สมองเกียร์ออโต้มีหน้าที่อะไร

รถระบบเกียร์ออโต้สำคัญมาก อย่าให้ไปพังกลางทางเด็ดขาด เพราะถ้าเกียร์พังจะควบคุมรถไม่ได้ง่ายๆ เหมือนรถเกียร์ธรรมดา อาจเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุได้ง่ายอีกด้วย รู้เอาไว้ สัญญาณเตือน เกียร์ออโต้ใกล้พัง !!

เกียร์ออโต้ใกล้พัง เข้าเกียร์แล้วรถไม่ออกตัว

อาการรถที่เข้าเกียร์แล้วรถไม่ออกตัว หรือออกตัวช้า ไม่ว่าจะเป็นเกียร์เดินหน้าหรือถอยหลัง มักเป็นปัญหาที่เกิดกับรถที่จอดไว้ไม่ค่อยได้วิ่ง และขาดการบำรุงรักษา ทำให้น้ำมันเกียร์ลดลงไปต่ำกว่าระดับปกติ ดังนั้นควรตรวจเช็คน้ำมันเกียร์และเติมให้ได้ระดับพอดี แต่ถ้าเป็นรถที่วิ่งอยู่เป็นประจำ และผ่านการใช้งานมานานมากกว่า 100,000 กม. เป็นไปได้ว่าอาจมีชิ้นส่วนภายในระบบเกียร์สึกหรอ เช่น ชุดคลัตช์ ชุดวาล์ว เป็นต้น หากเป็นสาเหตุอย่างหลังนี้ต้องรีบแก้ไขด่วนก่อนละลุกลามใหญ่โตจนต้องเปลี่ยนเกียร์

เข้าเกียร์แล้วเกียร์กระตุก

อาการเกียร์กระตุกเมื่อเข้าเกียร์ D หรือเกียร์ R หากมีการกระตุกหรือกระชากเกิดขึ้น อาจเกิดจากการที่อุณหภูมิของเครื่องยนต์ยังเย็นอยู่ หรือน้ำมันเกียร์เย็นหรือร้อนเกินกำหนด ต้องตรวจเช็คระดับน้ำมันเกียร์ และดูคุณภาพของน้ำมันเกียร์ว่าถึงเวลาต้องเปลี่ยนน้ำมันเกียร์แล้วหรือยัง รวมไปถึงเช็คระบบระบายความร้อนของเครื่องยนต์ว่ามีการระบายความร้อนตามปกติหรือไม่

เกียร์เปลี่ยนเร็วหรือช้ากว่าปกติ

เกียร์เปลี่ยนเร็วก่อนถึงรอบ หรือถึงรอบแล้วเกียร์ยังไม่เปลี่ยน หากรถเป็นรุ่นที่มีสายเกียร์ เป็นไปได้ว่าปรับตั้งสายเกียร์ไม่ถูกต้อง ให้ปรับตั้งสายใหม่ หากควบคุมด้วยระบบไฟฟ้า ต้องเคลียร์เมมโมรีของสมองเกียร์ เช็ควาล์วน้ำมัน ซึ่งควรให้ช่างที่ชำนาญช่วยดูแล รวมไปถึงเช็คน้ำมันเกียร์ว่ามีปริมาณมากหรือน้อยเกินไป น้ำมันเกียร์เสื่อมสภาพแล้วหรือยัง ควรเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเกียร์ให้ได้น้ำมันที่ใหม่และสะอาด

เกียร์ไม่คิกดาวน์

การคิกดาวน์ คือการที่เราเหยียบคันเร่งจมมิดเพื่อใช้ในการเร่งแซง แต่ถ้าหากคิกดาวน์แล้วรถเร่งไม่ขึ้น จะกะจังหวะในการแซงผิดพลาด และหากมีรถสวนทางมาอันตรายแน่ๆ ซึ่งอาการเกียร์ไม่คิดดาวน์ สำหรับรถที่ใช้งานมานาน อาจเกิดจากการรั่วซึมภายในเกียร์ อาจต้องเปลี่ยนชิ้นส่วนภายในที่เสียหาย แต่ถ้าหากเคยซ่อมเกียร์หรือผ่าเกียร์มาแล้ว เป็นไปได้ว่าประกอบชิ้นส่วนผิดพลาดหรือใส่ไม่ครบ

เวลาออกตัวต้องเร่งเครื่องให้รอบสูงๆ

เวลารถจะออกตัว ต้องรอให้รถมีรอบสูงๆ หรือเร่งเครื่องแรงๆ ก่อนถึงจะออกตัวได้ แม้ว่าจะมีการวอร์มเครื่องก่อนแล้วก็ตาม ควรตรวจเช็คระดับน้ำมันเกียร์ให้อยู่ในระดับที่ถูกต้อง ถ้าน้ำมันเกียร์น้อยก็เติมให้พอดี คุณภาพของน้ำมันเกียร์ก็สำคัญ ถ้าน้ำมันเกียร์เสื่อมสภาพก็มีผลต่อการทำงานของระบบเกียร์ แต่ถ้าหากเช็คแล้วน้ำมันเกียร์ก็อยู่ปกติดี อาจเกิดจากผ้าคลัตช์สึกหรอ หรือมีชิ้นส่วนอื่นๆ สึกหรอ ควรเปลี่ยนชิ้นส่วนใหม่

จากที่กล่าวมาข้างต้น โดยส่วนใหญ่แล้วถ้าไม่เกิดที่การสึกหรอของชิ้นส่วนภายในระบบเกียร์ ก็อยู่ที่ปริมาณของน้ำมันเกียร์ และการเสื่อมสภาพของน้ำมันเกียร์ ดังนั้น จึงควรหมั่นเช็คระดับน้ำมันเกียร์ และเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเกียร์เมื่อถึงระยะเปลี่ยนถ่าย

สนใจช้อปผลิตภัณฑ์น้ำมันเกียร์ยูคอน ได้ที่

หนทางที่จะนำเราไปสู่อายุขัยยืนนานของการใช้เกียร์ออโตเมติกง่ายๆ ให้มีไว้สัก 10 ข้อ

1. ควรเปลี่ยนถ่าย ATF ให้ได้อย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง แม้ตามกำหนดที่โรงงานได้กำหนดไว้ในสมุดคู่มือถึง 40,000-45,000 km หรือราว 2-2 1/2 ปี ก็อย่าได้วางใจตามนั้น ด้วยว่าการจราจรของกรุงเทพฯ ติดๆ ขัดๆ ความร้อนสะสมสูงเกือบตลอดการใช้งานเดี๋ยว ON Gear หรือ OFF Gear อยู่โดยตลอดทั้งวันนานๆ ทีถึงได้มีโอกาสยืดเส้นยืดสายออกทางไกลหรือขึ้นทางด่วนวันหยุดกับเขาหน่อย นึง ความร้อนสะสมจากอุณหภูมิเฉลี่ยที่สูง และการใช้งานวิ่งๆ หยุดๆ ทำให้แรงดันน้ำมัน ATF สูง-ต่ำไม่คงที่ อุณหภูมิมักสูงตลอดเวลาจากแรงดันที่สูงๆ ต่ำๆ ดังนั้นการให้โอกาส AT (เกียร์ออโตเมติก) ได้ดื่มด่ำกับ ATF ใหม่ๆ สดๆ จึงเป็นเรื่องง่ายๆ ที่เราปฏิบัติได้ไม่ยาก อย่าถือว่าสิ้นเปลืองเลย

2. ไม่ควรโยกตำแหน่งเกียร์บ่อยควรให้โอกาสมันได้ทำ "หน้าที่อัตโนมัติ" ด้วยตัวของมันเองมากๆ หน่อย เพราะมันถูกออกแบบให้ทำงานตามลำดับขั้นตอนโดยใช้ความเร็วเป็นตัวกำหนดจังหวะ การเปลี่ยนเกียร์อยู่แล้วเป็นปกติวิสัย มีเจ้าของรถบางท่านที่เชื่อคำโฆษณาว่าเกียร์ออโต้สมัยใหม่สามารถโยกเปลี่ยน ได้ตามใจชอบ ก็เลยเอานิสัยเดิมที่เคยใช้รถเกียร์ธรรมดามาใช้กับ AT คือเชนจ์ขึ้น-ลง ปรากฏว่าอายุเกียร์ไม่ข้ามปีที่ 2 หรือไม่เกิน 40,000 กม. ด้วยซ้ำ พัง! สาเหตุก็มาจากการเปลี่ยนตำแหน่งเกียร์ทั้งวันจนเป็นนิสัย ชิ้นส่วนภายในเครียดตลอดเวลาความร้อนสูงจากแรงดัน ATF ที่สูงเกินไป ทำให้สึกหรอสูง จนแรงดัน ATF ไม่คงที่ ทุกอย่างพังหมดและพังอย่างเร็วซะด้วย บางท่านที่ไม่มากประสบการณ์ก็อาจเผลอกด Overdrive (เกียร์สำหรับลดรอบเครื่องยนต์) ไว้ทั้งวันโดยมิได้สังเกตอาการก็มี

3. ยุคหนึ่งเชื่อกันว่าถ้าติดไฟแดงก็ควร "พักเกียร์" คือเต็มใจปลดเกียร์เป็น N ทุกครั้งที่ติดไฟแดง โดยหวังว่าจะช่วยเป็นการพักเกียร์! แต่ความจริงกลับไม่ต้องทำเช่นนั้น การใช้งาน AT ให้ยืนนาน ควรเข้าใจว่าทุกครั้งที่เรา "OFF Gear" น้ำมัน ATF จะหยุดแรงดันของมันทันที จำ "หลุมฉิ่ง" Orifice Valve ที่มีลูกปืนเม็ดเล็กๆ ทนๆ กลิ้งอุดและเปิดวาล์ว ATF ได้ไหม ยามใดที่ ON Gear ลูกปืนในหลุมฉิ่งเหล่านี้จะเปิดให้ ATF ผ่านด้วยแรงดันน้ำมัน ATF ที่อัดอยู่เต็ม VB ( Valve body สมองเกียร์) เพื่อ hold ตำแหน่งเกียร์ D อยู่ แต่หากเราเข้าตำแหน่ง N เจ้า ATF ก็หยุดเดิน และไม่ "Standby" ลูกปืนเปิด-ปิด Orifice Valve ก็ปิดตัวลงนอนแอ้งแม้งใน "หลุมฉิ่ง" พอเราเข้าเกียร์ D เพื่อออกตัวในจังหวะไฟเขียว ...เท่านั้น ATF มันก็แย่งกันสูบฉีดด้วยแรงดันให้ไหลวกวนใน VB สมองเกียร์ จงคิดเอาเถิดว่า วันหนึ่งๆ หรือครั้งหนึ่งที่ได้ทำเช่นนี้แรงดัน ATF มันจะขึ้นๆ ลงๆ ตลอดเวลา ไม่ Constant สักที ของเหลว (ATF) เมื่อเคลื่อนตัวไหลไป-มาด้วยแรงดันบ่อยๆ ความร้อนก็ไม่คลายแต่กลับเพิ่มขึ้นๆ สี่แยกแล้วสี่แยกเล่า

หยุดแล้วหยุดเล่า Orifice Valve ต้องทำงานตลอดเวลา เดี๋ยวไหลเดี๋ยวหยุดกะปริบกะปรอย มันจะทนไหวหรือ ต่อไปนี้ให้ทำอย่างนี้ หากหยุดในชั่วแค่ 2-3 นาที ก็ควร "Hold D" เอาไว้ โดยเหยียบแป้นเบรกแทน แต่หากหยุดนานเกินกว่านี้ค่อยเข้า OFF Gear เป็น N อย่างน้อยก็ช่วยยืดอายุเกียร์ได้อีกโขเลย ด้วยวิธีง่ายๆ นี้ จำไว้ต่อไปนี้หยุดแป๊บเดียวไม่ต้องปลดเกียร์

4. อย่าปลดให้เป็น N (ว่าง) เพื่อให้รถไหล เพื่อช่วยประหยัดน้ำมันก่อนหยุดไฟแดง วิธีช่วยประหยัดน้ำมันเช่นนี้ไม่ดีแน่ แม้จะดีบ้างกับความประหยัดเชื้อเพลิงลิตรละ 10-15 บาท แต่เกียร์ออโต้มันไม่ชอบ ควรปล่อยให้มัน ON Gear ไปจนถึงไฟแดงดีกว่า แล้วแตะเบรกหยุดมันจะทนกว่ามากเลย อีกอย่าง ความประหยัดเชื้อเพลิงด้วยวิธีไหลในตำแหน่ง N ก็ช่วยประหยัดแค่ 2-3% เท่านั้นเอง พูดถึงค่าซ่อมเกียร์ราว 2-3 หมื่น จะคุ้มหรือ

5. การ Take Off แบบในหนัง คือออกรถให้ล้อเอี๊ยดโชว์นั่นอย่าทำเป็นอันขาด สิ่งที่จะพังเร็วคือ FP (Friction Plate) ที่เรียงเป็นตับอยู่ในเรือนเกียร์ มันจะสึกจากความร้อนที่เสียดสีฉับพลัน น้ำมัน ATF ก็ร้อนสูง (ฮีต) บ่อยๆ เข้า เจ้า FP ซึ่งหนาแค่ 2-3 มิลลิเมตร ก็ไหม้ได้ นึกถึงภาพเบิ้ลคันเร่ง บรื้นๆๆ... ในขณะที่ AT อยู่ในตำแหน่ง N วัดรอบขึ้นไปตั้ง 3,000-5,000 rpm แล้วโยกมาที่ N ทันที "จ๊ากโชว์" ได้แน่ แต่ตับไตไส้พุงของ AT มันจะพังคาที่ ในการทำเช่นนี้ไม่ถึง 10 ที ลำพังเจ้าของแบบเราๆ คงไม่ทำเช่นนี้แต่กล่าวเผื่อไว้สำหรับวัยรุ่นรถซิ่ง แอบเอารถคุณพ่อคุณแม่ หรือเด็กอู่บางคนแอบเอารถลูกค้าไปซิ่งเล่น ปรากฏว่าพัง พังชั่วไม่ข้ามคืนนี้แหละ ฉะนั้น อย่า Take Off เพื่อ Show Off เป็นอันขาด

6. ขณะลากจูง หรือใช้ระบบ "Fly in Four" หรือ "Shift on the Fly" ควรศึกษาคู่มือให้ดีก่อนอื่นให้ทราบจากผู้ขาย หรือคำโฆษณา หรือคู่มือประจำรถก่อนว่าเขากำหนดความเร็วในการเล่นฟังก์ชันไว้เท่าใด ในเกียร์ AT ยุคก่อน ในกรณีต้องลากจูงรถ เขาจะกำหนดความเร็วมักไม่เกิน 40 กม./ชม. ซึ่งเร็วแค่นี้จะไม่เป็นการทำลายเกียร์ ในรถรุ่นใหม่ เกียร์ CPU อาจลากได้เร็วขึ้นถึง 60-80 กม./ชม. แต่หากไม่แน่ใจ ควรลากไปเรื่อยๆ ที่ความเร็ว 40-50 กม./ชม. แค่นี้ดีมาก ไม่ว่าเกียร์ออโต้ของเราจะเป็นยุคไหนๆ ปลอดภัย ถนอมมันเอาไว้ก่อนจะดีกว่า

ส่วนรถ OFF Road 4x4 ประดามีที่โฆษณากันว่าเปลี่ยนเป็นขับ 4 ล้อได้ ในขณะที่วิ่งเร็วๆ เราเจ้าของรถก็ควรเข้าใจให้ถ่องแท้ว่า ในคู่มือกำหนดไว้เช่นไร ที่ความเร็วไม่เกินเท่าไร ก็สมควรปฏิบัติตามนั้นฟังก์ชันเปลี่ยนระบบขับเคลื่อนจาก 2 ล้อ มาเป็น 4 ล้อ ขณะรถวิ่งถูกเรียกว่า "Fly in Four" หรือ "Shift on the Fly" จะกำหนดไว้เฉพาะการขับเคลื่อนจาก 2H มาเป็น 4H หรือจากขับเคลื่อนปกติ 2 High เป็น 4 High เท่านั้น ความเร็วที่โฆษณาไว้ก็แถวๆ 60-80 กม./ชม. ไม่ถึง 100 กม./ชม. เพราะอัตราทดเกียร์ของแต่ละยี่ห้อที่โฆษณารวมถึง เส้นรอบวงจากขนาดของวงล้อก็อาจมีการเปลี่ยนแปลงและถูกหลงลืม ดังนั้นควร "เมคชัวร์" ในการ Shift on the Fly หรือเปลี่ยนเกียร์จาก 2H มาเป็น 4H ด้วยการใช้ความเร็วต่ำๆ เข้าไว้จะชัวร์กว่า อย่าเปลี่ยนที่ความเร็วระดับ 100 เลย เขาโฆษณาว่าทำได้จริงอยู่ แต่จะทำได้แค่ไหน หรืออายุเกียร์ AT จะทนในอายุการใช้งานเท่าใด เราผู้เป็นเจ้าของรถเท่านั้นที่รับผิดชอบ

หากทำอะไรในความเร็วที่เกินเลยไป บางทีรถอาจพลิกคว่ำในความเร็วขณะที่เปลี่ยน 2H เป็น 4H หรือไม่ก็เกียร์ AT อาจพังเร็วขึ้นที่แน่ๆ หากจะใช้ Shift on the Fly (เปลี่ยนจาก 2H เป็น 4H) ขณะรถวิ่ง ควรให้ตำแหน่งเกียร์อยู่ที่ D (อย่าไปที่ D อื่นๆ) และความเร็วแถวๆ 40-50 กม./ชม. ก็จะดี อย่าเชื่อโฆษณาอย่างเดียว ควรใช้หลักความจริงของเกียร์ AT เข้าไว้

7. ไม่ควรใส่อะไรผสมลงไปใน ATF ..หัวเชื้อน้ำมันเกียร์ AT เพราะเกียร์ AT ต่างกับเกียร์ธรรมดา 5 สปีด (Manaul 5 Speed) ที่เราเคยใช้ เจ้าอย่างหลังนี่มีหัวเชื้อดีๆ (Additive Fluid) ก็จะช่วยให้ชุดเกียร์หมุนลื่น หมุนเงียบขึ้น แน่นอน เกียร์ธรรมดาถ้าหมุนคล่อง ลื่นดี เกียร์เข้าง่าย เชนจ์เกียร์ได้ฉับไว ขับได้สนุก แต่เกียร์ AT มันไม่สนครับ เพราะ FP Friction Plate ทำหน้าที่ตามชื่อของมันอยู่แล้ว ความลื่นเหลือล้นในน้ำมัน ATF จึงห้ามเด็ดขาด ควรยืนยันใช้เบอร์เดียว มาตรฐานเดียวกับที่สมุดคู่มือประจำรถกำหนดไว้เท่านั้น อย่างยิ่ง หรือหย่อนจากที่กำหนดในคู่มือโดยเด็ดขาด
คำถามที่ว่าน้ำมัน ATF แบบสังเคราะห์สมัยใหม่ที่เหนือมาตรฐานกำหนด ใช้ได้หรือไม่นั้น ควรสอบถามศูนย์บริการหรือผู้ชำนาญดูก่อน หรือไม่งั้นใช้ตาม spec เดิม เพียงแต่ขยันเปลี่ยนหน่อยเท่านั้นเอง

8. ก่อนเข้า D ควรเหยียบแป้นเบรกไว้ก่อนหรือไม่ จะเหยียบก็ได้ หรือไม่ต้องก็ได้ ในกรณีที่เหยียบแป้นเบรกไว้ก็เพื่อไม่ให้รถกระตุกในขณะที่เข้า D เท่านั้นเอง หากเป็นรถเก่า เกียร์รุ่นเก่าๆ เวลา On gear จะกระตุกจนตกใจ ก็ควรเหยียบแป้นเบรกให้เป็นนิสัยก่อนเข้า D เพราะเกียร์ AT รุ่นเก่าจะกระตุกมากจนน่ารำคาญ รวมไปถึงเกียร์ AT ที่มีอายุการใช้งานมานมนานหลายปีอาจมีอาการสึกหรอให้เห็นชัดด้วยอาการกระตุก อย่างแรงน่ารำคาญ การเหยียบแป้นเบรกเพื่อช่วย On gear ด้วยความนุ่มนวลไว้ก่อนเข้า D ก็เป็นสิ่งที่น่าทำ ส่วนจำเป็นมากน้อยอย่างไรก็แล้วแต่กรณี แต่ถ้าเหยียบแป้นเบรกจนเป็นนิสัยก็ไม่ลำบากแต่อย่างใด

9. หมั่นสังเกตอาการกระตุกของ AT ยามใดที่เรารู้สึกว่าเกียร์ AT ที่เราใช้อยู่ทุกวันมันเกิดกระตุกยิ่งกว่าเดิม อย่าวางใจ ควรพบช่างเพื่อปรับตั้ง "Vacuum Control : VC" ทันที อย่าแกล้งเมิน บางทีอาการกระตุกของ AT จะหายได้ง่ายๆ ด้วยการปรับตั้ง VC เท่านั้นเอง แป๊บเดียวก็เสร็จ แต่ถ้าหาก VC ถูกใช้มานานหลายปีดีดักแล้วละก็ สมควรสั่งอะไหล่มาเปลี่ยนใหม่ไม่ควรซ่อม เพราะชื่อมันก็บอกว่าเป็น Vacuum ซึ่งความหมายก็คือ มันทำงานด้วยสุญญากาศเท่านั้น เสียแล้ว เสื่อมแล้ว รั่วแล้วซ่อมไม่ได้ ต้องเปลี่ยนยกชุดของแท้ แต่หากเปลี่ยน VC ใหม่ยกชุดแล้ว ยังมีอาการ คราวนี้ก็ควรล้างสมองเกียร์ VB ด้วยน้ำยา Flush & Fill สักที หากไม่ปล่อยให้อาการนี้เกิดขึ้นนานจนลำบากยุ่งยากละก็ แค่ล้างด้วยน้ำมัน Flush & Fill เดี๋ยวเดียว ชุด VB สมองเกียร์ ก็สะอาดเอี่ยมอีกครั้ง ไม่กระตุกอีกต่อไปชั่วระยะเวลาอีกนานปี

10. หลังจากสตาร์ทรถเกียร์ AT แล้ว อย่าผละออกจากรถไปที่อื่น บางครั้งเจ้าของรถอาจเผลอเข้าตำแหน่ง D เอาไว้โดยไม่รู้ตัว ลำพังเมื่อเปิด แอร์ เอาไว้ เจ้าอุปกรณ์ Idle UP Speed หรือเรียกกันว่า "Vacuum Air" อาจตัดเอาดื้อๆ เพราะอุณหภูมิความเย็นหนาวของแอร์แต่ละเวลา เย็นเร็วเย็นช้าไม่เท่ากัน ที่ตำแหน่งเกียร์ D บางครั้งเมื่อมีโหลดแอร์ รถเราถูกโหลดด้วยการเปิดแอร์ รถก็อาจจะหยุดนิ่งได้ แต่พอ Vacuum Air ตัด เครื่องยนต์ก็ปลดโหลดแอร์ไปอีกหน่อย รอบเครื่องยนต์เร่งขึ้นเอง ราว 500-700 rpm ก็อาจจะส่งผลโดยตรงให้เกียร์ ON D ทันที รถอาจวิ่งออกไปได้ดื้อๆ หรือบางทีโรงจอดรถเป็นเนินลาดขึ้น พอ Vacuum Air ตัด รอบก็เร่ง 500-700 rpm อาจจะทำให้รถวิ่งเองได้ด้วยเกียร์ D ที่เผลอเข้าเอาไว้

ที่มา
http://www.bmweasternclub.com/forum/index.php?topic=4953.0