รอยเท้าดิจิทัล หมายถึงอะไร และแบ่งได้เป็นกี่ประเภท อะไรบ้าง

รู้หรือไม่ว่าโลกออนไลน์นั้นมีข้อมูลของเรามากกว่าที่คิด ไม่ใช่แค่กับ Search Engine ชื่อดังอย่าง Google เท่านั้น แต่รวมไปถึง Social Network ต่างๆ ที่มีการเก็บข้อมูลผู้ใช้งานเอาไว้ บ้างก็เพื่อบันทึกสถิติ บ้างก็ถูกนำไปใช้ต่อในการโฆษณา ซึ่งเรามีการเรียกข้อมูลการเดินทางผ่านเว็บไซต์และช่องทางออนไลน์ต่างๆ ว่า Digital Footprint

Digital Footprint คือ ข้อมูลการใช้งานต่างๆ ของผู้คนบนโลกอินเทอร์เน็ตที่ถูกบันทึกไว้ ไม่ว่าคุณจะเข้าเว็บไซต์ใดๆ ก็ตามเช่น Google, Youtube หรือเว็บไซต์ไทยอย่าง Pantip ก็ล้วนแล้วแต่มีการเก็บข้อมูลผู้ใช้ทั้งสิ้น จะมากน้อยแล้วแต่เว็บไซต์ การเก็บข้อมูลดังกล่าวยังครอบคลุมไปถึงแอปพลิเคชัน และโซเชียลมีเดียต่างๆ อีกด้วย

ประเด็นที่น่าสนใจคือข้อมูลดังกล่าวมีอะไรมากกว่าที่เราคิด สิ่งที่เว็บไซต์จะได้ไปนั้นไม่ใช่แค่ข้อมูลส่วนตัว สเตตัสบ่น หรือรูปถ่ายข้าวกลางวัน แต่รวมไปถึงจำนวนการคลิกลิงก์ วินาทีการดูโฆษณา การใช้เวลาบนเว็บไซต์ รวมถึงการค้นหาต่างๆ

เรียกได้ว่าโลกอินเทอร์เน็ตอาจรู้จักตัวคุณมากกว่าที่คุณรู้จักตัวเองเสียด้วยซ้ำ

Tips: เนื่องจากร่องรอยเหล่านี้สามารถตามได้เหมือนกับรอยเท้า มันจึงถูกเรียกว่า Digital Footprint นั่นเอง

รอยเท้าดิจิทัล หมายถึงอะไร และแบ่งได้เป็นกี่ประเภท อะไรบ้าง

รูปแบบของ Digital Footprint

Digital Footprint ถูกแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบใหญ่ๆ คือ

1.Digital Footprint ที่ผู้ใช้เจตนาบันทึก (Active Digital Footprint)

ข้อมูลชนิดนี้จะเป็นข้อมูลที่ผู้ใช้ต้องการบันทึกลงบนอินเทอร์เน็ตตั้งแต่แรก เช่น การโพสต์สิ่งต่างๆ ลงบนโซเชียลมีเดีย การลงรูป การส่งอีเมล เป็นต้น

2.Digital Footprint ที่ผู้ใช้ไม่เจตนาบันทึก (Passive Digital Footprint)

ข้อมูลที่ไม่เจตนาบันทึกมักอยู่ในการทำงานเบื้องหลังของคอมพิวเตอร์ ที่หลายๆ คนไม่รู้สึกถึงการคงอยู่ของมันด้วย เช่น History ในการค้นหาต่างๆ บันทึกการเข้าเว็บไซต์ การคลิกลิงก์ภายในเว็บไซต์ ไปจนถึงช่วงเวลาในการใช้งานเว็บและแอปพลิเคชัน

ประโยชน์ของการมี Digital Footprint

1.ตามรอยอาชญากรได้ง่ายขึ้น

อาชญากรรมทางดิจิทัลนั้นมีมากขึ้นเรื่อยๆ ตามยุคสมัย และการเก็บบันทึก Digital Footprint จะส่งผลให้ทางหน่วยงานสามารถตามรอยบุคคลต้องสงสัยต่างๆ ได้ง่าย

2.โฆษณาประชาสัมพันธ์สามารถทำได้ง่ายขึ้น

ปฏิเสธไม่ได้ว่าการมี Digital Footprint จะทำให้บริษัทโฆษณาต่างๆ สามารถนำเสนอสิ่งที่ผู้คนอยากเห็นได้ง่ายๆ โดยเฉพาะในโซเชียลมีเดียอย่าง Facebook และ Twitter จนบางคนตั้งข้อสังเกตเลยว่าโฆษณาเหล่านี้ตรงใจเกินไปรึเปล่า

3.ร้านค้าต่างๆ สามารถตอบสนองกับความต้องการผู้ค้าได้ดี

Digital Footprint นั้นรวมถึงการเก็บข้อมูลการซื้อ ขาย และการจัดการสต็อกต่างๆ ในร้านค้า ซึ่งการบันทึกข้อมูลเหล่านี้จะช่วยให้ห้างร้านต่างๆ สามารถจัดการข้อมูลของตนเองได้ และนำของมาเติมสต็อก รวมถึงการคิดแผนโปรโมตสินค้าได้ง่ายขึ้นอีกด้วย

เมื่อเข้าใจถึง Digital Footprint รวมถึงประโยชน์ของมันกันแล้ว ลองมาดูสิ่งที่เป็นประเด็นสำคัญในเรื่องนี้กันดีกว่า ซึ่งนั่นคือ Privacy หรือ ความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้อินเทอร์เน็ต และการใช้งานข้อมูลต่างๆ จาก Digital Footprint นั่นเอง

รอยเท้าดิจิทัล หมายถึงอะไร และแบ่งได้เป็นกี่ประเภท อะไรบ้าง

ประเด็นปัญหาด้านความเป็นส่วนตัวของ Digital Footprint

หนึ่งในประเด็นปัญหาด้าน Digital Footprint ที่ถูกสื่อออกมาได้ชัดเจนที่สุดคือวิดีโอโฆษณาจากทาง Duval Guillaume ที่ให้นักแสดงทำทีว่าสามารถอ่านใจคนอื่นได้ โดยมีเบื้องหลังคือการเข้าไปดูข้อมูลจากใน Social Media และ Search Engine



แม้ว่าวิดีโอนี้จะออกมาตั้งแต่ปี 2012 แต่ในช่วงเวลาที่ผ่านมาก็พิสูจน์แล้วว่าเรื่องดังกล่าวส่งผลกระทบมากกว่าที่เราคิด

นอกเหนือจากการที่มีคนเข้ามารับรู้ข้อมูลของเรา ซึ่งบางครั้งเราก็ไม่ได้ต้องการ ยังรวมไปถึงการขโมยตัวตนผ่านโลกอินเทอร์เน็ต การที่มีคนไม่รู้จักสามารถทักทายเราได้ง่ายกว่าเดิม ซึ่งอาจเป็นช่องทางในการทำอาชญากรรมได้

ยิ่งกว่านั้นคือการใช้งาน Digital Footprint แบบผิดๆ ในการโฆษณาชวนเชื่อ ยังส่งผลแบบวงกว้าง ดังเช่นคดีของ Cambridge Analytica ที่ใช้ข้อมูลจาก Facebook มาเพื่อวิเคราะห์เกมการเมืองในสหรัฐอเมริกา ก่อให้เกิดการตั้งข้อสงสัยว่า “การปล่อยข้อมูลส่วนตัวออกไปให้บริษัทใหญ่ขนาดนี้ ดีจริงๆ หรือ”

การแก้ไขปัญหาความเป็นส่วนตัวและ Digital Footprint

อ่านจนถึงจุดนี้หลายคนอาจจะเริ่มตั้งคำถามว่า แล้วเราจะจัดการ Digital Footprint ของตัวเองได้อย่างไร ขอบอกเลยว่า “ค่อนข้างยาก” เนื่องจากการใช้แอปพลิเคชันและเว็บไซต์ในปัจจุบันจะมีการขอข้อมูลพื้นฐานของเราไปส่วนหนึ่งอยู่แล้ว แม้แต่ในระดับสากลก็ยังมีการตั้งคำถามเกี่ยวกับ User Privacy หรือความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้จากเว็บไซต์ต่างๆ แต่ก็ไม่ได้มีการตอบรับเท่าที่ควร

ซึ่งถ้าอยากให้ Digital Footprint มีความปลอดภัยมากขึ้นทางเรามีคำแนะนำเบื้องต้นดังนี้

1.ระมัดระวังก่อนโพสต์-แชร์ อะไรก็ตาม
เนื่องจากการโพสต์หรือแชร์สิ่งต่างๆ บนโลกออนไลน์จะมีคนเห็นและมีการบันทึกลงในแพลตฟอร์มนั้นๆ อยู่เสมอ การระวังตั้งแต่ต้นถือเป็นการป้องกันความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต

2.ไม่ใส่ข้อมูลส่วนตัวในโซเชียลมีเดียเยอะเกินความจำเป็น
การใส่ข้อมูลในโซเชียลมีเดียมากจนเกินไปจะทำให้แพลตฟอร์มนั้นๆ “รู้เรื่องของเรา” มากกว่าที่เราต้องการ หากไม่ต้องการทิ้ง Digital Footprint ไว้มาก ควรกรอกข้อมูลแค่ช่องที่จำเป็นเท่านั้น

3.ตั้งค่าข้อมูลส่วนตัวต่างๆ ให้เป็น Private
การตั้งข้อมูลทุกอย่างเป็น Public ไม่ว่าจะเป็นเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชันจะทำให้ Digital Footprint ของคุณเข้าถึงได้ง่ายมากขึ้น การตั้งค่าความเป็นส่วนตัวเป็น Private หรือเฉพาะคนรู้จัก จะช่วยจำกัดเรื่องนี้ได้ไม่น้อย

4.ลอง Google ตัวเองดู
หากสงสัยว่า Digital Footprint ของคุณเยอะหรือน้อยขนาดไหน เรื่องง่ายๆ ที่ทำได้เลยคือลองค้นหาตัวเองใน Google ดู ถ้าไม่เจอข้อมูลหรือเจอข้อมูลน้อยมาก ก็แสดงว่าในเบื้องต้นคุณก็ไม่ใช่คนที่มี Digital Footprint เยอะนัก

5.ระมัดระวังการใช้อินเทอร์เน็ตส่วนอื่นๆ
การเข้าเว็บไซต์ผิดกฎหมาย การคลิกลิงก์แปลกๆ อาจแฝงไปด้วยระบบที่ติดตามข้อมูลรวมถึงล้วงข้อมูลที่คุณอาจไม่ต้องการเปิดเผย รวมถึงเก็บ Digital Footprint โดยที่คุณไม่ยินยอม ดังนั้นในการท่องโลกอินเทอร์เน็ต ควรใส่ใจเรื่องของความปลอดภัยเป็นสำคัญ

สรุป

Digital Footprint หรือที่รู้จักกันในชื่อรอยเท้าดิจิทัล คือร่องรอยการใช้งานอินเทอร์เน็ตของบุคคลนั้นๆ ซึ่งมีทั้งรูปแบบที่เรายินยอมและไม่ยินยอม ในปัจจุบันยังมีการตั้งคำถามถึงเรื่องของความเป็นส่วนตัวจากผู้ให้บริการเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชันที่มีการเก็บ Digital Footprint แต่ก็ยังไม่ได้มีการตอบรับอะไรเท่าที่ควร

ดังนั้นผู้ใช้งานควรมีการระมัดระวังตัวเอง อย่าเปิดเผยข้อมูลส่วนตัวมากเกินไป รวมถึงระมัดระวังในการใช้โซเชียลมีเดียต่างๆ เพื่อให้ Digital Footprint ของตน รวมถึงข้อมูลต่างๆ ไม่ถูกนำไปใช้ในภายหลัง

รอยเท้าดิจิทัล หมายถึงอะไร และแบ่งได้เป็นกี่ประเภท อะไรบ้าง

รอยเท้าดิจิทัล หมายถึงอะไร

Digital Footprint คือ รอยเท้าบนโลกดิจิทัล รวมทั้งพฤติกรรมการใช้งานโซเชียลมีเดียแพลตฟอร์มต่าง ๆ เช่น Facebook, Twitter, Instagram และ YouTube การพิมพ์ข้อความคอมเมนต์ การโพสต์ข้อความ วิดีโอ เขียนบล็อก การเข้าสู่เว็บไซต์ การกดไลก์เพจ หรือแชร์ข้อความ พฤติกรรมการใช้งานต่าง ๆ เหล่านี้จะถูกบันทึกไว้ ให้ติดตามร่องรอยถึงตัวเรา ...

รอยเท้าดิจิทัลหมายถึงอะไรและแบ่งได้กี่ประเภท

Digital Footprint แปลเป็นไทยตรงๆ เลยก็คือ "รอยเท้าดิจิทัล" (บางแห่งอาจจะเรียกว่า "ร่องรอยดิจิทัล") ซึ่งมันเป็นข้อมูลที่เราสร้างไว้บนอินเทอร์เน็ต มีอยู่สองประเภท คือ รอยเท้าที่เกิดขึ้นโดยเจตนา และ รอยเท้าที่ไม่ได้ตั้งใจฝากเอาไว้

ร่องรอยไซเบอร์มีกี่ประเภท

พูดกันตามหลักการ ร่องรอยดิจิทัลนี้ สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือร่องรอยดิจิทัลแบบแพสซีฟ (Passive digital footprint) หมายถึงร่องรอยที่เราทิ้งไว้โดยไม่ตั้งใจแต่คนอื่นกลับดันมาเห็น ตัวอย่างเช่น เมื่อเราเยี่ยมชมเว็บไซต์ เว็บเซิร์ฟเวอร์จะล็อกไอพี (IP address) ซึ่งสามารถระบุผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตและที่อยู่ หรือ ...

ข้อใดเป็นการทิ้งร่องรอยดิจิทัล

รอยเท้าดิจิทัลหมายถึงร่องรอยทั้งหมดที่คุณทิ้งไว้ในขณะที่คุณใช้อินเทอร์เน็ต นี่คือข้อมูลที่ส่งทางออนไลน์เช่นการลงทะเบียนแบบฟอร์มอีเมลและไฟล์แนบการอัปโหลดวิดีโอหรือภาพดิจิทัลและการส่งข้อมูลในรูปแบบอื่น ๆ ซึ่งทั้งหมดนี้ทิ้งร่องรอยของข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณและสิ่งที่คุณทำไว้ให้ผู้อื่นดูทางออนไลน์