แบบฟอร์มหนังสือรับรองฐานะทางการเงิน

เข้าสู่ระบบ

Show

หนังสือรับรองฐานะทางการเงินของธนาคาร

ขอสอบถามค่ะ ว่าในการจัดตั้งบริษัทที่มีกรรมการเป็นคนต่างชาติต้องใช้เอกสารรับรองฐานะทางการเงินของผู้ถือหุ้นจากธนาคาร โดยไม่สามารถใช้ book bank ได้ใช่มั้ยคะ <br> <br> แล้วกรณีที่ต้องใช้เอกสารรับรองจากธนาคาร ตรงรายละเอียดเกี่ยวกับยอดเงินฝากจำเป็นต้องระบุเป็นตัวเลขครบทุกหลักมั้ยคะ ถ้าระบุแค่จำนวนหลัก โดยที่จำนวนหลักนั้นมากกว่าค่าหุ้นได้มั้ยคะ รบกวนสอบถามด้วยนะคะ ขอบคถณค่ะ

สวรส สนเอี่ยม 19 พฤษภาคม 2557 17:00:04 IP: 61.90.1.232

ขอเชิญร่วมแสดงความคิดเห็น (ถ้อยคำที่สุภาพ สร้างสรรค์ เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม)

กรุณาเข้าสู่ระบบก่อนแสดงความคิดเห็น

เจ้าหน้าที่บางคนก็อาจจะต้องเปิดแฟ้มดูประกอบเพราะสาขานั้น ๆ อาจจะไม่ค่อยได้ทำเอกสารภาษาอังกฤษ ก็จะมีจังหวะที่ไม่คุ้น หรือไม่ถนัดบ้างครับ เป็นปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นได้บ่อย ๆ ในบางสาขานะครับ  ดังนั้นมาตรฐานการให้คำแนะนำในแต่ละที่แต่ละสาขาก็ต่างกัน ให้สังเกตว่าหากขอเนื้อหาอะไรที่ธนาคารนั้น ๆ ที่อาจจะไม่คุ้นเคยในการทำ เจ้าหน้าที่อาจจะปฏิเสธได้ว่าไม่มี หรือทำไม่ได้ เนื่องจากบางสาขานั้น ๆ อาจจะไม่เคยทำมาก่อน หรือไม่กล้าปรับเปลี่ยนฟอร์มอะไร ถึงแม้ว่าสิ่งที่ลูกค้าขอให้เพิ่มจะเป็นสิ่งที่เป็นมาตรฐาน  ยกตัวอย่างในบางธนาคาร ย้ำนะครับ บางสาขา บอกว่าใส่เลขบัญชีของลูกค้าไม่ได้ เพราะว่าฟอร์มจากสาขาใหญ่ให้มาแบบนี้  ซึ่งแท้จริงแล้วสันนิษฐานว่า ก็อาจจะไม่เคยทำมาก่อน แต่ในขณะที่แบงค์ยี่ห้อเดียวแต่สาขาอื่นใส่ได้ ก็ให้เข้าใจไว้ก่อนได้ว่าสาขาที่รับเรื่องต่างประเทศบ่อย ๆ พนักงานก็จะคุ้นชินก็จะดูว่องไวกว่านั้นเอง

ทำไมจำเป็นต้องขอเอกสารนี้ในการขอวีซ่า?

เหตุผลก็คือ เมื่อเราเดินทางต่างประเทศ รูปแบบเงินที่แสดงใน Bank statement  ในบ้านเรายังไม่สามารถเปลี่ยนข้อมูลบางอย่างให้เป็นภาษาอังกฤษได้ (บางธนาคารทำได้ครับ) และยอดเงินเป็นไทยบาทอยู่ ดังนั้น หากจะยื่นขอวีซ่าจึงจำเป็นต้องมีเอกสารนี้ประกอบเพื่อให้ธนาคารคำนวนเป็นค่าเงินสกุลนั้น ๆ อย่างน้อยก็มีเป็น US dollar มาตราฐานที่ยังสามารถใช้ได้ทั่วโลกนั้นเอง

แบบฟอร์มหนังสือรับรองฐานะทางการเงิน

ตัวอย่าง Sample Bank Statement UK

ธนาคารในต่างประเทศ จะมีรายละเอียดของหัวจดหมาย จะมีชื่อ ที่อยู่ เลขบัญชี Sort Code  IBAN มาในหัวจดหมายอยู่แล้วในแต่ละรอบเดือน สำหรับการขอวีซ่า ในต่างประเทศมีกฎในการยื่นวีซ่าอย่างชัดเจนว่า ถึงข้อกำหนดในการยื่นเอกสารทางกาเงินต้องมีรายละเอียดอะไร และจะมีข้อห้ามว่า ห้ามใช้ Ad hoc statement คือเอกสารปริ้นจากตู้ หรือ internet banking แบบเร็ว ๆ ไม่มีหัวจดหมายเป็นต้น

ดังนั้น การยื่นเอกสาร Bank Guarantee ควบคู่กับ Bank Statement ก็จะทำให้เจ้าหน้าที่ในต่างประเทศเข้าใจได้ง่ายนั้นเอง เพราะว่ารูปแบบฟอร์มของเราไม่มีภาษาอังกฤษนั้นเองครับ นอกจากนั้นการยื่นควบคู่ก็ช่วยให้การพิจารณาไปในทิศทางบวกและไวขึ้นด้วยเจ้าหน้าที่เป็นต่างชาติ ก็นึกถึงว่าทำอย่างไรให้เค้าเข้าใจง่ายๆ ไวๆ นั้นเองครับ

จึงขอสรุปหน้าตารายละเอียดของแต่ละธนาคารมาให้ดูเป็นตัวอย่างไว้เลยละกันเพื่อลดระยะเวลาในการอธิบาย เมื่อต้องไปติดต่อที่ธนาคาร เมื่อเจ้าหน้าที่เห็นภาพจะช่วยให้เข้าใจและสื่อสารได้ดีขึ้นมากกว่า ดังนั้นจุดประสงค์ในการทำเนื้อหานี้ จะช่วยให้ทุกหน่วยงาน รวมถึงผู้ใช้บริการได้เห็นภาพชัดขึ้นว่าหน้าตาเอกสารแต่ละธนาคารเป็นอย่างไร เพื่อใช้ในการประกอบการสื่อสาร และแสดงตัวอย่างให้ดูน่าจะง่ายขึ้นครับ

ตัวอย่างหนังสือรับรองฐานะการเงิน

มาดูตัวอย่างของจดหมายรับรองฐานการเงินในแบงค์บ้านเรา เพื่อแสดงเอกสารนี้ให้เจ้าหน้าที่ธนาคารกันครับ

จากนโยบายภาครัฐที่มุ่งให้การสนับสนุนส่งเสริมการประกอบธุรกรรมการค้าระหว่างประเทศ โดยส่วนหนึ่งสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ได้รับมอบหมายจากราชการอันประกอบด้วยกรมศุลกากรและกรมสรรพากร ในการดำเนินการพิจารณาความน่าเชื่อถือทางธุรกิจของบริษัทที่มีความประสงค์จะยื่นขอรับสิทธิประโยชน์เพื่อการอำนวยความสะดวกทางการประกอบธุรกรรมการค้าระหว่างประเทศ อันประกอบด้วย

  • สิทธิเป็นผู้นำของเข้า ผู้ส่งของออก ระดับมาตรฐานเออีโอ เรื่อง ผู้นำของเข้า ผู้ส่งของออกระดับมาตรฐานเออีโอ

  • สิทธิประโยชน์ประเภทสิทธิลดอัตราอากรตามประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง การลดอัตราอากร และการยกเว้นอากรศุลกากร ตามมาตรา 12 แห่งพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2530

  • สิทธิประโยชน์จัดระดับเป็นผู้ส่งออกที่ดี และ สิทธิประโยชน์จัดระดับเป็นผู้ส่งออกขึ้นทะเบียน กรมสรรพากร

ประกาศกรมศุลกากร ฉบับที่ 120/2561 เรื่อง ผู้นำของเข้า ผู้ส่งของออกระดับมาตรฐานเออีโอ

ประกาศกรมศุลกากร เรื่อง การลดอัตราอากร และการยกเว้นอากรศุลกากร ตามมาตรา 12 (19 ทวิ)

ประกาศกรมสรรพากร ที่ ท.366/2564 เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดระดับเป็นผู้ประกอบการส่งออกที่ดีและผู้ประกอบการส่งออกขึ้นทะเบียน

  • กรอกแบบข้อมูลประกอบการยื่นขอหนังสือรับรองฐานะการเงินตามประเภทที่มีความประสงค์ พร้อมจัดเตรียมเอกสารประกอบการพิจารณาตามระเบียบปฏิบัติที่สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยกำหนด
  • ยื่นแบบข้อมูลพร้อมเอกสารประกอบการพิจารณามายังสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย โดยการยื่นเรื่องต่างๆ สามารถดำเนินการได้ 2 แนวทาง ดังนี้ 1) การยื่นเรื่องด้วยตนเอง และ 2) การยื่นเรื่องผ่านทางไปรษณีย์
  • เจ้าหน้าที่สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยจะทำการรับเรื่อง และตรวจสอบความครบถ้วน ความถูกต้องของเอกสาร
  • กระบวนการขั้นตอนการพิจารณา โดยกำหนดในรูปการประชุมคณะกรรมการ / คณะทำงาน ซึ่งมีการประชุมพิจารณาทุกเดือน
  • เจ้าหน้าที่ทำการแจ้งผลการพิจารณาไปยังผู้ประกอบการรับทราบ
  • การชำระค่าหนังสือรับรองฐานะการเงิน
  • สมาชิกสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ค่าธรรมเนียม 1,000 บาท (รวม VAT) พร้อมรับหนังสือรับรองฐานะการเงิน โดยสามารถทำการชำระผ่านทางธนาคาร หรือ ทำการชำระด้วยตนเอง ณ ที่ทำการของสำนักงานสภาอุตสาหกรรมฯ นั้นๆ

1. สิทธิเป็นผู้นำของเข้า ผู้ส่งของออก ระดับมาตรฐานเออีโอ ตามประกาศกรมศุลกากร 

  • ได้ใบรับรองสถานภาพการเป็นผู้ประกอบการทางเศรษฐกิจที่ได้รับอนุญาต
  • การนำของเข้า – การส่งของออก ให้ผ่านการตรวจสอบใบขนสินค้าทางช่องเขียว (Green Line) ของระบบ EDI รวมถึง ได้รับยกเว้นกระบวนการตรวจสอบจากเจ้าหน้าที่ศุลกากร เว้นแต่การสุ่มตรวจ
  • หากสินค้าต้องถูกตรวจทางกายภาพจะได้รับการอำนวยความสะดวกโดยรับการตรวจในลำดับแรกๆ
  • สินค้าที่ส่งออกจะได้รับการยอมรับจากศุลกากรต่างประเทศ
  • สิทธิพิเศษอื่นๆ ตามประกาศกรมศุลกากรกำหนด

แบบฟอร์มข้อมูลประกอบการขอหนังสือฐานะการเงิน

ตัวอย่างหนังสือรับรองวงเงินเครดิตจากธนาคาร

เอกสารประกอบการขอหนังสือรับรองฐานะการเงิน

ตัวอย่างรายงานแสดงข้อมูลยอดการนำเข้า-ส่งออก ในรอบ 3 ปี

หนังสือรับรองบริษัท
(ใช้กระดาษหัวจดหมายบริษัท)

2.สิทธิประโยชน์ขอลดอัตราอากรนำเข้ากึ่งหนึ่งตามมาตรา 19 ทวิ กรมศุลกากร

วัตถุดิบหรือสินค้าไม่ว่าจะจัดอยู่ในพิกัดประเภทใดที่นำเข้ามาใช้ผลิต ผสม ประกอบ หรือ บรรจุ เพื่อการส่งออกไปนอกราชอาณาจักรภายในหนึ่งปี นับตั้งแต่วันนำเข้าแล้วขอคืนอากรตามมาตรา 19 ทวิ สามารถลดอัตราอากรลงเหลือกึ่งหนึ่งของอัตราที่กำหนดเรียกเก็บเป็นการทั่วไป

แบบฟอร์มข้อมูลประกอบการขอหนังสือฐานะการเงิน

ตัวอย่างหนังสือรับรองวงเงินเครดิตจากธนาคาร

เอกสารประกอบการขอหนังสือรับรองฐานะการเงิน

ตัวอย่างรายงานแสดงข้อมูลยอดการนำเข้า-ส่งออก ในรอบ 3 ปี

หนังสือรับรองบริษัท
(ใช้กระดาษหัวจดหมายบริษัท)

3. สิทธิประโยชน์จัดระดับเป็นผู้ส่งออกที่ดี กรมสรรพากร

  • ผู้ประกอบการส่งออกที่ดี จะได้รับคืนภาษีมูลค่าเพิ่มที่รวดเร็วขึ้น
  • ยื่นแบบ ภ.พ.30 ผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต  จะได้รับคืนเงินภาษีมูลค่าเพิ่ม ภายใน 15 วัน
  • ยื่นแบบ ภ.พ.30 ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา จะได้รับคืนเงินภาษีมูลค่าเพิ่ม ภายใน 45 วัน
  • การได้รับการอำนวยความสะดวกด้านต่างๆ จากกรมสรรพากร และการรับข่าวสารอย่างต่อเนื่อง

แบบฟอร์มข้อมูลประกอบการขอหนังสือรับรองฐานะการเงิน (ผู้ส่งออกที่ดี)

หนังสือรับรองบริษัท
(ใช้กระดาษหัวจดหมายบริษัท)

เอกสารประกอบการขอหนังสือรับรองฐานะการเงิน

4. สิทธิประโยชน์การเป็นผู้ส่งออกขึ้นทะเบียน กรมสรรพากร

  • ผู้ประกอบการส่งออกขึ้นทะเบียน จะได้รับคืนภาษีมูลค่าเพิ่มที่รวดเร็วขึ้น
  • ยื่นแบบ ภ.พ.30 ผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต จะได้รับคืนเงินภาษีมูลค่าเพิ่ม ภายใน 30 วัน
  • ยื่นแบบ ภ.พ.30 ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา จะได้รับคืนเงินภาษีมูลค่าเพิ่ม ภายใน 60 วัน
  • การได้รับการอำนวยความสะดวกด้านต่างๆ จากกรมสรรพากร และการรับข่าวสารอย่างต่อเนื่อง

แบบฟอร์มข้อมูลประกอบการขอหนังสือรับรองฐานะการเงิน (ผู้ส่งออกขึ้นทะเบียน)

หนังสือรับรองบริษัท
(ใช้กระดาษหัวจดหมายบริษัท)

เอกสารประกอบการขอหนังสือรับรองฐานะการเงิน

กำหนดการส่งเอกสาร / การพิจารณา / วันรับหนังสือรับรอง

ตารางวันประชุม / พิจารณา คณะทำงานพิจารณาฐานะการเงิน ประจำปี 2565

(กรุณาส่งเอกสารก่อนล่วงหน้าวันพิจารณา อย่างน้อย 7 วันทำการ )

1. ส่งเอกสารทางไปรษณีย์

จ่าหน้าซอง งานออกหนังสือรับรองฐานะการเงิน สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เลขที่ 2 อาคารปฏิบัติการเทคโนโลยีเชิงสร้างสรรค์ ชั้น 7 ในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ ถนนนางลิ้นจี่ แขวงทุ่งมหาเมฆ เขตสาทร กรุงเทพมหานคร 10120

 2. ส่งเอกสารด้วยตนเอง

งานออกหนังสือรับรองฐานะการเงิน ฝ่ายทะเบียนและบริการสมาชิก สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย อาคารปฏิบัติการเทคโนโลยีเชิงสร้างสรรค์ ชั้น 7 ในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ ถนนนางลิ้นจี่ แขวงทุ่งมหาเมฆ เขตสาทร กรุงเทพมหานคร 10120

การประชุมคณะทำงานพิจารณาฐานะการเงินจะมีการประชุมพิจารณาเดือนละ 2 ครั้ง และหากไม่มีข้อแก้ไขหรือเพิ่มเติมประการใด เจ้าหน้าที่จะแจ้งให้สามารถรับเอกสารพร้อมชำระเงินค่าธรรมเนียม ทางโทรศัพท์

1. กรณีการขอรับเอกสารทางไปรษณีย์ (EMS)

โอนค่าธรรมเนียม สมาชิกสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ค่าธรรมเนียม 1,000 บาท (รวม VAT) รายละเอียดตามเอกสารแนบ (Click) พร้อม Peply E-mail ใบ pay in มายัง E-mail ที่ส่งไป เมื่อเจ้าหน้าที่ได้รับเอกสารเรียบร้อยแล้ว จะดำเนินการจัดส่งหนังสือรับรองฐานะการเงินไปให้ทางไปรษณีย์ (EMS)

หมายเหตุ : หนังสือรับรองฐานะการเงินจะสามารถจัดส่งให้ทางไปรษณีย์ให้บริษัท หลังจากได้รับการชำระเงินและได้เลขลำดับการโอนเงินจากฝ่ายบัญชีเรียบร้อยแล้วเท่านั้น

2. ชำระเงินด้วยตนเอง

กรณีมารับเอกสารด้วยตนเอง ให้เจ้าหน้าที่หรือผู้รับส่งเอกสารมารับเอกสารพร้อมกับนำเงินมาชำระที่สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย อาคารปฏิบัติการเทคโนโลยีเชิงสร้างสรรค์ ชั้น 7 ในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ

หมายเหตุ : ในกรณีโอนเงินมาก่อน ทางเจ้าหน้าที่จะออกใบเสร็จให้ได้ หลังจากได้รับการชำระเงินและได้เลขลำดับการโอนเงินจากฝ่ายบัญชีเรียบร้อยแล้วเท่านั้น

กรมสรรพากร (The Revenue Department)

ที่ตั้ง : 90 ซอยพหลโยธิน 7 ถนนพหลโยธิน แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400

เว็บไซต์ : http://www.rd.go.th
โทรศัพท์ : 0-2272-8035, 0-2272-8543, 0-2272-9122, 0-2272-9696, 0-2617-3551

กรมศุลกากร (Thai Customs Department)

ที่ตั้ง : 1 ถนนสุนทรโกษา แขวงคลองเตย เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110ที่ตั้ง : 1 ถนนสุนทรโกษา แขวงคลองเตย เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110
เว็บไซต์ : http://www.customs.go.th

  • ส่วนมาตรฐานเออีโอ สำนักมาตรฐานพิธีการและราคาศุลกากร

เว็บไซต์ : http://aeo.customs.go.th
โทรศัพท์ 02-667-7168, 02-667-7902
E-mail : 

  • กรณีสิทธิประโยชน์ 19 ทวิฯ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

ฝ่ายคืนอากรที่ 1  ผลิตภัณฑ์ส่งออก ประเภทอาหารแปรรูป พลาสติกและเคมีภัณฑ์
(พิกัดฯ ตอนที่ 1-39) โทรศัพท์ 02-667-7485

ฝ่ายคืนอากรที่ 2  ผลิตภัณฑ์ส่งออก ประเภทสิ่งทอและเครื่องหนัง
(พิกัดฯ ตอนที่ 40-63) โทรศัพท์ 02-667-7034

ฝ่ายคืนอากรที่ 3  ผลิตภัณฑ์ส่งออก ประเภทผลิตภัณฑ์อื่นๆ
(พิกัดฯ ตอนที่ 64-83 และ 93-97) โทรศัพท์ 02-667-7061

ฝ่ายคืนอากรที่ 4  ผลิตภัณฑ์ส่งออก ประเภทกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้า  และอุปกรณ์อิเล็คทรอนิคส์
(พิกัดฯ ตอนที่ 84-85 และ 90-92) โทรศัพท์ 02-667-7255

ฝ่ายคืนอากรที่ 5  ผลิตภัณฑ์ส่งออก ประเภทยานยนต์และส่วนประกอบยานยนต์
(พิกัดฯ ตอนที่ 86-89) โทรศัพท์02-667-7275