ชนิดของสัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์ ดังกล่าว ตรงกับเงื่อนไขใด

ครีเอทีฟคอมมอนส์ (Creative Commons: CC) เป็นองค์กรไม่แสวงกำไรที่สนับสนุนการใช้เนื้อหาโดยไม่ถูกจำกัดจากสัญญาอนุญาต สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์จะเอื้อให้มีการใช้สื่อทั้งทางภาพ เสียง ข้อมูล โดยการแบ่งแยกสัญญาอนุญาตย่อยออกสำหรับการแจกจ่ายและการใช้ข้อมูล โดยการอ้างอิงถึงเจ้าของลิขสิทธิ์เดิม

ไม่ว่างานชิ้นใดที่ได้รับการสร้างสรรค์ ล้วนแต่ได้รับความคุ้มครองด้านลิขสิทธิ์ และทรัพย์สินทางปัญหา สำหรับงานชิ้นใดๆ ที่เผยแพร่บนอินเทอร์เน็ต ต่างก็ได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ในการผลิต จัดทำ เผยแพร่ ในตัวของมันเองอยู่แล้ว เรามาทำความรู้จักกับสัญญาอนุญาต Creative Commons (ครีเอทีฟคอมมอนส์) ซึ่งเป็นองค์กรไม่แสวงกำไรที่สนับสนุนการสร้างและนำสื่อกลับมาใช้ โดยไม่ถูกจำกัดจากลิขสิทธิ์ โดยสัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์ เอื้อประโยชน์ให้กับผู้สร้างสรรค์งานสามารถกำหนดได้อย่างชัดเจนว่า จะให้ผู้นำไปใช้ต่อทำอะไรได้บ้าง โดยไม่ต้องขออนุญาต

ชนิดของสัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์ ดังกล่าว ตรงกับเงื่อนไขใด

ลองนึกภาพดูว่า ลิขสิทธิ์ และทรัพย์สินทางปัญญาเกิดขึ้นเมื่อใด ทันทีที่มีการผลิต สร้างสรรค์งานใดๆ ไม่ว่าจะเป็นศิลปิน ช่างภาพ นักเขียน นักดนตรี ศิลปินที่สร้างสรรค์ผลงานออกมา หรือแม้แต่บทความในเว็บไซต์นี้ ต่างก็อยากจะให้คนอื่นนำผลงานไปเผยแพร่ต่อ โดยไม่มีการแก้ไข ดัดแปลง หรือนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ อย่างเช่น บทความในเว็บไซต์ต่างๆ อาจกำหนดให้ผู้อื่นสามารถนำไปใช้งาน หรือเผยแพร่ต่อได้โดยมีการอ้างอิงแหล่งที่มา ชื่อผู้เขียน แต่ไม่ให้ทำการแก้ไข ดัดแปลง และไม่ให้นำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ เรียกได้ว่า คุณมีเสรีภาพที่จะแบ่งปัน ทำสำเนา แจกจ่าย และส่งงานเผยแพร่ต่อไปได้โดยที่ไม่ทำการแก้ไข ดัดแปลง ตัดทอน เนื้อหาใดๆ และไม่นำไปใช้ประโยชน์ทางการค้า ภายใต้สัญญาอนุญาตสัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์ แต่หากคุณต้องการที่จะเรียบเรียงใหม่ ดัดแปลง หรือนำไปใช้ในทางการค้า จะต้องมีการขออนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษณ์ก่อน

           สัญญาอนุญาต Creative Commons ทำหน้าที่เป็นใบอนุญาตลิขสิทธิ์ผลงาน ที่เป็นมาตราฐาน ให้สามารถนำไปใช้อย่างเปิดเผย กับผลงานใดๆ ตามเงื่อนไขที่เจ้าของผู้ผลิตผลงานชิ้นนั้นๆไดักำหนดไว้ และเรายังสามารถกำหนดขอบเขตของลิขสิทธิ์ผลงานเราได้ จาก “all rights reserved” เป็น “some rights reserved” เพื่อระบุขอบเขตของลิขสิทธิ์ว่า สงวนลิขสิทธิ์ทั้งหมด หรือ ส่วนหนึ่งส่วนใดของชิ้นงาน หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์ ไม่ได้เป็นตัวเลือกของการคุ้มครองลิขสิทธิ์แบบ copyright แต่ทำงานร่วมกันเพื่อเปิดโอกาสและยืดหยุ่นให้ปรับข้อกำหนดและเงื่อนไขของการคุ้มครองลิขสิทธิ์ในแต่ละชิ้นงานได้เอง

โดยการกำหนดสัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์ มีดังนี้

ชนิดของสัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์ ดังกล่าว ตรงกับเงื่อนไขใด

การเลือกสัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์ที่เหมาะกับคุณ จะช่วยคุ้มครองลิขสิทธิ์ของคุณได้ตรงกับลักษณะและชนิดของชิ้นงานได้ดีที่สุด แต่อย่างไรก็ตาม ทุกชิ้นงานมีลิขสิทธิ์ในตัวของมันเอง ตั้งแต่แรกเริ่มคิดค้นและผลิตขึ้น ดังนั้นก่อนที่จะคัดลอก ทำซ้ำ หรือเผยแพร่ผลงานใดๆ ควรติดต่อเจ้าของผลงานตามมารยาท หรืออ้างอิงแหล่งที่มา ต้นฉบับ และผู้ผลิต สร้างสรรค์ผลงานด้วยทุกครั้ง

อ้างอิงข้อมูลจาก ครีเอทีฟคอมมอนส์ (CC)

Creative Commons คือ อะไร?

คิดว่าคนที่ช่างสังเกตหน่อย น่าจะเคยเห็น Creative Commons ปรากฏอยู่บนหน้าเว็บไซต์ต่างๆ กันมาบ้าง แต่อาจจะยังไม่รู้ว่ามันคืออะไร มีไว้ทำไม บทความนี้ก็เลยอยากจะมาอธิบายให้เข้าใจกันแบบง่ายๆ

Creative Commons ไม่ใช่ Intellectual property!

คนมักจะเข้าใจผิด คิดว่า Creative Commons เป็นทรัพย์สินทางปัญญา (Intellectual property) รูปแบบหนึ่ง แต่ความจริงแล้วไม่ใช่นะครับ ก่อนอื่นเราต้องเข้าใจก่อนว่าทรัพย์สินทางปัญญา คือ อะไร?

ชนิดของสัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์ ดังกล่าว ตรงกับเงื่อนไขใด

ภาพจาก https://pixabay.com/images/id-4054592/

ทรัพย์สินทางปัญญา คือ สิทธิ์ทางกฎหมายที่มอบให้เจ้าของสิทธิ์ หรือ "ผู้ทรงสิทธิ์" มันเป็นสิ่งที่นานาประเทศเกือบทั้งโลกได้ร่วมกันสร้างมาตรฐานขึ้นมา เพื่อรักษาผลประโยชน์ให้กับ "เจ้าของไอเดีย" สำหรับประเทศไทย เราสามารถแบ่งทรัพย์สินทางปัญญาออกได้เป็น 2 ประเภทหลัก คือ ทรัพย์สินทางอุตสาหกรรม และ ลิขสิทธิ์์ 

ทรัพย์สินทางอุตสาหกรรม ส่วนใหญ่จะต้องไปจดทะเบียน หรือแจ้งที่กรมทรัพย์สินทางปัญญาก่อนถึงจะได้มา

  ทรัพย์สินทางอุตสาหกรรม แบ่งย่อยออกเป็น 8 ประเภท คือ

  1. สิทธิบัตร (Patent) คือ หนังสือสำคัญที่รัฐออกให้เพื่อคุ้มครองการประดิษฐ์คิดค้น หรือการออกแบบผลิตภัณฑ์ ตัวอย่างเช่น การประดิษฐ์รถยนต์ โทรทัศน์ คอมพิวเตอร์ ฯลฯ
  2. อนุสิทธิ์บัตร (Petty Patent) จะเหมือนกับสิทธิ์บัตร แต่จะแตกต่างตรงที่ใช้กับการประดิษฐ์ที่มีเป็นการปรับปรุงเพียงเล็กน้อย
  3. เครื่องหมายการค้า (Trademark) คือ สิทธิ์ตามกฎหมาย ในตราสินค้า (โลโก้) หรือส่วนหนึ่งของตราสินค้า
  4. ความลับทางการค้า (Trade secret) คือ เป็นข้อมูลที่ผู้ควบคุมความลับทางการค้าได้ใช้มาตรการที่เหมาะสมเพื่อรักษาไว้เป็นความลับ ยกตัวอย่างเช่น สูตรการทำน้ำ Pepsi หรือ Coca Cola ฯลฯ
  5. สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (Geographical indication)  เป็นชื่อหรือสัญลักษณ์เฉพาะที่ใช้บนผลิตภัณฑ์หรือสิ่งที่อิงไปถึงตำแหน่งหรือจุดเริ่มต้นทางภูมิศาสตร์ (เช่นเมือง ภูมิภาค หรือประเทศ) ส่วนใหญ่แล้วจะนิยมใช้กับสินค้าบริโภค อ่านแล้วอาจจะงงๆ ลองนึกง่ายๆ ดังนี้ครับ ข้าวหลามหนองมน คนกรุงเทพที่เปิดร้านข้าวหลามทำเองไม่สามารถใช้ชื่อหนองมนได้ หรือจะไข่เค็มไชยา บุหรี่คิวบา ฯลฯ
  6. แบบผังภูมิของวงจรรวม (Layout-Designs of Integrated Circuit) คือ สิทธิ์ความคุ้มครองการออกแบบแผงวงจรที่ถูกคิดค้นขึ้นมาใหม่ ไม่ซ้ำกับของเดิมที่มีอยู่
  7. คุ้มครองพันธุ์พืช (Plant Varieties Protection) เป็นสิทธ์คุ้มครองในพันธุ์พืชที่ถูกพัฒนาสายพันธุ์ขึ้นมาใหม่ จนมีลักษณะที่แตกต่างไปจากเดิมอย่างชัดเจน
  8. ภูมิปัญญาท้องถิ่น (Traditional knowledge) การคุ้มครองความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น เช่นพวก การทอผ้าไหม การสร้างหนังตะลุง การทำหัวโขน ฯลฯ

สำหรับลิขสิทธิ์์ ชิ้นงานของเราจะได้รับสิทธิ์์ความคุ้มครองทันทีที่งานปรากฏ โดยไม่ต้องจดทะเบียน แต่เจ้าของลิขสิทธิ์์ก็สามารถแจ้งข้อมูลลิขสิทธิ์์ได้ที่กรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ เพื่อเพิ่มความชัดเจนได้เช่นกัน

  ลิขสิทธิ์

  เป็นทรัพย์สินทางปัญญาประเภทหนึ่ง ที่มอบสิทธิ์ทางกฎหมายที่มอบให้ผู้สร้างสรรค์งานแต่เพียงผู้เดียวในการเผยแพร่ ทำซ้ำ หรือดัดแปลงงานที่สร้างสรรค์ โดยทั่วไปแล้ว งานที่ได้รับความคุ้มครองลิขสิทธิ์ เป็นงานสร้างสรรค์ทางปัญญาทุกรูปแบบ เช่น งานเขียน งานดนตรี งานนาฏศิลป์ งานศิลปะ ภาพถ่าย ภาพยนตร์ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ เป็นต้น

  เจ้าของลิขสิทธิ์สามารถมอบสิทธิ์์ให้แก่บุคคลอื่นได้ โดยอาจจะมอบสิทธิ์์ทั้งหมดหรือเพียงบางส่วนก็ได้ เช่น สิทธิ์์การตีพิมพ์ สิทธิ์การแปล สิทธิ์การดัดแปลง เป็นต้น


แล้ว Creative Commons คืออะไร ?

ถึงบรรทัดนี้ เราน่าจะเข้าใจความหมายของทรัพย์สินทางปัญญากันไปแล้ว ซึ่งหากเราต้องการใช้ทรัพย์สินทางปัญญาของผู้อื่น เราก็จำเป็นต้องไปยื่นเรื่องติดต่อขออนุญาตจากเจ้าทรัพย์สินทางปัญญาของเสียก่อน ปัญหามันก็อยู่ตรงนี้นี่แหละ

การเจรจาขอใช้ทรัพย์สินทางปัญญานั้น จะว่าง่ายมันก็เหมือนจะง่าย ก็แค่การติดต่อเจรจาระหว่าง "เจ้าของ" กับ "ผู้อยากใช้" แต่เอาเข้าจริง ระหว่างนั้นมันก็มีขั้นตอนที่ยุ่บยั่บอยู่นะ เช่น กว่าจะหาเบอร์ติดต่อ, นัดหมายเจรจา, ส่งเอกสาร, อนุมัติ ฯลฯ อย่าว่าแต่คนอยากใช้จะขี้เกียจเดินเรื่องเลย บางทีเจ้าของทรัพย์สินทางปัญญาก็ขี้เกียจมาเสียเวลากับเรื่องพรรค์นี้ด้วยซ้ำ

เนื่องจาก ผลงานที่มีทรัพย์สินทางปัญญาคุ้มครองอยู่ "บางส่วน" เจ้าของอาจจะมีความยินดีที่จะให้เผยแพร่ต่ออยู่แล้ว เช่น บทความเชิงให้ความรู้, ภาพ Clipart, รูปถ่าย ฯลฯ แต่ถึงเราจะบอกว่าเจ้าของใจดีแจกจ่าย แต่ส่วนใหญ่แล้ว เขาก็จะมีเงื่อนไขอย่างเช่น ต้องระบุแหล่งที่มา, ห้ามเอาไปดัดแปลง, ห้ามเอาไปหารายได้ต่อ ฯลฯ

Creative Commons จึงถูกสร้างมาเป็นพระเอกสำหรับแก้ปัญหานี้

Creative Commons (สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์) ก่อตั้งขึ้นโดยองค์กรไม่แสวงหาผลกำไรในประเทศสหรัฐอเมริกา โดยมีเป้าหมายสนับสนุนการใช้เนื้อหาโดยไม่ถูกจำกัดจากสัญญา โดยการอ้างอิงถึงเจ้าของทรัพย์สินทางปัญญาเดิม ปัจจุบันมีประเทศสมาชิกเข้าร่วมประมาณ 60 ประเทศ รวมถึงประเทศไทยด้วย

สัญญาครีเอฟทีฟคอมมอนส์ฉบับภาษาไทย จัดทำขึ้นโดยความร่วมมือของ สำนักกฎหมายธรรมนิติ สถาบัน ChangeFusion และสถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยรองรับตามหลักเกณฑ์ Creative Commons 3.0 และปรับให้เข้ากับกฎหมายลิขสิทธิ์์ของประเทศไทย จึงสามารถใช้บังคับได้ตามกฎหมายไทย

ประกาศเปิดตัวเมื่อวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2552 เป็นลำดับที่ 51 ของโลก

สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์ เป็นสัญญาอนุญาตแบบเปิดรูปแบบหนึ่ง ที่ช่วยให้เจ้าของทรัพย์สินทางปัญญาสามารถให้สิทธิ์บางส่วน หรือทั้งหมดแก่สาธารณะ ในขณะที่ยังคงสงวนสิทธิ์อื่นๆ ที่ตนเองต้องการเอาไว้ได้ โดยการใช้สัญญาอนุญาตหลายหลากรูปแบบ โดยมีจุดประสงค์เพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดปัญหาลิขสิทธิ์์ต่อการแบ่งปันสารสนเทศ

เหตุผลการมีอยู่ของ Creative Commons (CC) ก็เพื่อช่วยให้เจ้าของสามารถบอกให้คนทั่วไปรู้ว่า ผลงานของตัวเขาสามารถนำไปใช้งานในลักษณะใดต่อได้บ้างอย่างง่ายๆ นอกจากนี้ Creative Commons ยังช่วยปกป้องผู้ใช้ทั่วไปให้ไม่ต้องกังวลว่าจะเผลอไปละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา ตราบใดที่เขาทำถูกต้องตามเงื่อนไขที่กำหนด

อย่างเว็บไซต์ Thaiware เองก็ยินดีให้เผยแพร่ หรือดัดแปลงบทความของเราต่อได้ แต่ต้องแสดงแหล่งที่มาด้วยทุกครั้ง

ชนิดของสัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์ ดังกล่าว ตรงกับเงื่อนไขใด


รู้จัก Creative Commons ให้มากขึ้น

Creative Commons จะมีเงื่อนไขใบอนุญาตอยู่ 4 รูปแบบ และผสมผสานกันเป็นใบอนุญาต 6 ประเภท โดยเราสามารถแยกแยะได้จากสัญลักษณ์ที่กำหนด

เงื่อนไขใบอนุญาต (License Conditions)

ชนิดของสัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์ ดังกล่าว ตรงกับเงื่อนไขใด
 Attribution (by)

เงื่อนไขแรก Attribution (by) จะปรากฏอยู่ในใบอนุญาตทุกประเภท สำหรับเงื่อนไขนี้ เราจะนำงานไปใช้ได้โดยอิสระ แต่ต้องให้เครดิตเจ้าของผลงานตามที่เขาได้ร้องขอเอาไว้ด้วย หากเราต้องการใช้งานแบบไม่ให้เครดิต เราต้องติดต่อขออนุญาตจากเจ้าของผลงานก่อนเท่านั้น

ชนิดของสัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์ ดังกล่าว ตรงกับเงื่อนไขใด
 ShareAlike (sa)

สำหรับเงื่อนไขนี้ คือ เจ้าของผลงานอนุญาตให้คุณนำผลงานของเขาไปทำซ้ำ, ดัดแปลง, เผยแพร่ต่อได้ แต่ว่าผลงานใหม่ที่ถูกสร้างขึ้น จะต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขเดิมเท่านั้น พูดง่ายๆ หากคุณได้มันมาฟรี แม้จะต่อยอดให้เจ๋งขึ้น คุณก็ห้ามขาย ต้องแจกฟรีต่อไป

ชนิดของสัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์ ดังกล่าว ตรงกับเงื่อนไขใด
 NonCommercial (nc)

ตามชื่อเลย คุณจะเอาผลงานไปทำอะไรต่อก็ได้ ยกเว้น นำผลงานดังกล่าวไป "แสวงหากำไร" โดยไม่ได้รับการอนุญาตจากเจ้าของผลงาน

ชนิดของสัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์ ดังกล่าว ตรงกับเงื่อนไขใด
 NoDerivatives (nd)

หากเห็นสัญลักษณ์นี้ หมายความว่า คุณสามารถทำซ้ำ, เผยแพร่ ต่อได้ แต่ห้ามแก้ไขโดยไม่ได้รับอนุญาตก่อนโดยเด็ดขาด


ประเภทของใบอนุญาต (License Types)

จากเงื่อนไขทั้ง 4 ทาง Creative Commons ได้นำมาสร้างเป็นใบอนุญาต 6 ชนิด ดังนี้

ชนิดของสัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์ ดังกล่าว ตรงกับเงื่อนไขใด
  Attribution (CC BY)

ยินยอมให้เรานำผลงานไปเผยแพร่ต่อ, ผสมผสาน, ปรับปรุง หรือนำไปแสวงหาผลกำไรต่อได้ ตราบใดที่คุณให้เครดิตแหล่งที่มาของต้นฉบับเอาไว้ด้วย

ชนิดของสัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์ ดังกล่าว ตรงกับเงื่อนไขใด
  Attribution ShareAlike (CC BY-SA)

มีความคล้ายคลึงกับ Attribution (CC BY) เพียงแต่ว่าผลงานใหม่ที่คุณสร้างขึ้น จะต้องอยู่ภายใต้ใบอนุญาต Creative Commons รูปแบบเดิมกับต้นฉบับเท่านั้น อนึ่ง Wikipedia ก็ใช้เงื่อนไขนี้นะ

เงื่อนไขนี้มักถูกนำไปเปรียบเทียบกับ Copyleft อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://tips.thaiware.com/1017.html

ชนิดของสัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์ ดังกล่าว ตรงกับเงื่อนไขใด
  Attribution-NoDerivs (CC BY-ND)

สามารถนำผลงานนี้ไปใช้งานต่อได้อย่างอิสระ รวมถึงการแสวงหาผลกำไร แต่ห้ามดัดแปลงโดยเด็ดขาด รวมถึงต้องให้เครดิตเจ้าของผลงานด้วย

ชนิดของสัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์ ดังกล่าว ตรงกับเงื่อนไขใด
  Attribution-NonCommercial (CC BY-NC)

นำผลงานไปทำอะไรต่อได้อย่างอิสระ ตราบใดที่ให้เครดิตเจ้าของผลงานอย่างถูกต้อง และไม่นำไปใช้ในการแสวงหาผลกำไร

ชนิดของสัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์ ดังกล่าว ตรงกับเงื่อนไขใด
  Attribution-NonCommercial-ShareAlike (CC BY-NC-SA)

เงื่อนไขเหมือนกับ Attribution-NonCommercial (CC BY-NC) เพียงแต่มีเพิ่มตรงที่ผลงานใหม่ จะต้องอยู่ภายใต้ใบอนุญาต Creative Commons รูปแบบเดิมกับต้นฉบับเท่านั้น

ชนิดของสัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์ ดังกล่าว ตรงกับเงื่อนไขใด
  Attribution-NonCommercial-NoDerivs (CC BY-NC-ND)

นี่เป็นเงื่อนไขที่จำกัดด้านการใช้งานมากที่สุด โดยเราทำได้แค่เผยแพร่ และให้เครดิตด้วยเท่านั้น ห้ามดัดแปลงแก้ไข หรือนำไปแสวงหารายได้โดยเด็ดขาด


ใครที่คิดจะเผยแพร่ผลงานโดยเฉพาะอย่างยิ่งบนโลกอินเทอร์เน็ต Creative Commons ถือเป็นสิ่งที่มีประโยชน์มากๆ เลยล่ะ อย่างไรก็ตาม เราควรระวังในการเลือกใช้ประเภทของมันให้เหมาะสมกับผลงานของเราด้วยนะครับ เพราะใบอนุญาต CC ไม่สามารถเพิกถอนได้ แม้เจ้าของผลงานจะเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขในภายหลัง แต่คนที่ใช้งานไปแล้ว ยังได้รับสิทธิ์์ตามใบอนุญาตเดิมอยู่ดี

ที่มา : creativecommons.org , redstarwebdevelopment.com , wiki.creativecommons.org , wiki.creativecommons.org , th.wikipedia.org , th.wikipedia.org , th.wikipedia.org , th.wikipedia.org , th.wikipedia.org , creativecommons.org , www.makeuseof.com , creativecommons.org , redstarwebdevelopment.com