จงอธิบายความหมายของ “ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน

พระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554

ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน มีบัญญัติและอธิบายไว้แล้วใน พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 100 ถึง มาตรา 107 หลักส่วนใหญ่เป็นการคุ้มครอง แรงงานทั่วไป ได้ถูกยกเลิกไปแล้วตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2553 และเพื่อ ประโยชน์ในการวางมาตรการควบคุม กํากับดูแล และบริหารจัดการด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางานเพื่อป้องกันและรักษาทรัพยากรบุคคลอันเป็นกําลังสําคัญของชาติ จึงได้มีการตราพระราชบัญญัติคุ้มครองความปลอดภัยฉบับใหม่ขึ้น คือ “พระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน พ.ศ. 2554” ใช้บังคับในปัจจุบันขึ้นแทน

ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน หมายความว่า “การกระทําหรือ สภาพการทํางานซึ่งปลอดจากเหตุอันจะทําให้เกิดการประสบอันตรายต่อชีวิต ต่อร่างกาย จิตใจ หรือ สุขภาพอนามัยอันเนื่องจากการทํางาน หรือเกี่ยวกับการทํางาน

จากความหมาย และคําจํากัดความคําว่า ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อม ในการทํางาน จึงหมายถึง การป้องกันมิให้ผู้ใช้แรงงานซึ่งหมายถึงลูกจ้างที่เกี่ยวข้องในการประกอบอาชีพ ที่รับจ้าง และทํางานให้นายจ้าง สามารถทํางานอย่างมั่นคงปลอดภัยได้รับการป้องกันและส่งเสริมคุ้มครอง ด้านชีวิต ร่างกาย จิตใจ สุขภาพอนามัย และอารมณ์ในการทํางาน ดังคําขวัญขององค์การอนามัยโลก ที่กล่าวไว้ว่า อาชีวอนามัยเพื่อทุกคน (Health for all)

วิธีการที่จะให้ลูกจ้างหรือผู้ใช้แรงงานได้รับความปลอดภัยในอาชีวอนามัย ซึ่งหมายถึง ปลอดภัยจาก อันตรายที่เกี่ยวข้องกับการประกอบอาชีพ และปลอดภัยจากอันตรายเกิดจากสภาพแวดล้อม ปลอดภัยจาก อันตรายที่เกิดจากเครื่องมือ เครื่องจักร อุปกรณ์ในการทํางาน สารเคมีอันตรายต่างๆ ที่ใช้ในการผลิต การก่อสร้าง และบริการ นายจ้างควรมีความรับผิดชอบและยึดหลักการทํางานเพื่อให้เกิดความปลอดภัย ในอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทํางานของลูกจ้าง ดังนี้

1. การจัดการ เนื่องจากความแตกต่างและความสามารถของลูกจ้างแต่ละคน รวมทั้งด้านร่างกาย และจิตใจ อาจแตกต่าง เหมือน หรือใกล้เคียง การดูแลจัดการและควบคุม ย่อมมีความจําเป็นอย่างยิ่ง 

ตามหลักที่ว่าใช้หนให้เหมาะสมกับงานและความรู้ความสามารถ

2. การคุ้มครอง ด้วยการปกป้องคุ้มครองป้องกันลูกจ้างที่ทํางานเสี่ยงอันตราย อันอาจเป็นเหตุ 

ให้เกิดการบาดเจ็บ เป็นอันตรายแก่กายหรือเสียชีวิตจากการทํางานได้

3. การป้องกัน ด้วยการดูแลป้องกันมิให้ลูกจ้างทํางานในสภาพแวดล้อมที่อาจก่อให้เกิดเป็น อันตรายต่อร่างกาย ต่อสุขภาพ ได้แก่ การได้รับกลิ่น ฝุ่นละออง และเสียงขณะทํางานเกินเกณฑ์มาตรฐาน อันจะนํามาซึ่งการเจ็บป่วย และเสียชีวิตได้

4. การส่งเสริม คือ การทะนุบํารุงสุขภาพอนามัย รักษาไว้ซึ่งความแข็งแรง ความสมบูรณ์ ในร่างกายของลูกจ้าง และผู้ประกอบอาชีพในสถานประกอบการทุกคน เช่น ให้มีการตรวจร่างกาย เพื่อสุขภาพเป็นประจําทุก 6 เดือน หรือหนึ่งปี มีสถานที่ออกกําลังกายหลังเลิกงาน อันจะทําให้ลูกจ้าง คือผู้ใช้แรงงานอยู่ในสังคมได้อย่างเป็นปกติและมีความสุข

ข้อมูลเพิ่มเติม

ความหมายของ “จป.”

จงอธิบายความหมายของ ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน

“ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน”

หมายความว่า การกระทำ หรือสภาพการทำงานซึ่งปลอดจากเหตุอันจะทำให้เกิดการประสบอันตราย การเจ็บป่วย หรือความเดือดร้อนรำคาญอันเนื่องจากการทำงานหรือเกี่ยวกับการทำงาน

“เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน”

หมายความว่า ลูกจ้างซึ่งนายจ้างแต่งตั้งให้ปฏิบัติหน้าที่เป็นเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานระดับหัวหน้างาน ระดับบริหาร ระดับเทคนิค ระดับเทคนิคขั้นสูง และระดับวิชาชีพ

“ลูกจ้างระดับปฏิบัติการ”

หมายความว่า ลูกจ้างซึ่งทำหน้าที่เป็นผู้ปฏิบัติงาน

“ลูกจ้างระดับหัวหน้างาน”

หมายความว่า ลูกจ้างซึ่งทำหน้าที่ควบคุม ดูแล บังคับบัญชาสั่งงานให้ลูกจ้างทำงานตามหน้าที่ของหน่วยงานนั้น ๆ

“ลูกจ้างระดับบริหาร”

หมายความว่า ลูกจ้างซึ่งเป็นหัวหน้าหน่วยงานที่มีระดับสูงกว่าหัวหน้างานขึ้นไปไม่ว่าจะเรียกชื่ออย่างไรก็ตาม

“คณะกรรมการ”

หมายความว่า คณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานของสถานประกอบกิจการ

“กรรมการ”

หมายความว่า กรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานของสถานประกอบกิจการ

“ผู้แทนนายจ้างระดับบริหาร”

หมายความว่า ลูกจ้างระดับบริหารซึ่งมีอำนาจหน้าที่ทำการแทนนายจ้างสำหรับกรณีการจ้าง การลดค่าจ้าง การเลิกจ้าง การให้บำเหน็จ การลงโทษ หรือการวินิจฉัยข้อร้องทุกข์และได้รับมอบหมายเป็นหนังสือให้กระทำการแทนนายจ้าง เพื่อปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎกระทรวงนี้

“ผู้แทนนายจ้างระดับบังคับบัญชา”

หมายความว่า ลูกจ้างระดับหัวหน้างานหรือเทียบเท่าขึ้นไปที่ได้รับการแต่งตั้งจากนายจ้างให้เป็นกรรมการ เพื่อปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎกระทรวงนี้

“ผู้แทนลูกจ้าง”

หมายความว่า ผู้แทนลูกจ้างซึ่งเป็นลูกจ้างระดับปฏิบัติการที่ได้รับการเลือกตั้งจากฝ่ายลูกจ้างให้เป็นกรรมการ เพื่อปฏิบัติให้เป็นไปตามกฎกระทรวงนี้

“หน่วยงานความปลอดภัย”

หมายความว่า หน่วยงานความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานซึ่งนายจ้างให้ดูแลและปฏิบัติงานด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานของสถานประกอบกิจการ

“สถานประกอบกิจการ”

หมายความว่า ที่ทำงานของนายจ้างแต่ละแห่งที่ประกอบกิจการแยกออกไปตามลำพังเป็นหน่วย ๆ และมีลูกจ้างทำงานอยู่

งานอาชีวอนามัยและความปลอดภัยหมายถึงอะไร

“อาชีวอนามัยและความปลอดภัย” (occupational health and safety) จึง หมายถึง การดูแลสุขภาพอนามัยและความปลอดภัยของผู้ประกอบอาชีพ ซึ่ง รวมถึงการป้องกันอันตรายและส่งเสริมสุขภาพอนามัย เพื่อคงไว้ซึ่งสภาพ ร่างกายและจิตใจที่สมบูรณ์ตลอดจนสถานะความเป็นอยู่ที่ดีของผู้ประกอบ อาชีพทั้งมวล

พระราชบัญญัติ ความ ปลอดภัย อาชีว อนามัย และสภาพแวดล้อมในการ ทํา งาน พ ศ 2554 มี กี่ หมวด กี่ มาตรา

นอกเหนือจากส่วนนี้และบทเฉพาะกาลของพระราชบัญญัติฉบับนี้แล้ว โครงสร้างของกฎหมายฉบับนี้จะประกอบด้วย 8 หมวด และมีมาตราทั้งหมด 74 มาตรา สาระสำคัญของส่วนนำจะเป็นเรื่องขอบเขตการบังคับใช้กฎหมาย และนิยามศัพท์ ส่วนบทเฉพาะกาล กำหนดให้ในระหว่างการเตรียมการต่าง ๆ ให้คณะกรรมการความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน และ ...

กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน มีอะไรบ้าง

พระราชบัญญัติความปลอดภัย กฎหมายด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน Download. ระเบียบกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน ว่าด้วยการตรวจสถานประกอบกิจการตามพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. ๒๕๕๔ พ.ศ. ๒๕๖๑

พระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ.2554 บัญญัติขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่ออะไร

พระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.. ๒๕๕๔ มีเจตนารมณ์เพื่อวางมาตรการควบคุม กำกับ ดูแล และบริหารจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานให้แก่ลูกจ้างซึ่งเป็นทรัพยากรบุคคลอันเป็นกำลังสำคัญของชาติให้มีคุณภาพ ชีวิตที่ดี มีความปลอดภัยในการทำงานสอดคล้องกับสภาวการณ์ในปัจจุบันที่ ...