ซากดึกดําบรรพ์และซากดึกดําบรรพ์ดัชนีแตกต่างกันอย่างไร

               - ���觫ҡ�֡�Ӻ�þ��Ҷ�ҹ �������� �ѧ��Ѵ����� �����Թ�ٹ��Ѻ�Ѻ�Թ�Թ�ҹ �����ؤ����͹�����ʵ͹���¨��֧�ؤ�������¹�͹����� 300-270 ��ҹ�� ���ҡ�֡�Ӻ�þ����ª�Դ ���� �ä��;͵ ��¡Һ��� �С��ѧ �ù�´� ���ͫ�� �ͧ��������ͧ����ѵ��֡�Ӻ�þ�

ฟอสซิล (fossil) หรือ บรรพชีวิน หรือ ซากดึกดำบรรพ์ คือ ซากและร่องรอยของสิ่งมีชีวิตทั้งพืชและสัตว์ที่เคยอาศัยอยู่ในพื้นที่ต่างๆ ซึ่งเมื่อสิ่งมีชีวิตตายลง ในบางสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม ซากสิ่งมีชีวิตดังกล่าวอาจไม่ย่อยสลาย แต่จะถูกทับถมและฝังตัวอยู่ในชั้นตะกอน กลายเป็นฟอสซิล ปัจจุบัน นักบรรพชีวิน (paleontologist) ใช้ฟอสซิลในการศึกษาประวัติความเป็นมาของพื้นที่ต่างๆ ซึ่งสามารถบอกได้ทั้งอายุหรือช่วงเวลาของเหตุการณ์ หรือบางครั้งอาจจะบอกถึงสภาพแวดล้อมในแต่ละช่วงเวลานั้นด้วย

ฟอสซิลดัชนี (fossil index) คือ ซากของสิ่งมีชีวิตที่เคยแพร่กระจายอยู่โดยทั่วไปหรือทั่วโลก แต่มีชีวิตอยู่ในช่วงสั้นๆ และสูญพันธุ์ไป ได้แก่ ไทรโลไบต์ แกรพโตไลต์ ฟิวซูลินิด เป็นต้น ซึ่งการที่พบฟอสซิลดัชนีในชั้นหินที่อยู่ต่างพื้นที่กัน นักวิทยาศาสตร์สามารถกำหนดได้ว่าหินที่พบฟอสซิลดัชนีดังกล่าวมีอายุในช่วงเดียวกัน

ซากดึกดําบรรพ์และซากดึกดําบรรพ์ดัชนีแตกต่างกันอย่างไร
ตัวอย่างฟอสซิลดัชนี (ซ้าย) ไทรโลไบต์ ฟอสซิลดัชนียุคแคมเบรียน (ขวา) ฟิวซูลินิด ฟอสซิลดัชนียุคเพอร์เมียน

กระบวนการเกิดฟอสซิล (Fossilization)

1) ส่วนที่แข็งของสิ่งมีชีวิต (hard part) เมื่อสิ่งมีชีวิตล้มตายลงโครงร่างส่วนที่เป็นของแข็ง เช่น กระดูก ฟัน กะดอง กะโหลก จะถูกทับถมอย่างรวดเร็ว ทำให้แบคทีเรียไม่สามารถเจริญเติบโตได้ ซึ่งเมื่อเวลาผ่านไป ตะกอนกลายเป็นหิน ซากสิ่งมีชีวิตเหล่านั้นจะกลายเป็นฟอสซิล นอกจากนี้ในกรณีของพื้นที่ซึ่งหนาวเย็น ความเย็นยังสามารถช่วยเก็บรักษาซากพืชซากสัตว์เอาไว้ได้เช่นกัน เช่น ซากช้างแมมมอธที่ถูกฝังอยู่ใต้ธารน้ำแข็งแถบไซบีเรีย เป็นต้น

ซากดึกดําบรรพ์และซากดึกดําบรรพ์ดัชนีแตกต่างกันอย่างไร
ฟอสซิลส่วนที่แข็งของสิ่งมีชีวิต (บน) กระดูกไดโนเสาร์ (ซ้าย) ฟันปลาฉลาม (ขวา) เปลือกหอย

2) การกลายเป็นหิน (petrification) โดยเมื่อสิ่งมีชีวิตตายลง ช่องว่างในโครงสร้างของสิ่งมีชีวิตอาจมีแร่เข้าไปตกผลึกทำให้แข็งขึ้น ซึ่งในกรณีนี้ฟอสซิลโดยส่วนใหญ่จะเป็นต้นไม้ เรียกว่า ไม้กลายเป็นหิน (petrified wood) ซึ่งเกิดจากการที่สารละลายซิลิกาไหลแซกซึมและตกผลึกใหม่แข็งตัวอยู่ในช่องว่างภายในต้นไม้ หรือบางครั้งเนื้อเยื้อ ผนังเซลล์ และส่วนแข็งอื่นๆ อาจถูกแทนที่ด้วยแร่ได้เช่นกัน เรียกว่า กระบวนการแทนที่ (replacement)

ซากดึกดําบรรพ์และซากดึกดําบรรพ์ดัชนีแตกต่างกันอย่างไร
ฟอสซิลไม้กลายเป็นหิน

3) รอยพิมพ์ (mold) และรูปหล่อ (cast) ในกรณีของส่วนที่แข็งของสิ่งมีชีวิต เช่น เปลือกแข็งของไทรโลไบต์ที่ถูกทับถมอยู่ในชั้นตะกอน เมื่อเวลาผ่านไปเปลือกหอยดังกล่าวอาจถูกละลายไปกับน้ำใต้ดิน เกิดเป็นรอยประทับอยู่บนชั้นตะกอน เรียกว่า รอยพิมพ์ (mold) และหากช่องว่างนี้มีแร่เข้าไปตกผลึกใหม่ จะเกิดเป็นฟอสซิลในลักษณะที่เรียกว่า รูปหล่อ (cast)

ซากดึกดําบรรพ์และซากดึกดําบรรพ์ดัชนีแตกต่างกันอย่างไร
 (ซ้าย) รอยพิมพ์ (ขวา) รูปหล่อ

4) การเพิ่มคาร์บอน (carbonization) เกิดจากซากสิ่งมีชีวิตพวกใบไม้หรือสัตว์ขนาดเล็กที่ถูกทับถมด้วยตะกอนเนื้อละเอียด ซึ่งเมื่อเวลาผ่านไป ความดันที่เพิ่มขึ้นทำให้ส่วนประกอบที่เป็นของเหลวและก๊าซในซากสิ่งมีชีวิตถูกขับออก เหลือเพียงแต่แผ่นฟิล์มบางของธาตุคาร์บอน แต่หากแผ่นฟิล์มคาร์บอนดังกล่าวหลุดหายไป ร่องรอยที่ยังหลงเหลืออยู่ในชั้นตะกอนเนื้อละเอียดนี้จะเรียกว่า รอยประทับ (impression)

ซากดึกดําบรรพ์และซากดึกดําบรรพ์ดัชนีแตกต่างกันอย่างไร
รอยประทับของสิ่งมีชีวิตขนาดเล็ก

5) อำพัน (amber) ในกรณีของสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กที่มีลักษณะบอบบางเช่น แมลง การเก็บรักษาให้กลายเป็นฟอสซิลในสภาพแวดล้อมแบบปกตินั้นเป็นไปได้ยาก วิธีการที่เหมาะสมสำหรับสิ่งมีชีวิตเหล่านี้ คือ การเก็บไว้ในยางไม้ ซึ่งยางไม้นี้จะป้องกันสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กดังกล่าว จากการทำลายโดยธรรมชาติ

ซากดึกดําบรรพ์และซากดึกดําบรรพ์ดัชนีแตกต่างกันอย่างไร
ก้อนอำพันที่เก็บรักษาซากมดไว้ข้างใน

6) ร่องรอยของสิ่งมีชีวิต (track) นอกจากนี้ฟอสซิลอาจรวมถึงร่องรอยที่เกิดจากสิ่งมีชีวิต เช่น รอยตีน รอยคืบคลาน รู โพรง ไข่ ก้อนหินที่สัตว์กินเข้าไป (gastrolith) เพื่อช่วยในการย่อยอาหารหรือแม้แต่ มูลสัตว์หรือเศษอาหารที่อยู่ในกระเพาะ (coprolite) ก็ถือเป็นฟอสซิลได้เช่นกัน

ซากดึกดำบรรพ์คือ​ ซากของสิ่งมีชีวิตทั้งพืชและสัตว์ที่เคยอาศัยอยู่ในบริเวณนั้น เมื่อตายลงซากก็ถูกทับถมและฝังตัวอยู่ในชั้นหินตะกอน ซากดึกดำบรรพ์ดัชนี​เป็นซากดึกดำบรรพ์ที่มีความสำคัญมากในการกำหนดอายุของหิน สามารถบอกอายุได้แน่นอน เนื่องจากเป็นซากดึกดำบรรพ์ที่มีวิวัฒนาการทางโครงสร้างและรูปร่างอย่างรวดเร็ว มีความแตกต่างในแต่ละช่วงอายุอย่างเห็นเด่นชัด และปรากฏให้เห็นเพียงช่วงอายุหนึ่งแล้วก็สูญพันธุ์ไป

ซากดึกดำบรรพ์ดัชนี(index fossil) คือ ซากดึกดำบรรพ์ที่ถูกใช้เป็นตัวกำหนดและระบุระยะเวลาทางธรณีวิทยา เป็นซากดึกดำบรรพ์ที่บอกอายุได้แน่นอน เนื่องจากมีวิวัฒนาการทางโครงสร้างและรูปร่างอย่างรวดเร็ว มีความแตกต่างในแต่ละช่วงอายุอย่างเห็นเด่นชัด และปรากฏให้เห็นเพียงช่วงอายุหนึ่งแล้วก็สูญพันธุ์ไป เช่น ไตรโลไบท์ แกรพโตไลท์ ฟิวซิลินิด เป็นต้น ตัวอย่าง เช่น การพบซากดึกดำบรรพ์ไตรโลไบต์ในหินทรายแดงที่เกาะตะรุเตา จังหวัดสตูล ทำให้นักธรณีวิทยาบอกได้ว่าหินทรายแดงนั้นเป็นหินที่มีอายุประมาณ 570 - 505 ล้านปี หรือการพบซากดึกดำบรรพ์ฟิวซิลินิดในหินปูนที่บริเวณจังหวัดสระบุรี ทำให้นักธรณีวิทยาบอกได้ว่า หินปูนนั้นเป็นหินที่มีอายุประมาณ 286 - 245 ล้านปี เป็นต้น ตารางแสดงซากดึกดำบรรพ์ดัชนีในแต่ละยุค ไฟล์:Index_fossils.gif.

5 ความสัมพันธ์: หินปูนจังหวัดสระบุรีจังหวัดสตูลซากดึกดำบรรพ์เกาะตะรุเตา

ำหรับหินปูนในช่องปากให้ดูที่ คราบหินปูน หินปูน (limestone) เป็นหินในกลุ่มหินตะกอน มีชื่อวิทยาศาสตร์ที่รู้จักกันในหมู่นักธรณีว่า แร่แคลไซต์ (Calcite)(CaCO3) เป็นหินตะกอนคาร์บอเนต เกิดจากการทับถมของตะกอนคาร์บอเนตในท้องทะเล ทั้งจากสารอนินทรีย์ และซากสิ่งมีชีวิต เช่น ปะการัง และกระดองของสัตว์ทะเล ซึ่งถับถมกันภายใต้ความกดดันและตกผลึกใหม่เป็นแร่แคลไซต์จึงทำปฏิกิริยากับกรด เนื้อแน่นละเอียดทึบ มีสีออกขาว เทา ชมพู หรือสีดำ เพราะฉะนั้น อาจมีซากดึกดำบรรพ์ในหินได้ เช่น ซากหอย ปะการัง ภูเขาหินปูนมักมียอดยักแหลมเป็นหน้าผา และเป็นหินที่ละลายน้ำได้ดี.

ใหม่!!: ซากดึกดำบรรพ์ดัชนีและหินปูน · ดูเพิ่มเติม »

ังหวัดสระบุรี เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคกลางของประเทศไทย ตั้งอยู่ทางตะวันออกของภาคกลาง นับเป็นเสมือนด่านผ่านระหว่างภาคกลางกับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีแหล่งท่องเที่ยวมากมายทั้งทางประวัติศาสตร์และแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ และยังเป็นเมืองที่มีความสำคัญต่อภาคอุตสาหกรรมลำดับต้น ๆ ของประเทศไทย สภาพภูมิศาสตร์ของจังหวัดสระบุรี นับว่าเป็นทำเลแห่งการเพาะปลูก ได้รับความอุดมสมบูรณ์จากแม่น้ำสายหลัก คือแม่น้ำป่าสัก และสภาพโดยทั่วไปเป็นที่ราบลุ่ม.

ใหม่!!: ซากดึกดำบรรพ์ดัชนีและจังหวัดสระบุรี · ดูเพิ่มเติม »

ตูล เป็นจังหวัดที่อยู่ใต้สุดของประเทศไทย (ทางชายฝั่งทะเลอันดามัน) คำว่า สตูล มาจากคำภาษามลายูเกดะห์ว่า เซอตุล (ستول) (ภาษามาเลย์ว่า เซอตุล (setul)) แปลว่ากระท้อน ซึ่งเป็นผลไม้ชนิดหนึ่งที่ขึ้นอยู่ชุกชุมในท้องที่นี้ โดยชื่อเมือง นครสโตยมำบังสการา (Negeri Setoi Mumbang Segara) นั้นหมายความว่า สตูล เมืองแห่งพระสมุทรเทวา ดังนั้น "ตราพระสมุทรเทวา" จึงกลายเป็นตราหรือสัญลักษณ์ของจังหวัดมาตราบเท่าทุกวันนี้.

ใหม่!!: ซากดึกดำบรรพ์ดัชนีและจังหวัดสตูล · ดูเพิ่มเติม »

ซากดึกดำบรรพ์ หรือ บรรพชีวิน หรือ ฟอสซิล (fossil) คำว่า ฟอสซิล มีความหมายเดิมว่า เป็นของแปลกที่ขุดขึ้นมาได้จากพื้นดิน แต่ในปัจจุบันถูกนำมาใช้ในความหมายของซากหรือร่องรอยของสิ่งมีชีวิตดึกดำบรรพ์ที่ถูกแปรสภาพด้วยกระบวนการเกิดซากดึกดำบรรพ์และถูกเก็บรักษาไว้ในชั้นหิน โดยอาจประกอบไปด้วยซากเหลือของสัตว์ พืช หรือกลุ่มของสิ่งมีชีวิตอื่นใดๆที่ได้รับการจัดแบ่งจำแนกไว้ทางชีววิทยา และรวมถึงร่องรอยต่างๆของสิ่งมีชีวิตนั้น.

ใหม่!!: ซากดึกดำบรรพ์ดัชนีและซากดึกดำบรรพ์ · ดูเพิ่มเติม »

หาดของเกาะตะรุเตา อ่าวตะโละวาว เกาะตะรุเตา เป็นเกาะหลัก เกาะใหญ่ที่สุดในอุทยานแห่งชาติตะรุเตา ซึ่งประกอบด้วยเกาะน้อยใหญ่จำนวน 51 เกาะ ตั้งอยู่ในทะเลอันดามัน บริเวณช่องแคบมะละกา มหาสมุทรอินเดีย ในท้องที่อำเภอละงู จังหวัดสตูล ด้านใต้ของเขตอุทยานแห่งชาติตะรุเตา ห่างจากเกาะลังกาวี ของมาเลเซีย เพียง 4.8 กิโลเมตร รวมทั้งพื้นที่บนเกาะและทะเลประมาณ 931,250 ไร่ หรือ 1,490 ตารางกิโลเมตร คำว่า "ตะรุเตา" เป็นภาษามลายู เพี้ยนมาจากคำว่า ตือโละตาวาร์ (Teluk Tawar) แปลว่า "อ่าวจืด" หรือ "อ่าวน้ำจืด" เพราะบนเกาะแห่งนี้เป็นเกาะที่เดียวที่มีธารน้ำจืดอยู่ด้วย ในทางประวัติศาสตร์ ในปี..