สถาบันการเงินมีความสําคัญต่อระบบเศรษฐกิจอย่างไร

อัตราเงินเฟ้อเป็นอีกปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อ "ค่าของเงิน" เช่น เมื่อก่อนซื้อข้าวราดแกงจานละ 15 บาท แต่ปัจจุบันราคาเพิ่มขึ้นเป็น 30 - 50 บาท ราคาสินค้าที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง หรือ "เงินเฟ้อ" ทำให้เงินมีมูลค่า หรือ "อำนาจซื้อ" ลดลงเมื่อเวลาผ่านไป ดังนั้นดอกเบี้ยเงินฝากที่ได้รับนั้นจึงยังไม่ใช่ผลตอบแทนที่แท้จริง ต้องมีการหักผลกระทบจากเงินเฟ้อออกก่อน ดังนี้​

สถาบันการเงินมีความสําคัญต่อระบบเศรษฐกิจอย่างไร
 

ทั้งนี้ สามารถดูข้อมูลอัตราเงินเฟ้อทั่วไป ได้จาก website ของธนาคารแห่งประเทศไทย​ 

ยกตัวอย่างเช่น หากนำเงินไปฝากประจำที่มีอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 4 ต่อปี หากอัตราเงินเฟ้อเท่ากับร้อยละ 3 ต่อปี ดังนั้นอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงจะเท่ากับร้อยละ 1 เท่านั้น และในบางครั้งอัตราดอกเบี้ยเงินฝากอาจน้อยกว่าอัตราเงินเฟ้อ ซึ่งทำให้อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงติดลบ ซึ่งอาจกล่าวได้ว่า เงินที่งอกเงยขึ้นไม่เพียงพอกับค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น ในกรณีนี้ผู้ฝากอาจนำเงินจำนวนนี้ไปลงทุนเพื่อให้ได้ผลตอบแทนที่สูงกว่า โดยสามารถศึกษาเรื่องการลงทุนเพิ่มเติมที่ การลงทุน 

​​​​​

3. ระยะเวลาในการออม

เพราะการออมมีผลตอบแทน ดังนั้นยิ่งเริ่มต้นออมเร็วเท่าไหร่ เงินก็จะยิ่งงอกเงยมากขึ้นเท่านั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่นำเงินไปฝากแบบมีการคิดดอกเบี้ยทบต้น ดอกเบี้ยที่ได้จะถูกทบเข้ากับเงินต้นเดิม และกลายเป็นเงินต้นของงวดถัดไปเรื่อย ๆ ทำให้เงินงอกเงยได้เร็วยิ่งขึ้น

นอกจากนี้ หากเรามีการตั้งเป้าหมายทางการเงินไว้ ยิ่งเราเริ่มออมเร็วเท่าไหร่ ภาระในการเก็บออมก็จะยิ่งลดลงเท่านั้น ยกตัวอย่างเช่น เราตั้งเป้าหมายออมเงินให้ได้ 1 ล้านบาทเพื่อการเกษียณ โดยได้อัตราผลตอบแทนเฉลี่ย 5% ต่อปี หากเริ่มออมตั้งแต่อายุ 31 ปี จะต้องออมเพียงปีละ 15,000 บาทเท่านั้น แต่หากเริ่มออมเมื่ออายุ 51 ปี จะต้องออมถึงปีละ 76,000 บาท ดังตารางด้านล่าง

สถาบันการเงินมีความสําคัญต่อระบบเศรษฐกิจอย่างไร
 

และหากตั้งเป้าหมายการออมเงินให้งอกเงยเป็นเท่าตัว ก็สามารถคำนวณระยะเวลาในการออมง่าย ๆ ได้ดังนี้​

สถาบันการเงินมีความสําคัญต่อระบบเศรษฐกิจอย่างไร
 

จากสมการ จะเห็นได้ว่ายิ่งอัตราดอกเบี้ยหรือผลตอบแทนสูง ระยะเวลาการออมเงินให้งอกเงยเป็นเท่าตัวก็ยิ่งสั้นลง ยกตัวอย่างเช่น ถ้าเราออมโดยได้ดอกเบี้ยร้อยละ 4 จะต้องใช้เวลา 18 ปีเงินจึงจะงอกเงยเป็นเท่าตัว แต่ถ้าเราออมที่ดอกเบี้ยร้อยละ 6 เงินจะงอกเงยเป็นเท่าตัวในเวลาเพียง 12 ปี

​ ​​​​

4. สภาพคล่องทางการเงินของผลิตภัณฑ์

สภาพคล่องทางการเงิน คือ ความยากง่ายในการเปลี่ยนสินทรัพย์ที่มีเป็นเงินสด สินทรัพย์ที่มีสภาพคล่องสูง จะสามารถเปลี่ยนเป็นเงินสดได้อย่างรวดเร็ว เช่น เงินฝากธนาคาร ส่วนสินทรัพย์ที่มีสภาพคล่องต่ำ จะต้องใช้เวลานานในการขายหรือเปลี่ยนให้เป็นเงินสด เช่น รถ ที่ดิน หรือ สิ่งของสะสม 

ผลิตภัณฑ์เพื่อการออมแต่ละประเภทก็มีสภาพคล่องที่ต่างกัน เช่น การฝากออมทรัพย์จะมีสภาพคล่องสูง สามารถฝาก-ถอนเงินสดได้ตลอดเวลา แต่ก็ได้รับผลตอบแทนเป็นอัตราดอกเบี้ยต่ำ ในขณะที่การฝากประจำแม้จะมีผลตอบแทนสูงกว่า แต่ก็อาจเรียกได้ว่ามีสภาพคล่องต่ำกว่า เนื่องจากหากถอนเงินออกจากบัญชีก่อนครบกำหนดเวลา ก็มักจะได้รับดอกเบี้ยต่ำกว่าที่ประกาศไว้

ดังนั้น เราจึงควรจัดสรรเงินออมให้สอดรับกับรูปแบบการใช้จ่ายและความจำเป็นทางการเงินของตนเอง เพื่อป้องกันปัญหาขาดสภาพคล่องหรือ "หมุนเงินไม่ทัน" จนต้องถอนเงินก่อนกำหนด หรือต้องกู้ยืมเงินมาใช้โดยไม่จำเป็น โดยสิ่งที่จะช่วยเราได้ก็คือการวางแผนการเงินและการทำบัญชีรายรับรายจ่าย ซึ่งนอกจากจะทำให้เรารู้ว่าเราจะต้องมีเงินที่มีสภาพคล่องสูง ได้แก่ ค่าใช้จ่ายประจำแต่ละเดือน และเงินที่สำรองไว้สำหรับกรณีฉุกเฉินเป็นจำนวนเท่าใดเพื่อฝากเงิน 2 ส่วนนี้ไว้ในบัญชีออมทรัพย์ (แต่ควรแยกบัญชีกันเนื่องจากมีวัตถุประสงค์ต่างกัน) แล้ว เรายังสามารถนำเงินส่วนที่เหลือมาออมด้วยการฝากประจำหรือนำไปลงทุนซึ่งได้ผลตอบแทนที่สูงกว่าเพื่อให้เงินงอกเงยมากขึ้นด้วย

​​​​​​​​

5. ​อัตราค่าธรรมเนียมและข้อกำหนดต่าง ๆ

เรื่อง  สถาบันการเงิน

ความหมายของสถาบันการเงิน

                สถาบันการเงิน  เป็นตัวกลางเคลื่อนย้ายเงินระหว่างผู้ออมและผู้ลงทุน ระดมเงินออมเพื่อการลงทุนหรือบริโภคตามวัตถุประสงค์และรูปแบบที่แตกต่างกัน 

ความสำคัญของสถาบันการเงินที่มีต่อระบบเศรษฐกิจ

      สถาบันการเงิน  เป็นองค์กรที่มีบทบาท หน้าที่อำนวยความสะดวกในการเคลื่อนย้ายเงิน เป็นตัวกลางระดมเงินจากผู้ออมไปยังผู้ลงทุนในธุรกิจต่าง ๆ  หรือเพื่อการบริโภค สถาบันการเงินมีความ สำคัญดังนี้

1.             เป็นสื่อกลางในการติดต่อทางการเงิน  ระหว่างผู้ออมและผู้ระดมเงินทุน

2.             เป็นแหล่งเงินทุนสำหรับผู้ประกอบการ ระดมเงินทุนจากหน่วยเศรษฐกิจที่มีเงินออม  ทั้งจากตลาดเงินและตลาดทุน

3.             เป็นแหล่งออมเงินของหน่วยเศรษฐกิจได้มีทางเลือกในการออม โดยพิจารณาจากผลประโยชน์ที่จะได้รับจากเงินออม และความเสี่ยงในการนำเงินออมไปลงทุน

4.             ช่วยกระจายความเจริญให้ทั่วถึง  เป็นแหล่งระดมทุนของบุคคลที่อยู่ในท้องถิ่นต่าง ๆ เพื่อสร้างงาน และลงทุนให้แก่ภาคเศรษฐกิจต่าง ๆ

5.             พัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ เป็นแหล่งกู้เงินจากรัฐบาลและผู้ผลิตในท้องถิ่น ในการสร้างงาน สร้างรายได้ให้กับท้องถิ่นต่าง ๆ   

ประเภทของสถาบันการเงิน

        สถาบันการเงินแบ่งตามลักษณะของกิจการ  แบ่งออกเป็น 2 ประเภท   ได้แก่

1.             สถาบันการเงินที่ประกอบกิจการธนาคาร  หมายถึง สถาบันการเงินที่ดำเนินงานรับฝากเงินที่สามารถไถ่ถอนคืนได้ และให้กู้ยืม เป็นช่องทางการเชื่อมโยงระหว่างผู้ออมกับผู้ต้องการเงินทุน ได้แก่ ธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารที่มีวัตถุประสงค์เฉพาะ 

2.             สถาบันการเงินที่ไม่ได้ประกอบกิจการธนาคาร  หมายถึง สถาบันการเงินที่จัดตั้งเพื่อดำเนินธุรกิจเฉพาะสาขาของธุรกิจ ตามที่ระบุไว้ในกฎหมายของสถาบันการเงินนั้น ๆ  เช่น บริษัทเงินทุน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ เป็นต้น

บทบาท และหน้าที่และความสำคัญของสถาบันการเงิน 

- ธนาคารแห่งประเทศไทย

                บทบาทและหน้าที่ตามพระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทย พ.ศ.2485   ที่แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2551  สรุปได้ดังนี้

                1. เป็นผู้ออกและจัดการธนบัตรของรัฐบาลและบัตรธนาคารแต่ผู้เดียว ในราชอาณาจักร

                2. กำหนดและดำเนินนโยบายการเงิน เพื่อควบคุมปริมาณเงินในระบบการเงินของประเทศ เพื่อให้เกิดเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ

                3. บริหารจัดการสินทรัพย์ของธนาคารแห่งประเทศไทย การนำสินทรัพย์ไปลงทุนหาประโยชน์ โดยคำนึงถึงความมั่นคง สภาพคล่อง  ผลประโยชน์ตอบแทนของสินทรัพย์ และความเสี่ยงในการบริหารจัดการ

4. เป็นนายธนาคารและนายทะเบียนหลักทรัพย์ของรัฐบาล มีอำนาจหน้าที่ในการรับจ่ายเงินเพื่อบัญชีฝากของกระทรวงการคลัง การรับเก็บรักษาเงิน หลักทรัพย์ หรือของมีค่าอย่างอื่น เพื่อประโยชน์ของรัฐบาล   

5. เป็นนายธนาคารของสถาบันการเงิน  มีอำนาจหน้าที่ในการให้กู้ยืมเงินหรือให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่สถาบันการเงิน รับเก็บรักษาเงิน หลักทรัพย์ หรือของมีค่าอย่างอื่นของสถาบันการเงิน แต่จะไม่รับฝากเงินจากประชาชนโดยตรง

6. จัดตั้งหรือสนับสนุนการจัดตั้งระบบการชำระเงินจัดตั้งระบบการหักบัญชีระหว่างสถาบันการเงิน และบริหารจัดการระบบดังกล่าวให้เกิดความปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ

7. กำกับ ตรวจสอบ วิเคราะห์ฐานะและการดำเนินงานของสถาบันการเงิน รวมทั้งการบริหารความเสี่ยงของสถาบันการเงิน เพื่อให้มีเสถียรภาพ

8. บริหารจัดการ ควบคุมอัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา ภายใต้ระบบการแลกเปลี่ยนเงินตรา รวมทั้งบริหารจัดการสินทรัพย์ในทุนสำรองเงินตรา ตามกฎหมายว่าด้วยเงินตรา

9. ควบคุมการแลกเปลี่ยนเงินตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน         

- ธนาคารพาณิชย์

ธนาคารพาณิชย์ เป็นธนาคารที่มีบทบาท หน้าที่สำคัญในระบบเศรษฐกิจ เพราะมีปริมาณเงินหมุนเวียนและมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับบุคคลมากที่สุด  เป็นแหล่งเงินฝากของประชาชน มาให้กู้ยืมที่สำคัญที่สุด  ธนาคารพาณิชย์มีหน้าที่บริการที่สำคัญ ดังนี้

                1. การรับฝากเงิน ซึ่งแบ่งเป็นประเภทใหญ่ๆได้แก่ เงินฝากกระแสรายวัน เงินฝากออมทรัพย์ เงินฝากประจำ และเงินฝากประเภทอื่นๆ ตามที่ระบุไว้ในวัตถุประสงค์ โดยให้ผลตอบแทน เป็น อัตราดอกเบี้ยเงินฝากแต่ละประเภท

                2. ให้กู้ยืมเงิน เป็นบทบาทสำคัญทางด้านการเงินให้กู้ยืมเพื่อการลงทุนและเพื่อการบริโภค   มีที่มีระยะเวลาในการชำระหนี้และเสียอัตราดอกเบี้ยตามที่กำหนดในเงื่อนไขในการกู้ยืม  

                3. การให้บริการอื่น ๆ เช่น การโอนเงินทั้งในประเทศและต่างประเทศ  การเรียกเก็บเงินเนื่องจากการโอนเงินระหว่างกัน ซื้อขายเงินตราต่างประเทศ การให้เช่าตู้นิรภัย เพื่อเก็บสิ่งของมีค่าและสิ่งสำคัญของลูกค้า เป็นต้น

- ธนาคารที่มีวัตถุประสงค์เฉพาะ

                1. ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)เป็นธนาคารของรัฐบาล ที่มีวัตถุประสงค์ให้ความช่วยเหลือทางการเงิน อำนวยความสะดวกเพื่อส่งเสริมอาชีพและการดำเนินงานให้แก่เกษตรกรทั้งรายบุคคล รายกลุ่ม และสถาบันเกษตรกรทั้งระยะสั้น ระยะปานกลางและระยะยาว 

                2. ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ( ธ.อ.ส.)เป็นธนาคารของรัฐบาล  มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนมีอาคารและที่ดินเป็นที่อยู่อาศัยของตนเอง 

                3. ธนาคารออมสินเป็นธนาคารของรัฐบาลมีวัตถุประสงค์เพื่อระดมเงินออมจากประชาชน แล้วนำมาให้รัฐบาลกู้ยืม ส่งเสริมการออมของเยาวชนและประชาชนเพื่อปลูกฝังการประหยัดและการออมเงิน

                4. ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (Export-Import Bank Of Thailand : EXIM BANK)  อยู่ภายใต้การดูแลของกระทรวงการคลัง มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการส่งออกและการนำเข้า

                5. ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (Small and Medium Enterprise Development Bank Of Thailand : SME BANK) มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนา ส่งเสริม ช่วยเหลือ และสนับสนุนการจัดตั้ง การดำเนินงานการขยาย หรือการปรับปรุงวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม

- สถาบันการเงินที่ไม่ได้ประกอบกิจการธนาคาร 

                1. บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์  เป็นสถาบันการเงินที่ระดมเงินออมจากประชาชน  โดยการออกตั๋วสัญญาใช้เงินจำหน่ายแก่ประชาชน แล้วนำเงินที่กู้ยืมแก่ธุรกิจและอุตสาหกรรมโดยทั่วไป ส่วนบริษัทหลักทรัพย์ หมายถึง สถาบันการเงินที่ได้รับอนุญาตประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ เป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ จำหน่ายหลักทรัพย์ และถ้าได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจเงินทุนควบคู่กับธุรกิจหลักทรัพย์ เรียกว่า บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์  

                2. สหกรณ์การเกษตร มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดหาเงินทุนให้สมาชิกกู้ยืม ส่งเสริมการออม ช่วยเหลือในการจัดหาวัสดุอุปกรณ์การเกษตรและการจำหน่ายผลิตผล รวมทั้งส่งเสริมและเผยแพร่ด้านวิชาการการเกษตรสมัยใหม่ให้แก่สมาชิก

                3. สหกรณออมทรัพย์ ทำหน้าที่รับฝากและให้กู้ยืมแก่สมาชิกโดยคิดอัตราดอกเบี้ยต่ำ เป็นการระดมเงินในรูปของค่าหุ้นและเงินฝาก แล้วนำกำไรมาแบ่งปันให้แก่สมาชิกในรูปเงินปันผล

                4. บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ เป็นสถาบันการเงินของเอกชนที่ระดมเงินทุนด้วยการออกตั๋วสัญญาใช้เงินขายให้กับประชาชน  และให้ประชาชนกู้ยืมเงินเพื่อซื้อที่ดินและสร้างที่อยู่อาศัย

                5. ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย  ตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย พ.ศ. 2517 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อจัดให้มีแหล่งกลางสำหรับการซื้อขายหลักทรัพย์ ส่งเสริมการออมทรัพย์และการระดมเงินทุนในประเทศ มีบทบาทสำคัญในการทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางการซื้อขายหลักทรัพย์จดทะเบียน อำนวยความสะดวกในการซื้อขายหลักทรัพย์ 

                6. บริษัทประกันภัย   เป็นสถาบันการเงินที่เป็นองค์กรอิสระอยู่ภายใต้ความรับผิดชอบของสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ทำหน้าที่ระดมเงินออมจากประชาชนโดยออกเป็นหนังสือสัญญา เรียกว่า กรมธรรม์ มีทั้งประกันชีวิตและประกันวินาศภัย มีวัตถุประสงค์เพื่อรับโอนความเสี่ยง หากเกิดความเสียหายแก่ชีวิตและทรัพย์สิน บริษัทจะชดใช้ค่าเสียหายให้กับผู้เอาประกันหรือผู้รับผลประโยชน์   

                7. โรงรับจำนำ เป็นสถาบันการเงินขนาดเล็กที่กระจายอยู่ทั่วไป  มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับประชาชนที่ไม่มีหลักทรัพย์มากพอที่จะกู้ยืมจากสถาบันการเงิน เป็นสถาบันการเงินที่ให้ประชาชนทั่วไปกู้ยืมโดยการจำนำสิ่งของ ซึ่งส่วนใหญ่จะนำเงินไปใช้เพื่อการอุปโภคบริโภคในชีวิตประจำวัน และผู้กู้ยืมสามารถไถ่ถอนสิ่งของคืนได้   

รายได้

                การประกอบอาชีพเป็นแหล่งที่มาสำคัญของรายได้    และนำรายได้นั้นมาเป็นค่าใช้จ่ายในชีวิต ประจำวัน และบางส่วนเก็บเป็นเงินออม หรือเก็บไว้ลงทุน ผู้ที่เป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตจะใช้ปัจจัยการผลิตของตน เพื่อประกอบอาชีพให้ได้ผลตอบแทนสูงสุด         

             ในการวางแผนเลือกประกอบอาชีพจะต้องวิเคราะห์ลักษณะงานให้เข้ากับกับนิสัย ความถนัดและความสามารถของแต่ละบุคคล  จากนั้นจึงประเมินโอกาสและข้อจำกัดที่จะเข้าไปประกอบอาชีพนั้น ควรสำรวจตลาดแรงงานในปัจจุบัน  หาข้อมูลและความรู้เกี่ยวกับอาชีพที่ต้องการทำ   ใฝ่หาความรู้และพัฒนาอาชีพ  มีความขยันและรับผิดชอบต่อสังคมส่วนรวมและสิ่งแวดล้อม  ทำงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริต  นอกจากนั้นสำหรับผู้ที่มีอาชีพประจำควรประกอบอาชีพเสริมเพื่อเพิ่มรายได้อีกทางหนึ่ง

การใช้จ่าย

        มนุษย์ทุกคนต้องมีค่าใช้จ่ายในการซื้อสินค้าและบริการเพื่อสนองความต้องการ มีทั้งรายจ่ายที่ต้องใช้เป็นประจำ เช่น ค่าอาหาร ค่าเดินทาง เป็นต้น นอกจากนั้นยังมีรายจ่ายที่ใช้ยามจำเป็น หรือรายจ่ายที่ใช้เพื่อการลงทุน และวางแผนการใช้จ่ายเงินจากรายได้โดยการทำงบประมาณทั้งในส่วนบุคคลและของครอบครัว จากรายได้และรายจ่าย รวมทั้งเงินออม การใช้จ่ายควรคำนึงถึงแนวคิดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง  คือ ความพอประมาณ มีเหตุผล และสร้างภูมิคุ้มกัน โดยใช้หลักประหยัด จำเป็น ปลอดภัย และประโยชน์ที่จะได้รับจากการใช้จ่าย

การออม

การออมเป็นเงินส่วนหนึ่งจากรายได้ เป็นจุดเริ่มต้นรากฐานทางการเงินที่ดี  การออมเงินมิใช่เป็นเพียงการเก็บเงิน แต่เป็นการเพิ่มพูนรายได้อีกทางหนึ่งด้วย    เงินที่ได้จากการออมนั้น นอกจากจะนำมาใช้จ่ายเมื่อยามจำเป็น หรือฉุกเฉิน ยังสามารถเพิ่มค่าเงินออมได้โดยลงทุนหรือฝากกับสถาบันการเงิน ซึ่งจะต้องคำนึงถึงผลประโยชน์จากอัตราดกเบี้ยหรือเงินปันผล รวมทั้งพิจารณาอัตราเงินเฟ้อและค่าเสียโอกาสทางการเงินจากการนำเงินออมไปใช้ประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่ง ทำให้เสียโอกาสที่จะได้รับประโยชน์สูงสุดจากการนำไปใช้ประโยชน์อีกทางหนึ่ง

ปัจจุบันการวางแผนการออมมิใช่เงินส่วนที่เหลือของรายได้หลังจากหักค่าใช้จ่าย  แต่เป็นการออมเงินโดยหักจากรายได้ก่อน  ส่วนที่เหลือจึงนำมาจัดสรรเป็นค่าใช้จ่าย ดังนี้

"งบประมาณ  คือ  แผนการออมเงินและการใช้จ่ายจากรายได้

 รายได้ -  เงินออม   =   เงินสำหรับใช้จ่าย" 

การลงทุน

การลงทุน เป็นการนำสินทรัพย์ที่ตนมีอยู่ไปดำเนินการในทางที่ก่อให้เกิดประโยชน์  ทำให้มีผลผลิตเป็นสินค้าหรือบริการ  เพื่อให้ได้ผลตอบแทนกลับคืนมา  หรือเป็นค่าใช้จ่ายในการลงทุนทางการเงิน  เช่น ซื้อหุ้น  หรือพันธบัตรเป็นต้น  เงินทุนมากจากเงินออม  หรือจากการกู้ยืมเงินมาลงทุน

        ปัจจัยที่มีผลต่อการลงทุน ได้แก่ อัตราดอกเบี้ย  กำไรที่คาดว่าจะได้รับ  ความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยี  ความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจ  และนโยบายของรัฐ เป็นต้น

        การลงทุนทำให้เกิดการจ้างงาน ประชาชนมีรายได้เพิ่มขึ้น การผลิตสินค้าและบริการมีผลทำให้เศรษฐกิจขยายตัวเพิ่มขึ้น  ประชาชนกินดีอยู่ดีมากขึ้น

ความสัมพันธ์ของรายได้ รายจ่าย การออม และการลงทุน

        ผู้บริโภคที่มีรายได้จากการทำงานให้กับหน่วยผลิต  จะนำรายได้มาใช้จ่ายเพื่อซื้อสินค้าและบริการจากผู้ผลิต  และรายได้ส่วนหนึ่งเก็บออมไว้กับสถาบันการเงิน ซึ่งเป็นตัวกลางระหว่างผู้ออมกับผู้ต้องการลงทุน  เพื่อให้กู้เงินไปลงทุนผลิตสินค้าและบริการ   ส่วนผู้ออมก็มีรายได้เป็นผลตอบแทนในฐานะเป็นเจ้าของเงินทุน  ความสัมพันธ์ของรายได้ รายจ่าย การออม และการลงทุนระหว่างผู้บริโภค  ผู้ผลิต  และสถาบันการเงินเป็นดังภาพ 5.2