การประเมินส่วนตลาด ตัวอย่าง

การแบ่งส่วนตลาด (Market Segmentation) สามารถกำหนดกลุ่มเป้าหมายที่มีแนวโน้มจะเป็นลูกค้าได้ โดยดูจากผู้ที่มีความสนใจ หรือผู้มีพฤติกรรมใกล้เคียงกับการซื้อมากที่สุด ในการแบ่งส่วนตลาดมักจะแบ่งออกเป็นกลุ่มที่มีลักษณะคล้ายกัน และกำหนดตามคุณสมบัติอย่างน้อยหนึ่งอย่างเพื่อให้ใกล้เคียงกับผู้ที่มีแนวโน้มจะซื้อสินค้ามากที่สุด 

และช่วยให้กำหนด ทำความเข้าใจ ถึงลูกค้าในอุดมคติของแบรนด์มากขึ้น และสามารถระบุตลาดที่เหมาะสมกับสินค้าและบริการได้ 

ประเภทของการแบ่งส่วนตลาด

การแบ่งส่วนตลาดและการกำหนดกลุ่มเป้าหมายต้องทำความเข้าใจว่า สินค้าและบริการตอบสนองต่อกลุ่มเป้าหมายที่กำหนดไว้หรือไม่ ซึ่งอาจจะระบุได้จากการทำวิจัยหรือข้อมูลจากแบบสอบถามที่ได้รับ

การแบ่งส่วนทางภูมิศาสตร์ (Geographic Segmentation)

แม้ว่าโดยทั่วไปเป็นกลุ่มประชากรที่ง่ายที่สุด เพราะสามารถสร้างกลุ่มเป้าหมายที่แตกต่างกันตามขอบเขตภูมิศาสตร์ เนื่องจากผู้ที่มีแนวโน้มเป็นลูกค้า จะมีความต้องการ ความชอบ และความสนใจ ที่แตกต่างกันออกไปตามภูมิศาสตร์ ทั้งสภาพอากาศ ท้องถิ่น และทำให้สามารถกำหนดตำแหน่งการทำกลยุทธ์และแคมเปญการตลาดต่างๆเพื่อต่อยอดธุรกิจได้

การแบ่งส่วนทางประชากร (Demographic Segmentation)

ใช้การจัดเรียงตามข้อมูลทั่วไปของกลุ่มเป้าหมาย เช่น เพศ อายุ การศึกษา รายได้ อาชีพ ขนาดครอบครัว เชื้อชาติ สัญชาติ และอื่นๆ การแบ่งส่วนตลาดรูปแบบนี้จะทำให้เข้าถึงวิธีการซื้อ จำนวนการซื้อ และจำนวนเงินที่ยินดีจะจ่ายต่อสินค้าและผลิตภัณฑ์

การแบ่งส่วนทางองค์กร (Firmographic Segmentation)

มีลักษณะคล้ายกับการแบ่งส่วนทางประชากร แต่แตกต่างตรงที่การแบ่งส่วนประชากรจะวิเคราะห์จากข้อมูลบุคคล แต่การแบ่งส่วนทางองค์กรจะวิเคราะห์ข้อมูลขององค์กร เช่น ขนาดองค์กร จำนวนพนักงาน อุตสาหกรรม เป็นต้น วิธีนี้เหมาะสมกับสินค้าและบริการที่เน้น B2B เป็นส่วนใหญ่

การแบ่งส่วนทางพฤติกรรม (Behavioural Segmentation)

ใช้การแบ่งตามพฤติกรรมและกระบวนการตัดสินใจของกลุ่มเป้าหมาย เช่น สินค้าที่ซื้อเพื่อบริโภค ไลฟ์สไตล์ การใช้งาน ช่องทางการซื้อ เป็นต้น การแบ่งส่วนทางพฤติกรรมจะช่วยให้นักการตลาดสามารถพัฒนากลยุทธ์ให้ตรงกับกลุ่มเป้าหมายได้มากขึ้น

การแบ่งส่วนทางจิตวิทยา (Psychographic Segmentation)

การคำนึงถึงจิตวิทยาของผู้บริโภคตามไลฟ์สไตล์ บุคลิกภาพ แรงจูงใจ ค่านิยม ความคิด และความสนใจ จะช่วยให้สามารถจัดกลุ่มคนที่มีความสนใจหรือมีพฤติกรรมมีส่วนร่วมกับสินค้าได้มากที่สุด

ขั้นตอนการแบ่งส่วนตลาด

1. ทำการวิจัยเบื้องต้น
ทำความรู้จักกับกลุ่มเป้าหมาย ด้วยการตั้งคำถามปลายเปิด หรือทำแบบสอบถามเพื่อทำการวิจัย
อ่าน ขั้นตอนการวิจัยทางการตลาด (Market Research) ฉบับจับมือทำ!

2. กำหนดวิธีแบ่งส่วนตลาด
เลือกจากประเภทการแบ่งส่วนตลาด โดยอาจจะเริ่มจากวิธีที่ง่ายที่สุดอย่างภูมิศาสตร์ และประชากรศาสตร์ เพื่อศึกษาหาวิธีที่จะเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายลักษณะที่กำหนด แล้วจึงเจาะลึกด้วยพฤติกรรม หรือจิตวิทยา

3. สร้างกลุ่มเป้าหมาย
วิเคราะห์สินค้าและบริการ ว่าสามารถตอบสนองความต้องของกลุ่มเป้าหมายนั้นได้จริงหรือไม่ และนำไปพัฒนาสินค้าและบริการ และกลยุทธ์ทางการตลาด

4. ทำการทดสอบ และทำซ้ำอีกครั้ง
ประเมินกลุ่มเป้าหมายเพื่อทำให้แน่ใจว่าเป็นกลุ่มเป้าหมายที่มีประโยชน์ และยังไม่เปิดการเปลี่ยนแปลงตามระยะเวลา และทำการวิเคราะห์ซ้ำๆเรื่อยๆเพื่อให้สามารถตอบสนองความต้องการของกลุ่มเป้าหมายได้เสมอ

วิธีการวัดผลกลุ่มเป้าหมายที่มีประสิทธิภาพ

สามารถวัดได้ หมายถึง ตัวแปรการแบ่งส่วนตลาดเกี่ยวข้องโดยตรงกับสินค้าและบริการ และสามารถคำนวณค่าใช้จ่ายที่เหมาะสมสำหรับสินค้าและบริการหากเลือกกลุ่มเป้าหมายที่ได้กำหนดไว้ ตัวอย่างเช่น การแบ่งส่วนตลาดพบกลุ่มที่มีพฤติกรรมซื้อสินค้าเฉพาะเมื่อมีการลดราคา หรือโปรโมชั่น ดังนั้น จึงต้องตอบสนองกลุ่มเหล่านี้ด้วยงบประมาณสำหรับการทำโปรโมชั่น เป็นต้น

สามารถเข้าถึงได้ หมายถึง การทำความเข้าใจตลาด และเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายนั้นจากพฤติกรรม และบุคลิก เพื่อระบุวิธีที่ดีที่สุดในการตอบสนองความต้องการ ตัวอย่างเช่น การแบ่งส่วนตลาดพบกลุ่มที่สนใจโฆษณาจากหนังสือพิมพ์ และวิทยุ เพื่อให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายกลุ่มนี้จึงต้องทำแคมเปญโฆษณา และทุ่มงบประมาณไปที่ หนังสือพิมพ์ และวิทยุ เป็นต้น

สามารถคงอยู่ได้ หมายถึง ส่วนตลาดมีความสามารถในการซื้อสินค้าและบริการนั้นๆจริงๆ ตัวอย่างเช่น การแบ่งส่วนตลาดพบกลุ่มที่กลุ่มที่เป็นพนักงานเงินเดือ 15,000 – 25,000 บาท หักค่าใช้จ่ายต่างๆ สามารถซื้อของใช้ฟุ่มเฟื่อยได้เดือนละ 3,000 บาท เป็นต้น

สามารถนำไปใช้ได้ หมายถึง การแบ่งส่วนตลาดสามารถตอบสนองความต้องการที่แตกต่างกันเมื่อทำการซื้อขายในตลาด กับกลุ่มเป้าหมายที่มากกว่า 1 กลุ่ม ตัวอย่างเช่น การแบ่งส่วนตลาดพบกลุ่มที่รักสัตว์ ส่วนอีกกลุ่มรักสิ่งแวดล้อม ดังนั้น กลุ่มนี้อาจสามารถเสนอขายสินค้าและบริการชิ้นเดียวกันได้ เป็นต้น

สรุป

การแบ่งส่วนตลาดไม่ได้มีวิธีที่แน่นอน การทำตามขั้นตอนเหล่านี้ จะทำให้ทราบว่า การแบ่งส่วนตลาดตามประเภทต่างๆ จะทำให้ตอบสนองความต้องการของผู้ที่ต้องการสินค้าและบริการของเราได้อย่างแท้จริง และควรจะต้องทบทวน และวิเคราะห์ตามข้อมูลใหม่ๆเสมอ เพื่อให้เข้ากับความต้องการของผู้บริโถค และตอบโจทย์เป้าหมายขององค์กรด้วย

Marketing การแบ่งกลุ่มและกำหนดเป้าหมาย (Segmentation Targeting Positioning)

การประเมินส่วนตลาด ตัวอย่าง

การแบ่งกลุ่มและกำหนดเป้าหมาย (Segmentation Targeting Positioning, STP) คือ การกำหนดกลุ่มเป้าหมายทางตลาดที่มี ก่อนที่จะเลือกกลุ่มแล้วกำหนดให้มีเป้าหมายที่มีความชัดเจน

- Segment คือ การจัดแบ่งส่วนตลาดที่ใหญ่ให้มีขนาดย่อยเล็กลง แบ่งเป็นกลุ่มโดยใช้ความสัมพันธ์ หรือตามลักษณะเฉพาะที่คล้ายคลึงกัน 

- Target คือ การเลือกกำหนดเป้าหมาย เพื่อจะใช้ในการวางแผนจัดทำหรือนำเสนอผลิตภัณฑ์ และแผนการตลาดให้เหมาะสม 

- Positioning คือ การวางตำแหน่งของผลิตภัณฑ์ของตนว่าอยู่ตรงจุดไหนของตลาด

การเลือกส่วนตลาด (Selecting)

- มุ่งส่วนในตลาดเดียว (Single Segment Concentration) คือ การมุ่งมั่นในการตอบสนองความต้องการของลูกค้าในส่วนการตลาดส่วนใดส่วนหนึ่งโดยเฉพาะ ด้วยผลิตภัณฑ์หรือบริการเฉพาะส่วนนั้น ผลดีของการมุ่งเน้นทำตลาดส่วนเดียว ทำให้เกิดความเชี่ยวชาญและเกิดความได้เปรียบ สามารถประหยัดจากการผลิตที่มีปริมาณมาก (Economy of Scale) 

- มุ่งความเชี่ยวชาญเฉพาะผลิตภัณฑ์ (Product Specialization) คือ การมุ่งไปในส่วนตลาดที่การผลิตสินค้า/บริการเฉพาะที่ชำนาญออกมาตอบสนอง ความต้องการในหลายส่วนตลาด

- มุ่งความเชี่ยวชาญเฉพาะตลาด (Market Specialization) คือ การมุ่งส่วนตลาดที่มงเน้นไปที่กลุ่มตลาดเดียว โดยการตอบสนองด้วยหลายผลิตภัณฑ์ 

- มุ่งความเชี่ยวชาญหลายส่วนตลาด (Selective Specialization) คือ การเลือกส่วนตลาดที่บริษัทมีความเชี่ยวชาญ มีความสามารถสอดคล้องกับวัตถุประสงค์และทรัพยากรของบริษัท ในการตอบสนองต่อตลาด 

- มุ่งครอบคลุมทุกส่วนตลาด (Full Market Coverage) คือ การเสนอผลิตภัณฑ์หลากหลายรูปแบบเข้าสู่หลายส่วนตลาดหรือทุกส่วนตลาด ส่วนใหญ่จะเป็นสินค้ามวลชน (Mass Market) 

การเลือกตลาดเป้าหมาย (Targeting) คือ การประเมินและเลือกส่วนตลาดส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือมากกว่า จากการแบ่งส่วนตลาดมาเป็นเป้าหมาย

ตลาดเป้าหมาย (Target market หรือ Target group) คือ กลุ่มผู้บริโภคหรือส่วนตลาดที่นักการตลาดสนใจและเลือกที่จะเข้าไปดำเนินกิจกรรมทางการตลาด  เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคกลุ่มนัั้น

- การตลาดแบบไม่แตกต่าง (Undifferentiated Marketing) เป็นการเสนอผลิตภัณฑ์หนึ่งรูปแบบ โดยมองว่าตลาดมีความต้องการเหมือนกัน การตลาดลักษณะนี้มีข้อดีคือ ในด้านการประหยัดต้นทุน เนื่องจากการผลิตในรูปแบบมาตรฐาน (Standardization) และผลิตในจำนวนมาก (Mass Production) จึงทำให้ ลดต้นทุนการผลิต ลดสินค้าคงเหลือ ลดค่าขนส่ง ลดค่าโฆษณา ลดค่าใช้จ่ายในการวิจัย หรือลดค่าใช้จ่ายในการวางแผนการตลาด แต่ก็มีข้อเสียคือ สินค้าชนิดเดียวจะไม่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้ทุกกลุ่ม เนื่องจากแต่ละกลุมจะมีความต้องการที่แตกต่างกัน และไม่เหมาะสมกับตลาดเล็ก 

- การตลาดแบบแตกต่าง (Differentiated Marketing) คือ การเลือกส่วนตลาดแบบมุ่งส่วนที่มีความแตกต่างกันมากกว่าหนึ่งส่วนตลาด โดยจะทำการออกแบบผลิตภัณฑ์ และส่วนประสมทางการตลาดที่แตกต่างกันออกไป เพื่อให้เหมาะสมกับแต่ละส่วนตลาดเช่น รถยนต์ Toyota, Honda เป็นต้น ข้อดีคือ สามารถสร้างยอดขายได้มากเนื่องจากสามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้มากที่สุด แต่ก็มีข้อเสีย คือ ใช้ต้นทุนในการดำเนินงานสูง ทั้งด้านการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ มีต้นทุนการผลิต ต้นทุนในการบริหารส่วนตลาดที่แตกต่างกัน และต้นทุนในการส่งเสริมการตลาด 

- การตลาดแบบมุ่งเฉพาะส่วน (Concentrated Marketing) คือ การเลือกส่วนตลาดที่เฉพาะ (Niche Market) เป็นการเลือกส่วนตลาดเพียงส่วนเดียว (Single Segment) เพื่อการใช้กลยุทธ์ทางการตลาดในการสร้างความพึงพอใจให้แก่ตลาดได้ตรงกับความต้องการของตลาด มีข้อดีคือ สามารถสร้างความเข้มแข็งในส่วนตลาดนั้นได้เพราะรู้จักตลาดนั้นดี และสามารถควบคุมค่าใช้จ่ายในการบริหารได้ และได้ผลตอบแทนสูง แต่ก็มีข้อเสียคือ มีความเสี่ยงสูง มีโอกาสที่คู่แข่งจะเข้ามาแบ่งส่วนในการตลาดมาก เพราะตลาดมีขนาดเล็กแต่มีมูลค่าตอบแทนที่สูง

----------------------------------------