าใช้ในเว็บไซต์ใด
    การเข้าใช้งาน Google Sites ต้องเข้าใช้ในเว็บไซต์ใด

    ให้ใช้เมาส์ทำไฮไลท์ที่คำว่า “ดูเพิ่มเติม” จะเห็นมีว่าเมนูคำสั่งแสดงขึ้นมาตามภาพด้านล่าง ให้คลิ้กที่เครื่องมือสร้าง Link แล้วทำเหมือนกับขั้นตอนที่เราใส่ลิงค์ในภาพ คือเลือกหน้า Service A แล้วก็กด Apply เท่านั้นก็เสร็จเรียบแล้ว สังเกตดูจะเห็นว่าข้อความ “ดูเพิ่มเติม” จะมีขีดเส้นใต้เพิ่มขึ้นมาให้รู้เป็น Link เมื่อคล้ิกก็จะไปที่หน้า Service A ตามที่เรากำหนดไว้ พอเราเข้าใจขั้นตอนเหล่านี้แล้ว ในส่วนของ Service B และ C ที่เราจะใส่ Link เพิ่มเติมที่รูปที่ 2 และ 3 คงไม่ยากอะไรแล้ว ลองดูกันนะครับ เสร็จตรงนี้ตอนที่เราทำเว็บไซต์ของจริง ก็อย่าลืมไปใส่ข้อมูลสินค้า/บริการ ในหน้า Service A/B/C ให้เรียบร้อยนะครับ ลากวางรูปและข้อความจากแทป Insert มาใส่แล้วก็ใส่ข้อมูลได้ตามต้องการเลย จากนั้นก็ทยอยเพิ่มหน้าอื่นๆ อีกให้ครบสมบูรณ์ตามโครงสร้างเว็บไซต์และ Sitemap ที่เราคิดเอาไว้ สำหรับใครที่ต้องการสร้างแบบฟอร์มให้ลูกค้ากรอกผ่านหน้าเว็บไซต์ก็สามารถทำได้เช่นกัน แต่จะต้องไปสร้าง Google Form ขึ้นมาก่อนโดยการใช้อีเมล์ด้วยกันกับที่สร้างเว็บไซต์นี้ พอสร้างแล้วเวลาจะเอาแบบฟอร์มมาใส่ในเว็บ เราก็สามารถเลือกเครื่องมือใส่ Forms ที่อยู่ภายใต้แทป Insert ได้เลยครับ ง่ายมากๆ ไม่มีอะไรซับซ้อนเลย
    การเข้าใช้งาน Google Sites ต้องเข้าใช้ในเว็บไซต์ใด
    การเข้าใช้งาน Google Sites ต้องเข้าใช้ในเว็บไซต์ใด
    การเข้าใช้งาน Google Sites ต้องเข้าใช้ในเว็บไซต์ใด
    การเข้าใช้งาน Google Sites ต้องเข้าใช้ในเว็บไซต์ใด
  10. เผยแพร่เว็บไซต์ที่เสร็จสมบูรณ์ออกไปให้คนอื่นๆ ได้รู้จัก และสามารถค้นหาเว็บไซต์ของเราเจอได้ใน Google (ในขั้นตอนนี้ผมขออนุญาติรวบรัดโดยถือว่าเราทำเว็บไซต์เสร็จสมบูรณ์แล้วนะครับ) ขั้นตอนนี้ให้เรากำหนด URL ของเว็บไซต์ที่เราต้องการเผยแพร่ก่อน โดยการกดปุ่มลูกศรชี้ลงข้างปุ่ม Publish แล้วเลือกที่ Publish Setting ก็จะเห็นหน้าจอตามภาพด้านล่าง
    การเข้าใช้งาน Google Sites ต้องเข้าใช้ในเว็บไซต์ใด
    การเข้าใช้งาน Google Sites ต้องเข้าใช้ในเว็บไซต์ใด
    ให้กำหนดชื่อเว็บของเราในช่อง Web Address ซึ่งถ้ามีคนใช้แล้วระบบก็จะไม่ยอม และให้เราตั้งใหม่อีกครั้ง เมื่อได้ชื่อที่ต้องการและไม่ซ้ำแล้ว เราก็จะเห็น URL ของเว็บไซต์เราที่พร้อมจะส่งให้คนอื่นเข้ามาดูอยู่ด้านล่างของช่อง Web Address เสร็จแล้วให้กด Save สังเกตตัวอย่างของผมตั้งชื่อเป็น thestandcheer ดังนั้นผมจะได้ชื่อเว็บเป็น https://sites.google.com/view/thestandcheer ซึ่งถ้าใครไม่ชอบ URL ยาวๆ แบบนี้อยากได้เป็น Domain สวยๆ ที่เราไปซื้อมาก็สามารถทำได้เช่นกันครับโดยเข้าไปแก้ที่ Custom URL ในส่วนของ Setting แต่ขั้นตอนนี้จะมีการ Verify ความเป็นเจ้าของด้วยนะครับ

    การเข้าใช้งาน Google Sites ต้องเข้าใช้ในเว็บไซต์ใด
    การเข้าใช้งาน Google Sites ต้องเข้าใช้ในเว็บไซต์ใด

    หลังจากนั้นก็สามารถกด Publish ที่มุมขวาบนเพื่อเผยแพร่เว็บไซต์ได้เลยครับ (ปล. ของผมเป็นการแก้ไขของเดิม ระบบก็เลยแจ้งเตือนให้ทราบว่าก่อนและหลังการแก้ไขมีอะไรเปลี่ยนแปลงไปบ้างครับ ก็จะแสดงตามภาพด้านล่างนี้) เมื่อกด  Pubish แล้ว คนอื่นๆ ก็สามารถที่จะเข้ามาดูเว็บไซต์ของเราได้แล้ว

    การเข้าใช้งาน Google Sites ต้องเข้าใช้ในเว็บไซต์ใด
    การเข้าใช้งาน Google Sites ต้องเข้าใช้ในเว็บไซต์ใด

  11. ทดลองเข้าดูเว็บไซต์ของเราด้วย URL ที่ Google Site สร้างให้ตอนที่เรากำหนดชื่อ Web Address ในขั้นตอนที่ 10 โดยนำ URL ไปวางที่บราวเซอร์แล้ว Enter เราก็เข้าสู่หน้า Homepage ของเว็บที่เราเพิ่งสร้างเสร็จเมื่อครู่นี้
    การเข้าใช้งาน Google Sites ต้องเข้าใช้ในเว็บไซต์ใด
    การเข้าใช้งาน Google Sites ต้องเข้าใช้ในเว็บไซต์ใด
  12. สำหรับคนที่จะเข้าอบรม Advance Google Analytics ให้ทำเพิ่มในขั้นตอนที่ 12 นี้ คือการระบุหมายเลข Google Analytics Measurement ID ในเว็บไซต์ที่เพิ่งสร้างเสร็จกันมาครับ เปิดบัญชีใช้งาน Google Analytics หลังจากสร้างบัญชี Google Analytics แล้ว เราจะได้หมายเลข Measurement ID ประมาณนี้ G-xxxxxxxxx ให้นำหมายเลขนี้มาใส่ในเว็บโดยไปที่ส่วนการตั้งค่า (เครื่องหมายฟันเฟือง) แล้วเลือกเมนู Analytics ตามภาพ แล้วนำหมายเลข Measurement ID ไปใส่ในช่องที่เขียนว่า Google Analytics Tracking or Measurement ID เสร็จแล้วเซฟ และกด Publish เว็บไซต์อีกครั้งหนึ่ง
    การเข้าใช้งาน Google Sites ต้องเข้าใช้ในเว็บไซต์ใด
    การเข้าใช้งาน Google Sites ต้องเข้าใช้ในเว็บไซต์ใด

เสร็จเรียบร้อยสำหรับการสร้างเว็บไซต์ด้วยตัวเอง ไม่ยากเลยใช่ไหมครับ ลองนำไปปรับ Apply ใช้กับเว็บไซต์ของเรากันดูนะครับ สำหรับธุรกิจที่เน้นการสร้างเว็บไซต์เพื่อการให้ข้อมูลเป็นหลัก ผมคิดว่า Google Site เป็นอีกหนึ่งคำตอบที่ช่วยให้ธุรกิจสามารถสร้างเว็บไซต์ได้เอง ใช้เวลาไม่มาก และไม่ต้องเสียเงินค่าจ้างทำเว็บไซต์ราคาแพงด้วย  ติดขั้นตอนอะไรก็สอบถามเข้ามาทาง LINE OA ด้านล่างนี้ได้เลยครับ

การตั้งชื่อไซต์ใน Google Sites ต้องตั้งที่ใด

Site name (ชื่อเว็บไซต์) ชื่อเว็บไซต์จะปรากฏในส่วนหัวและในแถบชื่อหน้าต่างของเว็บหรืออุปกรณ์เคลื่อนที่หลังจากที่คุณเผยแพร่เว็บไซต์ เพื่อให้ชื่อเว็บไซต์ของคุณปรากฏคุณต้องมีหน้าเว็บ 2 หน้าขึ้นไป Page title (ชื่อหน้าเว็บ) แต่ละหน้าในเว็บไซต์จะมีชื่อซึ่งจะปรากฏที่ด้านบนของหน้าเว็บ และชื่อหน้าเว็บจะปรากฏในเมนูการนำทางด้วย

หากต้องการเข้าถึง Google Sites คือลิงก์ข้อใด

ขั้นตอนที่ 1 การเข้าถึง Drive. เข้าถึงได้จาก http://sites.google.com หรือเมื่อ login อยู่ในระบบแล้ว ที่เมนู Google Apps เลือก “Sites” จะปรากฏหน้าจอ Site.

สิ่งสำคัญที่ต้องมีในการสร้างเว็บไซต์ด้วย Google Sites คืออะไร

สิ่งสำคัญที่ต้องมีในการสร้างเว็บไซต์ด้วย google site คือ ? ข้อมูลและรูปภาพ พื้นที่ฟรี สถิติผู้เข้าชม

Google Sites เปิดใช้งานเมื่อใด ? *

กูเกิ้ลไซตGoogle Sites ใหบริการครั้งแรกเมื่อเดือนพฤษภาคม 2551 Google Sites คือโปรแกรมของ Google ที่ ใหบริการสรางเว็บไซตฟรีสามารถสรางเว็บไซตไดงาย ปรับแตงรูปลักษณไดสามารถรวบรวมความหลากหลายของขอมูล ไวในที่เดียว เชน วิดีโอ, ปฏิทิน, เอกสาร อื่นๆ สามารถนํามาแทรกในหนาเว็บเพจไดใหไดใชงานไดงาย ทําใหชวยอํา ...