หมวดสุดท้ายของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 คือหมวดใด *

คุณอยู่ที่นี่

Show

หมวด ๑๕ การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ (มาตรา ๒๕๕ - ๒๕๖)

หมวด ๑๕
การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ

-------------------------

               มาตรา ๒๕๕  การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญที่เป็นการเปลี่ยนแปลงการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หรือเปลี่ยนแปลงรูปแบบของรัฐ จะกระทำมิได้

               มาตรา ๒๕๖  ภายใต้บังคับมาตรา ๒๕๕ การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ให้กระทำได้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการ ดังต่อไปนี้
               (๑) ญัตติขอแก้ไขเพิ่มเติมต้องมาจากคณะรัฐมนตรี หรือจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในห้าของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร หรือจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในห้าของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภา หรือจากประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวนไม่น้อยกว่าห้าหมื่นคนตามกฎหมายว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย
               (๒) ญัตติขอแก้ไขเพิ่มเติมต้องเสนอเป็นร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมต่อรัฐสภาและให้รัฐสภาพิจารณาเป็นสามวาระ
               (๓) การออกเสียงลงคะแนนในวาระที่หนึ่งขั้นรับหลักการ ให้ใช้วิธีเรียกชื่อและลงคะแนนโดยเปิดเผย และต้องมีคะแนนเสียงเห็นชอบด้วยในการแก้ไขเพิ่มเติมนั้น ไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภา ซึ่งในจำนวนนี้ต้องมีสมาชิกวุฒิสภาเห็นชอบด้วยไม่น้อยกว่าหนึ่งในสามของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของวุฒิสภา
               (๔) การพิจารณาในวาระที่สองขั้นพิจารณาเรียงลำดับมาตรา โดยการออกเสียงในวาระที่สองนี้ให้ถือเสียงข้างมากเป็นประมาณ แต่ในกรณีที่เป็นร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมที่ประชาชนเป็นผู้เสนอ ต้องเปิดโอกาสให้ผู้แทนของประชาชนที่เข้าชื่อกันได้แสดงความคิดเห็นด้วย
               (๕) เมื่อการพิจารณาวาระที่สองเสร็จสิ้นแล้ว ให้รอไว้สิบห้าวัน เมื่อพ้นกำหนดนี้แล้วให้รัฐสภาพิจารณาในวาระที่สามต่อไป
               (๖) การออกเสียงลงคะแนนในวาระที่สามขั้นสุดท้าย ให้ใช้วิธีเรียกชื่อและลงคะแนนโดยเปิดเผย และต้องมีคะแนนเสียงเห็นชอบด้วยในการที่จะให้ออกใช้เป็นรัฐธรรมนูญมากกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภา โดยในจำนวนนี้ต้องมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจากพรรคการเมืองที่สมาชิกมิได้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี ประธานสภาผู้แทนราษฎรหรือรองประธานสภาผู้แทนราษฎร เห็นชอบด้วยไม่น้อยกว่าร้อยละยี่สิบของทุกพรรคการเมืองดังกล่าวรวมกัน และมีสมาชิกวุฒิสภาเห็นชอบด้วยไม่น้อยกว่าหนึ่งในสามของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของวุฒิสภา
               (๗) เมื่อมีการลงมติเห็นชอบตาม (๖) แล้ว ให้รอไว้สิบห้าวัน แล้วจึงนำร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย และให้นำความในมาตรา ๘๑ มาใช้บังคับโดยอนุโลม
               (๘) ในกรณีร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมหมวด ๑ บททั่วไป หมวด ๒ พระมหากษัตริย์ หรือหมวด ๑๕ การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ หรือเรื่องที่เกี่ยวกับคุณสมบัติหรือลักษณะต้องห้ามของผู้ดำรงตำแหน่งต่าง ๆ ตามรัฐธรรมนูญ หรือเรื่องที่เกี่ยวกับหน้าที่หรืออำนาจของศาลหรือองค์กรอิสระ หรือเรื่องที่ทำให้ศาลหรือองค์กรอิสระไม่อาจปฏิบัติตามหน้าที่หรืออำนาจได้ ก่อนดำเนินการตาม (๗) ให้จัดให้มีการออกเสียงประชามติตามกฎหมายว่าด้วยการออกเสียงประชามติ ถ้าผลการออกเสียงประชามติเห็นชอบด้วยกับร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม จึงให้ดำเนินการตาม (๗) ต่อไป
               (๙) ก่อนนายกรัฐมนตรีนำความกราบบังคมทูลเพื่อทรงลงพระปรมาภิไธยตาม (๗) สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือสมาชิกวุฒิสภา หรือสมาชิกทั้งสองสภารวมกัน มีจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสิบของสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของแต่ละสภา หรือของทั้งสองสภารวมกัน แล้วแต่กรณี มีสิทธิเข้าชื่อกันเสนอความเห็นต่อประธานแห่งสภาที่ตนเป็นสมาชิกหรือประธานรัฐสภา แล้วแต่กรณี ว่าร่างรัฐธรรมนูญตาม (๗) ขัดต่อมาตรา ๒๕๕ หรือมีลักษณะตาม (๘) และให้ประธานแห่งสภาที่ได้รับเรื่องดังกล่าวส่งความเห็นไปยังศาลรัฐธรรมนูญ และให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้แล้วเสร็จภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับเรื่อง ในระหว่างการพิจารณาวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ นายกรัฐมนตรีจะนำร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าวขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายเพื่อพระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธยมิได้

  • 11754 reads

รัฐธรรมนูญ 2560 : เปิดรายงาน กมธ.แก้รัฐธรรมนูญฯ กับโมเดล ส.ส.ร. ของรัฐบาล-ฝ่ายค้าน-ประชาชน

  • หทัยกาญจน์ ตรีสุวรรณ
  • ผู้สื่อข่าวบีบีซีไทย

5 กันยายน 2020

หมวดสุดท้ายของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 คือหมวดใด *

ที่มาของภาพ, Thai News Pix

ในขณะที่นักการเมืองทั้งรัฐบาลและฝ่ายค้านทำทีสนับสนุนเสียงของนักเรียน นิสิต นักศึกษา และประชาชนบนท้องถนนที่เรียกร้องให้จัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ผ่านกลไกสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) ด้วยการเสนอร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญฯ เข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภาช่วงปลายเดือนนี้ แต่กว่า ส.ส.ร. จะเกิดขึ้นได้ เงื่อนไขเดิมที่กำหนดว่าต้องได้เสียงสนับสนุนจาก ส.ว. 1 ใน 3 หรือ 84 เสียง ในการลงมติผ่านร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญฯ ในวาระ 1 และ 3 ยังอยู่

คณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญพิจารณาศึกษาหลักเกณฑ์และวิธีการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 มีนายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี เป็นประธาน สะท้อนปัญหาการดำรงอยู่ของ ส.ว. ทั้ง 250 คนไว้ว่า "การแก้ไขที่ขัดกับความต้องการของคณะผู้ปกครองประเทศที่มีเสียงสนับสนุนจากวุฒิสภาจะทำไม่ได้เลย" และเปรียบเปรย ส.ว. ชุดปัจจุบันเป็น "กลไกป้องกันไม่ให้แก้ไขรัฐธรรมนูญได้โดยง่าย"

ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรเตรียมพิจารณารายงานของ กมธ.แก้รัฐธรรมนูญฯ ในวันที่ 10 ก.ย. นี้ หลังพวกเขาใช้เวลานาน 8 เดือนเต็ม ในการพิจารณาศึกษารัฐธรรมนูญปี 2560 ซึ่งมีเนื้อหา 16 หมวด 279 มาตรา ทว่าในหมวด 1 บททั่วไป และหมวด 2 พระมหากษัตริย์ ทาง กมธ. เห็นว่า "ไม่มีประเด็นที่จะต้องพิจารณาศึกษา" จึงข้ามไปเริ่มพิจารณาตั้งแต่หมวด 3

  • 4 ปีประชามติ "รัฐธรรมนูญฉบับประชาชน" แต่ "เยาวชนไม่ได้เลือก"
  • กมธ.แก้รัฐธรรมนูญฯ เปิดเวทีรับฟังความเห็น นศ.
  • เยาวชนชายแดนใต้รวมกลุ่มไล่รัฐบาลประยุทธ์ ระบุ "ถ้ามีประชาธิปไตย ก็มีสันติภาพ"
  • วิษณุ-มีชัย เล่าที่มามือร่างรัฐธรรมนูญฉบับ "ดีไซน์มาเพื่อพวกเรา"

ในวันส่งมอบรายงานที่มีความหนา 145 หน้า ต่อนายชวน หลีกภัย ประธานสภา เมื่อ 31 ส.ค. นายพีระพันธุ์กล่าวยอมรับว่า ไม่มีหลักการันตีว่ารายงานฉบับนี้จะถูกนำไปพิจารณาเป็นเนื้อหาของการแก้ไขรัฐธรรมนูญ แต่ยืนยันว่ามีความเป็นกลาง

ที่มาของภาพ, ฝ่ายประชาสัมพันธ์ รัฐสภา

คำบรรยายภาพ,

รายงานการศึกษาของ กมธ. แบ่งเป็น 3 ส่วน คือ ส่วนแรก เป็นรายงานของ กมธ.แก้ไขรัฐธรรมนูญ ส่วนที่ 2 เป็นรายงานของคณะอนุ กมธ. และส่วนที่ 3 เป็นการสรุปความคิดเห็นของประชาชนและนักศึกษา

บีบีซีไทยสรุปประเด็นสำคัญ ๆ ที่ปรากฏในรายงานฉบับนี้ กมธ. ตั้งข้อสังเกตและสะท้อนปัญหาของรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันไว้อย่างไร และเสนอแนะทางแก้ไขกติกาสูงสุดอย่างไรบ้าง

สิทธิเสรีภาพของปวงชนชาวไทย

ปัญหา : มาตรา 25 มีลักษณะจำกัดสิทธิและเสรีภาพของประชาชน ด้วยการกำหนดว่าต้องไม่กระทบกระเทือนต่อความมั่นคงของรัฐ เนื่องจากคำว่า "ความมั่นคงของรัฐ" ถูกตีความได้หลายมิติ และรัฐอาจยกมาเป็นข้ออ้างในการจำกัดสิทธิเสรีภาพของประชาชนได้

ข้อเสนอ : 1. ให้ตัดข้อความที่ว่า "เป็นอันตรายต่อความมั่นคงของรัฐ ความสงบเรียบร้อย" ออก หรือ 2. ตัดข้อความว่า "ไม่กระทบกระเทือนหรือเป็นอันตรายต่อความมั่นคงของรัฐ ความสงบเรียบร้อย" ออก แล้วใช้ข้อความว่า "ไม่ละเมิดสิทธิและเสรีภาพของบุคคลอื่น และไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อรัฐธรรมนูญ หรือไม่ขัดต่อศีลธรรมของประชาชน" แทน หรือ 3. ตัดข้อความว่า "ความมั่นคงของรัฐ" ออก แล้วใช้ "การดำรงอยู่ของรัฐ" แทน

สิทธิในการปกป้องการปกครองระบอบประชาธิปไตยฯ

ปัญหา : มาตรา 49 มีความมุ่งหมายในการป้องกันการรัฐประหารหรือการใช้กำลังล้มล้างการปกครอง ซึ่งเดิมรัฐธรรมนูญปี 2540 และ 2550 กำหนดให้ยื่นเรื่องผ่านอัยการสูงสุด แต่มีคดีหนึ่งที่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าประชาชนสามารถยื่นคำร้องโดยตรงต่อศาลได้ ทำให้ "มีการนำไปใช้เป็นเครื่องมือทางการเมืองเพื่อร้องต่อศาลรัฐธรรมนญ" เช่น กรณี ส.ส. เสนอร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ก็มีผู้ไปยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญว่าล้มล้างการปกครอง

ข้อเสนอ : ควรบัญญัติให้ชัดเจนว่าการเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญ ไม่ถือเป็นการล้มล้างการปกครอง

ที่มาของภาพ, EPA

คำบรรยายภาพ,

นายณฐพร โตประยูร ได้ยื่นคำร้องตรงต่อศาลรัฐธรรมนูญให้ยุบพรรคอนาคตใหม่ โดยกล่าวหาว่ากระทำการล้มล้างการปกครอง ตามมาตรา 49 แห่งรัฐธรรมนูญ หรือที่รู้จักในนาม "คดีอิลลูมินาติ"

ยุทธศาสตร์ชาติ

ปัญหา : มาตรา 65 กำหนดให้รัฐจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ โดยให้ทบทวนทุก 5 ปี ซึ่งไม่เหมาะสมเพราะสถานการณ์โลกเปลี่ยนแปลงตลอด ขณะที่คณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติก็มีอำนาจมากเกินไป เป็นการส่งเสริมให้ฝ่ายประจำอยู่เหนือฝ่ายการเมือง อีกทั้งผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติก็เป็นผู้ใกล้ชิดรัฐบาลชุดที่ผ่านมา ทำให้กรอบยุทธศาสตร์ชาติมาจากความคิดในลักษณะเดียวกัน และไม่เปิดให้ประชาชนมีส่วนร่วม

ข้อเสนอ : ปรับลดเวลาทบทวนยุทธศาสตร์ชาติให้เร็วขึ้น เช่น ทุก 1 หรือ 2 ปี และปรับปรุงองค์ประกอบคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ

สภาผู้แทนราษฎร

ปัญหา : ระบบเลือกตั้งแบบจัดสรรปันส่วนผสมเข้าใจยากและไม่สนองเจตนารมณ์ของประชาชน ก่อให้เกิดปัญหาหลายอย่าง เช่น การคิดคำนวณหา ส.ส.บัญชีรายชื่อ, เกิดพรรคเล็กจำนวนมาก, เกิดรัฐบาลผสมอ่อนแอและขาดเสถียรภาพ

ข้อเสนอ : ให้กลับไปใช้การเลือกตั้ง 2 ระบบ แยก ส.ส.เขต 400 คน กับ ส.ส.บัญชีรายชื่อ 100 คน และให้มีบัตรเลือกตั้ง 2 ใบเพื่อสะท้อนเจตนารมณ์ผู้ใช้สิทธิเลือกตั้ง

ที่มาของภาพ, Wasawat Lukharang/BBC Thai

วุฒิสภา

ปัญหา : การที่ ส.ว. ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน ทำให้เกิดปัญหาความเป็นกลางในการปฏิบัติหน้าที่และส่งผลต่อกลไกการตรวจสอบ อีกทั้งการกำหนดให้ ส.ว. มาจากการเลือกไขว้ระหว่างกลุ่มอาชีพยังเป็นวิธีการที่ไม่เหมาะ เพราะผู้เลือกต่างไม่รู้จักกัน ย่อมไม่มีฐานความรู้และเหตุผลในการตัดสินใจเพียงพอ ดังนั้นควรพิจารณาว่าระหว่างการเลือกตั้งทางอ้อมที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญปี 2560 กับการเลือกตั้งทางตรงแบบในรัฐธรรมนูญปี 2540 วิธีใดจะดีกว่ากัน

ข้อเสนอ : ควรแก้ไขประเด็นที่มา ส.ว. ให้ชัดเจนขึ้น และให้คืนอำนาจถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองให้ ส.ว. แบบที่เคยบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญปี 2550

นายกรัฐมนตรี

ปัญหา : มาตรา 88 และ 89 กำหนดให้พรรคการเมืองเสนอชื่อนายกฯ ในบัญชีไม่เกิน 3 รายชื่อแล้วแจ้งต่อ กกต. เพื่อประกาศให้ประชาชนทราบเป็นการทั่วไป ทาง กมธ. เสียงข้างมากเห็นว่า "ไม่ถือว่าเป็นนายกฯ ที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน"

ข้อเสนอ : กมธ. เสียงข้างมากเห็นควรให้นายกฯ ต้องเป็น ส.ส.

ที่มาของภาพ, Thai News Pix

คำบรรยายภาพ,

สมาชิกรัฐสภามีมติ 500 ต่อ 244 สนับสนุนให้ พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกฯ

คณะรัฐมนตรี

ข้อเสนอ : พรรคต้องประกาศรายชื่อคนที่จะมาเป็นนายกฯ และ รมต. เพื่อให้ประชาชนทราบ และป้องกันไม่ให้นายทุนเข้ามาเป็น รมต. และควรห้ามไม่ให้ รมต. ดำรงตำแหน่ง ส.ส. ในขณะเดียวกันเพื่อให้ทำงานได้เต็มที่

การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ตามมาตรา 256

ปัญหา : วุฒิสภาชุดปัจจุบันส่วนใหญ่มาจากการคัดสรรของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ซึ่งเป็นผู้แต่งตั้งคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) และมีสถานะรัฐบาลปัจจุบันซึ่งได้ประโยชน์จากรัฐธรรมนูญ "การแก้ไขที่ขัดกับความต้องการของคณะผู้ปกครองประเทศที่มีเสียงสนับสนุนจากวุฒิสภาจะทำไม่ได้เลย" ส.ว. ชุดปัจจุบันจึงเปรียบเสมือนกลไกป้องกันไม่ให้แก้ไขรัฐธรรมนูญได้โดยง่าย

ข้อเสนอ : กมธ. เสียงข้างมากเห็นควรให้ยกเลิกเงื่อนไขในมาตรา 256 ในการมี ส.ว. เห็นชอบด้วยคะแนน 1 ใน 3 เหลือเพียง "เสียงข้างมากของสมาชิกรัฐสภา" ตามหลักการที่ปรากฏในรัฐธรรมนูญปี 2540 และ 2550 ขณะที่อีก 2 แนวทางที่มี กมธ. เสนอไว้คือ ให้คงเงื่อนไข ส.ว. เห็นชอบ 1 ใน 3 เอาไว้ แต่ใช้ในกรณี ส.ว. ตามบทถาวร ไม่ใช่ ส.ว. ตามบทเฉพาะกาล หรือใช้เสียง 2 ใน 3 ของสมาชิกรัฐสภา ทว่าต้องใช้กับ ส.ว. ชุดถาวรเช่นกัน

ที่มาของภาพ, Thai News Pix

คำบรรยายภาพ,

ชายแต่งกายคล้ายพระยาพหลพลพยุหเสนา อ่านประกาศคณะราษฎรฉบับที่ 1 ระหว่างจัดกิจกรรมแสดงพลัง "ทวงคืนมรดกคณะราษฎร ทวงคืนสัญญารัฐธรรมนูญประชาชน"

นอกจากนี้ กมธ. ส่วนใหญ่ยังเห็นชอบให้มีการร่างรัฐธรรมนูญใหม่ โดยจัดให้มีสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) ทำหน้าที่ยกร่างรัฐธรรมนูญเกือบทั้งฉบับ ยกเว้นหมวด 1 และหมวด 2 จากนั้นนำไปทำประชามติ ก่อนนำขึ้นทูลเกล้าฯ

ฝ่ายค้าน-รบ. แยกกันชงร่างแก้ไข รธน. ถึงมือประธานรัฐสภาแล้ว

นอกจากรายงานของ กมธ.แก้รัฐธรรมนูญฯ ถึงขณะนี้มีผู้ยื่นญัตติเสนอร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญต่อประธานรัฐสภาแล้ว 2 กลุ่มคือ ร่างของ 5 พรรคร่วมฝ่ายค้าน ได้แก่ พรรคเพื่อไทย พรรคเสรีรวมไทย พรรคประชาชาติ พรรคเพื่อชาติ และพรรคพลังปวงชนไทย ยื่นญัตติเมื่อวันที่ 17 ส.ค. และร่างของพรรคร่วมรัฐบาล ยื่นญัตติเมื่อวันที่ 1 ก.ย. โดยคาดหมายกันว่าจะนำเข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภาได้ในวันที่ 23-24 ก.ย. นี้

ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้ง 2 ฉบับนี้ มีเนื้อหารวม 5 มาตราเท่ากัน มีเป้าหมายอยู่ที่การ "ปลดล็อก" เนื้อหาในมาตรา 256 ของรัฐธรรมนูญปี 2560 เพื่อเปิดทางไปสู่การมี ส.ส.ร. ขึ้นมาจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ภายใต้เงื่อนไขสำคัญคือต้องไม่ไปแตะต้องหมวด 1 และหมวด 2 ทำให้พรรคก้าวไกลได้ขอถอนชื่อในญัตติของฝ่ายค้าน แต่พร้อมลงมติเห็นชอบในวาระแรก และขอแปรญัตติในวาระ 2

ที่มาของภาพ, ฝ่ายประชาสัมพันธ์ รัฐสภา

คำบรรยายภาพ,

นายวิรัช รัตนเศรษฐ ประธานวิปรัฐบาล นำทีมยื่นร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ

ขณะที่ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญจากคนอีก 2 กลุ่มคือ ร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ โดยให้ยกเลิกมาตรา 269-272 ในบทเฉพาะกาลของรัฐธรรมนูญปี 2560 เพื่อ "ปิดสวิตช์ ส.ว." ชุดปัจจุบัน เสนอโดยพรรคก้าวไกล โดยให้เหตุผลว่า "ไม่อาจแน่ใจได้ว่ากระบวนการแก้รัฐธรรมนูญ มาตรา 256 และการจัดตั้ง ส.ส.ร. จะถูกเตะถ่วงไปนานแค่ไหน"

ไม่ว่าบังเอิญหรือจงใจ ข้อเสนอให้ "ปิดสวิตช์ ส.ว." ของพรรคครึ่งร้อยได้สอดคล้องกับข้อเรียกร้องของกลุ่ม "ประชาชนปลดแอก" ที่ว่าก่อนปิดสมัยประชุมสภา หรือภายในเดือน ก.ย. นี้ ต้องไม่มี ส.ว. 250 คนอีกต่อไป ทว่าขณะนี้พรรคก้าวไกลยังอยู่ระหว่างการล่าชื่อจากเพื่อนร่วมสภาเพื่อรับรองญัตติ ซึ่งต้องใช้เสียง 1 ใน 5 ของ ส.ส. ที่มีอยู่ทั้งหมด หรือ 98 คน เบื้องต้นมี ส.ส. พรรคประชาธิปัตย์บางส่วนที่ยอมรับว่าตัวเองเป็น "กลุ่มกบฎในพรรค" พร้อมร่วมลงชื่อให้

เช่นเดียวกับร่างแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ฉบับโครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน (ไอลอว์) ก็อยู่ระหว่างการล่ารายชื่อประชาชนให้ครบ 5 หมื่นชื่อก่อนเสนอต่อประธานรัฐสภา มีเนื้อหา 13 มาตรา และเพิ่มหมวดใหม่เข้ามาเป็น "หมวดที่ 17 การจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่" โดย ส.ส.ร.

แม้จำนวน ส.ส.ร. ที่ปรากฏในร่างกฎหมายของกลุ่มต่าง ๆ มีจำนวน 200 คนเท่ากัน แต่มีความแตกต่างกันในรายละเอียดทั้งวิธีการได้มา คุณสมบัติ และส่วนผสม อย่างในร่างของ 5 พรรคฝ่ายค้าน ให้ ส.ส.ร. มาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน ใช้เขตจังหวัดเป็นเขตเลือกตั้ง ส่วนร่างของประชาชน ใช้เขตประเทศเป็นเขตเลือกตั้ง ขณะที่ร่างของพรรคร่วมรัฐบาล ให้ 150 คนมาจากการเลือกตั้ง ส่วนอีก 20 คนมาจากการคัดเลือกของรัฐสภา, 20 คนจากการคัดเลือกของที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย แบ่งเป็น ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายมหาชน รัฐศาสตร์/รัฐประศาสนศาสตร์ 10 คน และผู้มีประสบการณ์ด้านการเมือง การบริหารราชการแผ่นดิน/การร่างรัฐธรรมนูญ 10 คน และ 10 คนสุดท้าย เป็นนักเรียน นิสิต นักศึกษา ตามหลักเกณฑ์การคัดเลือกของ กกต.

แต่ประเด็นที่ผู้นำเสนอแต่ละกลุ่มเห็นไม่ตรงกันคือกรอบเวลาในการจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับที่ 21 ซึ่งต้องใช้เวลาตั้งแต่ 10-15 เดือนเศษ นับจากกระบวนการเฟ้นหา ส.ส.ร. เริ่มต้นขึ้น คนไทยถึงจะได้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่

นานแค่ไหนกว่าคนไทยจะได้รัฐธรรมนูญฉบับที่ 21

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 หมวดที่ 1 มีกี่มาตรา

2475” หมวด 1 บททั่วไป >>> มี5 มาตรา มาตรา 1 ประเทศไทยเป็นราชอาณาจักรอันหนึ่งอันเดียว จะแบ่งแยกมิได้ มาตรา 2 ประเทศไทยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

ธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2560 มีกี่หมวดอะไรบ้าง

ที่ประชุมสภาผู้แทนราษฎรเตรียมพิจารณารายงานของ กมธ.แก้รัฐธรรมนูญฯ ในวันที่ 10 ก.ย. นี้ หลังพวกเขาใช้เวลานาน 8 เดือนเต็ม ในการพิจารณาศึกษารัฐธรรมนูญปี 2560 ซึ่งมีเนื้อหา 16 หมวด 279 มาตรา ทว่าในหมวด 1 บททั่วไป และหมวด 2 พระมหากษัตริย์ ทาง กมธ. เห็นว่า "ไม่มีประเด็นที่จะต้องพิจารณาศึกษา" จึงข้ามไปเริ่มพิจารณาตั้งแต่หมวด 3.

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 เป็นรัฐธรรมนูญฉบับที่เท่าใด

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 เป็นรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฉบับที่ 20 มีที่มาจากการตั้งคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2558 เพื่อจัดทำร่างฯ ฉบับใหม่ ประกอบด้วยสมาชิก 21 คน มีมีชัย ฤชุพันธุ์ เป็นประธาน เมื่อร่างเสร็จแล้ว มีการลงประชามติในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2559 ซึ่งผู้มาใช้สิทธิร้อย ...

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มีกี่หมวด และกี่มาตราเมื่อรวมบทเฉพาะกาล

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า โปรดกระหม่อม พระราชทานรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2560ซึ่งมีทั้งสิ้น 279 มาตรา 16 หมวด และบทเฉพาะกาล