เทคโนโลยีพลังงานทดแทน ข้อดี ข้อเสีย

ข้อดี
• ประเทศเกษตรกรรมมีข้อได้เปรียบ เนื่องจากมีต้นทุนทางด้านวัตถุดิบสูง
• เป็นการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า โดยสามารถลดปริมาณขยะ รวมทั้งเพิ่มมูลค่าให้กับของเหลือใช้ทางการเกษตรและอุตสาหกรรม เพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกร
• เป็นจุดเริ่มต้นของการจัดการขยะในภาคครัวเรือน
• ไบโอดีเซลเป็นเชื้อเพลิงปรับใช้ในชุมชนได้ง่าย
• โรงไฟฟ้าพลังชีวภาพและพลังชีวมวลมักมีขนาดไม่ใหญ่ จึงก่อมลพิษจากกระบวนการเผาไหม้และผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อมต่อชุมชนบ้าง แต่ไม่มากนัก

ข้อเสีย
• วัตถุดิบจากพืชผลทางการเกษตรมีวงจรการผลิตตามฤดูกาลจึงอาจมีปริมาณไม่สม่ำเสมอขึ้นอยู่กับกลไกตลาด
• วัตถุดิบจากพืชผลทางการเกษตรบางชนิดเก็บไว้ใช้ได้ไม่นาน
• วัตถุดิบจากพืชผลทางการเกษตรต้องมีระบบการจัดเก็บที่เหมาะสมเพื่อป้องกันความเสียหายและอาศัยพื้นที่จัดเก็บขนาดใหญ่
• การเติบโตของตลาดพลังงานชีวภาพและชีวมวลอาจส่งผลให้เกิดปัญหาความมั่นคงทางอาหาร เมื่อพื้นที่การเกษตรถูกแย่งชิงไปทำการเพาะปลูกพืชพลังงานเชิงเดี่ยว
• โรงไฟฟ้าพลังชีวภาพและพลังชีวมวลอาจก่อให้เกิดการแย่งชิงทรัพยากรน้ำ

adminJanuary 10, 2017Comments are off for this post.

ต้องยอมรับว่าในปัจจุบันนี้เรื่องของการใช้พลังงานของมนุษย์มีมากขึ้นทุกวัน เพราะด้วยความต้องการที่จะสร้างความสะดวกสบายให้กับตัวเอง หรือการติดเป็นนิสัยทำให้อาจจะไม่รู้ว่าพลังงานต่างๆ ที่ใช้นั้นจะหมดไปหรือไม่ขอแค่เพียงตัวเองได้ใช้แล้วเกิดความสุขก็เพียงพอแล้ว ด้วยเหตุนี้จึงจำเป็นที่จะต้องมีการคิดค้นพลังงานทดแทนขึ้นเพื่อให้สามารถเอามาใช้แทนพลังงานจริงๆ ได้และทำให้พลังงานยังคงไม่หมดไปจากโลกใบนี้

พลังงานทดแทนคืออะไร

พลังงานทดแทนก็คือพลังงานที่สามารถเอามาใช้ได้แทนพลังงานจากเชื้อเพลิง และในปัจจุบันนี้ก็ถือได้ว่าเป็นพลังงานหลักๆ ที่เราได้ใช้งานกันอยู่ด้วย โดยพลังงานทดแทนที่มีความสำคัญอย่างมากก็เช่น พลังงานแสงอาทิตย์, พลังงานน้ำ, พลังงานลม เป็นต้น โดยปัจจุบันนี้ก็พยายามที่จะทำการศึกษาเพื่อนำเอาพลังงานทดแทนต่างๆ นี้มาใช้ให้มากขึ้น และจะช่วยลดปัญหาในกรณีของการขาดแคลนพลังงานในอนาคตได้เป็นอย่างดี รวมถึงยังช่วยบรรเทามลพิษต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากการใช้พลังงานในปัจจุบันได้เป็นอย่างดีอีกด้วย

ความสำคัญของพลังงานทดแทน

หากพูดกันตามความเป็นจริงพลังงานหลักๆ ที่คนเราใช้อยู่ในทุกๆ วันนี้ก็คือพลังงานเชื้อเพลิง หรืออาจจะเรียกว่า พลังงานปิโตรเลียมก็ได้ โดยยิ่งความทันสมัยเข้ามามากเท่าไหร่ความต้องการในการใช้พลังงานก็มากขึ้นตามไปด้วยแต่เพราะปริมาณน้ำมันดิบที่หาได้มีอย่างจำกัดทำให้ราคาค่อนข้างที่จะสูง ที่สำคัญจากปริมาณที่เหลืออยู่ก็มีการคาดการณ์กันว่าอาจจะเหลือใช้ได้อีกประมาณ 40 ปี เท่านั้น เลยทำให้ต้องมีการพัฒนาในเรื่องของการหาพลังงานทดแทนเข้ามาใช้ โดยปัจจุบันเองก็ต้องถือว่าพลังงานทดแทนเหล่านี้สามารถเข้ามาแทนที่พลังงานได้บ้าง อาทิ แก๊สโซฮอลล์, น้ำมันไบโอดีเซล อีกทั้งยังจะมีการนำเอาพลังงานทดแทนต่างๆ ที่เป็นพลังงานความร้อนจากดวงอาทิตย์ น้ำ และลม มาช่วยป้องกันภาวะก๊าซเรือนกระจกด้วย ซึ่งนั่นหมายความว่าจะทำให้มนุษย์บนโลกใบนี้ยังคงมีการใช้ชีวิตได้อย่างสุขสบายต่อไปอีกนาน

ข้อดีของการใช้พลังงานทดแทน

  1. ทำให้สภาวะเศรษฐกิจต่างๆ ในประเทศดีขึ้น เนื่องจากสามารถใช้ผลผลิตในประเทศต่างๆ มาทำการผลิตเองได้ และสามารถนำรายได้กระจายไปสู่หลายๆ ประเทศทั่วโลกได้เป็นอย่างดี
  2. ช่วยในการป้องกันปัญหาสิ่งแวดล้อมต่างๆ ทีอาจจะเกิดขึ้น รวมไปถึงมลพิษต่างๆ ก็จะลดลงด้วยเนื่องจากว่าพลังงานจำพวกปิโตรเลียมถูกใช้น้อยลง
  3. ช่วยให้มนุษย์มีชีวิตที่ยืนยาวขึ้นจากการที่ได้โดนผลกระทบต่างๆ ในการใช้พลังงาน อีกทั้งยังช่วยเป็นการป้องกันไม่ให้โลกเกิดภาวะต่างๆ ที่สุ่มเสี่ยงต่อปัญหาโลกร้อนได้ด้วย

เทคโนโลยีพลังงานทดแทน ข้อดี ข้อเสีย

โรงไฟฟ้าพลังงานน้ำเป็นพลังงานหมุนเวียนที่มีต้นทุนค่าผลิตต่อหน่วยต่ำจึงเป็นที่นิยมในหลากหลายประเทศ

แต่เหตุการณ์น้ำท่วมหนักในลาวเนื่องจากเขื่อนแตกจึงอาจเป็นวาระที่เหมาะสมในการทบทวนข้อดีและข้อเสียของการผลิตไฟฟ้ารูปแบบนี้

เทคโนโลยีพลังงานทดแทน ข้อดี ข้อเสีย

โรงไฟฟ้าพลังงานน้ำใช้น้ำตามแม่น้ำ เขื่อน และอ่างเก็บน้ำเป็นพลังงาน ทำให้แต่ละประเทศไม่ต้องซื้อหาหรือพิ่งพาเชื้อเพลิงจากชาติอื่น ขณะที่พลังงานที่ใช้กันทั่วไปอย่างฟอสซิลมีราคาผันผวนตามการเมืองและเศรษฐกิจ

เมื่อใช้ผลิตไฟฟ้าแล้วน้ำก็ไม่ได้หมดไป แต่หมุนเวียนอยู่ในวัฏจักรธรรมชาติ เมื่อได้รับความร้อนจากแสงอาทิตย์ก็ระเหยเป็นไอ ตกลงมาเป็นฝนให้สามารถกลับมาใช้ผลิตไฟฟ้าใหม่ได้

การสร้างเขื่อนมีราคาสูงก็จริง แต่เมื่อสร้างเสร็จแล้วเขื่อนหนึ่งสามารถมีอายุได้ 50-100 ปี ใช้การบำรุงรักษาและเจ้าหน้าที่จำนวนน้อยมากเมื่อเทียบกับการผลิตพลังงานด้วยวิธีอื่น

โดยองค์การพลังงานหมุนเวียนนานาชาติ (IRENA)* ประเมินว่าเขื่อนขนาดเล็กถึงปานกลางใช้ค่าบำรุงรักษาและค่าปฏิบัติการผลิตไฟฟ้าเฉลี่ยเพียง 1 – 4% ของเงินลงทุนต่อปีต่อหน่วยไฟฟ้าหนึ่งกิโลวัตต์ ขณะที่เขื่อนขนาดใหญ่ใช้เป็นเปอร์เซ็นน้อยลงไปอีกเมื่อเทียบกับเงินลงทุน ทั้งนี้ไม่ได้รวมค่าเปลี่ยนอุปกรณ์ขนาดใหญ่ที่ต้องเปลี่ยนทุก 30-50 ปี

เทคโนโลยีพลังงานทดแทน ข้อดี ข้อเสีย

ขนาดของโรงไฟฟ้าพลังน้ำไม่มีกำหนดตายตัว สามารถเลือกได้ว่าจะสร้างเขื่อนหรืออ่างเก็บน้ำขนาดต่าง ๆ ที่เหมาะสมตามภูมิประเทศ เขื่อนจิ๋วของบริษัท Turbulent Hydro มีขนาดเพียง 4×3 เมตรเท่านั้นและสามารถผลิตไฟฟ้าได้ 15- 100 กิโลวัตต์ ขณะที่เขื่อนซานเสียต้าป้าของจีนสูงถึง 181 เมตร และมองเห็นจากนอกโลกได้

ตามข้อมูลขององค์การพลังงานหมุนเวียนนานาชาติ (IRENA)* กล่าวว่าโรงไฟฟ้าพลังงานน้ำสามารถบริหารจัดการน้ำให้สอดคล้องกับความต้องการไฟฟ้าได้ หากความต้องการใช้ไฟฟ้าต่ำก็ลดปริมาณน้ำลง น้ำที่เหลือก็เก็บไว้ใช้เมื่อมีความต้องการสูง หรือใช้ประโยชน์อื่น ๆ

เทคโนโลยีพลังงานทดแทน ข้อดี ข้อเสีย

นอกจากเก็บกักน้ำและผลิตไฟฟ้าแล้ว พื้นที่เขื่อนยังสามารถสร้างประโยชน์ทางอ้อมได้ เช่นด้านการประมงและด้านการการท่องเที่ยว เพิ่มรายได้ให้ชุมชน ตัวอย่างเช่น ในปี 2016 ชุมชนโดยรอบเขื่อนรัชชประภาสามารถทำรายได้จากธุรกิจการท่องเที่ยว 65 ล้านบาท และมีนักท่องเที่ยวกว่า 3 แสนคน

นอกจากนี้ยังมีประโยชน์ด้านการบริหารจัดการน้ำภายในประเทศเพื่อป้องกันน้ำท่วม ให้ประโยชน์ด้านการชลประทานและการกักเก็บน้ำไว้บริโภคเมื่อแล้งด้วย

เทคโนโลยีพลังงานทดแทน ข้อดี ข้อเสีย

การสร้างเขื่อนถือเป็นเมกะโปรเจ็คที่กินเวลานานและใช้ทรัพยากรมหาศาล บางเขื่อนอาจใช้งบประมาณสูงถึง 20 พันล้านดอลลาร์ (ประมาณหกแสนล้านบาท) หรือเขื่อนบางแห่งใช้เวลาสร้างนาน 18 ปี

จากข้อมูลขององค์การแม่น้ำโลก (International Rivers) ชี้ว่า การสร้างเขื่อนยังเกิดปัญหางบประมาณบานปลายบ่อยคร้ง โดยเฉลี่ยแล้วคิดเป็น 30% ของงบประมาณที่เสนอในทีแรก และเมื่อสร้างเสร็จก็มักจะผลิตไฟฟ้าได้น้อยกว่าที่คาดการณ์ 20% โดยเฉลี่ยด้วย

เทคโนโลยีพลังงานทดแทน ข้อดี ข้อเสีย

แม้จะถูกเข้าใจว่าเป็นพลังงานสะอาด แต่การสร้างเขื่อนก็จะทำให้ต้องเสียพื้นที่ป่าไม้เป็นบริเวณกว้าง นอกจากสัตว์ป่าก็ถูกรบกวนแล้ว เคยมีการค้นพบว่าหากต้นไม้ยืนต้นตายใต้น้ำก็อาจสร้างปริมาณคาร์บอนไดซ์ออกไซด์พอ ๆ กับการผลิตไฟฟ้าจากฟอสซิลเลย*

การเปลี่ยนทางน้ำก็กระทบต่อระบบนิเวศน์ในน้ำ เนื่องจากกิจวัตรของปลาเป็นผลมาจากระดับน้ำ ทางน้ำ ที่กำบังแหล่งอาหาร การสร้างเขื่อนจึงกระทบความหลากหลายทางชีวภาพ โดยที่ผ่านมาปลาและนกบางสปีชีส์ต้องสูญพันธุ์ไป

เขื่อนมักจะสร้างบริเวณหุบเขาที่มีแม่น้ำ บ่อยครั้งเป็นที่ชุมน้ำซึ่งแหล่งการเกษตรที่มีความอุดมสมบูรณ์ที่สุด พื้นที่เหล่านี้กว่าครึ่งของโลกหายไปเพราะการสร้างเขื่อน

เทคโนโลยีพลังงานทดแทน ข้อดี ข้อเสีย

เมื่อมีการสร้างเขื่อนจะมีการเวนคืนที่ดินทั้งบริเวณที่จะสร้าง ทั้งหมู่บ้านที่อยู่โดยรอบต้องรับความเสี่ยงน้ำท่วมบ่อย ที่ผ่านมามีคณะกรรมการเขื่อนโลกประเมินว่ามีผู้ต้องย้ายถิ่นฐานเนื่องจากการสร้างเขื่อนมาแล้ว 40-80 ล้านคนทั่วโลก และน้อยครั้งมากที่คนเหล่านี้จะได้ค่าชดเชยที่เป็นธรรม*

นอกจากนี้เรายังมักจะคิดกันว่าเขื่อนเป็นโครงสร้างที่คงทนถาวร ทั้งที่จริงแล้วเขื่อนย่อมมีโอกาสจะแตกได้เสมอทั้งจากภัยธรรมชาติหรือการบำรุงรักษาที่ไม่เหมาะสม ซึ่งหากเขื่อนแตกก็จะส่งผลให้น้ำในเขื่อนทะลักจนเกิดปัญหาอุทกภัยแก่บริเวณใกล้เคียง

ก่อนหน้านี้เคยเกิดเหตุการณ์เขื่อนแตกหลายครั้ง เช่น เหตุการณ์เขื่อนแตกเนื่องจากพายุใต้ฝุ่นเข้าที่มณฑลเหอหนานประเทศจีน ปี 1975 ประเมินแล้วมียอดผู้เสียชีวิตกว่า 80,000 – 230,000 คน