องค์กรพัฒนาเอกชนด้านสิทธิมนุษยชน มีอะไรบ้าง

Home Know Sustainability Business and Human Rights

ธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน

องค์กรพัฒนาเอกชนด้านสิทธิมนุษยชน มีอะไรบ้าง

Show

สิทธิมนุษยชน หมายถึง ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์
สิทธิและเสรีภาพขั้นพื้นฐานที่มีมาแต่กำเนิดและความเสมอภาค
ที่จะไม่ถูกเลือกปฏิบัติด้วยเหตุแห่งเชื้อชาติ ศาสนา
เพศ สีผิว ภาษา เผ่าพันธุ์ หรือสถานะอื่นใด

(ที่มา: คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ)

ธุรกิจย่อมมีความเกี่ยวข้องกับ “มนุษย์” หรือ “คน” ทั้งทางตรงและทางอ้อม เช่น ลูกค้า คู่ค้า ผู้ส่งมอบ พนักงานและครอบครัวของพนักงาน ผู้ถือหุ้น ผู้ลงทุน ชุมชนรอบถิ่นที่ตั้งของธุรกิจหรือชุมชนไกล ฯลฯ ซึ่งในการดำเนินงานอาจจะส่งผลกระทบต่อกลุ่มเหล่านี้ไม่มากก็น้อยอย่างเลี่ยงไม่ได้ และหนึ่งในประเด็นความขัดแย้งสำคัญที่เกิดขึ้นบ่อยคือ เรื่องการละเมิดสิทธิมนุษยชน ที่หลายครั้งลุกลามจนเกิดเป็นคดีความฟ้องร้องกัน ดังนั้น การดูแลใส่ใจการเคารพสิทธิมนุษยชนของผู้เกี่ยวข้องจึงเป็นสิ่งที่ธุรกิจต้องให้ความสำคัญ โดยควรกําหนดแนวทางการดําเนินธุรกิจให้สอดคล้องกับหลักการคุ้มครองสิทธิมนุษยชนอย่างครอบคลุมตามกฎหมายของประเทศและหลักการสากล กำหนดกลยุทธ์และแผนในการบริหารจัดการความเสี่ยงที่อาจเกิดจากการละเมิดสิทธิมนุษยชน มีกลไกการคุ้มครองและเยียวยาเมื่อเกิดเหตุ รวมถึงเปิดโอกาสให้พนักงาน ชุมชนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมีส่วนร่วมหารือในประเด็นดังกล่าวเพื่อสร้างความเข้าใจ ความร่วมมือและสร้างประโยชน์ให้เกิดขึ้นพร้อมกัน

ประเด็นสิทธิมนุษยชนเป็นเรื่องค่อนข้างอ่อนไหวและสามารถเชื่อมโยงกับประเด็นอื่นๆ ที่อาจมีผลกระทบต่อเนื่องมายังการทำธุรกิจได้อย่างคาดไม่ถึง จึงนับเป็นความเสี่ยงสำคัญที่อยู่กับการดำเนินธุรกิจตลอดเวลา นอกจากนี้ยังมีความต้องการ การเรียกร้อง และแรงผลักดันจากสังคมที่ออกมาเคลื่อนไหวในเรื่องนี้อีกทางด้วย

กล่าวโดยสรุปธุรกิจต้อง ดำเนินงานโดยคำนึงถึงหลักสิทธิมนุษยชนอย่างจริงจัง และ สร้างให้กลายเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมองค์กร รวมถึงพลิกวิกฤตเป็นโอกาสด้วยการนำหลักสิทธิมนุษยชนไปสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาศักยภาพพนักงานภายในองค์กร คู่ค้า ตลอดจนทั้งห่วงโซ่อุปทาน และแน่นอนว่าหากธุรกิจมีการดูแลพนักงานที่ดีและสร้างสังคมรอบด้านที่ดีแล้ว องค์กรก็จะดีตามไปด้วย

หลักการชี้แนะว่าด้วยธุรกิจและสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ UN Guiding Principles on Business and Human Rights: UNGP

ด้วยความคาดหวังต่อการแสดงความรับผิดชอบด้านสิทธิมนุษยชนของผู้ประกอบการ องค์การสหประชาชาติได้จัดทำ หลักการชี้แนะด้านสิทธิมนุษยชนกับธุรกิจ (United Nations Framework and Guiding Principles on Business and Human Rights) หรือ UNGP สำหรับธุรกิจใช้เป็นแนวปฏิบัติในการเคารพสิทธิมนุษยชน โดยสาระสำคัญของหลักการนี้อยู่บนเสาหลัก 3 ประการ ซึ่งส่วนที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับธุรกิจคือเสาหลักที่ 2 และ 3

เสาหลักที่ 1: การคุ้มครองสิทธิมนุษยชน (Protect)

องค์กรพัฒนาเอกชนด้านสิทธิมนุษยชน มีอะไรบ้าง

หมายถึง รัฐมีหน้าที่คุ้มครองมิให้เกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจ ไม่ว่าจากองค์กรของรัฐเองหรือองค์กรภาคธุรกิจ

เสาหลักที่ 2: การเคารพสิทธิมนุษยชน (Respect)

องค์กรพัฒนาเอกชนด้านสิทธิมนุษยชน มีอะไรบ้าง

หมายถึง บุคคลและองค์กรที่ประกอบธุรกิจไม่ว่าจะเป็นธุรกิจประเภทใดหรือขนาดใดก็ตาม ย่อมมีความรับผิดชอบที่จะเคารพสิทธิมนุษยชน

เสาหลักที่ 3: การเยียวยา (Remedy)

องค์กรพัฒนาเอกชนด้านสิทธิมนุษยชน มีอะไรบ้าง

หมายถึง การแก้ไข ฟื้นฟู ชดเชยเมื่อเกิดผลกระทบหรือมีการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่เนื่องมาจากการประกอบธุรกิจ ทั้งภาครัฐและภาคธุรกิจต้องมีกลไกในการเยียวยาที่มีประสิทธิผล

กรอบการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชนตามหลักการ UNGP

องค์กรพัฒนาเอกชนด้านสิทธิมนุษยชน มีอะไรบ้าง

ตัวอย่างประโยชน์ของการจัดทํานโยบายเคารพสิทธิมนุษยชน

องค์กรพัฒนาเอกชนด้านสิทธิมนุษยชน มีอะไรบ้าง

  1. เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและการสร้างผลตอบแทนทางการเงินและสังคม
  2. สร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้มีส่วนได้เสีย
  3. สร้างภาพลักษณ์และชื่อเสียงที่ดี รวมทั้งได้รับความไว้วางใจจากสาธารณชน
  4. ปรับปรุงการบริหารความเสี่ยงเพื่อสร้างความน่าสนใจในการลงทุนมากขึ้น
  5. สร้างการมีส่วนร่วมและขวัญกําลังใจ รวมถึงความปลอดภัยและสุขอนามัยที่ดีให้กับพนักงานและผู้มีส่วนได้เสีย
  6. ส่งผลในทางบวกต่อการสรรหา จูงใจและรักษาพนักงาน ซึ่งเป็นการเพิ่มขีดความสามารถด้านทรัพยากรบุคคล

ประเด็นความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนที่เกิดขึ้นบ่อย

เครื่องมือประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน

เพื่อให้ธุรกิจสามารถระบุประเด็นที่น่าจะเป็นความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนได้สะดวกขึ้น ตลาดหลักทรัพย์ฯ ขอแนะนำ คู่มือประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน (Human Rights Due Diligence Handbook) และรายการตรวจสอบ (Checklist) ของภาคธุรกิจ ที่จัดทำโดย สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ คู่มือเล่มนี้จะช่วยให้วิธีปฏิบัติและการดูแลประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนของธุรกิจเป็นระบบยิ่งขึ้นบนพื้นฐานของหลักการสากล UNGP รวมถึงบริบทของการประกอบการในประเทศไทย

LEARN MORE

องค์กรด้านสิทธิมนุษยชน มีอะไรบ้าง

องค์กรด้านสิทธิมนุษยชน.
องค์กรที่เกี่ยวข้องกับสิทธิมนุษยชนในประเทศไทย.
1. คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ.
2. ศาลต่าง ๆ ได้แก่ ศาลรัฐธรรมนูญ ศาลยุติธรรรม ศาลปกครอง และศาลทหาร.
3. มูลนิธิเพื่อพัฒนาเด็ก.
4. มูลนิธิสงเคราะห์เด็กยากจน ซี.ซี.เอฟ.
5. มูลนิธิศูนย์พิทักษ์สิทธิเด็ก.
6. มูลนิธิ ปวีณาหงสกุลเพื่อเด็กและสตรี.

องค์กรพัฒนาเอกชนด้านสิทธิมนุษยชนมีองค์กรอะไรบ้าง

5.องค์กรด้านสิทธิมนุษยชน.
คณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ(The United Nations Human Rights Council) ... .
องค์กรนิรโทษกรรมสากล (AI: Amnesty Internationnal) ... .
องค์กรแรงงานระหว่างประเทศ (ILO:Internatonal Labour Orgenization) ... .
มูลนิธิความร่วมมือเพื่อต้านการค้าหญิง (GAATW:Global Alliance Against Traffic in woman).

องค์กรด้านสิทธิมนุษยชนในประเทศไทยใดที่จัดว่าเป็นองค์กรภาคเอกชน

มูลนิธิเพื่อสิทธิมนุษยชนและการพัฒนา ตั้งขึ้นและดำเนินกิจกรรมโดยยึดหลัก 5 ประการ คือ 1. เป็นองค์การเอกชนด้านสิทธิมนุษยชนดำเนินงานของตนโดยอิสระ

หน่วยงานใดมีบทบาทเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนมากที่สุด

1. คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เป็นหน่วยงานที่ได้รับการยกย่องให้เป็นองค์การตาม รัฐธรรมนูญ จึงเป็นหน่วยกลางที่มีบทบาทอ านาจหน้าที่เกี่ยวข้องกับสิทธิมนุษยชนกว้างขวางมากที่สุด