ทำไมต้องมีพระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.) ว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์

เพื่อนๆ จ๋า ก่อนจะโพสต์หรือคอมเมนต์อะไรในโลก social ต้องคิดให้มาก ๆ หน่อยน๊าา เพราะอะไรเหรอ เพราะเรามีพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2560 กันยังไงละจ๊ะ และมีผลบังคับใช้แล้วด้วย ซึ่งถ้าเราตามข่าวดารา คนนั้นโพสด่า บูลลี่คนนั้นคนนี้ จะโดนฟ้องเอาได้น๊าาาา เดียวเรามาดูกันว่า 13 ข้อ พ.ร.บ. คอมมีอะไรบ้าง

Show

13 ข้อ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ที่ต้องรู้ก่อนโพสต์

1. การกด Like
  - กด Like ได้ไม่ผิด พ.ร.บ.คอมฯ ยกเว้นการกดไลก์ฐานข้อมูลหรือข้อมูลที่มีผลกระทบต่อสังคม เศรษฐกิจ และความมั่นคงเสี่ยง หรือเรื่องเกี่ยวกับสถาบัน เข้าข่ายความผิดมาตรา 112 หรือมีความผิดร่วม เพราะฉะนั้นก่อนกดไลก์ต้องดูให้ดีก่อนนะคะ ไม่อย่างนั้นจะกลายเป็นว่าเราเห็นด้วยกับโพสต์ที่เข้าข่ายมีความผิด

2. กด Share
   - อีกเรื่องที่ควรระวัง นั่นคือการกด Share นั่นเองค่ะ หากเราแชร์ข้อมูลที่มีความผิดโดยไม่ไตร่ตรองก่อน ถือเป็นการเผยแพร่ หากข้อมูลที่แชร์มีผลกระทบต่อผู้อื่น อาจเข้าข่ายความผิดตาม พ.ร.บ.คอมฯ โดยเฉพาะที่กระทบต่อบุคคลที่ 3 

3. แอดมินเพจ
   - หากลูกเพจมีการแสดงความคิดเห็นที่มีความผิด พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ เมื่อแอดมินพบเห็นและลบออกจากพื้นที่ที่ตนดูแลแล้ว จะถือเป็นผู้พ้นผิด จะต้องคอยสอดส่องลูกเพจของตัวเองให้ดีเลยนะคะ เดี๋ยวจะมีความผิดได้แบบไม่รู้ตัว

4. สิ่งลามกอนาจาร
  - ไม่โพสต์สิ่งลามกอนาจาร ที่ทำให้เกิดการเผยแพร่สู่ประชาชนได้ 

5. โพสต์เกี่ยวกับเด็ก
  - อันนี้ต้องระวังไม่แพ้กันค่ะ การโพสต์เกี่ยวกับเด็ก เยาวชน หากไม่ได้รับการยินยอมจากเด็กต้องมีปิดบังใบหน้า ยกเว้นเมื่อเป็นการเชิดชู ชื่นชมอย่างให้เกียรติ 

6. ข้อมูลผู้เสียชีวิต
   - การให้ข้อมูลเกี่ยวกับผู้เสียชีวิต ต้องไม่ทำให้เกิดความเสื่อมเสียชื่อเสียง หรือถูกดูหมิ่น เกลียดชัง ญาติสามารถฟ้องร้องได้ตามกฎหมาย เช่นข่าวการเสียชีวิตดาราดัง แล้วมีคนโพสภาพศพ แบบนี้ไม่ได้น๊าาา

7. การโพสต์ด่าว่าผู้อื่น
  - การโพสต์ด่าว่าผู้อื่น มีกฎหมายอาญาอยู่แล้ว ไม่มีข้อมูลจริง หรือถูกตัดต่อ ผู้ถูกกล่าวหาเอาผิดผู้โพสต์ได้ และมีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรับไม่เกิน 200,000 บาท ใครที่ชอบวิจารณ์ดาราแรง ๆ ระวังด้วยน๊าา

8. ละเมิดลิขสิทธิ์ผู้ใด
   - ไม่ทำการละเมิดลิขสิทธิ์ผู้ใด ไม่ว่าข้อความ เพลง รูปภาพ หรือวิดีโอ เช่น การเอาเพลง หรือรูปภาพมาใช้โดยไม่ได้รับอนุญาต ก็สามารถโดนฟ้องได้

9. ส่งรูปภาพ
  - ส่งรูปภาพแชร์ของผู้อื่น เช่น สวัสดี อวยพร ไม่ผิด ถ้าไม่เอาภาพไปใช้ในเชิงพาณิชย์ หารายได้

10. ฝากร้าน
   - การฝากร้านถือเป็นรบกวนผู้อื่น การฝากร้านใน Facebook, IG ถือเป็นสแปม ปรับ 200,000 บาท เพราะฉะนั้นควรฝากร้านในพื้นที่ที่ให้ฝากเท่านั้น

11. ส่ง Email ขายของ
   - ส่ง Email ขายของ ถือเป็นสแปม ปรับ 200,000 บาท

12. ส่ง SMS โฆษณา
   - ส่ง SMS โฆษณา โดยไม่ได้รับความยินยอม ให้ผู้รับสามารถปฏิเสธข้อมูลนั้นได้ ไม่เช่นนั้นถือเป็นสแปม ปรับ 200,000 บาท

13. พบข้อมูลผิดกฎหมาย
   - หากพบว่าการแสดงความเห็นผิดกฎหมายที่เจ้าของเครื่องไม่ได้ทำเอง สามารถแจ้งไปที่หน่วยงานที่รับผิดชอบเพื่อลบได้ทันที เจ้าของระบบเว็บไซต์จะไม่มีความผิด

ขอบคุณข้อมูลดีดีจาก : https://www.wongnai.com/articles/thai-cyber-law

สรุปแล้ว พ.ร.บ. คอม คืออะไร เพราะถ้าหากใช้ไม่ระมัดระวัง เราอาจเผลอทำผิดกฎหมายก็ได้นะ ซึ่งในบทความนี้เรามาทบทวนสักหน่อยว่า พรบ. คอมพิวเตอร์ สรุป แล้วคืออะไรและมีเรื่องอะไรบ้างที่ผู้ใช้อินเตอร์เน็ตไม่ควรทำเพราในปัจจุบันมีคนใช้คอมพิวเตอร์ และสมาร์ตเป็นจำนวนมากขึ้น

ทำไมต้องมีพระราชบัญญัติ(พ.ร.บ.) ว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์

มาทำความรู้จักกับ พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ ฉบับล่าสุด

พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ ฉบับล่าสุด เป็นกฎหมายที่ว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ โน็ตบุ๊ค สมาร์ตโฟน รวมไปถึงระบบต่าง ๆ ที่ถูกควบคุมการกระทำระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็น พรบ คอม ที่ออกมาเพื่อป้องกัน และควบคุมการกระทำผิดที่จะเกิดขึ้นได้การใช้คอมพิวเตอร์ หากผู้ใดกระทำผิดก็จะต้องได้รับการลงโทษตามที่ พระราชบัญญัติคอมพิวเตอร์ 2560 กำหนดไว้

ดังนั้นเรามาดูกันเลยว่าข้อห้ามที่สำคัญที่ผู้ใช้อินเตอร์เน็ต “ไม่ควรทำ” มีอะไรบ้าง

1. แฮคเฟสบุ๊ค!! (มาตรา 5-8)

การปล่อยไวรัส หรือมัลแวร์เข้าคอมพิวเตอร์คนอื่นเพื่อขโมยข้อมูล โดยที่เจ้าของไม่อนุญาต (ละเมิด Privacy) มีโทษฐานผิด พรบ.คอมพิวเตอร์ โดย

  • เข้าถึงระบบคอมพิวเตอร์ จำคุกไม่เกิน 6 เดือน ปรับไม่เกิน 1 หมื่นบาท
  • เข้าถึงข้อมูลคอมพิวเตอร์ จำคุกไม่เกิน 2 ปี ปรับไม่เกิน 4 หมื่นบาท
  • นำมาตรการป้องกันระบบไปเผยแพร่ จำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับไม่เกิน 2 หมื่นบาท
  • ดักรับข้อมูลคอมพิวเตอร์ จำคุกไม่เกิน 2 ปี ปรับไม่เกิน 4 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ!!

2. หยุด!! แก้ไข ดัดแปลงข้อมูล (มาตรา 9-10)

การเข้าไปขัดขวาง ทำร้ายระบบ รวมทั้งเข้าไปดัดแปลง หรือทำลายข้อมูล ทำให้ข้อมูลของฝ่ายตรงข้ามเสียหายผิด พรบ.คอมพิวเตอร์ มีโทษจำคุก 5 ปี ปรับไม่เกิน 1 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

3. ห้าม!! ฝากร้านตาม Facebook และ IG เด็ดขาด! (มาตรา 11)

สำหรับพ่อค้าแม่ขายบนโลกออนไลน์เน้นย้ำ!! เรื่องการส่งอีเมลขายของโดยที่ลูกค้าไม่ยินดีที่จะรับนั้นถือเป็นการสแปม หรือแม้แต่การฝากร้านตาม Facebook และ IG ก็ตามมีโทษตาม พรบ.คอมพิวเตอร์โดยปรับไม่เกิน 1 แสนบาท จำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือทั้งจำทั้งปรับ

4. อย่า!! แอบเข้าระบบของหน่วยงานภาครัฐ (มาตรา 12)

การเข้าถึงระบบ หรือข้อมูลด้านความมั่นคงรวมถึงการโพสเนื้อหาที่ส่งผลต่อความมั่นคงต่อประเทศบนโลกออนไลน์ที่เข้าข่ายข้อมูลเท็จที่ทำให้ประชาชนเกิดอาการตื่นตระหนก มีโทษแบ่งตาม พรบ. คอมพิวเตอร์เป็นกรณีดังนี้

  • กรณีไม่เกิดความเสียหาย จำคุก 1-7 ปี และปรับ 2 หมื่น – 1.4 แสนบาท
  • กรณีเกิดความเสียหาย จำคุก 1-10 ปี และปรับ 2 – 2 แสนบาท
  • กรณีเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย จำคุก 5 – 20 ปี และปรับ 1 แสน – 4 แสนบาท

5. โพสต์ข่าวปลอมก่อให้เกิดความเสียหาย (มาตรา 14)

แล้วโพสต์อะไรบ้างล่ะที่เรียกว่าผิด พรบ.คอมพิวเตอร์ เริ่มจากการโพสต์ ข่าวปลอม ธุรกิจลูกโซ่ ที่ต้องการจะหลอกเอาเงินจากลูกค้า โพสต์เกี่ยวกับความมั่นคงปลอดภัยรวมทั้งการก่อการร้าย โพสต์ข้อมูลลามก โดยถ้าเกิดว่าส่งผลถึงประชาชน จะต้องจำคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับไม่เกิน 1 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ส่วนถ้าส่งผลต่อบุคคลใดบุคคลหนึ่ง จำคุกไม่เกิน 3 ปี ปรีบไม่เกิน 6 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

6. คอมเม้นในข่าวปล่อม (มาตรา 15)

การเข้าไปคอมเม้นแสดงความคิดเห็นในโพสที่มีเนื้อหาผิดกฎหมายก็จะกระทำ พระราชบัญญัติคอมพิวเตอร์ 2560 ถ้าไม่ยอมลบจะได้รับโทษเดียวกันกับมาตรา 14 เหมือนกันกับผู้โพสต์แต่ถ้าหากว่าลบออกไปแล้ว ถือว่าพ้นผิด

หมายเหตุ ผู้ให้บริการจะต้องเก็บรักษาข้อมูลการใช้งานไม่น้อยกว่า 90 วัน หรือในกรณีที่ศาลสั่งจะต้องเก็บข้อมูลไม่เกิน 2 ปี

7. ตัดต่อรูปภาพ (มาตรา 16)

การตัดต่อ ดัดแปลงภาพที่ทำให้ผู้อื่นเสียชื่อเสียง และเกิดความเสียหาย รวมทั้งโพสต์ภาพผู้เสียชีวิตที่ทำให้พ่อ – แม่ คู่สมรส หรือบุตรของผู้ตายเสียชื่อเสียง ดูหมิ่นเกลียดชัง หรือได้รับความอับอาย จะต้องจำคุกไม่เกิน 3 ปี และปรับไม่เกิน 2 แสนบาท

8. ต้องเก็บข้อมูลจราจรคอมพิวเตอร์ (มาตรา17)

หลายคนคงสงสัยว่าเวลาเราแชร์ข่าวปลอม โพสเรื่องหมิ่นประมาท แล้วเจ้าหน้าที่รัฐเค้าเอาหลักฐานที่ไหนมาจับเรา มาตรา 17 นี้เองที่ระบุว่าหากเราเป็นองค์กรหรือหน่วยงานที่ออกอินเตอร์เน็ตเราจำเป็นต้องติดตั้งระบบเก็บข้อมูลจราจรคอมพิวเตอร์ ลองสำรวจดูนะครับว่าบริษัทท่านได้ติดตั้งระบบจัดเก็บหรือยัง?? หากยังไม่จัดเก็บผู้บริหารและคณะกรรมการบริษัทจะต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าแสนบาท  สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่บทความ เก็บข้อมูลจราจรคอมพิวเตอร์อย่างไร? ให้ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ พรบ.คอม 2560    

สรุปแล้ว พรบ. คอม คือ ?

ถึงเวลาแล้วที่เรามาสำรวจดูว่า เรานั้นได้เผลอทำความผิด ตาม พรบ.คอม หรือเปล่า? เพราะข้อกฎหมายฉบับนี้เป็นเรื่องที่ใกล้ตัวมากสำหรับชาวเน็ต ดังนั้น พรบ. คอมพิวเตอร์ สรุป แล้วก็คือกฏหมายที่ออกแบบมาเพื่อคุ้มครองกลุ่มคนที่ใช้งานบนโลกออนไลน์ ถ้าหากรู้เท่าไม่ถึงการณ์หรือใช้อย่างไม่ระมัดระวัง เราอาจเผลอทำผิดกฎหมายก็ได้นะ ดังข่าวที่ออกมา ในบางเหตุการณ์ก็ก่อให้เกิดความเสียหายได้ในโลกอินเตอร์เน็ตได้

ทำไมเราจึงต้องมีความรู้เรื่อง พ.ร.บ

เนื่องจาก ... รถยนต์​เป็นกฎหมายภาคบังคับ ดังนั้นหากไม่ทำจะมีโทษเป็นค่าปรับดังนี้ กรณีเจ้าของรถไม่ทำ ... รถยนต์ มีโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท กรณีคนที่ไม่ใช่เจ้าของรถ ขับขี่รถคันที่ไม่ได้ทำหรือไม่ได้ต่ออายุ ประกัน ... รถยนต์ มีโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท

พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 ว่าด้วยเรื่องอะไร

(๑) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์ปลอมไม่ว่าทั้งหมดหรือบาง ส่วน หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน (๒) นำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ซึ่งข้อมูลคอมพิวเตอร์อันเป็นเท็จ โดยประการที่น่าจะเกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศหรือก่อให้เกิดความ ตื่นตระหนกแก่ประชาชน

ผิดพรบ.คอมพิวเตอร์ มีอะไรบ้าง

พ.ร.. คอมพิวเตอร์ มาตรา 9 | ตัวอย่างการกระทำผิด ทำลาย แก้ไข ดัดแปลง นำไฟล์อันตรายเข้าสู่คอม จนทำให้ข้อมูลคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นเสียหาย ตัวอย่างเช่น การนำไฟล์อันตราย เช่น ไวรัส มัลแวร์ มาสู่คอมพิวเตอร์ของเพื่อน หรือ คนรู้จัก จนระบบคอมพิวเตอร์เสียหาย การแฮคเกอร์ เข้าไปดูข้อมูลคอมพิวเตอร์คนอื่น โดยไม่ได้รับอนุญาต

การกระทำใดเป็นการกระทำที่ผิด พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำผิดทางคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2560

“ผู้ใดส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์แก่บุคคลอื่นอันมีลักษณะเป็นการก่อให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญแก่ผู้รับข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ โดยไม่เปิดโอกาสให้ผู้รับสามารถบอกเลิกหรือแจ้งความประสงค์เพื่อปฏิเสธการตอบรับได้โดยง่าย ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองแสนบาท