ภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นอัตราภาษีแบบใด

4. ฐานภาษี และอัตราภาษี

ฐานภาษีสำหรับการประกอบกิจการที่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ ได้แก่ รายรับก่อนหักรายจ่ายใด ๆ ที่ผู้ประกอบกิจการได้รับ หรือพึงได้รับเนื่องจากการประกอบกิจการ

"รายรับ" หมายความว่า เงิน ทรัพย์สิน ค่าตอบแทน หรือประโยชน์ใด ๆ อันมีมูลค่าที่ผู้ประกอบกิจการ ได้รับหรือพึงได้รับ ไม่ว่าในหรือนอกราชอาณาจักรอันเนื่องมาจากการประกอบกิจการ

กิจการที่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ จะต้องเสียภาษีโดยคำนวณจากฐานภาษี ซึ่งได้แก่ รายรับตามฐานภาษี ของแต่ละประเภทกิจการ คูณด้วยอัตราภาษีที่กำหนดไว้ และจะต้องเสียภาษีท้องถิ่นอีก ร้อยละ 10 ของจำนวนภาษี ธุรกิจเฉพาะดังกล่าว

กิจการ ฐานภาษี อัตราภาษีร้อยละ
1.   กิจการธนาคาร,ธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์, ธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ และการประกอบกิจการเยี่ยง ธนาคารพาณิชย์ -   ดอกเบี้ย ส่วนลด ค่าธรรมเนียม ค่าบริการ หรือกำไรก่อนหักรายจ่าย ใดๆ จากการซื้อหรือขายตั๋วเงินหรือ ตราสารแสดงสิทธิในหนี้ใด ๆ 3.0
-   กำไรก่อนหักรายจ่ายใดๆ จากการ แลกเปลี่ยนหรือซื้อขายเงินตรา การออกตั๋วเงินหรือการส่งเงินไปต่างประเทศ 3.0
2.   กิจการรับประกันชีวิต -   ดอกเบี้ย ค่าธรรมเนียม ค่าบริการ 2.5
3.   กิจการโรงรับจำนำ -   ดอกเบี้ย ค่าธรรมเนียม 2.5
-  เงิน ทรัพย์สิน ค่าตอบแทน หรือ ประโยชน์ใดๆ อันมีมูลค่าที่ได้รับ หรือพึงได้รับจากการขายของที่ จำนำหลุดเป็นสิทธิ 2.5
4.   การค้าอสังหาริมทรัพย์ - รายรับก่อนหักรายจ่ายใดๆ 0.1
5.   การขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์ -   รายรับก่อนหักรายจ่ายใดๆ 0.1
(ยกเว้น)
6.   การซื้อและการขายคืนหลัก ทรัพย์ที่ได้รับอนุญาตจาก คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และ ตลาดหลักทรัพย์ -   กำไรก่อนหักรายจ่ายใดๆ จากการขายคืนหลักทรัพย์ แต่ไม่รวมถึง ดอกเบี้ย เงินปันผล หรือประโยชน์ใดๆ ที่ได้จากหลักทรัพย์ 3.0
7.   ธุรกิจแฟ็กเตอริง -   ดอกเบี้ย ส่วนลด ค่าธรรมเนียม หรือค่าบริการ 3.0
8.   การประกอบกิจการตามพระราชกฤษฎีกาฉบับที่ 469 -   ดอกเบี้ย ส่วนลด ค่าธรรมเนียม หรือค่าบริการ 0.01
  -   กำไรก่อนหักรายจ่ายใดๆ จากการ แลกเปลี่ยนหรือซื้อขายเงินตรา 0.01
  -   กำไรก่อนหักรายจ่ายใดๆ จากการขายคืนหลักทรัพย์ 0.01

หมายเหตุ อัตราภาษีของการค้าอสังหาริมทรัพย์ให้ลดและคงจัดเก็บในอัตราร้อยละ 0.1 สำหรับการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมที่ได้กระทำภายในหนึ่งปี นับแต่วันที่พระราชกฤษฎีกามีผลบังคับใช้ ( ตั้งแต่วันที่ 29 มีนาคม 2551 ถึงวันที่ 28 มีนาคม 2552 พระราชกฤษฎีกา ( ฉบับที่ 472 ) พ.ศ.2551)

                         อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับปีภาษี 2560 ที่จะต้องยื่นรายการในปี พ.ศ.2561 เป็นต้นไป

ขั้นเงินได้สุทธิตั้งแต่ เงินได้สุทธิจำนวนสูงสุดของขั้น อัตราภาษี

ภาษีสูงสุดในแต่ละขั้นเงินได้

ภาษีสะสมสูงสุดของขั้น
0   -     150,000  150,000  5  ยกเว้น*  0
 เกิน 150,000   -     300,000  150,000  5  7,500  7,500
 เกิน 300,000   -     500,000  200,000  10  20,000  27,500
 เกิน 500,000   -     750,000  250,000  15  37,500  65,000
 เกิน 750,000   -  1,000,000  250,000  20  50,000  115,000
 เกิน 1,000,000  -  2,000,000  1,000,000  25  250,000  365,000
 เกิน 2,000,000  -  5,000,000  3,000,000  30  900,000  1,265,000
 เกิน 5,000,000  บาท ขึ้นไป    35    

                          *ยกเว้น ตามมาตรา 4 แห่งพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 470) พ.ศ.2551 สำหรับเงินได้สุทธิที่เกิดขึ้นตั้งแต่ปีพ.ศ.2551เป็นต้นไป

                           ประกอบกับมาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 44) พ.ศ. 2560 ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ปีภาษี พ.ศ. 2560 เป็นต้นไป

RD Intelligence Center

บริการอย่างเป็นมิตร เพื่อนคู่คิดทางภาษี