ลักษณะภูมิประเทศ ชนิด ใด ที่เกิดจาก กระบวนการ แปรรูป ภายนอก โลก

1.ทฤษฎีเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลก

1.ทฤษฎีทวีปเลื่อน (Continental Drift Theory)
อัลเฟรด เวเกเนอร์ (Alfred Wegener) ได้นำเสนอเกี่ยวกับทฤษฎีทวีปเลื่อนว่า เมื่อประมาณ 200 – 300 ล้านปีที่ผ่านมา แผ่นดินทั้งหมดในโลกรวมเป็นผืนเดียวกัน เรียกว่า “พันเจีย” (Pangaea : แปลว่า ผืนแผ่นดินเดียวกัน) ซึ่งประกอบด้วยทวีปอเมริกาเหนือ อเมริกาใต้ แอฟริกา ออสเตรเลีย อินเดีย และหมู่เกาะมาดากัสการ์ มากล่าวไว้ โดยกล่าวว่า ในยุคไตรแอสสิก ทวีปที่เดิมเป็นผืนแผ่นเดียวกันจะเริ่มค่อย ๆ มีการแยกตัวออกจากกัน โดยทวีปอเมริกาเหนือและอเมริกาใต้จะค่อย ๆ แยกจากทวีปแอฟริกา และทวีป ยุโรป จึงทำให้ขนาดของมหาสมุทรแอตแลนติกกว้างยิ่งขึ้น เราเรียกการเคลื่อนไหวดังกล่าวว่า “ทวีปเลื่อน” (Continental Drift)

     2. ทฤษฎีแผ่นแปรโครงสร้าง หรือ เพลท เทคโทนิก (Plate Tectonic Theory) มีพัฒนาการมาจากพื้นฐานแนวความคิดว่า แผ่นทวีป แผ่นธรณี หรือ เพลท (Plate) เปรียบเหมือนแผ่นเนยที่ลอยอยู่บนซุปอุ่น และมีการเคลื่อนที่อย่างช้าๆ บางแผ่นเคลื่อนที่เข้าหากัน บางแผ่นเคลื่อนที่แยกจากกัน หรือเสียดสีกัน เป็นต้น
       นักธรณีฟิสิกส์ชาวอเมริกัน ไบรอัน ไอแซ็กส์ (Bryan Isacks) และคณะ ได้จัดแบ่งแผ่นทวีป (Plate) ใหญ่ๆ ออกเป็น 7 แผ่นทวีป ได้แก่ ยูเรเซีย (Eurasia Plate) แอฟริกา (Africa Plate) อเมริกาเหนือ (North America Plate) อเมริกาใต้ (South America Plate) แปซิฟิก (Pacific Plate) อินเดีย (India Plate) แอนตาร์กติกา (Antractica Plat)

2.ปัจจัยที่ทำให้เกิดลักษณะภูมิประเทศ

1.กระบวนการแปรสัณฐาน  (Tectonics)
2.กระบวนการปรับระดับผิวแผ่นดิน  (gradational) 
3.กระบวนการจากภายนอกโลก

3.กระบวนการแปรสัณฐานคืออะไร

เป็นกระบวนการเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลกที่่เป็นไปอย่างช้าๆ และอย่างรวดเร็ว อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากแรงที่มากระทำต่อโลก ทำให้โครงสร้างของหินที่ประกอบเป็นเปลือกโลกแปรสภาพไปจากเดิม

4.ประเภทของกระบวบการแปรสัณฐาน

1.รอยคดโค้ง (fold)
2.รอยเลื่อน (fault)
3.ภูเขาไฟปะทุ (vulcznism)
4.แผ่นดินไหว (Earthquakes)

5.กระบวนการแปรสัณฐานหรือเทคโทนิก มี 2 กระบวนการคือ

     1. ไดแอสโตรฟิซึม (diastrophism) เป็นกระบวนการแตก หัก โก่ง งอ บิด ของ
เปลือกโลก เกิดขึ้นอย่างช้าๆ เกิดจากการยืดหดตัวของเปลือกโลกทั้งหมด
     2. วอลคานิสซึม (volcanism) เป็นกระบวนการของวัตถุละลายภายในโลก
เคลื่อนที่ ทำให้เปลือกโลกสั่นสะเทือน วัตถุละลายล้นไหลออกมาทับถมภายนอกเปลือกโลกเช่น หิน
ละลายเคลื่อนที่มายังเปลือกโลกดันออกมาเกิดภูเขาไฟระเบิดพ่นลาวาออกมา

6.กระบวนการแปรสัณฐานก่อให้เกิด 

1.รอยเลื่อน (fault) ทำให้เกิดรอยแตกร้าวที่อยู่แนวตั้งเรียก รอยต่อ (Joint) รอยแตกจะเหลือน้อยเมื่อลงไปในระดับลึกแรงกดที่ทำให้เปลือกโลกแตกและเลื่อนทำให้ชั้นของหินเปลือกโลกสลับกัน 

2.การโก่งตัวของเปลือกโลก (fold) การบีบอัดทำให้เปลือกโลกโก่ง พับ งอ ส่วน ที่โค้งขึ้นเรียกประทุนคว่ำ (anticline) ส่วนที่โก่งเรียกประทุนหงาย (syncline) เช่นการเกิดเทือกเขา     

3.การเกิดภูเขาไฟ (Volcano) เกิดจากหินหนืดในชั้นแมนเทิลซึ่งอยู่ใต้ผิวโลก มีความร้อนและความดันสูงมาก พยายามดันขึ้นมาตามรอยแตกและแทรกตัวขึ้นมาสู่ผิวโลก

4.การเกิดแผ่นดินไหว ความร้อนจากแก่นโลกทำให้แผ่นเปลือกโลกเคลื่อนที่และยังทำให้เปลือกโลกส่วนล่างขยายตัวได้มากกว่าผิวบนเพราะที่บริเวณผิวโลกมีอุณหภูมิต่ำกว่าแก่นโลกมากและบริเวณผิวโลกมีการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิอยู่ตลอดเวลา

7.รอยเลื่อนมีกี่ชนิด อะไรบ้าง

มี 3 ชนิด คือ

1. รอยเลื่อนปกติ (normal fault) เป็นรอยเลื่อนที่หินเพดานเลื่อนลง เมื่อเปรียบเทียบกับหินพื้น 

2. รอยเลื่อนย้อน (reverse fault) เป็นรอยเลื่อนที่หินเพดาน เลื่อนขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับหินพื้น ถ้ารอยเลื่อนย้อนมีค่ามุมเทเท่ากับหรือน้อยกว่า 45 องศา เรียกว่า รอยเลื่อนย้อนมุมต่ำ (thrust fault)

  3. รอยเลื่อนตามแนวระดับ (strike-slip fault) หรือลอยเลื่อนเหลื่อมข้าง (transcurrent fault) เป็นรอยเลื่อนในหินที่สองฟากของรอยเลื่อนเคลื่อนตัวในแนวราบ

8.รอยเลื่อนปกติก่อให้เกิดภูมิประเทศแบบใด

  1. ก่อให้เกิดรอยเลื่อนขนาบหุบเขาที่ 2 ข้างส่วนที่ยุบลงเป็นหุบเขาทรุดเรียกว่า “กราเบน” (graben) เช่นลุ่มแอ่งทะเลแดง อ่าวเอเดน ทะเลสาบไบคาล รัสเซีย ทะเลสาบเดดซี ซีเรีย
  2. ส่วนที่ยกตัวขึ้น ขนาบทั้ง 2 ข้างด้วยรอยเลื่อนส่วนที่ดันตัวสูงขึ้นเรียก“ฮอร์ส” (horst)   หรือภูเขาบล็อก เช่นเทือกเขาเซียร์ราเนวาดาในสเปน  แบล็คฟอเรสต์ในเยอรมนี  โวช ในฝรั่งเศส
  3. ถ้ามีพื้นกว้างเป็นที่ราบสูง เช่น ที่ราบสูงปาตาโกเนีย อาร์เจนตินา -ชิลี  ที่ราบสูงเดคคาน ในอินเดีย  ที่ราบสูงโคลัมเบียในสหรัฐอเมริกา

9.ภาพที่ 1 ,2,3 คืออะไร

ลักษณะภูมิประเทศ ชนิด ใด ที่เกิดจาก กระบวนการ แปรรูป ภายนอก โลก

ลักษณะภูมิประเทศ ชนิด ใด ที่เกิดจาก กระบวนการ แปรรูป ภายนอก โลก

ลักษณะภูมิประเทศ ชนิด ใด ที่เกิดจาก กระบวนการ แปรรูป ภายนอก โลก

10.ลักษณะภูมิประเทศที่เกิดจากรอยเลื่อนย้อน

มีลักษณะเดียวกับรอยเลื่อนปกติแต่เกิดขึ้นจากแรงดันเข้าหาหันของหินสองฟากทำให้เกิดหน้าผาสูงชันมากจนเกือบตั้งตรง อาจอยู่ริมฝั่งทะเลที่เรียกว่า หน้าผาริมทะเล หรือ sea cliff หรือในแผ่นดินใหญ่ก็ได้หน้าผาลักษณะนี้มักถล่มได้ง่าย

11.ลักษณะภูมิประเทศที่เกิดจากรอยเลื่อนแนวระดับ

เป็นรอยเลื่อนในหินที่สองฟากของรอยเลื่อนเคลื่อนตัวในแนวราบ เช่นรอยเลื่อนแซนแอนเดรียส์ ในรัฐแคลิฟอร์เนีย  รอยเลื่อนเกรตเกลน  ในสก็อตแลนด์ 

12.ภูเขาไฟปะทุ คืออะไร

คือการเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลกที่เกิดจากหินหนืดถูกแรงดันมหาศาลดันให้แทรกรอยแตกของชั้นหินขึ้นสู่โลกด้านบน

13.นักธรณีวิทยาแบ่งภูเขาไฟตามลักษณะรูปร่างและการเกิดได้กี่ชนิด อะไรบ้าง

   1. ภูเขาไฟแบบโล่ (Shield Volcano) ภูเขาไฟแบบนี้เกิดจากธารลาวาเหลวไหลออกมาตามรอยแยกของแผ่นเปลือกโลก การปะทุของภูเขาไฟชนิดนี้จะไม่ระเบิดรุนแรง แต่เป็นแบบน้ำพุลาวา โดยลาวาจะมีลักษณะที่เหลวและมีอุณหภูมิสูงมากทำให้ไหลไปได้เป็นระยะทางไกลภูเขาไฟที่จัดอยู่ในประเภทนี้จะมีลักษณะกว้างและไม่ชัน ซึ่งพบได้บนหมู่เกาะฮาวาย
     2. ภูเขาไฟแบบกรวยสลับชั้น (Composite Cone) การเกิดภูเขาไฟแบบนี้เกิดจากจากการสลับหมุนเวียนของชั้นลาวาและชั้นเศษหินและจะมีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบของการประทุอย่างกระทันหัน ในขณะที่แมกมาจะมีความหนืดและอุณหภูมิที่สูงมาก การระเบิดของภูเขาไฟแบบนี้ถือว่ามีความรุนแรงมากที่สุด ภูเขาไฟที่มีรูปร่างแบบนี้ได้แก่ ภูเขาไฟฟุจิ ในประเทศญี่ปุ่น ภูเขาไฟมายอน ในประเทศฟิลิปปินส์
     3. ภูเขาไฟกรวยกรวด (Cinder Cone Volcano) ภูเขาไฟแบบนี้จะมีลักษณะสูงชันมาก เนื่องจากลาวามีความหนืดมากทำให้ไหลได้ไม่ต้องเนื่อง ลาวาที่ไหลออกมามีลักษณะเป็นทรงกลม พุ่งออกมาจากปล่องภูเขาไฟเพียงปล่องเดียว ดังนั้นเมื่อเกิดการระเบิดของภูเขาไฟชนิดก็มักจะไม่ก่อให้เกิดความเสียหายมากนัก ภูเขาไฟประเภทนี้พบได้ทางตอนเหนือของชิลี

14.ภูเขาไฟแบ่งตามลักษณะการปะทุ

สามารถแบ่งได้เป็น 3 ชนิด ดังนี้
1. ภูเขาไฟมีพลัง (active volcano) คือภูเขาไฟที่ภายใต้ยังมีแมกมาที่พร้อมจะระเบิดส่งลาวาและเถ้าถ่านออกมาได้ทุกเวลา ซึ่งพบได้ทั่วโลก
2. ภูเขาไฟที่สงบ(dormant volcano) คือภูเขาไฟที่ไม่ได้ปะทุมาเป็นเวลานานมาก  แต่เมื่อปะทุแล้วจะสร้างความเสียหายมาก เช่น ฟูจิ ในญีปุ่น
3. ภูเขาไฟสงบ/สิ้นพลัง (extinct volcano) คือภูเขาไฟที่ไม่ระเบิดอีกเพราะแผ่นธรณีภาคบริเวณนั้นอยู่ในสภาวะเสถียรและไม่พบว่ามีความร้อนใต้พิภพบริเวณนั้นแล้ว เช่น ภูเขาไฟทุกลูกในประเทศไทย

15.ภูเขาไฟในประเทศไทย มีที่ไหนบ้าง

จ.บุรีรัมย์ 6 แห่ง ได้แก่ ภูเขาไฟหินพนมรุ้ง ที่ตั้งของปราสาทหินพนมรุ้ง ภูเขาไฟอังคาร ภูเขาไฟหินหลุบ ภูเขาไฟกระโดง ภูเขาไฟไบรบัด และภูเขาไฟคอก

จ.ลำปาง 2 แห่ง ได้แก่ ภูเขาไฟดอยผาดอกจำปาแดด และภูเขาไฟดอยหินคอกผาฟู โดยภูเขาไฟทั้งหมดดับสนิทหมดแล้ว

ภูเขาหลวง จังหวัดสุโขทัย ซึ่งปรากฎมียอดเป็นปากปล่องภูเขาไฟและมีหินตะกรันอยู่โดยรอบ ในที่ราบสูงภาคอิสานเป็นพื้นที่ภายในปากปล่องภูเขาไฟใหญ่ในอดีตซึ่งดับไปแล้ว และก่อให้เกิดที่ราบสูงอันกว้างใหญ่ขึ้นมาแทน

16.ลักษณะภูมิประเทศที่เกิดจากภูเขาไฟปะทุ

1.น้ำพุร้อน และกีย์เซอร์
2.ภูเขาไฟโคลน
3.ทะเลสาบปากปล่องภูเขาไฟ
4.แหล่งแร่กำมะถัน ฟอสฟอรัส ดินอุดมสมบูรณ์
5.บางครั้งอาจเกิดแผ่นดินไหว
6.ถ้าเกิดในทะเลอาจทำให้เกิดสึนามิ

17.การเกิดแผ่นดินไหว คืออะไร

ความร้อนจากแก่นโลกทำให้แผ่นเปลือกโลกเคลื่อนที่ และยังทำให้เปลือกโลกส่วนล่างขยายตัวได้มากกว่าผิวบนส่งผลกระทบต่อรอยแตกในชั้นหินและรอยต่อระหว่างแผ่นเปลือกโลกซึ่งมีการเคลื่อนที่

18.การวัดแผ่นดินไหวนิยมวัดอยู่ 2 แบบ ได้แก่
การวัดขนาด (magnitude) และการวัดความรุนแรง (intensity)
การวัดขนาดเป็นการวัดกำลัง หรือพลังงานที่ปลดปล่อยในการเกิดแผ่นดินไหว
ส่วนการวัดความรุนแรงเป็นการวัดผลกระทบของแผ่นดินไหว ณ จุดใดจุดหนึ่งที่มีต่อคน โครงสร้างอาคาร และพื้นดิน มาตราการวัดแผ่นดินไหวมีอยู่หลายมาตรา
ที่นิยมใช้ทั่วไป 3 มาตรา ได้แก่ มาตราริกเตอร์ มาตราเมอร์แคลลี และมาตราการวัดขนาดโมเมนต์

19.กระบวนการปรับระดับผิวแผ่นดิน เรียกว่า “แรงกราเดชั่น”(gradational)
ตัวกระทำที่อยู่กับที่อุณหภูมิ ความชื้น แบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ๆ 2 กลุ่ม คือ
     1. การกระทำทางกายภาพ (physical weathering)เช่น
อุณหภูมิ ทำให้หินที่มีแร่ธาตุต่างชนิดกันเกิดการยืดหดไม่เหมือนกันทำให้เนื้อหินแตกแยก
จากกัน รากของพืช รากพืชจะชอนไชไปตามซอกหินและดันให้หินแตกแยกจากกัน
     2. โดยปฏิกิริยาเคมี ( chemical weathering) เช่น การเกิดหินงอก หินย้อย

20.การปรับระดับดังกล่าวมี 2 ลักษณะคือ
     1.การเพิ่มระดับแผ่นดิน (Aggradation )
     2.การลดระดับแผ่นดิน(Degradation )

21.กระบวนการที่ทำให้เกิดการปรับระดับผิวแผ่นดิน มี 4 ตัวการคือ
     1.การผุพังอยู่กับที่ ( Weathering)
     2.การกัดกร่อน ( Erosion )
     3.การทับถม (Deposition)
    4.การพัดพา (Transportation )

22.การผุพังอยู่กับที่ ( Weathering) ตัวการกระทำคือ
     ลมฟ้าอากาศ น้ำฝน อุณหภูมิ ต้นไม้ แบคทีเรีย

23.การผุพังอยู่กับที่มี 3 ประเภทคือ
     การผุพังทางชีวะ เกิดจากตัวการกระทำของสิ่งมีชีวิต เช่นต้นไม้ที่ชอนไชก้อนหิน สัตว์ที่ขุดรูเป็นโพรง
     การผุพังทางเคมี เช่น การละลาย กรดคาร์บอนิกซึ่งละลายปะปนในน้ำฝนหรือน้ำใต้ดินทำปฏิกิริยากับหินปูนทำให้เกิดถ้ำ

24.การกัดกร่อน เกิดจากตัวกระทำคือ
      ลม คลื่น น้ำ ธารน้ำแข็ง

25.การพัดพาหรือการนำพา ตัวการทำคือ
     ลม ฝน คลื่น แม่น้ำ ธารน้ำแข็ง

16.การทับถม ตัวการกระทำคือ
     คลื่น ลม ฝน สายน้ำ

17.ลักษณะภูมิประเทศที่เกิดจากการปรับระดับผิวแผ่นดิน
     1.น้ำและแม่น้ำ
     น้ำตก แก่ง ถ้ำ หุบผาชัน ที่ราบน้ำท่วมถึง เนินตะกอนน้ำพารูปพัด ดินดอนสามเหลี่ยม
ทะเลสาบรูปแอกวัว แคนยอน โกรกธาร แก่ง แอ่ง กุมภลักษณ์/บ่อกลม ลานตะพักลำน้ำ คันดินธรรมชาติ ภูมิประเทศแบบคาสต์(Karst) ถ้ำ โพรง หินงอก หินย้อย น้ำพุร้อน กีย์เซอร์
     2.ลม
     แอ่งในทะเลทราย เขาโดดในทะเลทราย เนินทรายหรือสันทราย ธารน้ำแข็งภาคพื้นทวีป           แป้นหินรูปเห็ด
     3.ธารน้ำแข็ง
     ฟยอร์ด  เซิร์ก  อาแรต  ฮอร์น
     4.คลื่นและกระแสน้ำ
     แหลม หน้าผาริมทะเล หาดทราย สันดอน ที่ราบชายฝั่ง สะพานหินธรรมชาติ เกาะหินโด่ง/เกาะชะลูด ชะวากทะเล สันดอนจะงอย ชายหาด  ลากูน  ถ้ำทะเล  ถ้ำลอด  หน้าผาทะเล  ชะวากทะเล (Estuary)

18.การจำแนกลักษณะภูมิประเทศของภาคพื้นทวีปที่สำคัญ แบ่งออกเป็นกี่ชนิดอะไรบ้าง
     แบ่งเป็น 2 ชนิดด้วยกัน เรียกว่า
     1. “ภูมิประเทศหลัก” (Major Landform) ซึ่งได้แก่ ที่ราบ ที่ราบสูง เนินเขา และภูเขา ความแตกต่างของภูมิประเทศดังกล่าวจะขึ้นอยู่กับ
ความต่างระดับ ความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง โครงสร้างของหินที่รองรับ
     2.“ภูมิประเทศรอง” (Minor Landform) อาทิเช่น หาดทราย หุบเขา และเกาะ

19.ระบวนการแปรสัณฐาน(Tectonics) กระบวนการ เทคโทนิกก่อให้เกิดภูมิประเทศแบบใด

ภูมิประเทศหลัก” (Major Landform) 

20.กระบวนการปรับระดับผิวแผ่นดิน (gradational) ก่อให้เกิดภูมิประเทศแบบใด

ภูมิประเทศรอง” (Minor Landform) 

21.การเปลี่ยนแปลงลักษณะทางกายภาพโดยมนุษย์ มีอะไรบ้าง

1.การสร้างโพลเดอร์ในเนเธอร์แลนด์
2.การสร้างเขื่อนขนาดใหญ่
3.โครงการเกาะปาล์ม (Palm Island Resort)

22.จงบอกผลที่เกิดจากการสร้างโพลเดอร์

นื่องจากเนเธอร์แลนด์ตั้งอยู่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเลจึงมีการสร้างเขื่อนเพื่อกั้นน้ำไว้โดยรอบ และใช้กังหันลมในการระบายน้ำออก ทำให้พื้นที่หลังเขื่อนมีสภาพเป็นพื้นดิน ใช้ประโยชน์ในการปลูกดอกทิวลิปและเลี้ยงสัตวฺ์   ส่วนผลกระทบคือทำให้ชาวประมงไม่มีทะเลภายในใช้เป็นแหล่งประมง

23.การสร้างเขื่อนขนาดใหญ่ ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงลักษณะทางกายภาพอย่างไร

1.เขื่อนซานเสียต้าป้า/เขื่อนสามผา  เป็นเขื่อนเอนกประสงค์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก  ของจีน กั้นแม่น้ำแยงซี ผลการสร้างเขื่อนทำให้น้ำท่วมพื้นที่อยู่อาศัยต้องอพยพพลเมือง 1.3 ล้านคนออกไปจากพื้นที่นํ้าท่วม  ผลจากการสร้างเขื่อนทำให้ได้พลังงานไฟฟ้าเพื่อการอุตสาหกรรมถึง 1 ใน 8 และการสร้างเขื่อนทำให้เกิดทะเลสาบที่กว้างใหญ่ลึกเข้าไปถึง 600 กิโลเมตร ทำให้เกิดประโยชน์ต่อการขนส่งสินค้าทางเรือซึ่งเป็นการขนส่งที่ประหยัดที่สุด กล่าวว่าเรือสินค้าขนาด 10,000 ตัน สามารถวิ่งไปยังเมืองอุตสาหกรรมต่างๆ ได้สะดวกสบายเหมือนวิ่งในทะเล ทำให้ต้นทุนการผลิตสินค้าลดลงเป็นอย่างมากเมื่อเทียบกับประเทศคู่แข่ง

2.เขื่อนอัสวาน เป็นเขื่อนที่ใหญ่อันดับ 2 ของโลก ของอียิปต์  กั้นแม่น้ำไนล์  ทำให้เกิดทะเลสาบขนาดใหญ่เหนือเขื่อน คือทะเลสาบนัสเซอร์  ซึ่งสามารถเก็บกักน้ำได้จำนวนมาก ป้องกันอุทกภัยและภัยแล้ง   ผลกระทบคือพื้นที่มากกว่า 3 ล้านกว่าไร่จมอยู่ใต้น้ำ ต้องอพยพชาวนูเบียซึ่งเป็นชนพื้นเมืองเกือบแสนคนออกไป  โบราณสถาน 23 แห่งต้องจมอยู่ใต้น้ำ

3.เขื่อนฮูเวอร์  กั้นแม่น้ำโคโลราโด ของสหรัฐอเมริกา  ผลการสร้างเขื่อนก่อให้เกิดทะเลสาบมีด ครอบคลุมเนื้อที่ 588 ตารางกิโลเมตร

24.โครงการเกาะปาล์มคืออะไร

เป็นโครงการถมทะเล เพื่อสร้างหมู่เกาะจำลองเป็นรูปต้นปาล์ม อยู่บริเวณอ่าวปอร์เซียใกล้ชายฝั่งทะเลเมืองดูไบ เพื่อสร้างพื้นที่อยู่อาศัย โรงแรม และรีสอร์ทหรูหรา ประกอบด้วย 3 เกาะ คือ เดอะปาล์มจูไมราห์ (The Palm, Jumeirah) เดอะปาล์มไดราห์ (The Palm, Deira) และเดอะปาล์มจีเบลอาลี (The Palm, Jebel Ali)การสร้างเกาะทั้ง 3 แห่งนี้  ทำให้ดูไบมีพื้นที่ชายหาดเพิ่มมากขึ้นถึง  520 ตารางกิโลเมตร

ลักษณะภูมิประเทศแบบใดที่เกิดจากการกระทำของลม

2. ลักษณะภูมิประเทศที่เกิดจากการกระทำของลม 1) แอ่งในทะเลทราย ลมจะพัดพาเอาวัตถุที่อยู่ตามพื้นผิวดินหรือทะเลทรายขึ้นมา จนทำให้เกิดแอ่งขนาดเล็ก 2) เขาโดดในทะเลทราย (inselberg) เกิดจากการกร่อน โดยลมกระทำต่อภูเขาที่ตั้งอยู่โดดเดี่ยวในทะเลทรายจนทำให้รูปร่างเปลี่ยนแปลงไป

ภูมิประเทศที่เกิดจากการทับถม มีอะไรบ้าง

1. ภูมิประเทศที่เกิดจากการตกตะกอนทับถม มักจะเกิดขึ้นในบริเวณชายฝั่งทะเลที่มีน้ำตื้น ลักษณะชายฝั่งราบเรียบและลาดเทลงไปสู่ก้นทะเล ทำให้ความเร็วของคลื่นและกระแสน้ำลดลง เมื่อเคลื่อนตัวเข้าสู่ฝั่ง การกระทำจึงเป็นในรูปแบบของการตกตะกอนทับถมเกิดเป็นภูมิประเทศลักษณะ ต่างๆ เช่นสันทราย (Berm) สันดอน (Bar) และทะเลสาบที่มีทางน้ำไหล ...

การเกิดภูมิประเทศแบบต่างๆเกิดจากกระบวนการอะไรบ้าง

การกระทำของคลื่นและกระแสน้ำที่ก่อให้เกิดลักษณะภูมิประเทศ ได้แก่ การกร่อน การพัดพา และการทับถม ทำให้เกิดลักษณะภูมิประเทศที่สำคัญ เช่น 1. แหลม cape และอ่าว bay ส่วนหินแข็งที่ยื่นออกไปในทะเล เรียกว่า แหลม ส่วนบริเวณที่ถูกกัดเซาะเว้าเข้าไปในแผ่นดิน เรียกว่า อ่าว

ลักษณะภูมิประเทศที่เกิดจากรอยเลื่อนแนวระดับเป็นอย่างไร

ลักษณะภูมิประเทศที่เกิดจากรอยเลื่อนปกติมี 2 แบบ ได้แก่ หุบเขาทรุดหรือกราเบน (graben) ซึ่งมีลักษณะเป็นแอ่งราบที่เกิดจากการทรุดตัวตามแนวรอยเลื่อน และพื้นที่ยกตัวขึ้นตามแนวรอยเลื่อน ซึ่งมีลักษณะเป็นภูเขาสูงที่ขนาบด้วยหน้าผารอยเลื่อนที่เรียกว่า ฮอสต์ (horst) หรือภูเขาบล็อก บริเวณที่ยกตัวสูงหากมีพื้นที่กว้างขวางเรียกว่า ...