แฟ้มภาพนามสกุลใดเหมาะกับงานเว็บเพจ

แฟ้มภาพนามสกุลใดเหมาะกับงานเว็บเพจ

Show

    ในคนทั่วไปส่วนใหญ่อาจจะคุ้นหูและคุ้นเคยเพียงแค่ไฟล์ภาพ JPEG เท่านั้น แต่จริงๆ เเล้วนั้นยังมีรูปแบบของไฟล์อีกหลายประเภท ที่มีจุดเด่นแตกต่างกันออกไปตามความเหมาะสมของการใช้งาน บทความนี้เราจะพาไปรู้จักกับไฟล์ภาพชนิดต่างๆ กันค่ะ

    แฟ้มภาพนามสกุลใดเหมาะกับงานเว็บเพจ

    1. JPEG

    มาเริ่มต้นด้วยไฟล์ภาพที่น่าจะมีคนรู้จักมากที่สุดกันค่ะ เป็นไฟล์ที่นิยมใช้กันมากที่สุด เพราะมีความสะดวกสบายเนื่องจากเป็นไฟล์ที่มาจากกล้องโดยตรง เเละเราสามารถนำภาพไปใช้ต่อได้เลย เช่น อัปโหลดใน social media ต่างๆ

    จุดเด่น – ไฟล์ภาพเป็นที่นิยม มีการรองรับเกือบทุกโปรแกรม เเละใช้พื้นที่จัดเก็บน้อยค่ะ

    จุดด้อย – เนื่องจากขนาดไฟล์จำกัด ทำให้ไม่สามารถแก้ไขรูปได้เท่าที่ใจต้องการ เพราะรูปจะเกิดความไม่ชัดหรือภาพเเตกได้ค่ะ

    2. TIFF

    เป็นไฟล์ที่มีคุณภาพสูงส่วนใหญ่นิยมใช้ในอุตสาหกรรมการพิมพ์งานต่างๆ ที่ต้องอาศัยความคมชัดหรือความละเอียดมากๆ 

    จุดเด่น – ไฟล์มีคุณภาพมาก สามารถรองรับการใช้งานผ่านโปรแกรมได้เกือบหมด เเละทำพื้นหลังให้โปร่งใสได้ด้วย

    จุดด้อย – ไฟล์มีขนาดใหญ่ ใช้พื้นที่จัดเก็บเยอะมาก

    แฟ้มภาพนามสกุลใดเหมาะกับงานเว็บเพจ

    3. PNG

    เป็นรูปแบบไฟล์ที่นิยมใช้งานบนเว็บไซต์มากที่สุด ไม่เหมาะกับงานพิมพ์ เพราะไฟล์ PNG ถูกออกแบบมาเพื่อใช้งานแทนไฟล์ GIF

    จุดเด่น – สามารถบันทึกภาพพื้นหลังแบบโปร่งใสได้ ทำให้ง่ายต่อการใช้งานเเละรองรับสีได้มากกว่าไฟล์ GIF 

    จุดด้อย – ไม่เหมาะกับการพิมพ์

    4. GIF

    เป็นไฟล์ที่เน้นใช้ทำภาพเคลื่อนไหว มักจะถูกใช้ใน social media และแบนเนอร์เว็บไซต์มากกว่า

    จุดเด่น – ขนาดไฟล์เล็กมาก ทำให้โหลดได้รวดเร็ว เเละสามารถทำพื้นหลังแบบโปร่งใสได้

    จุดด้อย – มีความจำกัดเรื่องสีของภาพเเละไม่รองรับ CMYK

    แฟ้มภาพนามสกุลใดเหมาะกับงานเว็บเพจ

    5. PSD

    เป็นไฟล์ที่มาจากโปรแกรม Photoshop สามารถแก้ไขไฟล์ได้อย่างยืดหยุ่น ใช้กับงานพิมพ์ได้

    จุดเด่น –  ปรับแต่งไฟล์ได้อย่างอิสระสามารถใช้ทำงานได้ทั้ง Vector เเละ Raster รองรับพื้นหลังโปร่งใสได้ด้วย

    จุดด้อย – เหมาะสำหรับงานที่มีขนาดใหญ่เนื่องจากมีความละเอียดสูง การใช้งานอาจจะซับซ้อนเกินไปสำหรับบางคน

    6. RAW

    เป็นไฟล์ที่นิยมใช้ในหมู่ช่างถ่ายภาพ เพราะไฟล์สกุลนี้สามารถแก้ไขได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด เช่น การปรับสี

    จุดเด่น – ตอบโจทย์ในการแก้ไขรูปภาพมากๆ ปรับเเต่งได้อย่างอิสระ

    จุดด้อย – บางโปรแกรมไม่รองรับไฟล์ชนิดนี้ เลยทำให้มีข้อจำกัดต้องแปลงไฟล์ก่อนใช้งาน

    7. EPS

    เป็นไฟล์รูปแบบหนึ่งของ Vector มักจะถูกใช้กับพวก Logo หรือ Icon เป็นหลัก

    จุดเด่น :  สามารถใช้ได้ทุกขนาดไม่ว่าจะเล็ก กลาง ใหญ่ โปรแกรมส่วนใหญ่รองรับ

    จุดด้อย : โปรแกรมที่สามารถแก้ไขไฟล์นี้ได้ค่อนข้างจำกัด เช่น Illustrator

    แฟ้มภาพนามสกุลใดเหมาะกับงานเว็บเพจ

    8. SVG

    เป็นไฟล์รูปที่เหมาะกับการทำเว็บไซต์พวก Responsive โดยเฉพาะ

    จุดเด่น :  สามารถใช้งานเป็น Vector เเละ Raster ก็ได้ เเละสามารถปรับขนาดได้โดยไม่เสียความคุณภาพของไฟล์เลย นอกจากนั้นยังสามารถเพิ่มไปยัง HTML ได้โดยตรง

    จุดด้อย : ไม่เหมาะกับงานภาพที่มีความลึกสีสูงๆ เช่น งานพิมพ์

    9. PDF

    เป็นไฟล์ที่นิยมใช้กับงานเอกสาร สามารถรองรับไฟล์ภาพขนาดใหญ่ได้

    จุดเด่น : สามารถแสดงผลได้ทั้ง Vector เเละ Raster  และรองรับโปรแกรมได้หลากหลาย 

    จุดด้อย : แก้ไขงานได้ยาก มีข้อจำกัดเยอะ

    10. BMP

    ในปัจจุบันไม่ค่อยนิยมใช้งานแล้ว เพราะจำกัดการใช้งานเฉพาะ Windows OS เท่านั้น

    จุดเด่น : คุณภาพสูงมาก เพราะว่าไม่มีการบีบอัดเลย

    จุดด้อย : ไฟล์ใหญ่ เเละไม่รองรับงาน CMYK ทำให้ไม่เหมาะกับงานพิมพ์

    ที่มา : creativebloq.com