สําเนาบัตรประชาชน ถ่ายกี่ด้าน

สําเนาบัตรประชาชน ถ่ายกี่ด้าน

เตือน!! ห้ามถ่ายสำเนาบัตร ปชช. ด้านหลัง

สําเนาบัตรประชาชน ถ่ายกี่ด้าน
 

บัตรประจำตัวประชาชน ถูกใช้เป็นหลักฐานยืนยันตัวบุคคลในการติดต่อราชการ รวมทั้งใช้ประกอบการทำธุรกรรมต่าง ๆ ซึ่งที่ผ่านมามีข่าวมิจฉาชีพแอบอ้างนำข้อมูลไปใช้กระทำผิดกฎหมาย หรือสวมรอยหลอกลวงผู้อื่น 

สำเนาบัตรประชาชนรุ่นปัจจุบัน ไม่ควรถ่ายด้านหลังบัตรของเราไปพร้อมกับด้านหน้าเด็ดขาด เพราะด้านหลังบัตรจะมีชุดตัวเลข เรียกว่า Laser ID ซึ่งปัจจุบันภาครัฐ เช่น สรรพากร, ตำรวจ, กระทรวงฯ, กรมฯ ต่างๆ รวมถึงภาคการเงินบังคับใช้ Laser ID นี้ในการทำธุรกรรม ตรวจสอบ ยืนยันตัวตน ควบคู่กับเลขบัตรประชาชน 13 หลัก เรียกว่า e-KYC (Electronic – Known Your Client) APP ที่เกี่ยวข้องกับเงินหรือกระเป๋าเงินอิเลคทรอนิกค์ (Wallet) ต้องใช้ทั้งหมด (แบงค์ชาติควบคุม) หากข้อมูลหน้าบัตรประชาชนหลุดไปก็อันตรายมากพอแล้ว ยิ่งข้อมูล Laser ID หลุดไปด้วย ยิ่งอันตรายเป็นทวีคูณ เหมือนเลขบัตรเครดิตหลุดไปพร้อมกับ CVV หลังบัตร

ทั้งนี้ หากสถานที่ไหนไม่เข้าใจ ยืนยันว่าต้องถ่ายบัตรหน้าหลัง ให้เราถ่ายจากบัตรคนละใบให้เขา ด้านหน้าบัตรเรา ด้านหลังบัตรคนอื่น หรืออย่างน้อยปิดเลขตอนถ่าย ส่วนเว็ปหรือ App ไหนให้กรอก Laser ID ก็ต้องระมัดระวังเช่นกัน หากเป็นสถานที่ที่เชื่อถือได้ เช่น หน่วยงานราชการ, สถาบันการเงิน, Wallet ของบริษัทใหญ่น่าเชื่อถือ ก็ใส่ได้ แต่ต้องระวังเจอเว็ปปลอม App. ปลอม หรือฟิชชิ่ง ดูให้แน่ใจว่าใช่หน่วยงานนั้นจริงๆ

สมัยก่อนวันหมดอายุบัตรประชาชนจะอยู่ด้านหลังบัตร จึงต้องถ่ายทั้งหน้าและหลัง สมัยนี้จริงๆไม่ควรใช้สำเนาแล้ว ควรดึงข้อมูลจากชิพการ์ดหน้าบัตร แต่ยังไม่แพร่หลาย ก็ยังใช้สำเนากันอยู่ แต่ด้านหลังไม่ควรต้องถ่ายแล้ว

ด้านเดียวติดต่อราชการได้ 

เฉพาะบัตรประชาชนแบบอเนกประสงค์หรือสมาร์ทการ์ด ให้ถ่ายสำเนาบัตรด้านหน้าเพียงด้านเดียวเท่านั้น เพราะเป็นด้านที่มีตัวเลข 13 หลักกำกับไว้ รวมถึงมีข้อมูลหลักฐานครบถ้วนอยู่แล้ว อีกทั้งปัจจุบันได้มีการนำบัตรประจำตัวประชาชนแบบอเนกประสงค์ (Smart Card) เข้ามาใช้ในระบบอย่างทั่วถึงแล้ว จึงไม่มีความจำเป็นที่จะต้องถ่ายถึงสองหน้าแบบเดิมอีก

เนื่องจากที่ผ่านมา ได้มีประชาชนร้องเรียนถึงการติดต่อหน่วยงานราชการมักต้องถ่ายเอกสารสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน ทั้งสองด้านทำให้เสียค่าใช้จ่าย โดยไม่จำเป็น จึงมีคำสั่งให้หน่วยงานราชการทุกแห่งลดขั้นตอนการปฏิบัติงาน รวมถึงลดภาระค่าใช้จ่ายของประชาชนที่จะมาติดต่อราชการ ในเรื่องการถ่ายสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนทั้งด้านหน้าและด้านหลัง โดยสั่งให้เปลี่ยนมาถ่ายสำเนาเฉพาะด้านหน้าเพียงด้านเดียวเท่านั้น เพื่อความสะดวก รวดเร็ว และเป็นการลดค่าใช้จ่ายประชาชน

Laser ID ?

Laser ID หรือ เลขควบคุมหลังบัตรประจำตัวประชาชน ซึ่งแสดงอยู่หลังบัตรประชาชนนั่นเอง โดยเลขควบคุมหลังบัตร (Jc2 – xxx) นั้นเป็นเลขควบคุมและตรวจสอบบัตรใบนั้น ๆ และเลขควบคุมนี้เป็นความลับของบัตรแต่ละใบ เช่น เมื่อผู้เสียภาษีกรอกเลขควบคุมหลังบัตรประจำตัวประชาชน ระบบลงทะเบียนจะประมวลผลกับฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์ เพื่อตรวจสอบว่าผู้เสียภาษีกรอกข้อมูลส่วนตัวถูกต้อง จึงจะสามารถ ดำเนินการแจ้งชื่อผู้ใช้งานและรหัสผ่านใด 

ทาง Chess Studio รับทำเว็บไซต์ขอให้ทุกท่านอัพเดทและติดตามข่าวสารอยู่ตลอดเวลานะคะ

สําเนาบัตรประชาชน ถ่ายกี่ด้าน

  1. วิธีเซ็นสำเนาบัตรประชาชนให้ปลอดภัยจากมิจฉาชีพ โล่งใจ หายห่วง!

วิธีเซ็นสำเนาบัตรประชาชนให้ปลอดภัยจากมิจฉาชีพ โล่งใจ หายห่วง!

วิธีเซ็นสำเนาบัตรประชาชนที่ถูกต้อง เซ็นอย่างไรให้ปลอดภัยจากมิจฉาชีพ ป้องกันการเอาเอกสารไปแอบอ้าง พร้อมทั้งการเซ็นสำเนาถูกต้องทะเบียนบ้านและผลการเรียน มาดูกันค่ะ

สําเนาบัตรประชาชน ถ่ายกี่ด้าน

17 ส.ค. 2021 · โดย

นับวันยิ่งมีแต่ข่าวเกี่ยวกับมิจฉาชีพออกมาให้เห็นบ่อย ๆ ช่วงนี้ใครที่ต้องเซ็นสำเนาบัตรเพื่อทำธุรกรรม หรือเอาไปยื่นเพื่อทำธุระต่าง ๆ ต้องระวังให้ดีนะคะ เพราะว่าบัตรประชาชนของเราสามารถบอกอะไรได้หลายอย่าง และสามารถนำไปใช้ยืนยันตัวตนได้ด้วย วันนี้ Wongnai Beauty มีวิธีเซ็นสำเนาบัตรประชาชนที่ถูกต้องให้ปลอดภัยมาฝากค่ะ รับรองว่าโล่งใจ หายห่วง! ไม่ต้องกลัวใครเอาเอกสารเราไปแอบอ้าง ซึ่งวิธีนี้ได้รับคำแนะนำจากสำนักงานกิจการยุติธรรมด้วยค่ะ

วิธีเซ็นสำเนาถูกต้องบัตรประชาชน 

สําเนาบัตรประชาชน ถ่ายกี่ด้าน
  1. ถ่ายแค่หน้าบัตรประชาชน ห้ามถ่ายหลังบัตร เพราะด้านหลังมีรหัสบัตร เลขหลังบัตร เรียกว่า Laser ID ใช้ยืนยันตัวตนในการทำธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเงินทั้งหมดได้ ถ้าไม่ได้ใช้ยืนยันตัวตนผ่านแอปพลิเคชันเกี่ยวกับการเงินด้วยตัวเอง ก็ไม่จำเป็นต้องถ่ายหลังบัตรค่ะ
  2. ขีดเส้นคร่อม 2 เส้นบนตัวบัตร แต่ห้ามขีดทับรูปหน้าเรา เพราะรูปที่ถ่ายเอกสารบางทีหน้าเราก็ไม่ชัดอยู่แล้ว ถ้าขีดเส้นทับจะทำให้การยืนยันตัวตนยากไปอีก ขีดทับข้อมูลสำคัญ ๆ เพื่อให้การแอบอ้างหรือปลอมแปลงยากขึ้นก็พอ
  3. ระหว่างเส้นที่ขีดคร่อม ให้เขียนว่า “ใช้สำหรับ…….เท่านั้น” ในช่องว่างเราสามารถใส่เรื่องที่เราใช้ เช่น ใช้สำหรับสมัครงานเท่านั้น, ใช้สำหรับยืนยันตัวตนในการฉีดวัคซีนเท่านั้น, ใช้สำหรับค้ำประกันเท่านั้น ฯลฯ เพื่อที่มิจฉาชีพจะได้ไม่สามารถนำไปใช้ผิดวัตถุประสงค์นั่นเองค่ะ
  4. เขียนสัญลักษณ์ # หรือ * ปิดหัว-ท้าย ประโยค เพื่อป้องกันการเติมข้อความ เขียนจุดประสงค์ที่ใช้แล้ว อย่าลืมเขียนเครื่องหมายกำกับปิดท้าย เช่น #ใช้เพื่อค้ำประกันเท่านั้น# แบบนี้ค่ะ
  5. เขียน วัน/เดือน/ปี ที่เซ็นลงไป เพราะถ้าเราไม่เขียน มิจฉาชีพจะสามารถเอาเอกสารของเราที่เราอาจจะเคยทิ้งไปนานจนลืมแล้ว กลับมาใช้ได้ค่ะ
  6. เขียน “สำเนาถูกต้อง” พร้อมกับเซ็นชื่อของตัวเอง ซึ่งข้อนี้เชื่อว่าทุกคนทำกันอยู่แล้ว หลาย ๆ คนอาจจะเซ็นตรงพื้นที่ว่างข้างล่าง แต่วิธีเซ็นที่ปลอดภัยคือเซ็นทับไปบนบัตรเลยค่ะ

การเซ็นสำเนาถูกต้องทะเบียนบ้าน

 ขีด 2 เส้นคร่อมทับระหว่างหน้าแรก และหน้าที่มีชื่อเรา เซ็นด้วยวิธีเดียวกันกับวิธีเซ็นสำเนาถูกต้องบัตรประชาชน โดยการเขียน “ใช้สำหรับ…….เท่านั้น” เขียนสัญลักษณ์ # หรือ * ปิดหัว-ท้าย ประโยค เขียน วัน/เดือน/ปี ที่เซ็นลงไป และที่สำคัญอย่าลืมเขียนสำเนาถูกต้อง พร้อมกับเซ็นชื่อของตัวเองกำกับด้วยนะคะ 

การเซ็นสำเนาถูกต้องผลการเรียน

สำหรับน้อง ๆ บางคนที่จำเป็นต้องยื่นเอกสารในการสมัครเรียนต่อ หรือน้อง ๆ จบใหม่ที่ต้องยื่นผลการเรียนเพื่อการสมัครเข้าทำงาน ก็ใช้วิธีขีด 2 เส้นคร่อมที่มุมขวาล่างตรงพื้นที่ว่าง แล้วก็เขียนสำเนาถูกต้องกำกับทุกอย่างแบบเดียวกับวิธีเซ็นบัตรประชาชนได้เลยค่ะ