ธนาคารแห่งประเทศไทยมีฐานะเป็นสถาบันการเงินประเภทใด

ธนาคารแห่งประเทศไทยมีฐานะเป็นสถาบันการเงินประเภทใด

ผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน ครั้งที่ 5/2565

ธนาคารแห่งประเทศไทยมีฐานะเป็นสถาบันการเงินประเภทใด

แถลงข่าวร่วมกระทรวงการคลังและธนาคารแห่งประเทศไทย

ธนาคารแห่งประเทศไทยมีฐานะเป็นสถาบันการเงินประเภทใด
Media Briefing มหกรรมร่วมใจแก้หนี้ : มีหนี้ต้องแก้ไข เริ่มต้นใหม่อย่างยั่งยืน

ธนาคารแห่งประเทศไทยมีฐานะเป็นสถาบันการเงินประเภทใด

ธนาคารแห่งประเทศไทยมีฐานะเป็นสถาบันการเงินประเภทใด

อินโฟกราฟฟิก & มัลติมีเดีย

ธนาคารแห่งประเทศไทยมีฐานะเป็นสถาบันการเงินประเภทใด

ลูกหนี้เตรียมตัวให้พร้อม ลงทะเบียนมหกรรมร่วมใจแก้หนี้ออนไลน์ ได้ตั้งแต่ 26 ก.ย. ถึง 30 พ.ย. 65 นี้

ธนาคารแห่งประเทศไทยมีฐานะเป็นสถาบันการเงินประเภทใด

พาเดินสำรวจ Smart City เมืองขอนแก่น ​ดำเนินรายการโดย คุณชญาวดี ชัยอนันต์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายบริหารการสื่อสารองค์กร แบงก์ชาติ

ธนาคารแห่งประเทศไทยมีฐานะเป็นสถาบันการเงินประเภทใด

ธนาคารแห่งประเทศไทยมีฐานะเป็นสถาบันการเงินประเภทใด

ธนาคารแห่งประเทศไทยมีฐานะเป็นสถาบันการเงินประเภทใด

ธนาคารแห่งประเทศไทยมีฐานะเป็นสถาบันการเงินประเภทใด

อัตราแลกเปลี่ยน

เงินตราต่างประเทศ

ประจำวันที่ 12 ต.ค. 2565

สกุลเงิน อัตราซื้อ อัตราขาย
ตั๋วเงิน เงินโอน
USD 37.9061 38.0038 38.3251
EUR 36.5519 36.6576 37.4040
JPY 25.6742 25.7747 26.4688

ธนาคารแห่งประเทศไทยมีฐานะเป็นสถาบันการเงินประเภทใด

ธนาคารแห่งประเทศไทยมีฐานะเป็นสถาบันการเงินประเภทใด

ธนาคารแห่งประเทศไทยมีฐานะเป็นสถาบันการเงินประเภทใด

เกี่ยวกับ ธปท.

ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เป็นองค์กรของรัฐที่มี บทบาทหน้าที่​​ หลักในการบริหารจัดการให้ระบบเศรษฐกิจและการเงินของประเทศดำเนินไปด้วยความเรียบร้อย โดยผ่านการดำเนินนโยบายการเงินเพื่อสนับสนุนให้เศรษฐกิจของประเทศสามารถเติบโตได้อย่างมีเสถียรภาพในอัตราที่เหมาะสมกับศักยภาพของประเทศ ซึ่งถือเป็นการร่วมสร้างสิ่งแวดล้อมทางเศรษฐกิจที่เอื้ออำนวยให้ประชาชนสามารถยกระดับคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้นอย่างยั่งยืนในระยะยาวด้วย​

ภารกิจที่สำคัญของ ธปท. ได้แก่ การดูแลเสถียรภาพ​ทางการเงินของประเทศ ผ่านอัตราเงินเฟ้อ และอัตราแลกเปลี่ยนหรือค่าเงินบาท ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมและสอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจในแต่ละช่วงเวลา รวมถึงบริหารจัดการธนบัตรหมุนเวียนภายในประเทศ และดูแลระบบการชำระเงินด้วย นอกจากนี้ ธปท. ยังมีหน้าที่ในการกำกับดูแลสถาบันการเงิน และให้ความคุ้มครองประชาชนให้ได้รับการปฏิบัติอย่างเป็นธรรมในการใช้บริการของสถาบันการเงินอีกด้วย

สำหรับทิศทางการดำเนินงานของ ธปท. ในภาพรวมนั้น ธปท. จะดำเนินงานภายใต้ แผนยุทธศาสตร์ 5 ปี (BOT Strategy Roadmap) โดยแผนยุทธศาสตร์ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน (ปี 2555-2559) ได้มีการกำหนดวิสัยทัศน์คือ เป็นองค์กรที่มองไกล มีหลักการ และร่วมมือ เพื่อความเป็นอยู่ที่ดีอย่างยั่งยืนของไทย และกำหนดค่านิยมร่วมคือ “ยืนตรง มองไกล ยื่นมือ ติดดิน”

โดยมีพันธกิจคือ “มุ่งเสริมสร้างสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจการเงินที่มีเสถียรภาพ และมีพัฒนาการอย่างยั่งยืนและทั่วถึง” ซึ่งทาง ธปท. ได้แบ่งพันธกิจหลักขององค์กรออกเป็น 5 ด้านด้วยกัน ซึ่งได้แก่

1. เสถียรภาพราคา หมายถึงการใช้เครื่องมือทางนโยบายที่​มีอยู่ในการดูแลให้อัตราเงินเฟ้ออยู่ในช่วงที่เหมาะสมกับสภาวะเศรษฐกิจและอยู่ภายในกรอบเป้าหมายที่ธปท.กำหนดเอาไว้ ซึ่งจะเอื้อต่อการตัดสินใจและวางแผนการดำเนินกิจกรรมของภาคธุรกิจเอกชนและครัวเรือน พร้อมทั้งช่วยสนับสนุนการเจริญเติบโต

2. เสถียรภาพระบบการเงิน หมายถึงการกำหนดกฎเกณฑ์และการดำเนินการอื่นใดเพื่อให้ระบบการเงินของประเทศดำเนินไปอย่างราบรื่น เพิ่มศักยภาพในการสอดส่องดูแลความเสี่ยงเชิงระบบ

3. เสถียรภาพระบบชำระเงิน หมายถึงการกำหนดนโยบายด้านการชำระเงินเพื่อส่งเสริมประสิทธิภาพและความมั่นคงของระบบการชำระเงิน โดยนอกจากจะสนับสนุนให้เกิดความร่วมมือในการพัฒนาระบบการชำระเงิน ระบบการหักบัญชีระหว่างสถาบันการเงิน และบริหารจัดการระบบดังกล่าวให้มีความปลอดภัยและมีประสิทธิภาพแล้ว ยังทำหน้าที่ให้บริการโครงสร้างพื้นฐานของระบบการชำระเงินแก่สถาบันการเงิน เพื่อลดความเสี่ยงในด้านของการชำระเงิน และสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ใช้บริการทางการเงินอีกด้วย

4. ความเป็นเลิศทางด้านธนบัตร หมายถึงการบริหารจัดการให้ธนบัตรที่หมุนเวียนในระบบการเงินอยู่ในสภาพที่ดี และมีปริมาณที่เพียงพอสำหรับการใช้จ่ายของประชาชนและภาคธุรกิจ ซึ่งนอกจากการออกแบบและผลิตธนบัตรให้มีความสวยงามน่าใช้ มีขนาดที่เหมาะสม และเน้นเอกลักษณ์ความเป็นไทยแล้ว ทางธปท.ยังให้ความสำคัญกับการพัฒนาและนำเทคโนโลยีต่อต้านการปลอมแปลงใหม่ ๆ มาใช้กับธนบัตรอีกด้วย

5. คุ้มครองผู้บริโภคทางการเงิน หมายถึง การกำกับดูแลให้สถาบันการเงินให้บริการทางการเงินอย่างเป็นธรรมต่อผู้บริโภค ให้ความรู้ ข้อมูล คำปรึกษาและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับบริการทางการเงิน รวมไปถึงการรับเรื่องร้องเรียนและให้ความคุ้มครองแก่ประชาชนในกรณีที่เกิดปัญหาจากการได้รับบริการทางการเงินที่ไม่เป็นธรรม หรือประสบภัยทางการเงินจากการขบวนการหลอกลวงต้มตุ๋น

นอกจากนี้ ธปท. ยังทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางของข้อมูลเศรษฐกิจการเงินอย่างครบถ้วน รอบด้าน ทันต่อเหตุการณ์ และเชื่อถือได้ เพื่อให้สาธารณชนได้รับทราบสถานการณ์ทางเศรษฐกิจตามความเป็นจริง โดยมีการรายงานข้อมูลและดัชนีชี้วัดที่สำคัญทางเศรษฐกิจทั้งในประเทศและต่างประเทศ รวมถึงอธิบายถึงสาเหตุของการเปลี่ยนแปลงในแต่ละส่วนพร้อมทั้งประเมินภาพแนวโน้มเศรษฐกิจในระยะต่อไปอยู่เป็นประจำ

สำหรับการสื่อสารในเรื่องของนโยบายการเงิน ธปท. มีการเผยแพร่ผลการตัดสินนโยบายการเงินหลังการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินแต่ละครั้งให้สาธารณชนได้รับรู้ โดยจะเปิดเผยถึงเหตุผลของการตัดสินใจคงหรือปรับเพิ่ม/ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ข้อมูลที่ใช้ประกอบการตัดสินใจ พร้อมทั้งให้มุมมองแนวโน้มเศรษฐกิจของ ธปท. และตอบข้อซักถามของสื่อมวลชน เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ชัดเจนเกี่ยวกับมุมมองของ ธปท. ในประเด็นต่าง ๆ

นอกจากนี้ ธปท. ยังมีการเผยแพร่บทวิเคราะห์แนวโน้มทางเศรษฐกิจและใช้เป็นสมมติฐานในการจัดทำประมาณการเศรษฐกิจประกอบการตัดสินนโยบายการเงิน ซึ่งจะช่วยให้ภาคเอกชนสามารถวางแผนและตัดสินใจทางธุรกิจให้สอดคล้องกับสภาวะทางเศรษฐกิจและแนวทางการดำเนินโยบายการเงินของ ธปท.

ปัจจุบัน ธปท. ได้ปฏิบัติหน้าที่เป็นธนาคารกลางของประเทศไทยมาอย่างยาวนานกว่า 70 ปี แล้ว ซึ่งตาม ประวัติของธปท.​ นั้นเริ่มมีความพยายามที่จะริเริ่มก่อตั้งธนาคารกลางอย่างจริงจังมาตั้งแต่หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี พ.ศ. 2475 แล้ว แต่ด้วยปัญหาเสถียรภาพทางการเมืองในประเทศ และความขาดแคลนผู้ที่มีความรู้ความชำนาญทางด้านการเงินการธนาคาร จึงทำให้ต้องใช้เวลาอีกถึง 10 ปีจึงสามารถเปิดดำเนินการได้

นับตั้งแต่ ธปท. เริ่มเปิดดำเนินงานในวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2485 เป็นต้นมา ผู้ว่าการจากอดีตจนถึงปัจจุบัน มีจำนวนทั้งสิ้น 22 ท่าน โดยผู้ว่าการ ธปท. คนปัจจุบันได้แก่ นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ซึ่งเข้าดำรงตำแห่งตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2553 นอกจากผู้ว่าการซึ่งเป็นผู้บริหารสูงสุดของ ธปท. แล้ว ใน ทำเนียบผู้บริหาร ยังประกอบไปด้วยรองผู้ว่าการ 3 ท่าน และผู้ช่วยผู้ว่าการอีก 10 ท่าน ซึ่งทำหน้าที่บริหารส่วนงานต่าง ๆ ของ ธปท. สำหรับนโยบายและการดำเนินงานด้​านต่าง ๆ นั้นจะกำหนดโดย คณะกรรมการ ที่มีอยู่หลายคณะอย่างเช่น คณะกรรมการนโยบายการเงิน คณะกรรมการ​นโยบายสถาบันการเงิน และคณะกรรมการระบบการชำระเงิน เป็นต้น โดยมีคณะกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทยทำหน้าที่กำหนดนโยบายในภาพรวมของธปท.

เพื่อให้ประชาชนสามารถสืบค้นข้อมูลทางเศรษฐกิจ การเงิน การธนาคารและตรวจสอบข้อมูลเกี่ยวกับการดำเนินงานของธปท. ได้อย่างโปร่งใส ทาง ธปท. ได้เตรียมช่องทางต่าง ๆ ไว้รองรับทั้งทางเว็บไซต์ บริการห้องข้อมูลข่าวสาร​ บริการห้องสมุดและจดหมายเหตุ นอกจากนี้ยังมี บริการเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์ ธปท.​ และกิจกรรม การเยี่ยมชมกิจการของ ธปท. รวมไปถึงการจัด กิจกรรมเพื่อสังคม อย่างเช่น ​โครงการให้ทุนการศึกษา​ โครงการให้ความรู้ทางการเงิน และโครงการเศรษฐทัศน์​ เป็นต้น​​

สถาบันการเงินในประเทศไทย มีอะไรบ้าง

ธนาคารพาณิชย์จดทะเบียนในประเทศ (18 แห่ง).
ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน).
ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน).
ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน).
ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน).
ธนาคารทหารไทยธนชาต จำกัด (มหาชน).
ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย จำกัด (มหาชน).
ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน).
ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด (ไทย) จำกัด (มหาชน).

สถาบันการเงินใดบ้างที่อยู่ภายใต้ความรับผิดชอบของธนาคารแห่งประเทศไทย

ธุรกิจการเงิน​ที่ ธปท. กำกับดูแล​​​​.
สถาบันการเงิน 1.1 ธนาคารพาณิชย์ • ธนาคารพาณิชย์ • ธนาคารพาณิชย์เพื่อรายย่อย • ธนาคารพาณิชย์ที่เป็นบริษัทลูกของธนาคาร ต่างประเทศ • สาขาของธนาคารต่างประเทศ 1.2 บริษัทเงินทุน 1.3 บริษัทเครดิตฟองซิเอร์.
สำนักงานผู้แทน.
บริษัทบริหารสินทรัพย์.
Non-​Bank..

สถาบันการเงินประเภทธนาคาร มีอะไรบ้าง

1. สถาบันการเงินประเภทธนาคาร หมายถึง สถาบันการเงินด าเนินงานรับฝาก เงินที่สามารถไถ่ถอนคืนได้ และให้กู้ยืม เป็นช่องทางการเชื่อมโยงระหว่างผู้ออมกับผู้ ต้องการเงินทุน ได้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารที่มีวัตถุประสงค์ เฉพาะ

ข้อใดเป็นสถาบันการเงินที่เรียกว่าธนาคารกลางของประเทศไทย

1.ธนาคารกลาง คือ ธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งไม่ท าหน้าที่ในการรับฝากและให้กู้ เงินแก่ประชาชน แต่ท าหน้าที่ดังกล่าวให้กับธนาคารพาณิชย์และรัฐบาล นอกเหนือจากการ ดูแลเสถียรภาพทางการเงิน ระบบสถาบันการเงิน และระบบการช าระเงิน อันเป็นเรื่องส าคัญ ของประเทศที่จะต้องมีคนกลางทาหน้าที่เหล่านี้ให้กับธนาคารพาณิชย์และประชาชน