แนว คิด ใน การ จัดการ สิ่ง แวดล้อม อย่าง มี ประสิทธิภาพ ควร ดำเนินการ อย่างไร

ตลอดหลายสิบปีที่ผ่านมา การพัฒนาส่วนใหญ่ถูกทุ่มให้กับด้านเศรษฐกิจแบบทุนนิยมเพียงมิติเดียว ทำให้ละเลยการพัฒนาด้านอื่น ๆ ไป ประกอบหลายกิจกรรมที่ไม่ได้คำนึงถึงทรัพยากรธรรมชาติและทำลายสิ่งแวดล้อมในชุมชน  กิจกรรมที่ใช้ทรัพยากรธรรมชาติในชุมชนมีหลายมิติตั้งแต่การหาของล่าสัตว์ ใช้พื้นที่ทำไร่นา อยู่อาศัย การใช้ทำประโยชน์ให้กับนายทุน เช่น การจ้างปลูกพืชอาหารสัตว์ ซื้อที่ดินแบบเหมาเพื่อจัดตั้งสถานที่ทางเศรษฐกิจ ให้เช่าที่กับชาวบ้านทำไร่ทำนา  การใช้พื้นที่ในเชิงวิชาการ เช่น ใช้พื้นที่ทำวิจัยศึกษา ทำโครงการอาสาสมัครต่าง ๆ หรือใช้ชุมชนเป็นฐานเรียนรู้ การใช้พื้นที่ทางธรรมชาติในการทำกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ไม่ว่าจะเป็นการทำการเกษตร การก่อตั้งโรงงาน การจัดงาน การท่องเที่ยว หรือการทำเหมืองถ่าน ซึ่งชาวบ้านก็อาจจะไม่ใช่ผู้ที่ต้องการให้มีกิจกรรมเหล่านี้ในชุมชน แต่เหตุผลทางการเงิน โอกาส หรือไม่มีทางเลือก กิจกรรมเหล่านี้จึงได้เกิดขึ้น

Show

การละเลยทรัพยากรธรรมชาตินั้นส่งผลต่อระบบนิเวศและสุขภาพของคนทุกคนทั้งทางตรงและทางอ้อมโดยเฉพาะอย่างยิ่งในชุมชนเอง นอกเหนือจากการถูกตีตราว่าชาวบ้านเป็นผู้ทำลายธรรมชาติ ถึงแม้ทำเพื่อตอบจะความต้องการนายทุนหรือตลาดก็ตาม ผลตอบแทนที่ได้รับกลับมาอย่างไม่คุ้มเสีย คือการที่พวกเขาต้องแบกรับที่จะใช้ชีวิตอยู่กับต้นทุนทางทรัพยากร ระบบนิเวศที่ถดถอยและเสื่อมโทรม และสุดท้าย พวกเขาก็เป็นกลุ่มแรกที่ได้รับผลกระทบจากโรคภัยที่รุมเร้าอย่างช้า ๆ

ของเหลือจากการเกษตร

ประเทศไทยมีประชากรส่วนใหญ่อยู่ในภาคการเกษตรและปลูกพืชหลากหลาย โดยมีเกษตรกรส่วนหนึ่งเร่งการผลิตพืช ให้ได้หลายรอบต่อปี จากข้อมูลล่าสุด เรามีชีวมวลที่เหลือใช้ 159 ล้านตัน ที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์ คิดเป็น 53% ของชีวมวลที่เกิดขึ้นทั้งหมด 296 ล้านตัน ไม่ว่าจะเป็นใบอ้อย ตอซังและฟางข้าว และตอซังข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ การจัดการของเหลือจากการเกษตรยังขาดการจัดการที่ดี และเลือกใช้วิธีการเผาเศษวัสดุทางการเกษตรแทนวิธีการอื่น ๆ เพราะเป็นหนทางที่ง่าย สะดวก รวดเร็ว ต้นทุนต่ำ นำมาซึ่งปัญหามลพิษทางอากาศ และโรคทางเดินหายใจ

นอกจากการนำไปหมักปุ๋ย หรือแปรรูปแล้ว มีการคาดการณ์ว่ามูลค่าจากปริมาณเศษเหลือใช้ทางการเกษตรคงเหลือ จะสามารถกระตุ้นทางเศรษฐกิจได้เฉลี่ยสูงกว่าแสนล้านบาทต่อปี เพื่อตอบความต้องการน้ำมันเชื้อเพลิงชีวภาพ (Biofuels) เพื่อลดการพึ่งพิงน้ำมันเชื้อเพลิงจาก (Fossil Fuel) และลดสาเหตุของก๊าซเรือนกระจก ช่วยส่งเสริมรายได้เกษตรกร และการใช้พลังงานอย่างยั่งยืน เพราะเชื้อเพลิงชีวภาพสามารถสร้างขึ้นใหม่ได้ โดยของเหลือทิ้งทางการเกษตร ทุก ๆ 1 ตัน เมื่อเทียบเป็นค่าพลังงาน จะมีมูลค่าน้ำมันดิบเฉลี่ย 2 บาท ดังนั้น หากเกษตรกรสามารถจัดเก็บเศษเหลือใช้จากการเกษตร ที่มีอยู่ในประเทศได้ทั้งหมด โดยไม่มีต้นทุนค่าขนส่ง

การท่องเที่ยว

ธรรมชาติที่มีสภาพดีและสวยงามเป็นแรงดึงดูดให้นักท่องเที่ยวเข้ามาในพื้นที่และเกิดกิจกรรมต่าง ๆ ที่ส่งผลกระทบทั้งบวกและลบต่อชุมชน ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม เพราะในขณะที่เศรษฐกิจทางการเงินดีขึ้น แต่ ต้องแลกมาซึ่งความเสื่อมโทรมของสภาพแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็นขยะมูลฝอย น้ำเสีย มลภาวะทางเสียง ยกตัวอย่าง การจัดคอนเสิร์ตในป่านั้นจะเกิดแสง สี เสียงที่ทำให้สัตว์ป่าที่เป็นทรัพยากรธรรมตื่นกลัว ทิ้งที่อยู่อาศัย และส่งผลต่อการสืบพันธุ์ สัตว์ป่าโดนเฉี่ยวชน รวมถึงขยะมหาศาลหลังจบงานคอนเสิร์ต เป็นต้น

การสูญเสียความหลากลายทางชีวภาพ (Biodiversity Loss)

ระบบนิเวศของไทยมีความหลากหลายทางชีวภาพและมีห่วงโซ่อาหารที่ซับซ้อนมาก เรามีพืชสวนครัวหลากหลายสายพันธุ์ แต่กลับอยู่ในวิกฤติใกล้สูญพันธ์ มีการรับสินค้าเกษตรจากต่างชาติเข้ามาขายในตลาด และยังมีเหตุการณ์ขาดแคลนอาหารให้เห็นอยู่บ่อยครั้ง โดยเฉพาะช่วง Covid-19    ดร. นณณ์ ผาณิตวงศ์ ASEAN Biodiversity Hero จากผลงานอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ ได้อธิบายว่า หากสิ่งหนึ่งหายไปตอนนี้อาจยังไม่มีผลกระทบมาก เราสามารถเปลี่ยนไปกินสิ่งอื่นได้ แต่การหายไปของสิ่งมีชีวิตนั้นเกิดขึ้นถี่มากขึ้นเรื่อย ๆ จนวันหนึ่ง ประเทศเราก็จะเป็นระบบนิเวศน์ที่ซับซ้อนน้อยกว่านี้ มีสิ่งมีชีวิตคีย์สโตน (keystone species) น้อยลงเรื่อย ๆ และถูกแทรกแซงด้วยเอเลียนสปีชีส์ (alien species) 

ตัวอย่างผลกระทบจากการพัฒนาชุมชนที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม 

เดิมที เรามีข้าวกว่าหมื่นชนิด ซึ่งแต่ละชนิดก็มีทรง ความมัน ความหอม และรสชาติที่ต่างกัน เพื่อให้ทานคู่กับอาหารประจำถิ่นนั้น ๆ แล้วอร่อย ดังนั้น ข้าวแต่ละชนิดก็มีลักษณะพื้นที่ที่ปลูกขึ้นไม่เหมือนกันเช่นกัน เมื่อเกิดความนิยมในข้าวกระแสหลักก็ทำให้เกิดการระดมปลูกข้าวเศรษฐกิจแทนกระทั้งข้าวพื้นถิ่นสูญพันธุ์ไปจนเหลือไม่กี่สิบชนิดที่กินกัน  แม้ข้าวจะเป็นพืชที่ปรับตัวกับพื้นที่ใหม่ ๆ เก่ง ข้าวต่างถิ่นก็ถือเป็นเอเลี่ยนสปีชีส์ที่ไม่แข็งแรง มีภูมิต้านทานต่ำ ต้องมีการพึ่งสารเคมี เป็นพิษต่อผู้ปลูกและผู้กิน สารเคมีไหลลงแหล่งน้ำและ ทำลายแมลงที่ช่วยผสมเกษรในพื้นที่ที่มีความเซนซิทีฟต่อเคมี อย่างเต่าทองและผึ้ง (ที่เป็นสิ่งมีชีวิตคีย์สโตนที่แพร่กระจายเกสรพืช ผสมละอองเกสรให้ 90% ของพืชดอกป่า และ 75% ของพืชอาหาร ปัจจุบัน ผึ้งลดจำนวนลงเหลือเพียง 50% ใน 1 ปี) ส่งผลให้ต้องใช้เคมีในการจัดการเพลี้ย มีพืชผสมพันธุ์ออกดอกผลน้อยลง สุดท้าย แมลงและสัตว์อื่นก็ไม่มีอาหาร เสี่ยงสูญพันธุ์ตามไปด้วย

ภาพจาก สมาคมอนุรักษ์สัตว์ป่า (WCS) ประเทศไทย

ตัวอย่างที่สอง การทำถนนผ่าป่าหรือปรับปรุงถนนลูกรังในป่า มีผลทำให้รถในพื้นที่ป่าสามารถขับได้เร็วขึ้น (เสี่ยงชนสัตว์และแมลงมากขึ้น นำคนมาได้เยอะขึ้น และเกิดเสียงดังสร้างความตกใจแก่สัตว์มากขึ้น) หากผ่านลำธาร ก็เสี่ยงทำลายแหล่งกินน้ำของสัตว์ แถมยังเป็นการแบ่งพื้นที่ป่าออกเป็นส่วนเล็ก ๆ ทำให้สัตว์ป่าอยู่ในสภาพ ‘ติดเกาะที่ล้อมด้วยทะเลมนุษย์’ ขาดการติดต่อกับกลุ่มอื่น ไม่เกิดการแลกเปลี่ยนทางพันธุกรรม ซึ่งเป็นสาเหตุใหญ่ของการสูญพันธุ์

Felix Mueller/Wikimedia Commons, CC BY-SA

การสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพจากการสูญพันธุ์ของพืชและสัตว์ เป็นปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมที่รุนแรงที่สุดในระดับโลก ตามมาด้วยปัญหาจากไนโตรเจน (ส่วนใหญ่เกิดจากปุ๋ยทางการเกษตรที่ปนเปื้อนดินและน้ำ) และวิกฤติภูมิอากาศ จำเป็นต้องมีการแก้ไขอย่างเร่งด่วนที่สุด 

การจัดการทรัพยากรธรรมชาติในปัจจุบัน

มีการกำกับเพื่อไม่ให้ทรัพยากรธรรมชาติถูกใช้มากเกิน ด้วยแนวทางการดูแล 3 ส่วน ส่วนแรกคือ การควบคุมโดยตรงจากรัฐ (ออกข้อบังคับให้มีทางเลือกที่ถูกต้องและลงโทษหากมีการทำผิด ออกนโยบายและจัดหาทุนในการแก้ไขปัญหาหรือพัฒนา) และส่วนที่ 2 คือ รัฐให้สัมปทานกับเอกชน (privatization) และแนวทางที่ 3 คือชุมชนดูแลจัดการกันเองภายใต้การกำกับของรัฐ (ตามสิทธิของชุมชน รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540) เพราะชาวบ้านก็สามารถเรียนรู้วิธีการจัดการ และมักจะพยายามหาทางออกที่ดีขึ้นเมื่อมีโอกาส  และหากพวกเขาได้รับเครื่องมือในการจัดการร่วมกัน ก็จะสามารถดูแลทรัพยากรได้อย่างมีประสิทธิภาพ 

แนวทางการดูแลทรัพยากรโดยรัฐนั้น จะประสบผลดีต่อ หากมีการทำข้อมูลและการบังคับใช้กฎอย่างแม่นยำทั่วถึง ซึ่งในความจริงอาจจะไม่เป็นเช่นนั้น เนื่องจากรัฐบาลที่หวังคะแนนเสียงการเลือกตั้งนั้นจะไม่เวนคืนป่าที่ถูกทำลายกลับมา เพราะกลัวเสียคะแนนนิยมหรือกลัวกระทบนายทุน ทำให้เกิดช่องว่างในการทำผิดกฎ ในขณะที่การให้สัมปทานกับเอกชนนั้นก็ทำภายใต้ความเชื่อที่ว่าเอกชนมีแรงจูงใจในการดูแลให้อยู่สภาพดี และช่วยดูชุมชน และในความเป็นจริง ทรัพยากรส่วนใหญ่มีอย่างจำกัด (อาจเสี่ยงต่อการผูกขาด) และมีความไม่แน่นอน (เสี่ยงต่อการขาดทุน) รวมถึงกิจกรรมที่เอกชนใช้ทรัพยากรนั้นอาจส่งผลต่อวิถีชีวิตชุมชนและเกิดเป็นความขัดแย้ง  

ส่วนการดูแลโดยชุมชนนั้น มักประสบปัญหาการกำหนดขอบเขตของสิทธิ์ในการใช้ประโยชน์ และความรับผิดชอบดูแลทรัพยากรที่ไม่ชัดเจน ซึ่งคนในชุมชนส่วนใหญ่เป็นเด็กและคนชรา มีความรู้เกี่ยวกับสภาพแวดล้อมไม่มาก และหากไม่รู้จักกัน หรือไม่มีความไว้เนื้อเชื่อใจ ไม่มีความรู้สึกหวงแหนหรือรู้สึกถึงความเป็นเจ้าของทรัพยากรร่วมกัน รวมถึงกรณีที่ชุมชนเผชิญวิกฤตเศรษฐกิจก็อาจเลือกใช้อย่างสิ้นเปลืองแทน  ท้ายที่สุด ทรัพยากรก็ตกเป็นสภาพเปิด (open for all) ไม่มีกรรมสิทธิ์ที่ชัดเจน ถูกใช้จนเกิดขีดจำกัดจนหมดไป

“ทรัพย์สินที่เป็นของทุกคน ย่อมจะไม่เป็นของใครเลยสักคน”

ประเด็นที่น่าสนใจ

  1. การเปลี่ยนเป็นชุมชนเศรษฐกิจหมุนเวียนและยั่งยืน ทำ Bioenergy, Biomaterial และ Biochemical เป็นการพัฒนาที่ยั่งยืน แต่หากชุมชนยังไม่รู้จัก ไม่รู้จะเปลี่ยนอย่างไร ไม่รู้จะเริ่มตรงไหน ขาดเทคโนโลยี องค์ความรู้ และผู้นำการเปลี่ยนแปลงที่จะร่วมทุกข์ร่วมสุขกับเขา ก็จะจัดการและทำให้เกิดขึ้นได้ยาก นอกจากนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ได้ระบุว่า วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรยังขาดการลงทุนและขาดระบบการรวบรวมที่มีประสิทธิภาพพอทำให้เป็นอุปสรรคต่อการนำมาผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงชีวภาพในระยะแรก 
  1. การจัดการการท่องเที่ยวที่ดีจะให้ประโยชน์ยั่งยืนไปสู่รุ่นหลัง แต่ต้องอาศัยความเสียสละ และการพูดคุยในชุมชนให้มีเป้าหมายเดียวกันและความเข้าใจว่าบางครั้งการเสียโอกาสทางการเงินจะได้มาซึ่งระบบนิเวศที่สมดุล สุดท้าย คนในชุมชนจะสามารถประกอบอาชีพ ทำมาหากินได้ง่ายขึ้นในระยะยาว ซึ่งเป็นกระบวนการที่ใช้เวลา และความเข้าอกเข้าใจสูง
    Global Sustainable Tourism Council (GSTC) จึงได้เสนอแนวทางการพัฒนามาตรฐานการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน สำหรับชุมชนที่ต้องการรักษาสิ่งแวดล้อมที่อาจเปลี่ยนแปลงไปและปกป้องสิ่งแวดล้อมในชุมชนไม่ให้ถูกรุกรานจากคนภายนอกดังเช่น การได้ผืนป่าคืน และยังสามารถป้องกันการเข้ามาของนายทุน  โดยมีองค์ประกอบที่ชุมชนสามารถใช้เป็นแนวทางในการพัฒนา ทั้งหมด 4 ด้าน  คือ ด้านการบริหารจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชน ด้านการจัดการเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตที่ดี ด้านการอนุรักษ์และส่งเสริมมรดกทางวัฒนธรรมชุมชน และด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติหรือสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นระบบและยั่งยืน
  1. ในปัจจุบัน ความต้องการด้านการท่องเที่ยวยั่งยืนและเป็นมิตรต่อธรรมชาตินั้นกำลังเติบโต มีนักท่องเที่ยวไทยกว่า 73% เลือกการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนและต้องการใกล้ชิดกับธรรมชาติ พวกเขาต้องการมั่นใจว่า เงินที่ใช้จ่ายไปจะถูกกระจายไปสู่คนทุกระดับในสังคม และรู้สึกหงุดหงิดหากที่พักไม่เอื้อให้พวกเขาสร้างความยั่งยืน เช่น ไม่สามารถเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่สามารถรีไซเคิล หรือสิ่งของอำนวยความสะดวกที่ลดการใช้พลังงานได้ จึงเป็นโอกาสที่จะปรับปรุงการท่องเที่ยวชุมชนให้ยั่งยืนด้วยพร้อมหาเงินได้ด้วย เมื่อพิจารณาสถานการณ์ปัจจุบันดูแล้ว ก็ยังมีช่องว่างในการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนควบคู่กับการดูแลทรัพยากรธรรมชาติอีกมาก
  1. ดร. นณณ์ ผาณิตวงศ์ ASEAN Biodiversity Hero จากผลงานอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ ได้กล่าวไว้ว่า การฟื้นฟูความหลากหลายทางชีวภาพต้องเริ่มจากการทำความรู้จักก่อน ยกตัวอย่าง หากคนเจองูก็จะตีทันที โดยไม่รู้ว่าเป็นงูพิษหรือไม่ แต่หากคนมีความรู้ดูงูออก และรู้ถึงประโยชน์ทางความหลากหลายทางชีวภาพ ว่างูตัวนี้ช่วยกินหนูได้ ดังนั้นถ้ามันไม่มีพิษก็อยู่ด้วยกันได้ งูก็จะไม่ถูกตี เช่นเดียวกับการอนุรักษ์แหล่งน้ำ หากเราไม่รู้ว่าในน้ำมีปลาอะไร หรืออะไรเสี่ยงจะสูญพันธุ์ คนก็ไม่สนใจจะร่วมกันอนุรักษ์อยู่ดี  ดังนั้น หากคนรู้จักสัตว์ แมลงและพืชไม้ แม้แต่จากการบริโภค (กิน ใช้) ก็ยังสร้างโอกาสให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ 

    “สมมุติว่าพรุ่งนี้โลกแตก มนุษย์ต้องขึ้นยานอวกาศไปดาวดวงอื่น จะต้องพาสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นไปด้วยหรือ คิดว่าไปแต่มนุษย์แล้วรอดไหมล่ะ ไม่น่ารอดนะ”

  1. นักเศรษฐศาสตร์ David R. Kinsle ได้ศึกษาพฤติกรรมทำลายสิ่งแวดล้อมจนพบว่า คนมองว่าธรรมชาติและสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ  เป็นสมบัติของคนที่ทนต่อการใช้ประโยชน์และไม่มีวันหมดไป ทำให้คนสามารถใช้ผลประโยชน์จากธรรมชาติได้ โดยไม่ต้องคิดถึงผลระยะยาวหรือ ผลประโยชน์ส่วนรวมของใครไม่รู้ กระทั้งทรัพยากรธรรมชาติฟื้นตัวไม่ทันและหมดไป Elinor Ostrom นักรัฐศาสตร์ (ผู้หญิงคนแรกที่ได้รับรางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ในปี 2009 ได้ให้แนวคิดเรื่อง ‘การบริหารจัดการทรัพยากรร่วม’ (Common-pool Resources) จึงได้เสนอ ‘หลักการออกแบบกติกา’ (Design Principle) เพื่อให้ผู้ใช้ทรัพยากรในชุมชนมีจุดร่วมในการบริหารจัดการทรัพยากรอย่างยั่งยืน โดยหลักการที่ว่านี้มีทั้งหมด 8 ประการ คือ
    1. มีการระบุขอบเขตไว้อย่างชัดเจน
    2. มีความสอดคล้องระหว่างกติกาว่าด้วยการเก็บเกี่ยวทรัพยากรและบำรุงรักษาระบบทรัพยากรกับเงื่อนไขทางสังคมและสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ 
    3. คนส่วนใหญ่ที่ได้รับผลจากการบริหารจัดการทรัพยากรต้องมีสิทธิ์ในการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจและปรับปรุงกฎกติกาในการจัดการทรัพยากร
    4. ต้องมีการกำกับดูแลที่มีประสิทธิผลโดยคนที่มีส่วนได้ส่วนเสียกับการใช้ทรัพยากรนั้นๆ 
    5. การลงโทษต้องเป็นไปอย่างค่อยเป็นค่อยไป และหากมีการกระทำผิดซ้ำ การลงโทษจะรุนแรงขึ้น ควรทำไปเพื่อสร้างความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในชุมชนมากกว่าเพื่อทำให้เกิดความแปลกแยก
    6. ต้องมีกลไกในการจัดการความขัดแย้งที่มีต้นทุนต่ำและทำได้ง่าย
    7. รัฐบาลรับรู้และให้สิทธิ์แก่ผู้ใช้ทรัพยากรในการวางกติกาการใช้และจัดการทรัพยากร
    8. กติกาและการจัดการทรัพยากรต้องเชื่อมโยงและสอดคล้องกับระบบที่ใหญ่กว่า

ตัวอย่างการพัฒนาเศรษฐกิจระดับชุมชนที่น่าสนใจ

  • น้ำผึ้งโพรงหินลาดใน
ขอบคุณภาพจาก Sansaicisco และไร่รื่นรมย์

หลายสิบปีก่อน บ้านห้วยหินลาดในเคยผ่านการทำสัมปทานจนกลายเป็นภูเขาหัวโล้น เมื่อเหลือต้นลำพูเพียงต้นเดียว ปราชญ์ชาวปกาเกอญอจึงชวนชุมชนมาทำข้อตกลงว่าจะช่วยฟื้นฟูและรักษาสภาพของธรรมชาติไว้ให้ดีที่สุด ชาวบ้านจึงกลับมาดูแลและทำไร่หมุนเวียนตามวิถีดังเดิม จนไม่กี่ปีก่อนได้รับรางวัล ตอนนี้ หินลาดในกลับมาเป็นป่าที่สมบูรณ์ ชาวบ้านช่วยกันทำโพรงผึ้งด้วยความหวังที่จะเป็นบ้านให้กับผึ้ง คีย์สโตนสปีชีส์ที่ช่วยผสมเกษร และสร้างความหลากหลายทางชีวภาพ ซึ่งผึ้งจะมาทำรังในโพรงหรือไม่ ขึ้นอยู่กับกลิ่นเคมีที่อาจติดอยู่ที่ไม้ที่นำมาทำโพรง สภาพอากาศ ความไกลกับความชุกของอาหารผึ้ง รวมถึงอารมณ์ของผึ้ง ทำให้แต่ละปี ชุมชนได้ปริมาณและรสชาติน้ำผึ้งต่างกันไป

นอกจากชาวปกาเกอญอรุ่นใหม่ที่หินลาดในจะใช้ผลิตภัณฑ์อย่าง น้ำผึ้งในการฟื้นฟูธรรมชาติ การสร้างความหลากหลายของชีวภาพ เป็นการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างไม่เอารัดเอาเปรียบ และคืนกำไรให้ชุมชนแล้ว พวกเขายังเล่าเรื่องราวของชุมชน การจัดการป่า และความมั่นคงทางอาหาร ผ่านน้ำผึ้งและกาแฟออแกนิกให้คนปลายน้ำได้เรียนรู้ด้วย

  • บริษัท หว่านเมล็ดปลูกต้นไม้ จำกัด บริษัทรับจ้างปลูกต้นไม้ที่เชื่อว่าการปลูกต้นไม้คือคำตอบในการดูแลธรรมชาติ ไม่ว่าจะอยากแค่ปลูกต้นไม้หลังบ้านหรืออยากมีป่าส่วนตัว เช่นปลูกไม้เศรษฐกิจเพื่อขายไม้ก็ยังให้ประโยชน์แก่ส่วนรวม
ขอบคุณภาพจาก หว่านเมล็ดปลูกต้นไม้
  • ฟางไทย : ธุรกิจเพื่อสังคมที่สร้างมูลค่าให้เศษฟางข้าวลำปาง และใจดีต่อสิ่งแวดล้อม – The Cloud
  • Regen Districts โปรเจกต์ที่ชวนศิลปินและนักออกแบบมาร่วมกันทำ biomaterials จาก food waste ที่เกิดจาก คาเฟ่ ร้านอาหารและครัวเรือน โดยมีการพาร์ทเนอร์กับร้าน – The Cloud
  • เมื่อครูลุกขึ้นปฏิวัติพลังงาน ในโรงเรียนแสงอาทิตย์บ้านปุน – Greenpeace Thailand 
  • “เปลี่ยนจำเลยเป็นเจ้าภาพ” ชวนคุยแนวคิดเชียงใหม่โมเดลกับการแก้ปัญหามลพิษทางอากาศ PM2.5 จากล่างขึ้นบน – Greenpeace Thailand

อีก 2 เรื่องที่น่าสนใจในการพัฒนาชุมชน

ลิงก์แหล่งที่มาของข้อมูลและเรื่องราวที่น่าสนใจ 

  • School of Changemakers – 8 Insights ถอดบทเรียนจากการทำงานชุมชน
  • School of Changemakers – ความท้าทายในการพัฒนาชุมชน
  • RECOFTC – ประโยชน์จากป่าชุมชน
  • การหายไปของความหลากหลายทางชีวภาพ ส่งผลต่อมนุษยชาติอย่างไร – สืบ นาคเสถียร
  • การท่องเที่ยวหรืออุตสาหกรรมท่องเที่ยวเป็นเรื่องใกล้ตัวกว่าที่คิด – Tourism Authority of Thailand Magazine
  • เจาะปัญหา ป่าทับคน คนทับป่า – Workpoint Today

แนวคิดในการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างมีประสิทธิภาพควรดำเนินการอย่างไร

วิธีการสำคัญที่ใช้ในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้แก่ การออกกฎหมายควบคุม การจัดตั้งองค์กรเพื่อบริหารงาน การวางแผนพัฒนาสิ่งแวดล้อม การกำหนดมาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดล้อม การศึกษา และจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมจากโครงการพัฒนาทั้งของภาครัฐและภาคเอกชนและการประชาสัมพันธ์และสิ่งแวดล้อมศึกษา ในวิธีการ ...

แนวทางการจัดการสิ่งแวดล้อมเพื่อประโยชน์ที่ยั่งยืนมีอะไรบ้าง

9 วิธีอนุรักษ์ทรัพยากรอย่างยั่งยืน.
1. ประหยัดการใช้สิ่งต่างๆ ในบ้าน ... .
2. ใช้ซ้ำ สำหรับสิ่งของที่สามารถใช้ได้ ... .
3. รีไซเคิลวัสดุต่างๆ ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ... .
4. ซ่อมแซมสิ่งที่ชำรุด ถ้าไม่เสียอย่าเพิ่งทิ้ง ... .
5. ทดแทนวัสดุที่เป็นมลพิษด้วยของจากธรรมชาติ ... .
6. ป้องกันไม่ให้ทรัพยากรธรรมชาติถูกทำลาย.

ข้อใดคือแนวคิดในการจัดการสิ่งแวดล้อม

การจัดการสิ่งแวดล้อม (Environmental Management) หมายถึง ขบวนการดำเนินการ อย่างมีระบบในการใช้ทรัพยากรธรรมชาติสนองความต้องการของมนุษย์ โดยไม่มีผลกระทบ ต่อสิ่งแวดล้อม และยังทำให้มีทรัพยากรธรรมชาติใช้ในอนาคตต่อไป

แนวทางการจัดการสิ่งแวดล้อมมีความหมายว่าอย่างไร

การจัดการสิ่งแวดล้อม หมายถึง กระบวนการใช้สิ่งแวดล้อมอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นระบบ โดยการวางแผน ดําเนินงาน ติดตามประเมินผลและปรับปรุง แก้ไขพัฒนาให้ดีขึ้น ทั้งนี้ต้องคํานึงถึงการใช้อย่างประหยัดให้เกิดประโยชน์สูงสุด ใช้ให้ได้ยั่งยืน ยาวนานตลอดไป และเอื้ออํานวยประโยชน์ต่อมวลมนุษย์และธรรมชาติให้มากที่สุด (วินัย วีระวัฒนา ...

แนวคิดในการจัดการสิ่งแวดล้อมอย่างมีประสิทธิภาพควรดำเนินการอย่างไร แนวทางการจัดการสิ่งแวดล้อมเพื่อประโยชน์ที่ยั่งยืนมีอะไรบ้าง ข้อใดคือแนวคิดในการจัดการสิ่งแวดล้อม แนวทางการจัดการสิ่งแวดล้อมมีความหมายว่าอย่างไร แนวทางในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีอะไรบ้าง การพัฒนาควบคู่กับการอนุรักษ์ เป็นแนวคิดในการจัดการสิ่งแวดล้อมตามหลักการของข้อใด หลักการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม10ข้อ แนวคิดการจัดการสิ่งแวดล้อม มีกี่ประเภท ตัวอย่าง การจัดการ สิ่งแวดล้อม หลักการวางแผนในการจัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมมีกี่ประการได้แก่ การจัดการ สิ่งแวดล้อม ในภูมิภาค