โรคน้ำในหูไม่เท่ากันเป็นยังไง

อยู่ดีๆ ก็เกิดเวียนศีรษะ บ้านหมุน พอจะยืนก็ทรงตัวไม่อยู่จะล้มเสียให้ได้ หูอื้อ ได้ยินไม่ชัด อาการเหล่านี้เป็นความผิดปกติของหูชั้นใน หรือที่รู้จักกันในโรคน้ำในหูไม่เท่ากัน ซึ่งมีสาเหตุมาจากความผิดปกติของน้ำที่อยู่ภายในหูชั้นในนั่นก็คือ มีแรงดันของน้ำในหูมากเกินปกติ พบบ่อยในวัยทำงานที่มีอายุ 30 ปีขึ้นไป หากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกวิธี ถ้าทิ้งไว้ระดับการได้ยินอาจแย่ลงเรื่อยๆ ได้


โรคน้ำในหูไม่เท่ากัน เป็นอย่างไร?

โรคน้ำในหูไม่เท่ากัน หรือโรคมีเนีย (Meniere’s disease) เป็นสาเหตุของโรคที่พบอันดับสองของสาเหตุอาการเวียนศีรษะ ส่วนใหญ่มักเป็นกับหูเพียงข้างเดียว มีเพียง 15-20% ที่เป็นหูทั้งสองข้าง เกิดจากความผิดปกติของน้ำในหูชั้นใน ซึ่งปกติหูชั้นในจะมีน้ำในปริมาณที่พอดีกับการทำงานของเซลล์ประสาทที่ทำหน้าที่ควบคุมการทรงตัวและการได้ยิน และมีการไหลเวียนถ่ายเทเป็นปกติ แต่เมื่อเกิดความผิดปกติขึ้น เช่น การดูดซึมของน้ำในหูไม่ดี ทำให้น้ำในหูชั้นในมีปริมาณมากกว่าปกติ ก็จะส่งผลต่อการทำงานของเซลล์ประสาทที่ควบคุมการทรงตัวและการได้ยิน ทำให้ผู้ป่วยเกิดอาการวิงเวียนศีรษะ หูอื้อ สูญเสียการได้ยิน รู้สึกถึงแรงดันภายในหู เป็นต้น


สาเหตุโรคน้ำในหูไม่เท่ากัน

โรคนี้มีโอกาสเป็นได้ทุกเพศ และทุกวัย เพราะเป็นโรคที่ไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด พบมากในวัยทำงานที่มีอายุ 30 ปีขึ้นไป แต่มีปัจจัยต่างๆ ที่มีผลต่อการดำเนินโรคได้ เช่น กรรมพันธุ์โดยมีโครงสร้างหูชั้นในผิดปกติแต่กำเนิด โรคภูมิแพ้ การติดเชื้อไวรัส หูชั้นกลางอักเสบ หูน้ำหนวก ซิฟิลิส มีประวัติเคยประสบอุบัติเหตุที่ศีรษะ และโรคเบาหวาน ไทรอยด์ ไขมันในเลือดสูง เป็นต้น

โรคน้ำในหูไม่เท่ากันเป็นยังไง

อาการแบบไหนบ่งบอกน้ำในหูไม่เท่ากัน

โรคน้ำในหูไม่เท่ากัน จะส่งผลต่อการทำงานของเซลล์ประสาทที่ควบคุมการทรงตัว และการได้ยิน ทำให้เซลล์ดังกล่าวทำงานผิดปกติ ทำให้ผู้ป่วยโรคนี้มีอาการ ดังนี้

  1. อาการหลัก ได้แก่ เวียนศีรษะอย่างรุนแรง บ้านหมุน ซึ่งมักจะเป็นอาการเวียนศีรษะรุนแรงและมีความรู้สึกหมุนร่วมด้วย บางครั้งอาจมีอาการคลื่นไส้อาเจียนร่วมกับการสูญเสียสมดุลของร่างกาย ซึ่งอาจทำให้ล้มได้ง่าย
  2. อาการอื่นๆ ที่อาจพบร่วมด้วย ได้แก่ ความผิดปกติทางหู จะสูญเสียการได้ยิน ชนิดประสาทการได้ยินเสียเฉียบพลัน ทำให้หูอื้อ ได้ยินไม่ชัด รู้สึกแน่นในหูเป็นๆ หายๆ บางครั้งการได้ยินดีขึ้น บางครั้งแย่ลง มีเสียงดังในหู อาจเป็นเสียงหึ่ง วี้ เสียงลม เสียงจักจั่น อาการหนักๆ หน่วงๆ ในหู คล้ายมีแรงดันในหู

การตรวจและวินิจฉัยโรคน้ำในหูไม่เท่ากัน

โดยปกติทั่วไป แพทย์จะทำการซักประวัติอาการ เช่น ลักษณะอาการเวียนศีรษะ ความรุนแรงของอาการ ระยะเวลาและความถี่ของอาการ อาการทางหูที่เกิดร่วมด้วย ในกรณีที่อาการไม่ชัดเจนก็จำเป็นต้องอาศัยการตรวจพิเศษเพิ่มเติม เพื่อช่วยในการวินิจฉัย ดังนี้

  • การตรวจทางร่างกาย ได้แก่ การตรวจหู คอ จมูก และระบบประสาท การตรวจระบบสมดุลของร่างกาย การตรวจการทำงานของอวัยวะการทรงตัวในหูชั้นใน และ การตรวจดูการเคลื่อนไหวของลูกตาในท่าทางต่างๆ
  • การตรวจอื่นๆ ได้แก่ การตรวจการได้ยิน การตรวจการทำงานของอวัยวะทรงตัวของหูชั้นใน การตรวจการทำงานของเส้นประสาทการได้ยิน
  • การตรวจพิเศษทางรังสี เช่น การตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) หรือ ตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมอง (CT scan) ในรายที่สงสัยว่าอาจมีเนื้องอกของเส้นประสาทการทรงตัวหรือความผิดปกติสมอง

โรคน้ำในหูไม่เท่ากันรักษาอย่างไร?

การรักษาโรคน้ำในหูไม่เท่ากัน ส่วนใหญ่จะรักษาตามอาการที่ตรวจพบ โดยมีทั้งการให้ยาบรรเทาอาการ และการผ่าตัดโดย

  • การให้ยาบรรเทาอาการ เช่น การรับประทานยาขับปัสสาวะ เพื่อลดสภาวะอาการบวม และคั่งของน้ำในหูชั้นใน รวมทั้งยาขยายหลอดเลือดจะช่วยให้การไหลเวียนของน้ำในหูดีขึ้น ยาลดอาการเวียนศีรษะ และคลื่นไส้อาเจียน ตลอดจนยากล่อมประสาท และยานอนหลับ เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยผ่อนคลาย และนอนหลับได้เป็นปกติ
  • • การผ่าตัดเพื่อระบายน้ำที่คั่งอยู่ในหูชั้นใน ใช้ในกรณีผู้ป่วยมีอาการรุนแรงและไม่สามารถควบคุมได้จากการใช้ยา เช่น การตัดเส้นประสาท ที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการทรงตัวในหูชั้นใน ในผู้ป่วยที่มีอาการเวียนศีรษะไม่หาย เป็นต้น

แม้ว่าโรคน้ำในหูไม่เท่ากัน จะไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่อาการของผู้ป่วยส่วนใหญ่สามารถควบคุมได้ด้วยยา และการปฏิบัติตัวที่ถูกต้อง รวมทั้งสามารถป้องกันได้โดยการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต รวมไปถึงการดูแลสุขภาพ หมั่นออกกำลังกายสม่ำเสมอ พักผ่อน ลดความเครียด หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่ ชากาแฟ

  • โดย เมดไทย
  • ปรับปรุงเมื่อ 02 กันยายน 2020 (เวลา 19:34 น.)

โรคน้ำในหูไม่เท่ากันเป็นยังไง

โรคเมเนียส์

โรคเมเนียส์, โรคมีเนียร์ หรือ โรคเมนิแยร์ (Ménière’s disease – MD) หรือที่ทั่วไปมักเรียกกันว่า “โรคน้ำในหูไม่เท่ากัน” หรือ “โรคน้ำในหูชั้นในผิดปกติ” หรือบางครั้งก็เรียกกันสั้น ๆ ทางพยาธิวิทยาว่า “โรคน้ำในหู” (Endolymphatic hydrops) เป็นโรคที่มีความผิดปกติของหูชั้นใน โดยมีน้ำในหูชั้นในมากผิดปกติ เป็นเหตุให้เสียความรู้สึกเกี่ยวกับการทรงตัว (เกิดอาการเวียนศีรษะแบบบ้านหมุน) และการได้ยิน (เกิดอาการหูตึง แว่วเสียงดังในหู) ส่วนใหญ่มักเป็นกับหูเพียงข้างเดียว แต่อาจเป็นกับหูได้ทั้ง 2 ข้างประมาณ 10-15%[1] หรือประมาณ 30% ในบางรายงาน[2]

หูชั้นใน (Inner ear) ของคนเราจะมีเซลล์ประสาทที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการทรงตัวและการได้ยิน ซึ่งโดยปกติแล้วจะมีน้ำในหูชั้นในอยู่ในปริมาณที่พอดีกับการทำงานของเซลล์ประสาทที่ทำหน้าที่ควบคุมการทรงตัวและการได้ยิน และมีการไหลเวียนถ่ายเทเป็นปกติ เมื่อมีการเคลื่อนไหวของน้ำในหูขณะเคลื่อนไหวศีรษะ จะกระตุ้นเซลล์ประสาทดังกล่าวให้มีการส่งสัญญาณไปยังสมองเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของร่างกาย แต่เมื่อใดก็ตามที่มีความผิดปกติของการไหลเวียนของน้ำในหู เช่น การดูดซึมของน้ำในหูไม่ดี ทำให้น้ำในหูชั้นในมีปริมาณมากกว่าปกติ (Endolymphatic hydrops) ก็จะส่งผลต่อการทำงานของเซลล์ประสาทที่ควบคุมการทรงตัวและการได้ยิน

โรคนี้เป็นโรคพบได้ค่อนข้างบ่อย โดยเป็นโรคที่พบได้เป็นอันดับ 2 ของสาเหตุอาการเวียนศีรษะ[5] มักพบได้ในผู้คนอายุ 30-60 ปี[2] ทั้งเพศหญิงและเพศชายมีโอกาสเป็นโรคนี้ได้พอ ๆ กัน[4] (ส่วนอีกข้อมูลระบุว่า โรคนี้พบได้น้อย มักพบในผู้ชายอายุประมาณ 40-60 ปี แต่อาจพบได้ในคนหนุ่มสาวด้วยเช่นกัน[1])

โรคน้ำในหูไม่เท่ากันเป็นยังไง
IMAGE SOURCE : www.hearinglink.org

สาเหตุของโรคเมเนียส์

ในปัจจุบันยังไม่ทราบกลไกที่แน่ชัดว่า เหตุใดปริมาณของเหลวในหูชั้นใน (Endolymph) จึงเกิดมีมากกว่าปริมาณปกติขึ้นมาเป็นระยะ ๆ แล้วส่งผลให้เกิดอาการผิดปกติต่าง ๆ ตามมา (อาการของโรคเป็นผลมาจากความผิดปกติของน้ำในหูชั้นในที่มากผิดปกติ)

ผู้ป่วยอาจมีอาการเกิดขึ้นหรือมีอาการกำเริบได้เมื่อมีปัจจัยเหล่านี้มากระตุ้น เช่น

  • การติดเชื้อไวรัส เช่น หูชั้นในอักเสบ หูชั้นกลางอักเสบ หูน้ำหนวก เยื่อหุ้มสมองอักเสบ ซิฟิลิส ไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่
    โรคทางกาย เช่น โรคภูมิแพ้ โรคของหลอดเลือดในหู ปวดศีรษะไมเกรน โรคเบาหวาน โรคไขมันในเลือดสูง โรคไทรอยด์
  • เคยประสบอุบัติเหตุที่ศีรษะมาก่อน
  • ภาวะเครียดทางจิตใจ การอดหลับอดนอน ร่างกายเหนื่อยล้า การสูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์ หรือการใช้ยาบางชนิด (เช่น ยาแอสไพริน)
  • การเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมน รวมถึงการมีประจำเดือน
  • ความไม่สมดุลของน้ำและเกลือแร่
  • กรรมพันธุ์ ทำให้ผู้ป่วยมีโครงสร้างหูชั้นในผิดปกติมาแต่กำเนิด
  • บางครั้งอาจเกิดขึ้นโดยไม่มีสาเหตุหรือมีปัจจัยดังกล่าวมากระตุ้น ซึ่งพบได้เป็นส่วนใหญ่
โรคน้ำในหูไม่เท่ากันเป็นยังไง
IMAGE SOURCE : www.medical-institution.com

อาการของโรคเมเนียส์

  • อาการบ้านหมุน (เวียนศีรษะอย่างรุนแรง) ผู้ป่วยมักมีอาการบ้านหมุนเกิดขึ้นแบบทันทีทันใด อยู่เฉย ๆ ก็เป็นขึ้นมา และแต่ละครั้งมักเป็นอยู่นานเกิน 20 นาทีขึ้นไปถึง 2 ชั่วโมง (ส่วนใหญ่มักมีอาการไม่เกินครึ่งชั่วโมง แต่บางรายอาจเป็นเพียงครั้งละไม่กี่นาทีหรือเป็นนานหลายชั่วโมงก็ได้) แล้วหายไปได้เอง และอาการจะกำเริบได้อีกเป็นครั้งคราว เป็น ๆ หาย ๆ ซึ่งผู้ป่วยอาจมีอาการทุกวัน หรือนาน ๆ เป็นทีก็ได้ โดยอาจทิ้งช่วงห่างกันเป็นสัปดาห์ ๆ หรือนานเป็นปี ซึ่งไม่แน่นอนและไม่สามารถคาดเดาได้ว่าจะเกิดขึ้นอีกเมื่อไร และในแต่ละครั้งที่มีอาการอาจมีอาการมากหรือน้อยก็ได้ แต่จะไม่ทำให้ถึงกับหมดสติหรือเป็นอัมพาต ในบางครั้งที่เกิดอาการอาจทำให้ผู้ป่วยทรงตัวไม่อยู่หรือเซล้มลงได้ นอกจากนี้ผู้ป่วยมักมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน เหงื่อออก และอาจมีอาการตากระตุกร่วมกับอาการบ้านหมุนด้วย (อาการบ้านหมุนเป็นอาการหลักที่รบกวนผู้ป่วยมากที่สุด เพราะทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถทำกิจวัตรประจำวันได้ตามปกติ และต้องนอนพักเพียงอย่างเดียว)
  • ประสิทธิภาพการได้ยินลดลง ในขณะที่มีอาการเวียนศีรษะ โดยเสียงที่ไม่ได้ยินมักเป็นเสียงต่ำ เช่น เสียงนาฬิกา เสียงกริ่งโทรศัพท์ เป็นต้น และหากเสียงสูงอาจจะทำให้เกิดอาการปวดหู (ทนเสียงดังไม่ได้) ซึ่งในระยะแรกของโรคอาจเป็น ๆ หาย ๆ การได้ยินมักดีขึ้นเมื่ออาการเวียนศีรษะหายไป แต่ถ้าเป็นซ้ำ ๆ กันหลายครั้ง การได้ยินอาจเสื่อมลงเรื่อย ๆ จนกระทั่งหูตึงหรือหูหนวกได้ (ระยะแรกอาจเป็นเพียงข้างเดียว พอในระยะหลัง ๆ อาจมีอาการทั้งสองข้าง)
  • หูอื้อ แว่วเสียงดังในหู ซึ่งจะเกิดขึ้นในหูข้างที่ผิดปกติ มักเป็นพร้อมกับอาการบ้านหมุน อาจเป็นเฉพาะเวลาที่เวียนศีรษะหรืออาจเป็นอยู่ตลอดเวลาก็ได้
  • รู้สึกแน่นในหู ลักษณะหนัก ๆ หน่วง ๆ คล้ายกับมีแรงดันในหู (ผู้ป่วยอาจมีอาการปวดหู และปวดศีรษะข้างที่เป็นร่วมด้วยได้)

การแบ่งระยะของโรคเมเนียส์

โรคนี้สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ระยะ (ความรุนแรงและระยะเวลาแต่ละระยะไม่แน่นอน) ได้แก่

  • ระยะที่ 1 ผู้ป่วยจะมีอาการเวียนศีรษะแบบบ้านหมุนและอาเจียนเป็นอาการเด่น ส่วนการทำงานของหูยังปกติ
  • ระยะที่ 2 ในระยะนี้ผู้ป่วยจะมีอาการครบทั้ง 4 อย่างดังที่กล่าวมา
  • ระยะที่ 3 ในระยะนี้ผู้ป่วยยังคงมีเสียงแว่วดังในหูแต่ไม่รุนแรง การได้ยินจะลดลงจนไม่สามารถได้ยินคำพูดได้ ส่วนอาการเวียนศีรษะจะลดลงทั้งความรุนแรงและความถี่ (อาการคลื่นไส้อาเจียนก็ลดลงด้วยเช่นกัน)

โรคน้ำในหูไม่เท่ากันเป็นยังไง

ภาวะแทรกซ้อนของโรคเมเนียส์

  • ผู้ป่วยทั่วไปส่วนมากจะเป็นไม่รุนแรงและอาจหายได้เอง แต่มีส่วนน้อยอาจหูตึงมากขึ้นเรื่อย ๆ จนหูหนวกสนิทได้ (อาการบ้านหมุนมักหายไปภายหลังที่หูหนวกสนิทแล้ว) ซึ่งอาจเป็นเพียงข้างเดียวหรือสองข้างก็ได้
  • ผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง อาจเป็นคนชอบวิตกกังวลและเป็นไมเกรนร่วมด้วย
  • ผู้ป่วยอาจประสบอุบัติเหตุได้ง่ายในขณะที่เกิดอาการบ้านหมุน

การวินิจฉัยโรคเมเนียส์

แพทย์สามารถวินิจฉัยโรคได้จากการซักประวัติผู้ป่วยอย่างละเอียด และการตรวจร่างกาย ถ้าผู้ป่วยมาด้วยอาการดังกล่าว แพทย์ก็มักให้การวินิจฉัยได้ ซึ่งพบว่าผู้ป่วยประมาณ 50% เท่านั้นที่มีอาการดังกล่าวเด่นชัด ส่วนในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการไม่ชัดเจนก็จำเป็นต้องอาศัยการตรวจพิเศษอื่น ๆ เพิ่มเติมเพื่อช่วยในการวินิจฉัยและแยกจากโรคหรือภาวะต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง

  • การซักประวัติอาการ เช่น ลักษณะอาการเวียนศีรษะแบบบ้านหมุน ความรุนแรงของอาการ ระยะเวลาและความถี่ของอาการทางหู
  • การซักประวัติสุขภาพ เช่น ประวัติการเจ็บป่วยในอดีต, ประวัติโรคซิฟิลิส, ประวัติการผ่าตัดหู, โรคทางระบบประสาท, โรคภูมิแพ้, โรคภูมิคุ้มกัน, โรคเบาหวาน, โรคความดันโลหิตสูง, โรคไทรอยด์, โรคคางทูม, โรคการอักเสบของตา เป็นต้น
  • การตรวจร่างกาย เช่น การตรวจหู คอ จมูก และระบบประสาท, การตรวจระบบสมดุลของร่างกาย, การตรวจดูการเคลื่อนไหวของลูกตาในท่าทางต่าง ๆ, การวัดความดันโลหิตในท่านอน ท่านั่ง และท่ายืน (เพื่อตรวจหาความดันเลือดต่ำในขณะเปลี่ยนท่า) เป็นต้น
  • การตรวจพิเศษเพิ่มเติม เช่น การตรวจสมรรถภาพการได้ยิน (Audiometry), การตรวจการทำงานของอวัยวะทรงตัวของหูชั้นใน (Electronystagmography – ENG), การตรวจคลื่นไฟฟ้าในหูชั้นใน (Electrocochleography – ECOG) ถ้าตรวจออกมาได้ผลบวกจะค่อนข้างมั่นใจว่าผู้ป่วยเป็นโรคนี้, การตรวจการได้ยินระดับก้านสมอง (Auditory Brainstem Response – ABR), การเจาะเลือด (เพื่อหาภาวะซีด เลือดข้น มะเร็งเม็ดเลือดขาว เกล็ดเลือดมากผิดปกติ ระดับไขมันในเลือดสูง ระดับยูริกในเลือดสูง เบาหวาน ระดับน้ำตาลในเลือดที่ต่ำเกินไป โรคไต โรคภูมิแพ้ตัวเอง การติดเชื้อซิฟิลิสหรือเอดส์ การทำงานของต่อมไทรอยด์ที่ผิดปกติ), การตรวจปัสสาวะ (เพื่อดูว่ามีโรคไตหรือไม่), การถ่ายภาพรังสีกระดูกคอ, การตรวจพิเศษทางรังสี (เฉพาะในรายที่สงสัยว่าอาจมีเนื้องอกของเส้นประสาทการทรงตัวหรือความผิดปกติทางสมอง เช่น การตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมอง (CT scan) หรือตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI)), การตรวจการไหลเวียนของเลือดผ่านเส้นเลือดใหญ่ไปสู่สมอง โดยใช้อัลตราซาวนด์ (สามารถบอกแรงดันเลือด ความเร็วของการไหล และความไม่สมดุลของการไหลเวียนของเลือดได้), การตรวจหาความผิดปกติของหัวใจ (EKG) เป็นต้น

อาการเวียนศีรษะเป็นอาการที่พบได้บ่อย แต่อาการดังกล่าวอาจไม่ได้เกิดโรคเมเนียส์หรือน้ำในหูไม่เท่ากันเสมอไป เพราะอาจเกิดจากโรคอื่น ๆ เช่น

  • โรคของหูชั้นนอก เช่น การอุดตันจากขี้หู เนื้องอก หนอง หรือการอักเสบจากหูชั้นนอก, กระดูกช่องหูหักจากอุบัติเหตุ เป็นต้น
  • โรคของหูชั้นกลาง เช่น หูชั้นกลางอักเสบเฉียบพลันหรือเรื้อรัง (หูน้ำหนวก), เลือดคั่งในหูชั้นกลางจากอุบัติเหตุหรือการเปลี่ยนแปลงของความดันอากาศ (Hemotympanum), ท่อยูสเตเชียน (Eustachian tube) ทำงานผิดปกติหรือมีการอุดตัน, มีการทะลุของเยื่อที่ผิดช่องทางติดต่อระหว่างหูชั้นกลางและหูชั้นใน (Perilymphatic fistula) เป็นต้น
  • โรคของหูชั้นใน เช่น การติดเชื้อของหูชั้นใน (Labyrinthitis), การอักเสบของหูชั้นในจากสารพิษ (Toxic labyrinthitis), การบาดเจ็บที่ศีรษะทำให้เกิดการบาดเจ็บของอวัยวะทรงตัวในหูชั้นใน, การได้รับแรงกระแทกจนเกิดการบาดเจ็บจากเสียงหรือการผ่าตัดบริเวณหู, โรคตะกอนหินปูนในหูชั้นในหลุด (Benign paroxysmal positional vertigo – BPPV)
  • โรคของทางเดินประสาทและสมอง เช่น เส้นประสาทการทรงตัวอักเสบ (Vestibular neuronitis), เนื้องอกของประสาททรงตัว (Vestibular schwannoma), โรคของระบบประสาทกลาง, การเสื่อมของระบบประสาทกลางที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการทรงตัว, ความผิดปกติของกระแสเลือดที่ไปเลี้ยงระบบประสาทกลางทำให้เลือดไปเลี้ยงระบบประสาททรงตัวไม่พอ, การติดเชื้อของระบบประสาท เป็นต้น
  • สาเหตุอื่น ๆ เช่น โรคแพ้ภูมิตัวเอง, โรคต่อมไทรอยด์ทำงานน้อยผิดปกติ, โรคเลือด (มะเร็งเม็ดเลือดขาว เกล็ดเลือดสูงผิดปกติ เลือดออกง่ายผิดปกติ ซีด), โรคหลอดเลือดแข็งและตีบจากโรคไขมันในเลือดสูง, ระดับยูริกในเลือดสูง, โรคความดันโลหิตต่ำ, โรคความดันโลหิตสูง, โรคเบาหวาน, โรคไต, โรคภูมิแพ้, โรคกระดูกต้นคอเสื่อม เป็นต้น
  • ไม่ทราบสาเหตุ

วิธีรักษาโรคเมเนียส์

ดังที่กล่าวมาแล้วว่า อาการเวียนศีรษะแบบบ้านหมุนเกิดได้จากหลายสาเหตุ ดังนั้น เมื่อมีอาการดังกล่าว ผู้ป่วยจึงควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุให้แน่ชัดและรับการรักษาที่ถูกต้องต่อไป สำหรับผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคเมเนียส์ การรักษาจะประกอบไปด้วยการปฏิบัติตัวให้ถูกต้องเมื่อเกิดอาการบ้านหมุน การให้ยาบรรเทาอาการ การรักษาไปตามสาเหตุของโรค และการผ่าตัดในรายที่มีอาการรุนแรงและไม่สามารถควบคุมได้จากการใช้ยา

  • ผู้ป่วยควรปฏิบัติตัวให้ถูกต้องตามคำแนะนำดังต่อไปนี้ (วิธีเหล่านี้อาจช่วยให้ผู้ป่วยมีอาการกำเริบห่างขึ้นได้)
    1. เมื่อมีอาการเวียนศีรษะแบบบ้านหมุนในขณะเดิน ควรหยุดเดินและนั่งพัก เพราะการฝืนเดินต่อไปในขณะเวียนศีรษะ อาจทำให้ผู้ป่วยล้มหรือเกิดอุบัติเหตุได้ แต่ถ้าเกิดอาการในขณะขับรถหรือทำงาน ควรหยุดรถที่ข้างทางหรือหยุดการทำงาน โดยเฉพาะการทำงานที่เกี่ยวข้องกับเครื่องจักรกลต่าง ๆ ซึ่งอาจเกิดอุบัติเหตุได้ง่าย ถ้าวิงเวียนศีรษะมากให้นอนบนพื้นราบที่ไม่มีการเคลื่อนไหว เช่น พื้น และผู้ป่วยควรมองไปยังวัตถุที่อยู่นิ่งไม่เคลื่อนไหว ซึ่งจะช่วยให้อาการดีขึ้นได้ ถ้าอาการเวียนศีรษะน้อยลงแล้ว ให้ค่อย ๆ ลุกขึ้น แต่ผู้ป่วยอาจรู้สึกง่วงหรืออ่อนเพลียได้ จึงแนะนำให้นอนหลับพักผ่อน ซึ่งจะช่วยให้อาการดีขึ้นได้
    2. รับประทานยาที่แพทย์ให้รับประทานเวลาเวียนศีรษะ
    3. ลดหรือจำกัดการรับประทานอาหารเค็มจัด เพราะความเค็มหรือเกลือโซเดียมที่มีปริมาณมากขึ้นในร่างกายจะทำให้มีน้ำคั่งในร่างกายและในหูชั้นในมากขึ้น ซึ่งอาจทำให้อาการของผู้ป่วยแย่ลงได้
    4. พยายามอย่ารับประทานอาหารหรือดื่มน้ำมากนัก (เพื่อลดปริมาณของเหลวในหูชั้นใน) จะได้มีโอกาสอาเจียนน้อยลง
    5. นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอและออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อเป็นการช่วยเพิ่มเลือดไปเลี้ยงที่หูชั้นใน
    6. รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ให้ครบทุกหมู่และถูกต้องตามหลักอนามัย
    7. ลดหรือหลีกเลี่ยงสารกาเฟอีน (จากการดื่มชา น้ำอัดลม กาแฟ และช็อกโกแลต) เครื่องดื่มบำรุงกำลัง เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การสูบบุหรี่ และความเครียด เพราะปัจจัยเหล่านี้จะทำให้อาการของผู้ป่วยที่เป็นโรคนี้แย่ลง เนื่องจากจะไปลดเลือดที่ไปเลี้ยงหูชั้นใน
    8. หลีกเลี่ยงท่าทางที่ทำให้เกิดอาการเวียนศีรษะในระหว่างที่เกิดอาการวิงเวียน เช่น การก้ม เงยคอ หรือหันคออย่างเต็มที่, การหมุนศีรษะไว ๆ, การเปลี่ยนท่าทางหรืออิริยาบถอย่างรวดเร็ว เป็นต้น
    9. หลีกเลี่ยงปัจจัยกระตุ้นที่ทำให้เกิดอาการเวียนศีรษะ เช่น การเดินทางโดยเรือ, ความเครียดหรือความวิตกกังวล, การนอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ, สารก่อภูมิแพ้ต่าง ๆ (ถ้าแพ้) เป็นต้น นอกจากนี้ยังควรหลีกเลี่ยงภาวะที่ทำให้ร่างกายเหนื่อยล้ามาก ๆ ด้วย เช่น การทำงานติดต่อกันนาน ๆ หรือการออกกำลังกายอย่างหักโหม เนื่องจากอาการบ้านหมุนมักจะเป็นมากเวลาที่ร่างกายเหนื่อยล้าหรือมีภาวะเครียดทางจิตใจ แต่จะเป็นห่างขึ้นเมื่อสุขภาพทั่วไปแข็งแรงดีและมีจิตใจไม่เครียด
    10. สิ่งที่ควรหลีกเลี่ยงอื่น ๆ ได้แก่ เสียงดังมาก ๆ, การยืนในที่สูง, อุบัติเหตุหรือการกระทบกระเทือนบริเวณหู, การติดเชื้อของหูหรือการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจส่วนบน, การใช้ยาที่มีพิษต่อประสาทการทรงตัว (เช่น แอสไพริน (Aspirin), อะมิโนไกลโคไซด์ (Aminoglycoside), ควินิน (Quinine) เป็นต้น)
    11. ผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคไขมันในเลือดสูง โรคเลือด โรคซีด โรคไต โรคกรดยูริกในเลือดสูง ควรรักษาและควบคุมโรคเหล่านี้ให้ดี
  • การให้ยาบรรเทาอาการ ซึ่งในผู้ป่วยที่มีอาการยังไม่มากมักจะได้ผลดี คือ หายเวียนศีรษะและหูอื้อ การได้ยินฟื้นตัวดีขึ้น (80% จะหายได้ด้วยการให้ยา) ได้แก่
    • ถ้ามีอาการบ้านหมุนมาก แพทย์จะฉีดไดเฟนไฮดรามีน (Diphenhydramine), ไดเมนไฮดริเนต (Dimenhydrinate) หรืออะโทรปีน (Atropine) ให้ ซึ่งอาจช่วยบรรเทาอาการได้
    • ยาขับปัสสาวะเพื่อลดสภาวะอาการบวมและคั่งของน้ำในหูชั้นใน ซึ่งอาจช่วยให้ผู้ป่วยมีอาการดีขึ้นได้ เช่น ไฮโดรคลอโรไทอาไซด์ (Hydrochlorothiazide) 50-100 มิลลิกรัม วันละ 1 ครั้ง
    • ยาขยายหลอดเลือด เพื่อเพิ่มเลือดไปเลี้ยงระบบประสาททรงตัว ทำให้การไหลเวียนของน้ำในหูดีขึ้น เช่น เบตาฮีสทีน เมไซเลต (Betahistine mesilate), ซินนาริซีน (Cinnarizine) เป็นต้น
    • ยาลดอาการเวียนศีรษะ
    • ยาบรรเทาอาการคลื่นไส้อาเจียน เช่น ไดเมนไฮดริเนต (Dimenhydrinate) 1-2 เม็ด วันละ 3-4 ครั้ง
    • ยากล่อมประสาทหรือยานอนหลับ เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยผ่อนคลายความวิตกกังวลและนอนหลับได้เป็นปกติ เช่น ไดอะซีแพม (Diazepam)
  • การรักษาตามสาเหตุของโรค เช่น ถ้าตรวจพบว่าเกิดจากซิฟิลิส แพทย์จะให้การรักษาแบบซิฟิลิส เป็นต้น
  • ผู้ป่วยที่มีอาการมากหากรักษาด้วยยาอย่างเต็มที่แล้วยังควบคุมอาการเวียนศีรษะไม่ได้ อาจต้องรับการรักษาด้วยการผ่าตัดเพื่อระบายน้ำที่คั่งอยู่ในหูชั้นในออก เพื่อป้องกันมิให้โรคลุกลาม และช่วยให้โรคหายขาด ซึ่งได้แก่
    • การทำลายอวัยวะควบคุมการได้ยินและการทรงตัวในหูชั้นใน (Labyrinthectomy) มักทำในผู้ป่วยที่สูญเสียการได้ยินในหูข้างนั้นไปมากแล้ว แต่ยังมีอาการเวียนศีรษะอยู่มาก ซึ่งวิธีนี้จะช่วยควบคุมอาการเวียนศีรษะได้ดี แต่ผู้ป่วยจะสูญเสียการได้ยินในข้างนั้นไปตลอด
    • การตัดเส้นประสาทที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการทรงตัวในหูชั้นใน (Vestibular neurectomy) มักทำในผู้ป่วยที่มีอาการเวียนศีรษะมาก แต่ยังมีการได้ยินดีอยู่
    • การฉีดยาที่มีพิษต่อระบบประสาทหูและการทรงตัวเข้าไปในหูชั้นกลางเพื่อให้ดูดซึมเข้าไปในหูชั้นใน เช่น เจนตามัยซิน (Gentamicin) ซึ่งเป็นยาปฏิชีวนะในกลุ่ม Aminoglycoside เพื่อทำลายระบบประสาททรงตัว ทำให้มีอาการเวียนศีรษะน้อยลง แต่การได้ยินของผู้ป่วยอาจสูญเสียไปด้วย มักใช้ในกรณีที่ผู้ป่วยรับประทานยาไม่ได้และยังเวียนศีรษะอยู่

แม้โรคเมเนียส์จะยังไม่มีวิธีรักษาที่ทำให้โรคหายขาดได้ แต่อาการของผู้ป่วยส่วนใหญ่ก็สามารถควบคุมได้ด้วยยาและการปฏิบัติตัวที่ถูกต้อง ดังนั้น หากคุณหรือบุคคลใกล้ชิดมีอาการดังกล่าว ก็ควรไปพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อตรวจหาสาเหตุและรับการรักษาอย่างถูกต้องต่อไป

เอกสารอ้างอิง
  1. หนังสือตำราการตรวจรักษาโรคทั่วไป 2.  “โรคเมเนียส์ (Ménière’s disease/Endolymphatic hydrops)”.  (นพ.สุรเกียรติ อาชานานุภาพ).  หน้า 923-924.
  2. ภาควิชาโสต นาสิก ลาริงซ์วิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล.  “น้ำในหูไม่เท่ากัน…จริงหรือ”.  (รศ.นพ.ปารยะ อาศนะเสน).  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก : www.si.mahidol.ac.th.  [26 ส.ค. 2016].
  3. ภาควิชาโสต นาสิก ลาริงซ์วิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล.  “เวียนศีรษะ บ้านหมุน….ช่วยด้วย”.  (รศ.นพ.ปารยะ อาศนะเสน).  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก : www.si.mahidol.ac.th.  [26 ส.ค. 2016].
  4. โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์.  “โรคน้ำในหูชั้นในผิดปกติ”.  (นพ.ประสงค์ พฤกษานานนท์).  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก : www.bumrungrad.com.  [26 ส.ค. 2016].
  5. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.).  “เรื่องในหู ทำให้เวียนหัวและบ้านหมุน”.  (พญ.ภาณินี จารุศรีพันธุ์).  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก : www.thaihealth.or.th.  [26 ส.ค. 2016].
  6. มูลนิธิหมอชาวบ้าน.  “โรคน้ำในหู”.  (นพ.สาฑิตย์ ชัยประสิทธิกุล).  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก : www.doctor.or.th.  [26 ส.ค. 2016].
  7. โรงพยาบาลพญาไท.  “เวียนหัวจากโรคน้ำในหูไม่เท่ากัน”.  (นพ.ทวีชัย พิตรปรีชา).  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก : www.phyathai.com.  [26 ส.ค. 2016].
  8. Siamhealth.  “โรคเวียนศีรษะ Meniere’s Disease”.  [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก : www.siamhealth.net.  [27 ส.ค. 2016].

เรียบเรียงข้อมูลโดยเว็บไซต์เมดไทย (Medthai)

เมดไทย

เมดไทย (Medthai) ให้ข้อมูลที่ถูกต้องและเป็นอิสระเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพ การรักษาโรค การใช้ยา สมุนไพร แม่และเด็ก ฯลฯ เราร่วมมือกับแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านเพื่อให้มั่นใจว่าคุณจะได้รับข้อมูลที่ถูกต้องและดีที่สุด

โรคน้ําในหูไม่เท่ากัน อันตรายไหม

อาการของน้ำในหูไม่เท่ากันสามารถส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันของผู้ป่วย อาจทำให้เกิดความเครียด วิตกกังวล ซึมเศร้าได้ โดยเฉพาะอาการวิงเวียนศีรษะอาจทำให้ผู้ป่วยเสี่ยงต่อการล้มลงไปที่พื้น เกิดอุบัติเหตุในขณะขับขี่ยานพาหนะ หรือในระหว่างการทำงานกับเครื่องจักรได้ รวมถึงอาจทำให้ผู้ป่วยสูญเสียการได้ยินไปอย่างถาวร เป็นต้น

โรคน้ำในหูไม่เท่ากันเกิดจากสาเหตุใด

ปัจจุบันยังไม่ทราบอย่างแน่ชัดว่า “โรคน้ำในหูไม่เท่ากันเกิดจากสาเหตุใด แต่มีหลายปัจจัยที่เป็นส่วนสำคัญในการเกิดโรค เช่น กรรมพันธุ์ พบได้บ่อยในผู้ป่วยที่มีคนในครอบครัวเป็นไมเกรน หรือมีโครงสร้างหูชั้นในผิดปกติ การติดเชื้อไวรัส

โรคน้ําในหูไม่เท่ากันรักษาหายไหม

HIGHLIGHTS: โรคน้ำในหูไม่เท่ากัน ไม่มีวิธีรักษาที่ทำให้โรคหายขาดได้ อาการของผู้ป่วย ส่วนใหญ่สามารถควบคุมได้ด้วยยา และการปฏิบัติตัวที่ถูกต้อง นอกเหนือจากอาการเวียนหัวแล้ว ยังมีอาการอื่นๆด้วยเช่น หูอื้อ ได้ยินไม่ชัด รู้สึกแน่นในหูเป็นๆ หายๆ มีเสียงดังในหู

ทำยังไงให้น้ำในหูเท่ากัน

โรคน้ำในหูไม่เท่ากันรักษาอย่างไร?.
การให้ยาบรรเทาอาการ เช่น การรับประทานยาขับปัสสาวะ เพื่อลดสภาวะอาการบวม และคั่งของน้ำในหูชั้นใน รวมทั้งยาขยายหลอดเลือดจะช่วยให้การไหลเวียนของน้ำในหูดีขึ้น ยาลดอาการเวียนศีรษะ และคลื่นไส้อาเจียน ตลอดจนยากล่อมประสาท และยานอนหลับ เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยผ่อนคลาย และนอนหลับได้เป็นปกติ.