เจาะเลือด หาเส้นเลือดไม่เจอ

             แด็กคูร่า..วัยกระเตาะ...หรือ แด็กคูร่าในโรงพยาบาล เป็นคำเปรียบเปรยสำหรับคนที่ทำงานห้องเจาะเลือด ซึ่งแต่ละวันมีผู้คนมากมายที่ได้มีโอกาสมาเยือนจุดนี้ และหลายคนก็ยังไม่ได้เข้าใจถึงเหตุผลที่หมอสั่งเจาะเลือดว่ามีประโยชน์แบบคาดไม่ถึงอย่างไร? เนื่องจากอาจจะกลัวการเจาะเลือดแล้วก็หลับตาปี๋...พร้อมกับถามว่า...เสร็จรึยัง...ๆ....กลัว...ๆ

         

เจาะเลือด หาเส้นเลือดไม่เจอ

          เมื่อท่านเจ็บป่วยแล้วได้รับการรักษาในโรงพยาบาล พร้อมกับถูกเจาะเลือดเพื่อหาสาเหตุของโรค ซึ่งบางคนอาจจะแอบตกใจและกลัวพร้อมทั้งสังเกตว่า ทำไมจึงเอาเลือดออกไปตั้งหลายหลอด(เลือดแต่ละหลอดก็จะเหมาะสำหรับการตรวจแต่ละชนิดเช่นกัน) แต่ละหลอดเอาไปทำอะไรเยอะจัง...เลือดจะหมดตัวไหม?นะ... ลองตามมาดูคำตอบที่นี่ค่ะ.

                     

เจาะเลือด หาเส้นเลือดไม่เจอ

                 ผู้ที่นำเลือดของท่านไปตรวจคือกลุ่มงานทางห้องปฏิบัติการเทคนิคการแพทย์(กลุ่มงานพยาธิวิทยา) ซึ่งจะมีวิธีการต่างๆ เพื่อหาสาเหตุของโรค ซึ่งผู้คนมักไม่ค่อยรู้จัก เนื่องจากว่าการทำงานอยู่เบื้องหลังเปรียบเหมือนการปิดทองหลังพระ ซึ่งหมอจะต้องรอผลจากห้องปฏิบัติการก่อนจึงจะทำการรักษาได้ถูกโรค ดังนั้นอย่ากลัว...เจาะเลือดเมื่อมาร.พ. ถ้าท่านได้เตรียมตัวก่อนเจาะเลือดจะทำให้ไม่ต้องเสียเวลาและเป็นประโยชน์ในการรักษา

          การเตรียมตัวเมื่อมาตรวจที่ร.พ.

1.      สิ่งแรกผู้ที่นัดล่วงหน้าแล้วก็ควรอ่านคำแนะนำก่อนเจาะเลือด เช่น ให้งดอาหารหลัง 2 ทุ่มจนกว่าจะเจาะเลือดเช้า (ประมาณ 8-12 ชั่วโมง) บางครั้งก็ 4-6 ชั่วโมงก็ได้

2.      ถ้าไม่ได้นัดแต่ไปพบแพทย์ ถ้าเป็นไปได้ก็อย่าเพิ่งทานอาหาร เผื่อว่าหมอจะสั่งตรวจเลือดก็จะได้สะดวก ไม่ต้องรอให้เสียเวลา

                     

เจาะเลือด หาเส้นเลือดไม่เจอ

3.      เหตุผลของการให้งดอาหารหลายชั่วโมง เนื่องจากว่า

     - ถ้าตรวจเลือดบางตัวเช่น เบาหวานหรือไขมันในเลือด อาจจะทำให้ค่าสูงผิดปกติได้ ถ้าทานอาหารมาแล้วไม่ได้บอกจนท. อาจทำให้การแปรผลผิดพลาดได้ การรักษาก็จะผิดพลาดตามไปด้วย

    - การตรวจเลือดบางตัวในคนที่ทานอาหารมาใหม่ๆ จะทำให้น้ำเหลืองที่จะนำมาตรวจขาวขุ่น (ลักษณะของเลือดเมื่อนำไปปั่นแล้ว จะได้ส่วนที่เป็นเม็ดเลือดส่วนล่างและน้ำเหลืองส่วนบน) ทำให้ไปรบกวนการตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการ อาจทำให้ผลออกมาไม่ถูกต้องตามความเป็นจริง

       4. ดังนั้นถ้าเผลอทานอะไรก็ควรจะบอกจนท.ให้ทราบเพื่อจะได้เลื่อนเวลาเจาะเลือดให้เหมาะสม (ซึ่งจริงๆแล้วก่อนเจาะเลือดให้ทานได้เฉพาะน้ำเปล่าอย่างเดียวเท่านั้น)

ขณะเจาะเลือด

1.      ถ้าขณะเจาะเลือดและเกิดอาการหน้ามืด วิงเวียน ใจสั่น อาจจะเนื่องมาจาก     การอดอาหารหรือความกลัวเข็ม กลัวเลือดก็ตาม บางครั้งมือเท้าจะเย็น ควรบอกให้จนท.เจาะเลือดทราบ จะได้แก้ไขได้ทันเมื่อเวลาเป็นลมหรือให้การปฐมพยาบาลเบื้องต้น

2.      จนท.จะถามชื่อซ้ำขณะเจาะเลือดอีกครั้ง (ก็อย่าพึ่งรำคาญว่าเมื่อกี้ก็เรียกชื่อแล้ว) เพื่อความมั่นใจว่าเจาะเลือดไม่ผิดคน เป็นการเช็คชื่อซ้ำอีกครั้ง เนื่องจากว่าเคยเกิดกรณีที่เรียกคนไข้มาเจาะเลือดแล้ว คนอื่นหรือญาติมานั่งเจาะเลือดแทน ทำให้ผลเลือดที่ได้ผิดคน

3.      ถ้าคนที่เคยได้รับการผ่าตัดเต้านมมา ต้องบอกให้จนท.ที่เจาะเลือดทราบด้วยว่าข้างนี้ผ่าตัด เป็นต้น ซึ่งจะได้เลี่ยงไม่เจาะข้างนั้น เนื่องจากทำให้มีโอกาสติดเชื้อได้ง่าย จึงควรบอกให้จนท.ทราบ (การตัดเต้านม อาจจะถูกตัดต่อมน้ำเหลืองข้างรักแร้ไปด้วย จึงจะทำให้ภูมิคุ้มกันต่ำกว่าคนปกติ )

4.      อย่ากลัวหรือเกร็งแขนในขณะเจาะเลือด เนื่องจากเป็นผลเสียต่อตัวท่านเอง การกลัวหรือเกร็งจะทำให้เส้นเลือดหดตัวจะทำให้เลือดออกน้อย เส้นเลือดอาจจะแฟบและเจาะเลือดยากขึ้น (ท่านอาจมีโอกาสได้รับโปรโมชั่นเจาะ 1 เข็มแถมฟรี 1-2 เข็มฟรี..ไม่คิดตังค์)

5.      ขณะเจาะเลือดอยู่นิ่งๆ อย่าขยับแขนไปมาหรือดึงแขนกลับ เพราะว่าอาจจะทำให้เข็มหลุดจากเส้นเลือดหรือเข็มแทงทะลุเส้นเลือด ทำให้เส้นเลือดที่เปราะแตกง่าย (ไม่มีอันตราย) แต่อาจจะทำให้เกิดการบวมแดง เขียวจ้ำ เกิดขึ้นหลังการเจาะเลือด ซึ่งจะหายไปเองใน 1-2 สัปดาห์

6.      เมื่อเจาะเลือดเสร็จแล้ว ควรจะพับหรือกดบริเวณที่เจาะเลือดไว้ประมาณ 5 นาที เลือดจะหยุดไหลเอง ห้ามขยี้หรือถูไปมาเพราะว่าจะทำให้เส้นเลือดแตกได้ ก็จะเกิดรอยเขียวจ้ำตามมาทีหลังได้

7.      ขอให้มั่นใจว่าจนท.ห้องเจาะเลือดมีความชำนาญหรือประสบการณ์ในการเจาะเลือดสูง เดือนหนึ่งๆเจาะมาหลายหมื่นราย ดังนั้นจนท.จะปฏิบัติต่อท่านอย่างดีที่สุด โปรดไว้วางใจ (รับรอง...เจ็บนิ๊ดเดียว...เหมือนยุงตัวโตกัด....5555….

ประโยชน์ที่ได้รับจากการตรวจเลือด

เลือดซึ่งถือว่าเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของร่างกาย สามารถที่จะบ่งบอกถึงความผิดปกติของร่างกายหรือสมมุติฐานของโรคได้มากมาย เช่น โรคเบาหวาน ไขมันในเลือด หัวใจ การทำงานของตับ ไต ลักษณะเม็ดเลือด โลหิตจาง มะเร็งเม็ดเลือด มะเร็งในอวัยวะต่างๆ ไวรัสตับอักเสบ การติดเชื้อต่างๆ เก๊าต์  เอดส์ เป็นต้น รวมถึงกรุปเลือดซึ่งหลายคนอาจจะยังไม่รู้เลยว่าตัวเองเลือดกรุปอะไร? และเลือดที่นำไปตรวจนี้ยังสามารถดูสมรรถภาพการทำงานส่วนต่างๆของร่างกายได้เกือบทุกส่วน รวมถึงฮอร์โมนต่างๆที่ผิดปกติด้วย

เจาะเลือด หาเส้นเลือดไม่เจอ

ดังนั้นการเจาะเลือด จึงมีความสำคัญต่อการตรวจและวินิจฉัยโรคของแพทย์ ซึ่งทางห้องปฏิบัติการเทคนิคการแพทย์ก็จะนำเลือดของท่านไปตรวจวิเคราะห์ด้วยเครื่องมือทางการแพทย์อีกครั้ง เพื่อหาสาเหตุของโรคหรือติดตามผลการรักษา ซึ่งไม่น่าเชื่อว่าแค่เลือดเท่านั้นจะสามารถบอกเรื่องราวของร่างกายได้มากมาย ดังนั้นคราวหน้า...อย่ากลัว..การเจาะเลือด...อีกเลยนะคะ.