เม็ดเลือดขาวสูงควรทำอย่างไร

โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว หรือลูคีเมีย (Leukemia) เป็นโรคมะเร็งที่เกิดขึ้นในไขกระดูก เกิดจากมีเซลล์เม็ดเลือดขาวตัวอ่อนเติบโตมากผิดปกติโดยไม่ทราบสาเหตุ การแบ่งตัวอย่างไม่หยุดของเซลล์เหล่านี้ ได้ไปรบกวนการสร้างเม็ดเลือดปกติชนิดอื่นของไขกระดูก ทำให้เม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาวปกติ และเกล็ดเลือดลดลง ส่งผลให้ผู้ป่วยมีภาวะโลหิตจาง มีเลือดออกผิดปกติ มีจ้ำเลือดตามร่างกาย ติดเชื้อง่าย นอกจากนี้เซลล์มะเร็งยังสามารถไปสะสมตามอวัยวะอื่นๆ เช่น ตับ ม้าม ต่อมน้ำเหลือง ทำให้ผู้ป่วยมีต่อมน้ำเหลือง ตับ ม้ามโต

มะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลันจัดเป็นโรคมะเร็งที่มีความรุนแรงสูง พบได้ทุกเพศทุกวัย พบมากขึ้นในผู้สูงอายุ และเป็น 1 ใน 10 โรคมะเร็งที่พบบ่อยในประเทศไทย

ชนิดของมะเร็งเม็ดเลือดขาว

มะเร็งเม็ดเลือดขาวสามารถแบ่งได้หลายแบบ ได้แก่ แบ่งตามระยะการเกิดโรค และแบ่งตามชนิดของเซลล์มะเร็ง

แบ่งตามระยะเวลาเกิด

  1. มะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลัน (acute leukemia) คือการที่เซลล์ตัวอ่อนของเม็ดเลือดขาวแบ่งตัวอย่างรวดเร็ว อาการของโรคจะเกิดขึ้นอย่างฉับพลันและรุนแรง ผู้ป่วยจึงจำเป็นต้องได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที
  2. มะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเรื้อรัง (chronic leukemia) คือการที่เซลล์เม็ดเลือดขาวถูกผลิตออกมามากเกินไป ทำให้ผู้ป่วยมีเม็ดเลือดขาวมากกว่าปกติ เนื่องจากความผิดปกติเกิดขึ้นอย่างช้าๆ ผู้ป่วยอาจไม่มีอาการผิดปกติใดๆ เลยเป็นเวลานับปี แต่สามารถตรวจพบได้จากการตรวจเลือด

แบ่งตามชนิดของเซลล์มะเร็ง

  1. มะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดมัยอีโลจีนัส (myelogenous leukemia) เป็นชนิดของมะเร็งที่เกิดจากเซลล์ในสาย myeloid เติบโตผิดปกติ
  2. มะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดลิมโฟซิติก (lymphocytic leukemia) เป็นชนิดของมะเร็งที่เกิดจากเซลล์ในสาย lymphoid

ทั้งนี้ การแบ่งชนิดของมะเร็งเม็ดเลือดขาวจะมีผลต่อการเลือกวิธีการรักษา เนื่องจากมะเร็งเม็ดเลือดขาวแต่ละชนิดมีการดำเนินโรคและการพยากรณ์โรคที่แตกต่างกัน

ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดมะเร็งเม็ดเลือดขาว

ปัจจุบันยังไม่พบสาเหตุที่แน่ชัดของการเกิดโรค แต่ปัจจัยเสี่ยงเหล่านี้ก็ส่งผลต่อการเกิดโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวได้

  • การได้รับรังสีขนาดสูง เช่น รังสีนิวเคลียร์
  • การรับเคมีบำบัด เกิดจากการรักษาโรคมะเร็งชนิดอื่นๆ ด้วยตัวยาเคมี เนื่องจากยาเคมีบำบัดบางกลุ่มอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวได้

  • การสัมผัสกับสารเคมีในสิ่งแวดล้อม เช่น สารเคมีในกลุ่มพวกเบนซีน และยาฆ่าแมลงบางชนิด

  • โรคทางพันธุกรรม เช่น โรคดาวน์ซินโดรม

  • อายุ ยิ่งอายุมากขึ้น โอกาสเกิดมะเร็งเม็ดเลือดขาวก็ยิ่งสูงขึ้น โดยเฉพาะผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป
  • ผู้ป่วยโรคไขกระดูกเสื่อม (Myelodysplastic syndrome, MDS)

อาการของมะเร็งเม็ดเลือดขาว

เนื่องจากเซลล์เม็ดเลือดที่ผิดปกติไปรบกวนการสร้างเม็ดเลือดชนิดต่างๆ ทำให้เกิดอาการดังนี้

  • เม็ดเลือดแดงลดลง ผู้ป่วยอาจมีอาการจากภาวะโลหิตจาง เช่น เหนื่อยง่าย ใจสั่น วิงเวียนศีรษะ
  • เม็ดเลือดขาวลดลง ทำให้ติดเชื้อได้ง่ายขึ้น
  • เกล็ดเลือดลดลง ทำให้มีภาวะเลือดออกง่ายกว่าปกติ อาจพบจุดเลือดออกหรือจ้ำเลือดตามตัว รวมถึงภาวะเลือดหยุดยาก

นอกจากนี้ผู้ป่วยอาจมีอาการเบื่ออาหาร น้ำหนักลด คลำพบก้อนตามตัวหรือปวดกระดูกได้

การวินิจฉัยมะเร็งเม็ดเลือดขาว

การเจาะเลือดตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด (complete blood count, CBC) อาจพบฮีโมโกลบินต่ำ เกล็ดเลือดต่ำ จำนวนเม็ดเลือดขาวสูงหรือต่ำกว่าปกติก็ได้ และอาจพบเม็ดเลือดขาวตัวอ่อนได้ แพทย์จะตรวจยืนยันการวินิจฉัย โดยการตรวจไขกระดูก เพื่อนับจำนวนเซลล์ตัวอ่อน ส่งตรวจพิเศษเพื่อแยกชนิดของเซลล์ myeloid และ lymphoid รวมถึงส่งตรวจโครโมโซมเพื่อการพยากรณ์โรค

การเจาะไขกระดูกเป็นการตรวจที่จำเป็นในการวินิจฉัยมะเร็งเม็ดเลือดขาว โดยแพทย์จะใช้เข็มดูดและตัดชิ้นเนื้อบริเวณหลังกระดูกสะโพกหรือหลังกระดูกเชิงกราน (ไม่ใช่การเจาะน้ำไขสันหลัง) ระยะเวลาในการเจาะประมาณ 10-15 นาที และไม่ต้องนอนโรงพยาบาล

การรักษามะเร็งเม็ดเลือดขาว

ทีมแพทย์จะประเมินชนิดของโรค อายุและสุขภาพโดยรวมของผู้ป่วย ก่อนแนะนำวิธีรักษาที่เหมาะสม ซึ่งได้แก่

  1. เคมีบำบัด (Chemotherapy) เป็นการรักษาหลักสำหรับมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลัน โดยยาจะไปทำลายเซลล์มะเร็งที่แบ่งตัวอย่างรวดเร็ว เพื่อให้ไขกระดูกสามารถสร้างเม็ดเลือดปกติขึ้นมาใหม่ เคมีบำบัดมีทั้งชนิดกิน ฉีดเข้าหลอดเลือดดำและฉีดเข้าน้ำไขสันหลัง ผู้ป่วยมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลันมักต้องใช้เคมีบำบัดร่วมกันหลายชนิด โดยแพทย์จะพิจารณาตามชนิดและความรุนแรงของโรค รวมถึงความแข็งแรงของผู้ป่วยด้วย เพราะเคมีบำบัดจะมีผลข้างเคียงต่อเซลล์อื่นๆ ของร่างกาย โดยเฉพาะเซลล์ที่แบ่งตัวอย่างรวดเร็ว เช่น เยื่อบุทางเดินอาหาร เซลล์ในไขกระดูก ทำให้ผู้ป่วยมีอาการเจ็บปาก ถ่ายเหลว โลหิตจาง เม็ดเลือดขาวต่ำหรือเกล็ดเลือดต่ำ ดังนั้นในระหว่างการรักษา ผู้ป่วยอาจต้องได้เลือดและเกล็ดเลือด รวมถึงยารักษาตามอาการเพื่อลดผลข้างเคียง เช่น ยาแก้อาเจียน ยากระตุ้นเม็ดเลือดขาว เป็นต้น
  2. การรักษาแบบจำเพาะเจาะจงต่อเซลล์มะเร็ง (Targeted therapy) เป็นยาที่ออกฤทธิ์เฉพาะเจาะจงต่อเซลล์มะเร็ง โดยไม่ทำลายเซลล์ปกติ เช่น ยาที่ออกฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ไทโรซีนไคเนส (Tyrosine kinase inhibitor) ที่ใช้รักษาผู้ป่วยมะเร็งเม็ดเลือดขาวเรื้อรังชนิดมัยอีลอยด์ (Chronic myeloid leukemia)
  3. การปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิด (Stem cell transplantation) แพทย์จะนำเซลล์ต้นกำเนิดจากเลือดหรือไขกระดูกของตัวผู้ป่วยเอง (Autologous transplantation) ญาติพี่น้องหรือผู้บริจาค (Allogeneic transplantation) ที่เข้ากันได้ มาปลูกถ่ายให้ผู้ป่วยหลังจากได้รักษาจนโรคอยู่ในระยะสงบเพื่อลดโอกาสกลับเป็นซ้ำ

การติดตามผลการรักษาและการดูแลตัวเอง

หลังรักษาจนโรคอยู่ในระยะสงบแล้ว แพทย์จะนัดตรวจอาการและเจาะเลือดทุก 1-2 เดือนในช่วงปีแรก ถ้าผลตรวจปกติ จะนัดติดตามทุก 3-6 เดือนอย่างน้อย 5 ปี จึงจะถือว่าหายขาดจากโรค เพราะโอกาสกลับเป็นซ้ำจะลดลงเมื่อเวลานานขึ้น

การดูแลตนเองของผู้ป่วยมะเร็งเม็ดเลือดขาว

  • ดูแลสุขอนามัย และความสะอาด โดยเฉพาะในช่องปากและฟัน เพื่อป้องกันการติดเชื้อ
  • ไม่ควรอยู่ในที่แออัด หรือการระบายอากาศไม่ดี เพื่อลดโอกาสติดเชื้อทางเดินหายใจ
  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย และปรุงสุกด้วยความร้อน ล้างผักให้สะอาด ปอกเปลือกผลไม้ เพื่อลดโอกาสติดเชื้อทางเดินอาหาร
  • ดื่มน้ำสะอาดมากๆ พักผ่อนให้เพียงพอ อย่าเครียด

แพ็กเกจที่เกี่ยวข้อง

คะแนนโหวต 8.71 of 10, จากจำนวนคนโหวต 51 คน

“ไม่เคยคิดท้อใจ หรือหมดกำลังใจเลย เมื่อรู้ตัวว่าเป็นมะเร็ง เพราะเราเชื่อมั่นในตัวหมอ เมื่อเราพร้อม ทางโรงพยาบาลก็จัดการให้เราอย่างรวดเร็ว ถึงแม้จะเป็นการปลูกถ่ายไขกระดูกครั้งที่ 3 แต่ความรู้สึกที่รู้ว่าต้องหายก็ยังมีอยู่เหมือนเพิ่งพบเจอกับมะเร็งครั้งแรก” ถ้อยคำที่แฝงด้วยความมั่นใจในการรักษาที่ ศูนย์มะเร็งฮอไรซัน ของคุณฐิติชญา ภูธนปาลวัฒน์ ผู้ป่วยมะเร็งเม็ดเลือดขาว

การปลูกถ่ายไขกระดูกมะเร็งเม็ดเลือดขาว

อ่านเพิ่มเติม

การปลูกถ่ายไขกระดูกชนิดที่เหมือนกันเพียงครึ่งเดียว (Haploidentical Stem cell Transplantation) ทางเลือกที่เพิ่มโอกาสในการรักษาให้กับผู้ป่วยโรคในระบบเลือดที่ ศูนย์มะเร็งฮอไรซัน โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ “การปลูกถ่ายไขกระดูก เป็นหนึ่งในการรักษาโรคมะเร็งทางระบบเลือด ที่เป็นเหมือนความหวังผู้ป่วยที่จะหายขาดจากโรคได้ แต่โอกาสที่จะหาไขกระดูกที่เหมือนกันกับผู้ป่วยได้ 100% นั้นมีน้อยมาก การได้ไขกระดูกที่เหมือนผู้ป่วยเพียงแค่ครึ่งเดียว ก็รักษาได้แล้วในตอนนี้ และโอกาสหายค่อนข้างสูง” คำแนะนำในการรักษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านมะเร็งและโลหิตวิทยา รศ.พ.อ.นพ.วิเชียร มงคลศรีตระกูล

การปลูกถ่ายไขกระดูกมะเร็งเม็ดเลือดขาวมะเร็งต่อมน้ำเหลือง

อ่านเพิ่มเติม

“พ่อต้องอยู่เพื่อหนู พ่อต้องหาย” เสียงผ่านสายโทรศัพท์จากเอธิโอเปีย ของเด็กผู้หญิงวัย 3 ขวบที่ส่งความห่วงใยมาให้กับพ่อของเธอ ที่ป่วยเป็นโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว.... กำลังใจที่สร้างปาฏิหาริย์ กับการรักษาที่เต็มร้อยด้วยการใช้ Stem Cell

มะเร็งเม็ดเลือดขาวลูคีเมีย

อ่านเพิ่มเติม

เม็ดเลือดขาวสูงทำไง

การรักษาภาวะเม็ดเลือดขาวสูง หากพบอาการ เช่น มีไข้ อ่อนเพลีย มีผื่นแพ้ แพทย์จะวินิจฉัยหาสาเหตุ และรักษาตามสาเหตุนั้น เช่น หากเกิดการติดเชื้อก็จะให้ยาต้านไวรัส ยาปฏิชีวนะ หรือยาถ่ายพยาธิ หากมีอาการแพ้ก็จะให้ยาแก้แพ้ หรือหากพบว่า เป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาว ก็จะรักษาโดยการให้ยาเคมีบำบัด และการฉายรังสี

เม็ดเลือดขาวสูงแค่ไหนอันตราย

อาการเม็ดเลือดขาวสูงอาจหายได้เอง แต่ถ้าเกิดจากปัญหาด้านสุขภาพ อาการอาจรุนแรงได้ ทั้งนี้ หากเม็ดเลือดขาวสูงกว่า 100,000 เซลล์ต่อปริมาณเลือด 1 ลูกบากศ์มิลลิเมตร ก็อาจจะส่งผลให้เลือดหนืดจนไหลเวียนไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆ ได้ไม่ดี ทำให้อวัยวะนั้นๆ ทำงานได้ไม่เต็มที่ และมีโอกาสเกิดหัวใจและสมองขาดเลือด ซึ่งจะเป็นอันตรายต่อชีวิต ...

เม็ดเลือดขาวติดเชื้อเกิดจากอะไร

สาเหตุที่พบบ่อยของภาวะเม็ดเลือดขาวชนิดเบโซฟิลสูงขึ้น ได้แก่ การติดเชื้อ เช่น โรคอีสุกอีใส วัณโรค ที่มักกระตุ้นให่ร่างกายตอบสนองต่อการติดเชื้อ โรคภูมิแพ้ เช่น การแพ้อาหาร การแพ้ยา อาจกระตุ้นทำให้จำนวนเม็ดเลือดขาวสูง โรคหรือภาวะต่าง ๆ ที่ทำให้เกิดการอักเสบเรื้อรัง เช่น โรคสะเก็ดเงิน โรคลำไส้อักเสบ ไทรอยด์อักเสบ

เม็ดเลือดขาวสูงดีไหม

จริง ๆ แล้วภาวะเม็ดเลือดขาวสูงไม่มีอาการเฉพาะของโรค แต่จะมีอาการที่เกิดขึ้นจากสาเหตุที่ทำให้มีเซลล์เม็ดเลือดขาวสูงอยู่บ้าง โดยส่วนใหญ่จะเป็นอาการปวดตามร่างกาย มีรอยฟกช้ำ ปวดหัว เป็นไข้ หนาวง่าย น้ำหนักลด เป็นลมหรือหมดสติ เป็นต้น ซึ่งถ้ามีอาการเหล่านี้เป็นเวลานานและรุนแรงขึ้น ควรไปพบแพทย์