ศิลปะแบบคันธาระ

พระพุทธรูปคันธารราฐ

ศิลปะแบบคันธาระ
ศิลปะแบบคันธาระ
ศิลปะแบบคันธาระ

ชื่อโบราณวัตถุ :พระพุทธรูปคันธารราฐแบบศิลปะ :คันธาระชนิด :สำริด กะไหล่ทองขนาด :สูงพร้อมฐาน 73.5 เซนติเมตร ฐานกว้าง 23.5 เซนติเมตรอายุสมัย :พุทธศตวรรษที่ 25ลักษณะ :พระพุทธรูปคันธารราฐ เป็นพระพุทธรูปอำนวยความอุดมสมบูรณ์ สร้างขึ้นเป็นพระขอฝน สำหรับใช้ในพระราชพิธีพิรุณศาสตร์ (พรุณศาสตร์) และงานพระราชพิธีพืชมงคล เพื่อความเป็นมงคลในการพระราชพิธี อำนวยให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล พื้นดินอุดม พืชพันธุ์ธัญญาหารบริบูรณ์พระพุทธรูปคันธารราฐ สร้างขึ้นโดยอาศัยเรื่องอันมีมากในพระสุตันตปิฎก ขุททกนิกาย เอกนิบาตชาดก เรื่องมัจฉชาดก กล่าวว่า ครั้งพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จจำพรรษาอยู่ ณ เชตวนารามของอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้กรุงสาวัตถี ครั้งนั้นเกิดฝนแล้ง พื้นแผ่นดินแคว้นโกศลแห้งผาก จนถึงสระโบกขรณีที่เคยเป็นพุทธบริโภคก็เหือดแห้งจนเห็นตม ปลาทั้งหลายได้ความลำบาก ด้วยฝูงกามาจิกกิน ขณะนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จบิณฑบาต เห็นเหตุดังนั้น ก็มีพระทัยกรุณา เมื่อเสด็จกลับมาทำภัตกิจแล้ว ก็ตรัสเรียกผ้าอุทกสาฎก (ผ้าชุบสรง) มาถวาย พระอานนท์ก็ทูลว่าน้ำในสระแห้งเสียหลายวันแล้ว พระองค์ก็คงตรัสเรียกผ้าอุทกสาฎกอยู่ พระอานนท์จึงได้นำมาถวาย พระองค์ทรงรับผ้ามา ทรงนุ่งด้วยชายผ้าข้างหนึ่ง อีกข้างหนึ่งตะหวัดขึ้นห่มคลุมอังสา เสด็จยืนที่บันไดขอบสระโบกขรณี แสดงอาการจะสรงสนาน พระหัตถ์ขวากวักเรียกฝน พระหัตถ์ซ้ายรองรับน้ำฝน ทันใดนั้นมหาเมฆก็ตั้งขึ้นทางทิศประจิม และฝนก็ตกลงมาเป็นอันมาก ท่วมในที่ซึ่งควรจะขังน้ำทุกแห่ง ด้วยพุทธานุภาพ ภายหลังพระเจ้าแผ่นดินในคันธารราฐองค์หนึ่ง ได้ทรงฟังเรื่องพระพุทธเจ้าทรงบันดาลให้ฝนตกใหญ่ ก็ทรงเลื่อมใส ตรัสสั่งให้สร้างพระพุทธปฏิมามีอาการดังจะสรงน้ำเป็นนัยเรียกฝนเช่นนั้น เมื่อปีใดฝนแล้งก็ให้เชิญพระปฏิมานั้นมาตั้งบูชาขอฝน ฝนก็ตกดังประสงค์ ในชั้นหลังมามีพุทธศาสนิกชนสร้างพระพุทธรูปมีอาการเช่นนั้นต่อๆมา จึงเรียกสมญาพระพุทธรูปสรงสนานดังกล่าวว่า “พระพุทธคันธารราฐ” เพราะเหตุที่สร้างขึ้นในเมืองคันธารราฐเป็นต้นแบบแต่เดิมมาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 โปรดให้สร้างพระพุทธคันธารราฐเป็นพระพุทธรูปประจำพระชนมพรรษา โดยเหตุที่กล่าวกันว่า เมื่อปีฉลูเบญจศกอันเป็นปีพระราชสมภพ ต้นปีฝนแล้ง ข้าวในนาเสียหายมาก เมื่อทรงประสูติ ในทันใดนั้นฝนตกมาก ตามชาลาในพระบรมมหาราชวังมีน้ำท่วมถึงเข่า เป็นอัศจรรย์ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงโปรดให้พระองค์มีหน้าที่ประกอบการพระราชพิธีขอฝนมาแต่ยังทรงพระเยาว์ ด้วยทรงเป็นสิริแห่งการขอฝน จึงโปรดให้ใช้พระคันธารราฐเป็นพระประจำพระชนมพรรษาของพระองค์ โดยหล่อเป็นพระพุทธรูปนั่งขอฝน ตามแบบที่มีมาแต่โบราณต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2453 (ค.ศ. 1910) โปรดให้สร้างพระพุทธรูปคันธารราฐยืน ตามเนื้อความที่มีมาในเอกนิบาต โดยโปรดให้นายอัลฟอนโซ ทอร์นาเรลลี (Alfonso Tornarelli) ช่างชาวอิตาเลียน ปั้นพระพุทธรูปปฏิมายืนปางขอฝน เลียนแบบศิลปะอินเดียแบบคันธารราฐ อันเป็นพุทธศิลป์ที่เจริญขึ้นทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของอินเดีย ในดินแดนที่ชาวกรีกเคยครอบครองเป็นใหญ่ มีความงามตามสุนทรียภาพของกรีก – โรมัน พระพักตร์เป็นแบบเทพเจ้ากรีก เกล้าเกศาเป็นมุ่นโมลี ไม่มีพระรัศมี พระวรกายแสดงกล้ามเนื้ออย่างมนุษย์ และจีวรเป็นริ้วหนาตาแบบธรรมชาติ ประทับยืนบนดอกบัว เหนือขั้นบันไดขอบสระโบกขรณี ทำขั้นบันได 3 ชั้น มีเสาและพนัก ประดับตกแต่งรูปพระแม่ธรณีบีบมวยผม และรูปมนุษยนาค (นาคแปลง) มีความหมายถึงน้ำ และความอุดมสมบูรณ์ พระหัตถ์ขวายกในกิริยากวัก พระหัตถ์ซ้ายหงายรองรับน้ำฝนตรงบั้นพระองค์ พระพักตร์แหงนเงยขึ้นเบื้องบน ทำอาการดุจเรียกฝนพระพุทธคันธารราฐ นับเป็นพระพุทธรูปที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ ศิลปกรรม และขนบประเพณี เนื่องในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว แสดงถึงกระแสความนิยมทางศิลปกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปจากแบบอุดมคติ เป็นแบบสัจนิยม มีความเสมือนจริงตามธรรมชาติ ประกอบด้วยสรรพสิริมงคลสำหรับการพระราชพิธีสำคัญของบ้านเมือง อันเอื้ออำนวยความอุดมสมบูรณ์แก่พระราชอาณาจักร และอาณาประชาราษฎร์ประวัติ :พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้นายอัลฟอนโซ ทอร์นาเรลลี ช่างชาวอิตาเลียนปั้น โดยอนุโลมตามพระพุทธรูปคันธารราฐในประเทศอินเดีย เมื่อ พ.ศ. 2453สถานที่จัดแสดง : พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนครคิวอาร์โค้ด สำหรับเข้าถึงระบบฐานข้อมูล  :

ศิลปะแบบคันธาระ

(ท่านสามารถโหลดและนำไปใช้เพื่อการทำสื่อประชาสัมพันธ์ต่อได้)

 

ศิลปะแบบคันธาระ

ศิลปะแบบคันธาระ

ศิลปะแบบคันธาระ

ศิลปะแบบคันธาระ
 

การ สร้างรูปพระพุทธองค์ (ที่เป็นรูปมนุษย์) แบบ คันธาระ เกิดขึ้นครั้งแรก โดยฝีมือของช่าง แคว้นคันธารราฐ เกิดขึ้นเมื่อราว พ.ศ.๓๗๐ ที่ได้รับอิทธิพลจากกรีกและโรมัน เพราะเคยอยู่ภายใต้การปกครองของพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ ซึ่งเคยกรีฑาทัพมา ตั้งแต่ในราว ๒ ศตวรรษก่อนคริสตกาล…..พวกเขาได้ถือรูปแบบเคารพเดิมที่เป็นเทพเจ้าของตนที่เคยทำมา ประดิษฐ์สร้างพระพุทธรูปขึ้น เมื่อพวกเขาหันมานับถือศาสนาพุทธ การสร้างพระพุทธรูปที่นี่จึงเป็นการผสมผสานระหว่างกรีกโรมัน (อิทธิพล Grego-Roman) และอินเดียโบราณ ที่สัมพันธ์กับมหาปุริสลักษณะ ๓๒ ประการ ของพระพุทธเจ้า อย่างลงตัว…. พระพุทธรูป คันธาระ จึงได้รับการยอมรับจากทั่วโลกว่ามีพุทธศิลปงามที่สุด และเก่าแก่ที่สุด มีอายุราว ๒๐๐๐ ปี จนได้รับความนิยมเป็นสากลจากนักสะสมและพิพิธภัณฑ์นานาชาติ

ศิลปะแบบคันธาระ

….. ครั้นเมื่อ พระเจ้าอโศกมหาราช โปรดให้มีการสังคายนาพระไตรปิฎก ครั้งที่3 ขึ้นแล้วเสร็จ ทรงโปรดให้สร้าง ศาสนสถานศึกษาขึ้นหลายแห่ง เพื่อศึกษา พระศาสนา แต่ยังคงไม่นิยมการสร้างรูป พระพุทธเจ้าเป็นรูปเคารพ ทำแต่รูปอย่างอื่นเป็นเพียงสัญลักษณ์แทน พระพุทธเจ้า ดังเช่นที่ปรากฏอยู่ที่ สถูปสาญจิ มีการสร้างรูปเคารพจากรากฐานของวัฒนธรรมอินเดีย เช่น รอยพระพุทธบาท ซึ่งแสดงถึงการเคารพอย่างสูงสุด เปรียบเทียบกับ พระมหากษัตริย์ หรือการสร้าง ต้นโพธิ์ เป็นสัญลักษณ์แทนการตรัสรู้ เป็นต้น…..วัฒนธรรม การสร้างพระพุทธรูป เพื่อเป็นสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจในทางรูปธรรมนั้น เริ่มแรกในช่วงก่อนสมัยคริสต์กาลเล็กน้อย โดย พระเจ้ามิลินท (Menander) กษัตริย์อินเดีย เชื้อสาย กรีก แห่ง นครสาคละ แคว้นคันธารราฐ อาณาจักรบัคเตรีย (บริเวณตะวันตกเฉียงเหนือของปากีสถานและตะวันออกของอัฟกานิสถานในปัจจุบัน ซึ่งเป็นประเทศอินเดียในอดีต)

…… พระเจ้ามิลินท์ ทรงเลื่อมใส พระพุทธศาสนา และทำนุบำรุงให้รุ่งเรืองอย่างมาก หลังการล่มสลายของวงศ์เมาริยะ เริ่มมีการสร้างพระพุทธรูป จำหลักหินขึ้นอย่างมากมาย เป็นศิลปกรรมแบบกรีกผสมอินเดีย เรียกตามเมืองที่ตั้งว่า ศิลปคันธารราฐ (อิทธิพล Grego-Roman)

……. ท่านได้ทรงสร้าง พระพุทธรูป และพระโพธิสัตว์ ขึ้นมามากมาย ส่วนใหญ่สลักจากหินเทาอมเขียว (Schist stone) โดยยึดรูปแบบศิลปกรีก และเฮเลนนิค ซึ่งมีความสวยงามไม่แพ้ศิลปะใดๆ ในยุคหลังต่อมาจึงได้รับความนิยมอย่างกว้างขวาง ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 4 จนถึงพุทธศตวรรษที่ 13 ที่มีอิทธิพลต่อศิลปของ มถุรา ใน แคว้นอุตรประเทศ

 

ศิลปะแบบคันธาระ

….. ลักษณะสำคัญทางศิลป์ของ พระคันธาระคือ พระพักตร์คล้าย เทพอพอลโล มีเส้นพระเกศาหยิกสลวย ( ยังไม่เป็นก้นหอยเหมือนในยุคหลัง ) มีรัศมี ( Halo ) อยู่หลังพระเศียร ตามความเชื่อของกรีกที่ทำรูปปั้นเทพต่างๆ ห่มผ้าคลุมแบบริ้วธรรมชาติ มีอุณาโลมระหว่างคิ้ว มีอุษณีษะศีรษะ ( มวยผมโป่งตอนบน ) พระกรรณยาว พระพุทธรูปคันธารราฐ มีทั้งที่ทำด้วยปูนปั้น ( Stucco ) หินเขียว และหินดำ ( Schist )

ศิลปะแบบคันธาระ

 …… สมัยคุปตะนับว่าเป็นยุคที่ ๓ ของการทำ พระพุทธรูป ต่อจากสมัยคันนาระ และสมัยมถุราอันเป็นยุคศิลปะอินเดียแท้ ยุคนี้เรียกว่า “พุทธศิลป์สมัยคุปตะ” การสร้างพุทธศิลป์สมัยคุปตะนี้เริ่มต้นที่ พ.ศ.๘๐๐ หรือพุทธศตวรรษที่ ๘ จนถึง พ.ศ. ๑๒

” ยุคนี้เป็นศิลปะที่งดงามเป็นฝีมือของอินเดียเองไม่ได้รับอิทธิพลจาก กรีก-โรมัน เหมือนสมัยคันธาระ พระพุทธรูปสมัยคุปตะนี้ที่เห็นชัดเจนที่สุดคือ ที่สารนาถ” 

……สมัยคุปตะนี้ นับเป็นยุคทองของศิลปะอินเดีย พระพุทธรูปสมัยนี้พระเกศาขมวดเป็นก้นหอยเช่นเดียวกับสมัยมถุรา 

….พระ เกตุมาลาเป็นต่อม พระพักตร์เป็นแบบอินเดีย ห่มจีวรบางแนบติดพระองค์ ไม่มีริ้ว พระอังสะกว้าง บั้นพระองค์เล็ก ปางประทับนั่งเป็นที่นิยมมากที่สุด ฐานล่างนิยมแกะรูปกวาง พระธรรมจักร พระสาวกติดไว้ด้วย หินที่นิยมนำมาแกะสลัก ในสมัยนี้คือหินทรายแดงเพราะง่ายต่อการแกะ ส่วนสมัยคันธาระนิยมหินดำเรือหินสบู่ซึ่งจะดูเรียบและง่ายต่อการแกะสลัก มากกว่าหินทราย

พระพุทธรูป สมัยคุปตะ จัดว่าเป็นความเจริญขั้นสูงสุดในการสร้าง พุทธรูป ในอินเดียยุคสุดท้าย และนั่นคือสัญญาณบอกเหตุก่อนที่ พุทธศาสนาจะถูกทำลายโดยศาสนิกชาวคริสต์และอิสลาม จนกระทั่งสาปสูญไปจากชมพูทวีป …. สิ่งที่น่าแปลกที่สุดก็คือ กรรมมีจริง ชนเผ่าและประเทศต่าง ๆ ที่ร่วมกันทำลายพระพุทธศาสนา นับแต่เวลานั้นจวบจนปัจจุบัน(พ.ศ.๒๕๕๗) ประเทศหลายประเทศสาปสูญไปจากโลก ที่เหลืออยู่ก็รบราฆ่าฟันกันเอง หาความสุขอันใดมิได้ นี่แหละ กรรม..ที่แสดงผลชัดเจน สืบต่อชั่วลูก หลาน เหลน โหลน… ไม่ต้องเชื่อ..แต่ท้าพิสูจน์จากหลักฐานเชิงประจักษ์ เช่น

พระพุทธรูปแบบ คันธาระ ถูกทำลาย

      กรณี ตาเลบัน นำโดย อุสมะ บิน ลาเดน แห่งอิสลาม ได้ทำการระเบิด พระพุทธรูป ที่สร้างโดย พระเจ้ากนิษกะ ณ หน้าผาบามิยัน … หลังจากที่เขาระเบิดทิ้งไม่ถึง 3 ปี รัฐบาลตาเลบันถูกโค่นอำนาจ กลายเป็นกองโจรร่อนเร่ อุสมะ บินลาเดน ตายโหงอย่างน่าทุเรศ… นี่คือตัวอย่างกรรมที่แสดงผล โดยไม่จำแนกเวลา และสถานที่ แม้กระทั่งในยุค Hi-Tech ปัจจุบันก็ตาม..!!!

กรรมที่ทำลาย พระพุทธศาสนา

พระธรรมโอวาทของ…สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

…ทุกวันนี้ที่มีความวุ่นวายเกิดขึ้นในแทบทุกวงการ ไม่เว้นแม้วงการพระพุทธศาสนาที่สุดประเสริฐ หลายเสียงกล่าวตรงกันว่า กิเลสกองโลภะเป็นเหตุที่แท้จริงของความวุ่นวายทุกวันนี้ ความอยากมีอำนาจ อยากใหญ่ อยากดัง ไม่คำนึงถึงความถูกผิด ไม่คำนึงถึงแม้พระเดชพระคุณของพระพุทธศาสนา ของพระมหากษัตริย์

ขณะนี้พระพุทธศาสนากำลังมีการปฏิบัติพยายามให้เกิดภัยพิบัติ ที่เป็นที่กังวลห่วงใยกันอยู่เป็นอันมาก แต่อย่างไรก็ตาม ผู้รู้จักพระพุทธศาสนาตามความถูกต้องเป็นจริง จะไม่เป็นห่วงพระพุทธศาสนาว่าจะเป็นอันตราย จะไม่เป็นห่วงว่าพระพุทธศาสนาจะเศร้าหมองด่างพร้อยด้วยการปฏิบัติเพื่อทำลายที่ชั่วร้ายใดๆ ไม่ว่าจะของผู้ใด หรือของหมู่คณะใดก็ตาม เพราะพระพุทธศาสนามีความมหัศจรรย์หนักหนาเกินกว่าคนทั่วไปจะเข้าใจ จะไม่มีอำนาจใดทำให้เพชร คือ พระพุทธศาสนาร้าวรานได้

อย่าว่าแต่จะถึงให้แตกสลายเลย ผู้ตั้งตัวเป็นภัย เป็นศัตรู ของพระพุทธศาสนานั่นแหละที่จะต้องรับกรรมที่หนักที่สุด อันเกิดแต่การมุ่งร้ายต่อพระพุทธศาสนา ขอจงเชื่อว่า นี่เป็นสัจจะเป็นความจริง แล้วอย่าแม้เพียงคิดที่จะแตะต้องพระพุทธศาสนาให้เศร้าหมอง เพราะความเศร้าหมองสิ้นราศีจะเกิดแก่ตัวเองทันตาทันใจที่สุดแน่นอน

กรรมของผู้ปฏิบัติเป็นภัยต่อพระพุทธศาสนา เป็นกรรมที่มีผลร้าย ยิ่งกว่าผลของกรรมร้ายทั้งปวง ไม่มีบาปใดกรรมใดจะให้ผลหนักหนาเสมอด้วยบาปด้วยกรรมที่มุ่งร้ายทำลายพระพุทธศาสนา

ในทางตรงกันข้าม ไม่มีบุญใดกรรมใดจะให้ผลงดงาม เสมอด้วยบุญด้วยกรรมที่มุ่งเทิดทูนรักษาพระพุทธศาสนา นี่เป็นความจริง เชื่อไว้ดีกว่าไม่เชื่อ อย่าคิดพูดทำอะไรก็ตามที่เป็นการแตะต้องพระพุทธศาสนาในทางชั่วร้าย อย่าประมาทว่าพระพุทธศาสนาก็เท่านั้น ไม่มีอำนาจ ไม่มีฤทธิ์ ไม่มีมือไม้แขนขา ไม่มีปากไม่มีเสียง จะทำอะไรใครได้

สำหรับผู้กระทำแต่กรรมดี เป็นบุญกุศล มีทานกุศล ศีลกุศล และภาวนากุศล เป็นต้น ย่อมต้องได้รับผลดี เป็นความเจริญและสันติสุข จากบุญที่ได้กระทำแล้วเป็นนิตย์ และด้วยกุศลกรรมนั้นปรุงแต่งไม่นานเกินรอ ย่อมต้องได้รับผลดี แม้ในภพชาติปัจจุบันทันตาเห็นนี้…

…….. พระพุทธรูป สมัยคันธาระ มีการสร้างหลายปาง ที่นิยมกัน เช่น ปางสมาธิ ปางปฐมเทศนา ปางประทานพร ปางมหาปาฏิหาริย์ ปางลีลา(หมายถึงตอนที่เสด็จลงจากดาวดึงส์) และปางทุกรกิริยา ส่วนปางอื่นๆ ใน ตำราบางเล่มจะมีมากกว่านี้ แต่ยังค้นหาภาพไม่พบ

ผลงานที่ใกล้เคียง ศิลปะ แบบคันธาระ แบบ อุปตะ ของ โรงหล่อฯ

ศิลปะแบบคันธาระ
ศิลปะแบบคันธาระ
ศิลปะแบบคันธาระ
ศิลปะแบบคันธาระ

  • ศิลปะแบบคันธาระ
  • ศิลปะแบบคันธาระ
  • ศิลปะแบบคันธาระ
  • ศิลปะแบบคันธาระ
  • ศิลปะแบบคันธาระ
  • ศิลปะแบบคันธาระ
  • ศิลปะแบบคันธาระ
  • ศิลปะแบบคันธาระ
  • ศิลปะแบบคันธาระ
  • ศิลปะแบบคันธาระ
  • ศิลปะแบบคันธาระ
  • ศิลปะแบบคันธาระ
  • ศิลปะแบบคันธาระ
  • ศิลปะแบบคันธาระ
  • ศิลปะแบบคันธาระ
  • ศิลปะแบบคันธาระ
  • ศิลปะแบบคันธาระ
  • ศิลปะแบบคันธาระ
  • ศิลปะแบบคันธาระ
  • ศิลปะแบบคันธาระ
  • ศิลปะแบบคันธาระ
  • ศิลปะแบบคันธาระ
  • ศิลปะแบบคันธาระ
  • ศิลปะแบบคันธาระ
  • ศิลปะแบบคันธาระ
  • ศิลปะแบบคันธาระ
  • ศิลปะแบบคันธาระ
  • ศิลปะแบบคันธาระ
  • ศิลปะแบบคันธาระ
  • ศิลปะแบบคันธาระ
  • ศิลปะแบบคันธาระ
  • ศิลปะแบบคันธาระ
  • ศิลปะแบบคันธาระ
  • ศิลปะแบบคันธาระ
  • ศิลปะแบบคันธาระ
  • ศิลปะแบบคันธาระ
  • ศิลปะแบบคันธาระ
  • ศิลปะแบบคันธาระ

ศิลปะคันธาระคืออะไร

ส่วนการสร้างศิลปกรรมทางพระพุทธศาสนาที่เรียกว่า ศิลปะคันธาระ ซึ่งเป็นศิลปะผสมระหว่างศิลปะกรีกกับอินเดีย เกิดขึ้นประมาณปี พ.ศ. 400. ส่วนยุครุ่งเรืองของพระพุทธศาสนา ได้แก่ยุคราชวงศ์กุษาณะ ที่มีการพัฒนาศิลปกรรม-สถาปัตยกรรมทางพระพุทธศาสนามากมาย โดยเฉพาะอิทธิพลของพระเจ้ากนิษกะ ทำให้พระพุทธศาสนาแผ่ขยายไปกว้างขวางมาก

ศิลปะแบบคันธารราฐเป็นศิลปะแบบใด

พระคันธารราฐ
ประเภท
พระพุทธรูป
ศิลปะ
ศิลปะทวาราวดี
ความกว้าง
1.7 เมตร
ความสูง
5.2 เมตร
พระคันธารราฐ - วิกิพีเดียth.wikipedia.org › wiki › พระคันธารราฐnull

ศิลปะแบบคันธาระเป็นของประเทศใด

พระพุทธรูปประทับนั่งจากคันธาระ.

ศิลปะแบบมถุรา"มีลักษณะเด่นอย่างไร

ประเพณีการสร้างพระพุทธรูปในสมัยคันธาระ ทำให้เกิดประเพณีการสร้างพระพุทธรูปในยุคมถุรา ศิลปะแบบมถุรามีลักษณะแบบพื้นเมืองของอินเดีย ลักษณะพระเศียรกลม พระพักตร์อิ่ม พระโอษฐ์มีรอยยิ้ม พระเกศาเรียบไม่มีเส้น พระเมาลีทำเป็นขมวดก้นหอย พระพุทธรูปในยุคนี้จะมีความอ้วนสมบูรณ์ พระอุระ(อก)มีลักษณะคล้ายถันของสตรีเพศ ครองจีวรห่มคลุม จัด ...